กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 3,232

[16.3937891, 98.9529695, กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี]

         ในหนังสือวัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลกัษณ์และภูมิปัญญา จังหวัดกำแพงเพชร หน้า 31 ได้กล่าวถึง เมืองโบราณบริเวณลุ่มแม่น้ำปิง ซึ่งมีการค้นพบและพอมีหลักฐานยืนยันได้ว่าเป็นเมืองเก่าแก่มาช้านาน คือ เมืองแปบ เมืองเทพนคร เมืองไตรตรึงษ์ เมืองพาน เมืองคณฑี เมืองนครชุม เมืองชากังราว เมืองพังคา เมืองโกสัมพี เมืองรอ เมืองแสนตอ เมืองพงชังชา และบ้านคลองเมือง ซึ่งล้วนตั้งอยู่อาณาเขตจังหวัดกำแพงเพชรทั้งสิ้น และในหนังสือเรื่องเล่มเดียวกันนั้นในหน้า 37-38 ได้กล่าวถึงเมือง 2 เมืองว่าเป็นเมืองในสมัยทวารวดี คือเมืองไตรตรึงษ์ และเมืองโบราณที่บ้านคลองเมือง
         ผู้เขียนได้สืบค้นถึงกษัตริย์ที่มีความสำคัญเข้ามาครอบครองเมืองต่าง ๆ ภายในเขตกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี ตามหลักฐานพบว่ามีกษัตริย์เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชรแล้ว 3  พระองค ์(ที่จริงแล้วควรมีมากกว่านี้) ได้แก่ พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน พระเจ้าสุริยราชา และพระเจ้าจันทราชา  
         1. พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน ผู้สถาปนาเมืองกำแพงเพชร พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน จากตำนานเมืองเชียงแสน ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 7 หน้า 105-107 และจากพงศาวดารโยนก ในหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับเดียวกัน หน้า 489-491 กล่าวข้อความที่ตรงกันว่า เป็นพระราชโอรสของพระเจ้าพรหม (ซึ่งเคยไล่ปราบขอมจากเมืองโยนกถึงเมืองกำแพงเพชร) และเป็นกษัตริย์องค์ที่ 2 แห่งเมืองไชยปราการ (ปัจจุบันเป็นเมืองโบราณ อยู่ระหว่างเชียงรายกับแม่น้ำโขง) ครอบครองเมืองไชยปราการได้ 11 พรรษา ถูกกองทัพของพม่าจาก เมืองสเทิมเข้ามารุกราน ไม่สามารถที่จะต่อสู้ได้ พระเจ้าไชยศิริทรงให้โหรตรวจดูชะตาเมือง โหรถวายพยากรณ์ว่าชะตาเมืองขาด พระเจ้าไชยศิริทรงตัดสินพระทัยเผาเมืองไชยปราการแล้วหลบหนีออกมาพร้อม กับทหารและ ครอบครัวราษฎร เมื่อวันพฤหัสบดี เดือน 8 แรม 1 ค่ำ จุลศกัราช 366  (พ.ศ. 1547) ปีมะเส็ง มาถึงเมืองกำแพงเพชร แล้วพักพลได้ 3 คืน พอถึงวันอังคาร เดือน 9 แรม 4 ค่า จุลศกัราช 366 (พ.ศ.1547) ปีมะเส็ง ได้สถาปนาขึ้นเป็นเมืองกำแพงเพชรและมีพระนามว่า “พระเจ้าไชยศิริเชียงแสน”   จากพงศาวดารโยนกกล่าวว่าพระเจ้าไชยศิริเชียงแสนสร้างเมืองไตรตรึงษ์เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งเมือง หลังจากที่สถาปนาเมืองกำแพงเพชรแล้ว
          2. พระเจ้าสุริยราชา พระอัยกา (ปู่) ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์ พระเจ้าสุริยราชา จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1  หน้า 177  กล่าวว่า ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ของพระเจ้าปทุมสุริวงษ์ ได้เข้ามาครอบครองเมืองกำแพงเพชร เมื่อจุลศกัราช 536 (พ.ศ. 1717)  มีพระอัครมเหสีทรงพระนามว่าศิริสุทาราชเทวีมีพระโอรสองค์หนึ่งทรงพระนามว่าจันทกุมาร ครองราชย์เมืองกำแพงเพชรได้ 28 พรรษาสิ้นพระชนม์เมื่อจุลศกัราช 564 (พ.ศ.1745)
          นอกจากนี้แล้ว เรื่อง ตำนานของพระมหากษัตริย์แต่โบราณของกรมศิลปากร ในหนังสือ “คำให้การกรุงเก่า” หนา้ 180 ได้กล่าวถึงพระเจ้าสุริยราชาที่ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรไว้ว่า “พระมหากษัตริย์ที่สร้างพระนครพิจิตรนั้น เป็นเชื้อพระวงศ์พระเจ้าปทุมสุริยวงศ์ ในหนังสือ “คำให้การกรุงเก่า” เล่มเดียวกันนี้ ผู้เขียนได้ตรวจชื่อเมืองที่หมายถึงเมืองกำแพงเพชรนั้น ได้พบในหน้า 11 มีหลายชื่อ ได้แก่ พิจิตปราการ วิเชียรปราการ ในหนา้ 180 เรียกว่า พระนครพิจิต และพระนครวิเชียรปราการ จากข้อความที่กล่าวมานี้สรุปได้ว่า พระเจ้าสุริยราชาเชื้อสายเขมร ได้ทรงเป็นกษัตริย์เมืองกำแพงเพชร ขึ้นครองราชย์เมื่อจุลศักราช 536 (พ.ศ. 1717) ครองราชย์ได้ 28 พรรษา ก็สิ้นพระชนม์เมื่อ จุลศกัราช 564 (พ.ศ. 1745)
         3. พระเจา้จนัทราชา พระชนก(พ่อ)ของท่านขุนศรีอินทราทิตย์ จากหนังสือประชุมพงศาวดารฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 หนา้ 177-181 เป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา ขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชร เมื่อจุลศกัราช 570 (พ.ศ. 1751) ก่อนขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรนั้น ได้ทรงท่องเที่ยวไปพร้อมทหาร ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านแห่งหนึ่ง  สาวงามนั้นไม่ยอมที่จะไปอยู่กับพระเจ้าจันทราชาในวัง จึงต้องจากกัน ต่อมาสาวนั้นตั้งครรภ์คลอดบุตรออกมาเป็นชายแล้วทิ้งไว้ในป่าอ้อย ตายายเจ้าของไร่อ้อยมาพบได้นไปเลี้ยงไว้ เมื่อมีอายรุาว 15 ปี  มีรูปร่างที่สง่างาม และมีอานุภาพมาก จะออกปากสั่งสิ่งใดนั้นย่อมเป็นไปตามสิ่งนั้น ตาและยายมีความรักบุตรบุญธรรมเป็นอย่างมาก และได้ตั้งชื่อว่า “พระร่วง”            
           พระเจ้าจันทราชาทรงทราบ จึงตรัสสั่งให้ทหารไปหาตายาย พร้อมทั้งพระร่วงเข้าเฝ้า ตายายทั้งสองจึงกราบบังคมทูลให้ทราบความตามเหตุผลที่ได้กุมารนั้นมา พระเจ้าจันทราชาทรงฟังดังนั้นทรงเชื่อแน่ว่าเป็นโอรสของพระองค์เองที่ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้านที่ผ่านมา จึงให้รับพระร่วงนั้นเลี้ยงไว้เป็นพระราชโอรสในพระราชวัง
            พระเจ้าจันทราชาได้ทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปอยู่สุโขทัย ในช่วงนั้นขอมแผ่ขยายอำนาจมาถึงกรุงสุโขทัย พระเจ้าจันทราชาทรงแต่งตั้งให้พระราชโอรส (พระร่วง) ยกกองทัพออกต่อสู้กับกองทัพเขมร ฝ่ายกองทัพเขมรสู้ไม่ได้จึงต้องยกทัพถอยกลับไป
           พระเจ้าจันทราชาได้สิ้นพระชนม์ พระร่วงได้ขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัย เมื่อพ.ศ. 1781 จากหนังสือคำให้การกรุงเก่า หน้า 180  ได้กล่าวถึงพระเจ้าจันทราชาอย่างสั้นๆ ไว้ว่า “พระมหากษัติย์ท์ี่สร้างพระนครวิเชียรปราการ (คือเมืองกำแพงเพชร) เป็นราชบุตรของเจ้าเมืองกำแพงเพชร”  “พระมหากษัตริย์สร้างพระนครสวรรคโลก พระมเหสีเป็นนาค พระราชโอรสคือพระร่วง”       
            จากข้อความทั้งหมดสรุปได้ว่า พระเจ้าจันทราชาเป็นโอรสของพระเจ้าสุริยราชา ก่อนขึ้นครองราชย์ เมืองกำแพงเพชร ได้มีความสัมพันธ์กับสาวชาวบ้าน (มักเรียกว่านางนาค) แล้วมีบุตรชายชื่อพระร่วง  พระเจ้าจันทราชาเชื่อว่าเป็นโอรสของพระองศ์จึงนำไปอยุ่ในวัง หลังจากขึ้นครองราชย์เมืองกำแพงเพชรแล้ว ทรงย้ายจากเมืองกำแพงเพชรไปสุโขทัย ได้เป็นเจ้าเมืองสุโขทัย และได้ครอบครองเมืองสวรรคโลก (ศรีสัชนาลัย) ด้วย

คำสำคัญ : กษัตริย์เมืองกำแพงเพชร

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). กษัตริย์เมืองกำแพงเพชรในสมัยทวารวดี. สืบค้น 20 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1288&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1288&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 706

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,207

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

เมืองไตรตรึงษ์ตามพงศาวดารโยนก

พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,647

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

คลองสวนหมาก สายโลหิตชาวปากคลอง

ลำน้ำคลองสวนหมาก เกิดจากน้ำซับจากป่าอุทยานแห่งชาติคลองลานและป่าอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ไหลลงมารวมกันเกิดลำน้ำคลองสวนหมาก สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญและมีชื่อเสียงของลำน้ำคลองสวนหมากคือ แก่งเกาะร้อย สำหรับน้ำคลองสวนหมากจะมีนักท่องเที่ยวนิยมล่องแพยางประมาณเดือน พฤศจิกายน ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก และมีแก่งหินเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบท้าทายลักษณะของลำคลองสวนหมากจะเป็นแก่งหินและเนินทราย มีน้ำไหลตลอดทั้งปี

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 2,983

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 2,950

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,724

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

เมืองไตรตรึงษ์ตามตำนานพระเจ้าพรหม

ในพระราชพงศาวดาร ซึ่งกรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรสทรงนิพนธ์พระราชพงศาวดารสังเขปขึ้นมาใหม่ มีความต้นเรื่องต่างกับพงศาวดารกรุงสยาม (ของรัชกาลที่ 2) เริ่มด้วยกษัตริย์เมืองเชียงรายพ่ายศึก ได้อพยพชาวเมืองเชียงรายหนีลงมาทางทิศใต้ แล้วสร้างบ้านเมืองใหม่บริเวณเมืองแปบ ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ริมแม่น้ำปิง (อยู่คนละฟากเมืองกำแพงเพชรปัจจุบัน) ภายหลังให้ชื่อใหม่ว่าเมืองไตรตรึงษ์ ต่อมามีลูกเขยเป็นสามัญชนคนเข็ญใจชื่อ นายแสนปม ได้เป็นกษัตริย์เมืองเทพนคร พระนามว่าสมเด็จพระเจ้าศิริชัยเชียงแสน มีโอรสชื่อเจ้าอู่ทอง ซึ่งต่อมาคือ สมเด็จพระรามาธิบดี ผู้ทรงสร้างกรุงศรีอยุธยา

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,404

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี : เมืองที่ถูกจารไว้ในจารึกสมัยสุโขทัย

เมืองคณฑี ตั้งอยู่ในเขตตำบลคณฑี ริมฝั่งแม่น้ำปิงทางด้านตะวันออก เยื้องตรงข้ามกับวัดวังพระธาตุลงมาทางใต้ประมาณ 8 กิโลเมตร แม้ไม่มีการตรวจพบร่องรอยของคูน้ำและคันดิน แต่เหนือบ้านโคนขึ้นไปมีร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโดยรอบ มีผุ้พบซากเจดีย์ร้าง และเศษโบราณวัตถุเป็นจำนวนมากในป่าก่อนจะถูกปรับไถให้โล่งเตียน โดยเฉพาะบริเวณวัดกาทิ้งได้ปรากฏร่องรอยบริเวณที่มีคูน้ำโอบล้อม มีซากโบราณสถานและเศษโบราณวัตถุ โคกเนินต่าง ๆ แม้จะถูกชาวบ้านปรับไถที่ดินทำไร่ทำนา จนหมดสิ้น 

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,047

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,318

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) สร้างเมืองเทพนคร

เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร  เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้ 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,374