เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,732
[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์]
บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิงในเขตท้องที่ของจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานทางโบราณคดีที่แสดงถึงความเป็นอยู่ของชุมชน เคยเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมืองด้วยกัน คือ เมืองแปป เมือง กำแพงเพชร เมืองชากังราว เมืองนครชุม เมืองคณฑี เมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร ฯลฯ ซึ่งชื่อเมืองเหล่านี้พบตามจารึก ในเอกสารต่าง ๆ โดยแต่ละเมืองมี ความสำคัญแตกต่างกันไปตามยุคสมัย เหมือนอย่างเมืองไตรตรึงษ์ที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรือง เป็นเมืองที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมโบราณระหว่างบ้านเมืองในแถบภาคกลางอย่างละโว้ อโยธยา และเมืองในเขตล้านนาอย่างหริภุญไชย เป็นเมืองสำคัญชั้น ลุงของกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยซึ่งเคยเข้ามาเป็นเจ้าครองเมือง และเป็นเมืองที่มีตำนานปรัมปราเรื่อง “ท้าวแสนปม” อันโด่งดัง ร่องรอยแห่งอดีตความเป็นบ้านเป็นเมืองของเมืองไตรตรึงษ์มีปรากฏเป็นหลักฐานทั้งซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลาจารึก พงศาวดาร ตำนาน และเอกสารต่าง ๆ อยู่หลายแห่ง แม้จะมีความสับสนในข้อมูลที่แตกต่างกันอยู่บ้าง แต่ก็มีข้อสรุปที่ชัดเจนได้ว่า เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่มีอยู่จริงและมีมาอย่างน้อยตั้งแต่สมัยทวาราวดีต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นในช่วงรัชกาลที่ 3 ก่อนจะถูกทิ้งร้างให้กลายสภาพเป็นเมืองที่เหลือแต่ซากโบราณสถานมาจนทุกวันนี้
ที่ตั้งและลักษณะของเมืองไตรตรึงษ์ เมืองไตรตรึงษ์ เป็นเมืองเก่าและร้าง ตั้งอยู่ที่บ้านวัง พระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร ห่างจากตัว เมืองกำแพงเพชรไปประมาณ 16 กิโลเมตร ตัวเมืองอยู่ทางฝั่ง ขวาของแม่น้ำปิง เป็นเมืองขนาดเล็กมีคูน้ำคันดินล้อมรอบสามชั้น ผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามุมมน กว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 840 เมตร แม้จะมีแม่น้ำปิงไหลผ่าน แต่ไม่ได้ใช้ล้าน้ำเป็นคูเมือง เพราะพบร่องรอยคูเมืองเดิม ขนานกับแนวแม่น้ำปิง ปัจจุบันแนวกำแพงเมืองด้านเหนือที่อยู่ติดกับแม่น้ำปิงบางส่วนได้ถูกกระแสน้ำเซาะพังทลายและถูกชาวบ้านเข้ามาไถปรับท้าไร่สวนจนเสียหายไปหลายส่วนบริเวณกลางเมืองมีโบราณสถานขนาดใหญ่สองแห่ง แห่งแรกเรียกว่า เจดีย์เจ็ดยอดเป็นกลุ่ม เจดีย์ก่อด้วยอิฐ เจดีย์ประธานมีเป็นทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ ฐานล่างเป็นแบบฐานหน้ากระดาน สี่เหลี่ยมซ้อนกันสี่ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานบัวคว่ำและบัวหงาย แล้วเป็นส่วนเรือนธาตุย่อ ไม้ยี่สิบ ส่วนยอดหักพังลงมาหมดฐานด้านหน้าหรือด้านตะวันออกท้าเป็นซุ้มพระยื่นออกมาเป็นแบบเจดีย์ที่นิยมสร้างในสมัย สุโขทัยรอบเจดีย์ประธานมีฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐอยู่หลายองค์ โบราณสถานอีกแห่งหนึ่งตั้งอยู่ทางด้านทิศตะวันตกของเจดีย์เจ็ดยอดห่างออกไปประมาณ 200 เมตร เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆังขนาดใหญ่ก่อด้วยอิฐมีฐานวิหารและฐานเจดีย์รายเล็ก ๆ ก่อด้วยอิฐเช่นกัน ศิลปะการก่อสร้างเป็นแบบสุโขทัย มีข้อน่าสังเกตซึ่ง จิตร ภูมิศักดิ์ ได้เคยศึกษาเอาไว้ว่า เจดีย์ประธานของกลุ่มเจดีย์เจ็ดยอด มีรูปทรงแบบศิลปะเชียงแสน มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปทางด้านตะวันออกซุ้มเดียว ลักษณะคล้ายคลึงกับเจดีย์ วัดพระยืนจังหวัดล้าพูน อันอาจท้าให้เชื่อตามต้านานต้นพงศาวดารได้ว่า พระเจ้าไชยศิริมาสร้างเมืองไตรตรึงษ์ เพราะเจดีย์องค์นี้ล้วนเป็นฝีมือช่างในกลุ่มสกุลหริภุณชัย-เชียงแสน ซึ่งเก่ากว่าสกุลช่างสุโขทัยและที่บริเวณเมือง เก่าในจังหวัดกำแพงเพชรเท่าที่มีการสำรวจพบยังไม่เคยปรากฏร่องรอยของศิลปะที่เก่าก่อนสมัยสุโขทัยเหมือยอ ย่างที่เมืองไตรตรึงษ์นี้เลย ตามผิวดินภายในเขตเมือง พบเศษภาชนะดินเผา ทั้งประเภทเครื่องเคลือบแบบสุโขทัยที่เรียกว่า เครื่องถ้วยสังคโลก เศษภาชนะดินเผาเนื้อเครื่องดินและชนิดเผาแกร่งไม่เคลือบ จากการขุดค้นพบว่า ถัดจากชั้นดินที่พบเศษภาชนะดินเผาแบบสุโขทัย พบโบราณวัตถุสมัยทวารวดี เช่น เศษภาชนะ ดินเผา ลูกปัดแก้ว และชิ้นส่วนตะเกียงดินเผา
สำหรับชิ้นส่วนตะเกียงดินเผานั้นเป็นแบบที่พบทั่วไปตามแหล่ง ชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในเขตภาคกลางแถบลุ่ม แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้สันนิษฐานได้ว่าบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ก่อนจะเป็นบ้าน เป็นเมืองในสมัยสุโขทัยได้ มีผู้คนเข้ามาตั้ง ถิ่นฐานอยู่แล้วในสมัยทวารวดี แต่อาจจะไม่เป็นเมืองหรือชุมชนใหญ่ เป็นเพียงชุมชนที่อยู่บน เส้นทางคมนาคมริมฝั่งแม่น้ำปิงที่สามารถเชื่อมต่อระหว่างภาคเหนือกับที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา นอกเขตแนวคูเมืองของเมืองไตรตรึงษ์ทางทิศตะวันออกตามล้าน้ำปิงมีโบราณสถานขนาดใหญ่แห่ง หนึ่งชาวบ้านเรียกว่า วัดวังพระธาตุ เจดีย์ประธานของวัดเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ แบบศิลปะสุโขทัยสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ยังเห็นรูปทรงทางสถาปัตยกรรมขององค์เจดีย์ได้ครบถ้วน เป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูมที่นับว่าใหญ่ที่สุดในบรรดาเจดีย์แบบเดียวกันทั้งในเขตเมืองกำแพงเพชรและเมืองสุโขทัย บริเวณที่ตั้งเมืองไตรตรึงษ์ซึ่งแต่เดิมเป็นป่าทึบไม่มีผู้คนมาตั้งถิ่นฐาน มีเฉพาะบริเวณริมน้ำใกล้กับวัดพระ ธาตุเท่านั้นชาวบ้านทั่วไปเรียกว่า ดงแสนปม
ในอดีตเคยพบว่าบริเวณที่มีคูน้ำและคันดินรูปสี่เหลี่ยม อยู่ที่บ้านปากอ่างตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองอยู่ทางด้านทิศใต้ของเมืองไตรตรึงษ์ มีแนวคันดินตัดออกจากแนวกำแพงเมืองไตรตรึงษ์ออกไป ประมาณ 1 กิโลเมตร ไปถึงบริเวณที่มีคูนำคันดินล้อมรอบรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้างประมาณ 200 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร เนินดินขนาดเล็กที่ปรากฏน่าจะเป็นป้อมมากกว่าที่อยู่อาศัย อาจจะเป็นป้อมหน้าด่านของเมืองไตรตรึงษ์ ไม่ปรากฏซากศาสนสถาน บนผิวดินพบเศษภาชนะดินเผา เคลือบแบบสุโขทัยและชนิดเผาแกร่งไม่มีเคลือบ เช่นเดียวกับที่พบบริเวณเมืองไตรตรึงษ์ เมืองเทพนคร เมืองคู่ขนานกับเมืองไตรตรึงษ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง กำแพงเพชร อยู่บนฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง ตรงข้ามกับบริเวณเมืองไตรตรึงษ์เป็นชุมชนโบราณที่มีคูน้ำ และคันดิน ล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้างประมาณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคันดินและคูน้ำถูกทำลายไปมากที่เหลือพอให้เห็นอยู่บ้างเฉพาะด้านทิศตะวันออกเท่านั้น ภายในเขตเมืองพบร่องรอย ศาสนสถานสองแห่ง ลักษณะอิฐมีขนาดใหญ่เช่นเดียวกับที่พบทางฝั่งเมืองไตรตรึงษ์ ส่วนโบราณสถานอีกแห่งหนึ่ง พังลงแม่น้ำไปหมดแล้ว เมืองไตรตรึงษ์ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งขวาของแม่น้ำปิง กับเมืองเทพนครที่ตั้งอยู่ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำปิง มีลักษณะคล้ายกับเมืองนครชุมและเมืองกำแพงเพชร เมืองไตรตรึงษ์มีลักษณะเป็นเมืองเก่า มีกำแพงคันดิน ล้อมรอบสามชั้นแบบเดียวกับเมืองสุโขทัย เมืองนครชุมและเมืองบางพาน อาจเป็นไปได้ว่าเมื่อเมืองไตรตรึงษ์หมด ความสำคัญแล้ว จึงได้มีการย้ายชุมชนไปอยู่อีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำปิงคือ เมืองเทพนคร ซึ่งมีคูน้ำคันดินเพียงชั้นเดียว จนเป็นแบบแผนของเมืองที่เกิดขึ้นในระยะหลัง
คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์
ที่มา : เรืองศักดิ์ แสงทอง. (ม.ป.ป.). เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. กำแพงเพชร: ม.ป.ท.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. สืบค้น 12 กันยายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1316&code_db=610001&code_type=01
Google search
ในสมัยกรุงธนบุรีพบหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์เพียงเล็กน้อย โดยเป็นจดหมายเหตุความทรงจำกรมหลวงนรินทรเทวี กล่าวถึงสมัยกรุงธนบุรี เมื่อพ.ศ. 2315 พระเจ้ามังระให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกยกพลมาทางด่านแม่ละเมา เข้ายึดเมืองสุโขทัย สวรรคโลก แล้วข้าล้อมเมืองพิษณุโลกไว้ โดยการรบที่เมืองพิษณุโลก ดำเนินไปถึง 3 ปี ก็เสียเมืองแก่พม่า ฝ่ายไทยขุดอุโมงค์และทลายกำแพงลง ตั้งล้อมจับพม่ากลางแปลงจับได้แม่ทัพพม่าและทหารเป็นจำนวนมาก
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 3,016
อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,689
กรุพระเครื่อง เมืองคนแกร่ง พระแสงฯล้ำค่า ศิลาแลงใหญ่ กล้วยไข่หวาน น้ำมันลานกระบือ เลื่องลือมรดกโลก กรุพระเครื่อง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นจังหวัดที่มีกรุพระเครื่องมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย มีพระเครื่องหรือพระพิมพ์นับพันพิมพ์ พระที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของจังหวัดกำแพงเพชร คือ พระซุ้มกอ พระเครื่องที่ศักดิ์สิทธิ์หนึ่งในเบญจภาคีของประเทศไทย เมืองคนแกร่ง หมายถึง จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองแห่งนักรบ นักสู้ เป็นเมืองที่ย่ิงใหญ่ในการสงคราม ประชาชนทำสงครามอย่างเข้มแข็ง เจ้าเมืองกำแพงเพชรทุกคนได้รับพระนามว่า พระยารามรณรงค์สงคราม ซึ่งหมายความว่า มีความกล้าหาญในสนามรบในสงครามราวกับพระราม มีพระยาวชิรปราการ เป็นคนแกร่งแห่งเมืองกำแพงเพชร พระแสงฯ ล้ำค่่า หมายถึง พระแสงราชศัสตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร (ด้ามและฝักทองคำ) ซึ่งมีเพียงองค์เดียวในประเทศไทย เป็นสิ่งล้ำค่าและมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์จังหวัดกำแพงเพชร จึงขอเสนอเพิ่มคำขวัญจังหวัดกำแพงเพชร โดยเพิ่มคำว่า "พระแสงฯ ล้ำค่า" ลงในคำขวัญ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เป็นประวัติศาสตร์ และให้ชนรุ่นหลังได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเชิดชูมรดกล้ำค่าของจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 21,491
พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,224
ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 2,910
เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,717
ต้นสีเสียดแก่น ต้นไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้นไม้ที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพล อดุลยเดชมหาราช นำมาปลูหน้าศาลากลาง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2537 ลักษณะทั่วไป ไม้ต้นสูง 15 เมตร เปลือกสีเทาแตกเป็นสะเก็ดบาง แตกกิ่งต่ำ ตามกิ่งมีหนามโค้งเป็นคู่ ใบประกอบขนนกสองชั้น เรียงสลับ ใบประกอบย่อยมี 10 ถึง 20 คู่ ใบเล็กมาก มีประมาณ 30 ถึง 50 คู่ ช่อดอกแบบช่อหางกระรอก ดอกขนาดเล็ก สีเหลือง มีกลิ่นหอมอ่อนๆ ผลเป็นฝักแบน บาง สีน้ำตาล เป็นมันวาว แห้งแล้วแตก เมล็ด 3 ถึง 10 เมล็ด รูปรีแบน ขยายพันธุ์ โดยเมล็ด ประโยชน์ เนื้อไม้ แข็งเหนียว สีน้ำตาลแดง ใช้ทำสิ่งก่อสร้างที่ต้องรับน้ำหนักมากๆ ทำด้ามเครื่องมือการเกษตร แก่น ให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง และให้สีน้ำตาลสำหรับย้อมผ้า ก้อนสีเสียด เป็นยาสมาน อย่างแรง แก้โรคท้องร่วง บิด แก้ไข้จับสั่น แก้ไอ รักษาแผลในลำคอ เหงือก ลิ้น และฟัน
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 4,084
ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,343
ชาวบ้านปากคลองมีหลายชนชาติมาอาศัยอยู่มาก นอกจากลาวเวียงจันทน์แล้วยังมีชาวกะเหรี่ยง รวมถึงชาวเขาเผ่าต่างๆ ชาวจีนแผ่นดินใหญ่ อพยพมาอยู่กันมากมาย คนที่มาอยู่บ้านปากคลองได้ ต้องเป็นคนเข้มแข็ง และแกร่งจริงๆ เพราะเล่ากันว่า เมื่อจะขึ้นล่องจากปากน้ำโพไปเมืองตาก ต้องผ่านบ้านปากคลอง ว่าต้องหันหน้าไปมองทางฝั่งกำแพง ถ้ามองมาทางบ้านปากคลองจะเป็นไข้ป่าตายเป็นสิ่งที่คนกลัวกันมากจนลือกันไปทั่วกำแพง ปากน้ำโพ และเมืองระแหง
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,626
นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)
เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,473