ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 1,421

[16.4264988, 99.2157188, ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์)]

            จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ พระเจดีย์ในวัดนี้ตั้งอยู่กลางลาน มีกำแพงแก้วล้อมรอบสงูประมาณ 3 ศอก ที่ฐานทักษิณมีสลักเป็นรูปช้างครึ่งตัวยืนอยู่รอบ หันศีรษะออกมาจากฐาน จึงได้เรียกนามปรากฏอยู่ว่าวัดช้างรอบ ส่วนองค์พระธาตุนั้นเข้าใจว่าคงจะเป็นรูประฆังอย่างทรงสูง แต่ก็ได้แต่เดา เพราะทลายลงมาเสียแล้ว ทางขึ้นไปชั้นทักษิณมีสี่ด้าน ลวดลายมีบ้าง แต่สู้ที่อาวาสใหญ่ไม่ได้ มีวิหารอยู่ติดพระเจดีย์ทางด้านตะวันออก วิหารนั้น ก็ยกพื้นขึ้นบนฐานสงูประมาณ 4 ศอก ที่วัดนี้ก็เป็นวัดใหญ่น่าจะมีพระสงฆ์ประจำอยู่ พระศรีรัตนมหาธาตุนั้นนอกจากที่อาวาสใหญ่จะมีที่สมควรจะบรรจุได้อีกแห่งหนึ่งก็ที่วัดนี้เท่านั้น” ยังมีวัดที่น่าดูอยู่อีกสองแห่ง คือแห่งหนึ่งเรียนว่าวัดพระนอน แห่งหนึ่งเรียกว่าวัดพระสี่อิริยาบถ ที่วัดพระนอนยังมีชิ้นสำคัญอยู่ คือวิหารพระนอน ซึ่งทำด้วยฝีมือดี การก่อสร้างใช้แลงทั้งนั้น เสาเป็นเสา กลมก่อด้วยแลงก้อนใหญ่ๆ รูปอย่างศิลาโม่่ก้อนใหญ่ๆ และหนามาก ผนังวิหารมีเป็นช่องลูกกรง ลูกกรงทำด้วยแลงแท่งสี่เหลี่ยม สูงราว 3 ศอก ดูทางข้างนอกงามดีมาก แต่มีความเสียใจที่องค์พระนอนนั้นไม่เป็นรูปเสียแล้ว เพราะมีนักเลงขุดหาทรัพย์ไปทำลายเสียเมื่อเร็วๆ นี้เอง ได้ความจากพระวิเชียรปราการวว่าจับผู้ทำลายได้ ได้ฟ้องในศาลๆ ได้ตัดสินจำคุกแล้ว ส่วนที่วัดพระสี่อิริยาบถนั้น มีชิ้นสำคัญอยุ่ คือวิหารสี่คูหา มีพระยืนด้านหนึ่ง พระนั่งด้านหนึ่ง พระลีลาด้านหนึ่ง พระไสยาสน์ด้านหนึ่ง พระยืน พระนั่ง พระลีลายังอยู่พอเป็นรูปร่างเห็นได้ถนัด แต่พระนอนนั้นนชำรุดจนไม่เป็นรูป รอบวิหารมีผนังลูกกรงโปร่ง มองเข้าไปข้างในได้ทั้งสี่ด้าน แต่วัดนี้เหมือนวัดเชตุพนที่สุโขทัยเกือบจะไม่ผิด แต่เล็กกว่าและฝีกมือทำเลวกว่า”
           “นอกจากวัดใหญ่ๆ ที่กล่าวมาแล้วนี้ ยังได้ไปดูวัดเล็กอีกแห่งหนึ่ง ราษฎรเรียกกันว่า วัดตึกพราหมณ์ อยู่ไม่ห่างอาวาสใหญ่นัก และใกล้ลำน้ำเก่าที่ได้กล่าวถึงมาแล้วนั้น ที่วัดตึกพราหมณ์นั้น เหลืออยู่แต่พระเจดีย์กับบริวาร ซึ่งตั้งรวมอยู่บนลานสูง มีบันไดขึ้นไป 4 หรือ 5 ขั้น ทั้งพระเจดีย์และวิหารไม่สู้ใหญ่โตนัก ในพระเจดีย์นั้นได้บรรจุตุ่มเคลือบขนาดใหญ่ ชนิดที่เรียกว่าตุ่มนครสวรรค์นั้นไว้ 3 ตุ่ม ถูกต่อยทะลวงเสียแล้วทั้ง 3 ตุ่ม เพราะฉะนั้นไม่มีอะไรเหลืออยู่ในนั้นเลย ตุ่มนั้นใหญ่มาก คนผู้ใหญ่เข้าไปนั่งในนั้นได้คนหนึ่ง วีบรรจุตุ่มนั้น ตุ่ม 1 อยู่ตรงตัวระฆังพระเจดีย์ อีกสองตุ่มอยู่ในฐาน องค์พระเจดีย์ที่ตรงระฆังก็เท่าตุ่มนั้นเอง คือตั้งตุ่มลงก่อนแล้วก่อแลงทับชั้นเดียว ปากตุ่มบนกับคอระฆังตรงกันและก่อชอดช้อนขึ้นไปบนนั้น ในตุ่มทั้ง 3 นั้นจะมีอะไรอยู่ก็ไม่ได้ความ แต่น่าจะเป็นพระพิมพ์ เพราะพระพิมพ์กำแพงเพชรเช่นชนิดที่เรียนกว่า พระกำแพงเขย่งนั้นก็ขุดได้จากเจดีย์สถานในเมืองโบราณนี้เอง เพราะเหตุนี้ พระเจดีย์วัดตึกพราหมณ์จึงถูกทะลวงเสียป่น พื้นวิหารก็ขดุเสียหลายบ่อ จนชั้นพระประธานแลงในวิหารก็ถูกเจาะที่พระทรวงจนเป็นรู น่าสังเวชจริงๆ” พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบรรยายถึงวิธีการทำลายเจดีย์และโบราณสถานต่างๆ เพื่อทรัพย์สมบัติและพระพิมพ์อันลือชื่อ ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ว่า  
              “แต่การที่ถูกทำลายเช่นนี้มีทั่วไปในเมืองกำแพงเพชร และเมืองเก่าๆ อื่นๆ มีคนอยุ่จำพวกหนึ่ง ซึ่งเคยหาเลี้ยงชีพในทางค้นหาทรัพย์ต่างๆ พระวิเชียรปราการเล่าว่าคนจำพวกนี้ความชำนาญจนบอกได้ว่า พระเจดีย์รูปอย่างไร จะมีตรุฝังที่ตรงไหน ตรงไปถึงก็ทำลายที่ตรงต้องการทีเดียว ไม่ต้องมัวเสียเวลาค้นวิธีทำลายก็ออกความคิดกันต่างๆ ถ้ามีกำลังน้อยๆ ใช้วิธีอาศัยแรงต้นไม้เป็นอย่างง่าย คือเอาหวายผกูโยง ยอดพระเจดีย์ไปผูกติดกับยอดไม้ ซึ่งได้ดึงโน้มลงมาหาแล้ว พอฟันต้นไม้ให้ล้มลงก็พาพระเจดีย์โค่นลงไป ด้วยดังนี้ นับว่าอยู่ข้างจะช่างคิด ถ้าใช้ความคิดเช่นนี้ในที่อันควรจะน่าสรรเสริญหาน้อยไม่ พระวิเชียรปราการได้เลา่ต่อไปว่า วิธีที่กล่าวแล้วนั้นได้ทราบมาจากชายผู้หนึ่ง ซึ่งแต่ก่อนเป็นผู้ชำนาญในทางทำลายพระเจดีย์ และโบราณสถานต่างๆ เพื่อหาตรุ ชายผู้นี้บัดนี้เป็นคนพิการ หนังลอกกลายเป็นเผือกไปทั้งตัว และกลายเป็นง่อยเดินไม่ได้ ไปไหนก็ต้องถดั นี่ถ้าจะนึกไปก็ควรจะวา่กรรมตามทนั และดูไม่น่า่สงสารเลย” ส่งท้ายในฉบับนี้ด้วยการนำบทพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวใน หนังสือ “เที่ยวเมืองพระร่วง” เพื่อเป็นข้อเตือนใจของชาวกำแพงเพชรทกุคน ว่า “เมืองกำแพงเพชรต้องนับว่าเป็นเมืองเคราะห์ร้าย ที่มีชื่อเสียงแล้วว่ามีพระพิมพ์ดีๆ” “พระกำแพงก็คงต้องเป็นสิ่งมีราคาอยู่ตราบนั้น และสถานที่ต่างๆ ที่เป็นที่ควรรักษาไว้เป็นอนุสรณ์ของชาติ ก็จะยังคงต้องถูกขุดถูกท าลายลงเพราะความโลภของผู้ขุดพระ และความ หลงของคน "เก่ง" ที่ต้องการพระนั้น เพราะเป็นธรรมดาความโลภและความหลงทั้ง 2 ประการนี้ อาจทำให้คนลืมทิ้งชาติทิ้งศาสนาได้”

คำสำคัญ : เที่ยวเมืองพระร่วง

ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ย้อนรอย “เที่ยวเมืองพระร่วง” ตอนที่ 3 (วัดช้างรอบ,วัดพระนอน,วัดตึกพราหมณ์). สืบค้น 28 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1309&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1309&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์

เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง  และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 1,736

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

ประวัติอำเภอเมืองกำแพงเพชร

อำเภอเมืองกำแพงเพชร เป็นบ้านเมืองมาแต่สมัยใดยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนนัก สันนิฐานว่าอาจจะเป็นบ้านเมืองมาก่อนสมัยอาณาจักรสุโขทัยเพราะจากตำนานสิงหนวัติก็กล่าวถึงไว้ว่าพระเจ้าพรหม โอรสของพระเจ้าพังคราช ซึ่งประสูติเมื่อ พ.ศ.1461 พอพระชนมายุได้ 16 พรรษาก็ยกทับขับไล่พวกขอมลงมาจนถึงเมืองกำแพงเพชร และต่อมาพระเจ้าศิริ โอรสของพระพรหมได้อพยพไพร่พลหนีข้าศึกมอญมาสร้างเมืองกำแพงเพชรเป็นที่ประทับ ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าในปัจจุบันยังมีศิลปวัตถุที่เป็นเทวาลัยของขอม เช่น วิหารพิกุลเดิม ซึ่งเป็นเครื่องชี้บอกให้เห็นว่าเมืองกำแพงเพชรเป็นบ้านเมืองตั้งแต่อาณาจักรสุโขทัย

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,292

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัดกำแพงเพชร

ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี

เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 5,978

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

พระบรมธาตุเสด็จออกจากเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม

ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,331

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,211

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร

นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)

เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 3,903

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมืองไตรตรึงษ์สมัยพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จประพาสต้น

เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2449 พระบาทสมเด็จพรจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 หรือพระพุทธเจ้าหลวงของปวงชนชาวไทย ได้เสด็จประพาสต้นหัวเมืองทางเหนือโดยมีจุดปลายปลายทางอยู่ที่เมืองกำแพงเพชร ในการเสด็จประพาสต้นในครั้งนั้นพระองค์ได้ทรงบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ  ที่ได้ทอดพระเนตรและทรงให้บันทึกเรื่องราวเอาไว้เป็นบทพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ซึ่งมีเนื้อเรื่องบางตอนเกี่ยวข้องกับเมืองไตรตรึงษ์ ดังข้อความดังนี้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,164

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณวังโบสถ์ บ้านเทพนคร

เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 2,874

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 714

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,224