เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 714

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร]

           มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี จึงมีพระนามชื่อนางแก้วกัลญานี มีอายุได้ 17-18 ปี มีพระทัยสภัคยินดีด้วยราคจิต คิดอยากเสวยมะเขือเป็นกำลังยิ่งนัก จึงให้ทาสาทาสีไปเที่ยวหาซื้อมะเขือ ทาสาทาสีนั้นจึงไปเที่ยวหาซื้อมะเขือที่ตลาดใต้เหนือหลายแห่งไม่ได้มะเขือ จึงสืบเสาะไปจนถึงไร่ของบุรุษนั้น จึงซื้อมะเขือลูกใหญ่งามของ บุรุษเป็นปมนั้นได้ จึงนำถวายแก่พระราชธิดา พระราชธิดาจึงเสวยมะเขือนั้น จะมีเหตุให้บังเกิดโอชารสซับซาบ ให้นางมีจิตปิติโสมมนัสยินดียิ่งนักเป็นกำลัง จนมีกายกำเริบต่าง ๆ ทั้งนี้นางนั้นจะได้พระราชบุตรผู้มีบุญมาเกิด แลจะได้พระภัสดาสามีผู้มีบุญาธิการมาก อนึ่งเหตุภาวะแห่งคนทั้งสามนั้นได้กระทำบุญมาด้วยกันแต่ก่อน ในกาลนั้นสัตว์ผู้หนึ่งมีบุญญาธิการได้กระทำมามาก มาอุบัติปฏิสนธิบังเกิดในครรภ์นิเครธรนแห่งพระราชธิดานั้น ด้วยเหตุว่านางได้เสวยมะเขืออันเป็นชื้ออุปสัยสัมภวะแห่งบุรุษสีวรกายเป็นปม อันกระทำปัสสาวะในที่ใกล้ริมต้นมะเขือนั้น ครรภ์อุทรแห่งนางแก้วกัลป์ยานีนั้นก็เห็นปรากฏขึ้นมา ฝ่ายพระญาติพระวงศาครั้นเห็นครรภ์แห่งนางเห็นวิปริต จึงไต่ถามตามประเพณีคดีโลก ได้ฟังเหตุอันนางด้วยวาจาสัจว่าข้านี้มิได้คบหาสังวาสด้วยบุรุษ ผู้ใดผู้หนึ่งเป็นอันขาด ก็เห็นความจริงด้วยสุจริต ด้วยอาณุภาพบุญแห่งสัตว์อันอยู่ในครรภ์นั้น พระญาติวงศ์ทั้งหลายมิได้โกรธ เชื่อถือช่วยกันอภิบาลรักษาครรภ์ด้วยเมตตาจิต นางนั้นก็รักษาครรภ์นั้นมา เมื่อถ้วนกำหนดทศมาศจึงคลอดซึ่งพระราชบุตร ทรงพระรูปโฉมงามยิ่งนักประดุจรูปทอง ประกอบด้วยลักษณะอันบริบูรณ์
           พระญาติวงศ์มีพระเมตตารักใคร่ ช่วยบำรุงบำเรออุปถัมภนาการ เลี้ยงรักษาด้วยสุจริตเป็นปกติมา สมเด็จพระอัยกานั้นมีพระทัยปรารถนา เพื่อจะเสี่ยงทายพระราชนัดดา ทดลองดูจะใคร่รู้ว่าบุรุษผู้ใดจะเป็นบิดาของพระราชกุมาร ครั้งทรงพระดำริแล้วจึงสั่งแก่ราชบุรุษทั้งหลายว่า “ท่านทั้งหลาย จงให้คนเอาฆ้องกลองไปเที่ยวตีป่าวบอกกล่าวแก่บุรุษทั้งหลายในกรุงนอกกรุงศรีฯ แขวง จังหวัดจงทั่วตั้งแต่พรุ่งนี้ไป 3 วัน  ให้บุรุษทั้งหลายเข้ามาในพระราชวังให้ถือมาซึ่งขนมและผลไม้ต่าง ๆ ตามที่มีแต่สิ่งละน้อยให้เร่งเข้ามา” ราชบุรุษทั้งหลายก็ให้ไปเที่ยวตีฆ้องร้องป่าวทั่วทุกทิศตามรับสั่ง ฝ่ายบุรุษทั้งหลายรู้ว่ารับสั่งให้เข้าไปในพระราชวัง ดังนั้นได้ขนมบ้าง ได้ผลไม้ต่าง ๆ กัน เผือก มัน กล้วย อ้อย ตามที่มีก็ถือเข้าไปในพระราชวัง สมเด็จพระอัยกาให้ตกแต่งประดับพระราชนัดดา ด้วยเครื่องกุมารอาภรณ์อลังกาอันวิจิตร วิภูษิตสังวาล งามเลิศแล้ว จึงให้พระหลานแก้วนิสีทนาการเหนือราชอาสน์ อันตกแต่งเป็นอันดีในพระราชฐาน แล้วให้เรียกหาบุรุษเข้ามาทีละคนให้ถือขนมของกินกล้วยอ้อยผลไม้เข้าไปสู่สำนักแห่งพระราชกุมาร สมเด็จพระอัยกาจึงอธิษฐานว่า “บุรุษผู้ใดเป็นบิดาของราชกุมารแท้จริงไซร้ ก็ให้พระราชกุมารนี้จงถือข้าวของวัตถุของบุรุษนั้น ถ้ามิใช่บิดา อย่าให้พระราชกุมารถือข้าวของวัตถุของบุรุษผู้นั้นเลย” ครั้นตั้งอธิฐานแล้วก็ให้พระราชกุมารเข้าไปถือเอาของวัตถุบุรุษนั้น แลชายแสนปมนั้นได้แต่ก้อนข้าวเย็นถือมาก้อนหนึ่ง พระราชกุมารก็เข้ากอดคอแล้วรับเอาก้อนข้าวเย็นมาเสวย ชนทั้งปวงเห็นพิศวงชวนกันติเตียนต่าง ๆ พระเจ้าไตรตรึงษ์ พระเจ้าไตรตรึงษ์ละอายพระทัยได้ความอัปยศ จึงพระราชทานพระราชธิดาและพระราชนัดดาให้แก่นายแสนปม ให้ใส่แพลอยไปถึงที่ไร่มะเขือ อันเป็นที่อยู่ไกลจากพระนครวันหนึ่งชายแสนปมก็พาบุตรภรรยาขึ้นสู่ไร่ ด้วยเดชะบุญชนทั้ง 3 บันดาลให้สมเด็จจอมอมรินทราธิราช นิมิตกายเป็นวานร เอากลองทิพย์มาส่งให้ชายแสนปม แล้วตรัสบอกว่า “ท่านปรารถนาสิ่งใดจงตีกลองนี้ อาจให้สำเร็จความปรารถนาได้สิ้น” ชายแสนปมจึงปรารถนาให้รูปงามจงตีกลองนั้น ปมเปาทั้งปวงก็อันตรธานสูญหาย รูปกายนั้นก็บริสุทธิ์ แล้วก็น้ากลองนั้นมาสู่ที่อยู่แล้วก็ บอกแก่ภรรยา นางก็มีความยินดี จึงตีกลองทิพย์นิมิตทองให้ช่างตีอู่ทองให้พระโอรสบรรทม เหตุดังนั้นพระราชกุมารจึงมีนามว่า “เจ้าอู่ทอง” จำเดิมแต่นั้นมา
           จุลศักราช 681 ปีมะแมเอกศก บิดาเจ้าอู่ทองจึงตีกลองทิพย์นิมิต เป็นพระนครขึ้นในที่นั้นให้นามชื่อว่า เทพมหานคร เหตุสำเร็จด้วยอานุภาพเทพยดา แลชนทั้งหลายชวนกันมาอาศัย ณ เมืองนั้นเป็นอันมาก พระองค์ได้เสวยราชสมบัติทรงพระนามพระเจ้าสิริไทยเชียงแสน (ศรีวิชัยเสียงแสน) ปรากฏในสยามประเทศนี้ จุลศักราช 706 ปีวอกฉอศก สมเด็จเจ้าสิริไชยเชียงแสนทิวงคต อยู่ในราชสมบัติ 26 ปีแล้ว กลองทิพย์นั้นก็อันตรธานหาย สมเด็จพระเจ้าอยู่ทองราชโอรสได้เสวยราชสมบัติแทนพระราชบิดาได้ 6 พระพรรษา ทรงพระปรารภจะสร้างพระนครใหม่ จึงให้ราชบุรุษเที่ยวแสวงหาภูมิประเทศที่มีพรรณมัจฉาชาติบริบูรณ์ ราชบุรุษก็เที่ยวหามาโดยทักษิณ ถึงประเทศที่หนองโสน กอรปด้วยพรรณปลาพร้อมทุกสิ่ง จึงกลับไปกราบทูลพระเจ้าอู่ทองจึงยกจตุรงค์โยธาประชาราฎร์ทั้งปวงมาสู่ประเทศที่นั้น
          จุลศักราช 712 ปีขาลโทศก ทรงสร้างพระนครเสร็จให้นามชื่อ กรุงเทพมหานคร ตามนามพระนครเดิม ๑ ให้นามชื่อ ทวารวดี เหตุมีคงคาล้อมรอบดุจนามเมือง ทวารวดี ๑ ให้ชื่อ สีอยุทธยา เหตุเป็นที่อยู่แห่งชนชราทั้งสอง ศรีแลตาอุทธยา เป็นสามีภรรยากัน อาศัยอยู่ในที่นั้นนาม ๑ แลนามทั้งสามประกอบกันจึง เรียกว่า กรุงเทพมหานครทวารวดีศรีอยุทธยา สมเด็จพระเจ้าอู่ทองได้ราชาภิเษกเสวยราชสมบัติ พระชนม์ได้ 37 พระพรรษา ถวายพระนามสมเด็จพระเจ้ารามาธิบดี แลเมื่อได้ราชาภิเษกนั้น ได้สังข์ทักษิณาวรรตภายใต้ต้นหมันในพระนครสังข์ ๑ แล้วทรงสร้างพระที่นั่งไพรทูริยมหาปราสาททอง สองที่นั่งไพรชนมหาปราสาทองค์หนึ่ง พระที่นั่งไอยสวรรมหาปราสาทองค์หนึ่ง แล้วให้พระบรมราชาธิราช (ขุนหลวงพะงั่ว) ผู้เป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ ตรัสเรียกว่าพระเชษฐธิราชนั้นไปครองเมืองสุพรรณบุรี ให้พระราชบุตรทรงพระนามพระราเศวร ไปครองเมืองลพบุรี ครั้งนั้นเมืองประเทศราชขึ้น 16 เมือง คือเมืองมะลากา ๑ เมืองชะวา๑ เมืองตะนาวสี ๑ เมืองทวาย๑ เมืองเมาะตะมะ ๑ เมืองเมาะ ลำเลิง ๑ เมืองนครศรีธรรมราช ๑ เมืองสงขลา ๑ เมืองจันทบูรณ์ ๑ เมืองพระพิศนุโลกย์ ๑ เมืองสวรรคโลก ๑ เมืองสุโขทัย ๑ เมืองพิไชย ๑ เมืองพิจิตร ๑ เมืองกำแพงเพชร ๑ เมืองนครสวรรค์ ๑ และพระองค์สร้างวัดพุทธไทสวรรค์แลวัดป่าแก้ว จุลศักราช 731 ปีระกาเอกศก สมเด็จพระรามาธิบดีสวรรคตอยู่ในราชสมบัติ 20 ปี

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์ตามเอกสารประชุมพงศาวดาร. สืบค้น 27 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1321&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1321&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

เมืองไตรตรึงษ์สมัยรัตนโกสินทร์

มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ   เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,051

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,415

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

จารึกลานเงินจารึกเรื่องการสร้างพระเครื่องและการอาราธนาพระเครื่องที่พบในเจดีย์พระบรมธาตุ นครชุม

เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,223

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,613

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ทบทวนประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร

ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร มีเมืองโบราณตั้งอยู่มากมาย ยืนยันได้ว่ากำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณมาช้านาน ไม่ต่ำกว่าพันปี เมืองที่รู้จักกันดี คือเมืองแปบ อยู่บริเวณตีนสะพานกำแพงเพชร ฝั่งนครชุม ตั้งแต่หัวยางถึงวัดพระบรมธาตุนครชุม แต่ปัจจุบันไม่พบหลักฐาน เพราะเมืองแปบทั้งเมืองถูกน้ำกัดเซาะทำลายสิ้นทั้งเมือง แต่ประชาชน ยังเรียกขาน บริเวณนี้ว่าวังแปบอยู่ เมืองเทพนคร อยู่บริเวณตำบลเทพนครในปัจจุบันสำรวจล่าสุดปี 2556 เดิมเมื่อฝรั่งเข้าไปทำเกษตร บริเวณนั้นเคยเรียกว่า ปางหรั่ง หรือปางฝรั่ง ปัจจุบันพบเพียงคูน้ำเพียงด้านเดียว พบป้อมปราการท้ายเมืองหนึ่งป้อม เพราะเมืองเทพนคร มีอายุอยู่ในระยะสั้นมาก อาจไม่ถึงช่วงสองร้อยปี (ราวพุทธศกัราช 1600-1800)

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,223

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี : เมืองพักระหว่างทางของพระนางจามเทวี

เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,353

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

ทำเนียบเจ้าเมืองชากังราว กำแพงเพชร

พระยางั่ว สมเด็จพระยาดำรงราชานุภาพ กล่าวไว้ในประชุมปาฐกถาตอนที่ว่าด้วย "พงศาวดารกรุงสุโขทัยคราวเสื่อม" ถึงเรื่องเมืองชากังราว น่าจะสร้างขึ้นเป็นเมืองลูกหลวง คู่กับเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ และพระยางั่ว ครองเมืองซากังราว และได้เกิดชิงราชสมบัติกันกับพระยาลิไทย พระยาลิไทยเป็นผู้ชนะและได้สมบัติ พระยางั่วจึงเป็นผู้ครองเมืองกำแพงเพชร อยู่ก่อนที่พระยาไทยจะขึ้นเสวยราชย์ คือราว พ.ศ.1890 ซึ่งเป็นปีเสวยราชย์ของพระยาลิไทย

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 260

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

พระแก้วมรกตกับเมืองกำแพงเพชร

ตำนานพระแก้วมรกต จากพงศาวดารเหนือ ความว่า พระเจ้าอาทิตย์ราชก็ทรงปิติโสมนัสพระทัยหาที่สุดมิได้ ก็เข้าถวายบูชาพระแก้วมรกตทุกวันมิได้ขาด ด้วยอานุภาพของพระแก้วมรกต พระพุทธศาสนาก็เจริญรุ่งเรืองมากในกรุงศรีอโยธยา สืบกษัตริย์ต่อมาได้หลายชั่วกษัตริย์ อยู่ต่อมาข้างหน้า เจ้าพระยากำแพงเพชรก็ยกกองทัพเรือมาทูลขอพระแก้วเจ้าขึ้นไปไว้เมืองกำแพงเพชร ต่อมามินานท่านก็มีพระราชบุตรพระองค์หนึ่ง เมื่อเจริญเติบโตขึ้นพระองค์ตั้งให้ขึ้นไปครองเมืองละโว้ ครั้นนั้นพระราชบุตรมีความระลึกถึงพระแก้วมรกตเป็นที่สุด ด้วยมีน้ำพระทัยอยากได้พระแก้วมรกตไว้ปฏิบัติบูชารักษา

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,041

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุมล่มสลายกลายมาเป็นบ้านปากคลอง

เมืองนครชุม เป็นเมืองโบราณ เดิมเป็นเมืองอิสระ มีกษัตริย์ปกครองตนเอง มีกำแพงเมืองใหญ่ก่อนร่วมอาณาจักรกับสุโขทัย สถาปนามาก่อนพุทธศักราช ๑๘๐๐ ได้ยกฐานเป็นเมืองลูกหลวงของอาณาจักรสุโขทัย (เมืองลูกหลวงหมายถึง เมื่อพระมหากษัตริย์สุโขทัยมีราชโอรสจะส่งมาปกครอง) เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองสูงสุด ในสมัยของพญาลิไทกษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัย โดยเสด็จมาเมืองนครชุม และสถาปนา พระบรมสาริกธาตุ และพระศรีมหาโพธิ์ขึ้นที่เมืองนครชุมแห่งนี้ เมืองนครชุมเจริญรุ่งเรืองถึงราว พุทธศักราช ๒๐๐๐ เกิดน้ำกัดเซาะรวมทั้งเกิดไข้ป่าและโรคระบาด ทำให้เมืองนครชุม ถึงกาลล่มสลาย

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,210

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

จากเมืองนครชุม มาเป็นบ้านปากคลองสวนหมาก จากบ้านปากคลองสวนหมาก มาเป็นตำบลนครชุม

นครชุม เป็นชื่อของเมืองโบราณในสมัยสุโขทัยต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างกว่า ๓๐๐ปี ในสมัยรัตนโกสินทร์ไม่มีชื่อเป็นที่รู้จัก ผู้คนทั่วไปคงเรียกบริเวณที่ตั้งบ้านเรือนของราษฎรบริเวณนี้ว่า “ปากคลองสวนหมาก” เพราะมีคลองสวนหมากไหลมาออกแม่น้ำปิง ราษฎรส่วนใหญ่เป็นชาวลาวที่อพยพมาจากเวียงจันทน์ ที่มารู้จักว่าชื่อแต่เพียงบ้านปากคลองสวนหมาก ไม่มีใครรู้จัก เมืองนครชุม ตำบลคลองสวนหมาก เป็นชุมชนที่สร้างตัวขึ้นมาในสมัยพระพุทธเจ้าหลวงจากเหย้าเรือนฝาขัดแตะไม่กี่หลังคาเรือน แต่มีที่ทำกินในผืนดินอันอุดมสมบูรณ์เนื่องจากมีแม่น้ำปิงไหลผ่านและมีคลองสวนหมากไหลมาจากป่าโป่งน้ำร้อนให้น้ำหล่อเลี้ยงมาอย่างต่อเนื่อง

เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,430