ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้ชม 5,570
[16.3194159, 99.4823679, ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร]
ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร
นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง
ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)
จึงทรงพระราชทานนามสกุลให้ว่า “นุชนิยม” ทรงอธิบายว่า มาจากคำสมาส “นุช + นิยะมะ แปลว่า "กำหนดโดยพระยากำแพงเพชร นุช" แต่เขียนให้เป็นแบบไทยๆว่า “นุชนิยม” โดยให้คงรูปภาษาโรมันไว้แบบเดิม คือ NUJANIYAMA –นูจานิยามา (นุชนิยะมะ) ดังนั้นนามสกุลพระราชทานพิเศษลำดับที่ 4787 นี้จึงใช้นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน (บันทึก - ในการทำพาสปอร์ต มีปัญหาในการใช้นามสกุล NUJANIYAMA เพราะเวลาในการเรียกขึ้นเครื่องบิน จะออกเสียงเป็น "นูจานิยาม่า" ทางกรมการกงศุล ฝ่ายทำพาสปอร์ต จึงขอให้เปลี่ยนนามสกุลที่ออกเสียงตรงกับภาษาไทย จึงมี ทั้ง NOOCHNIYOM และ NUCHNIYOM)
ต้นสกุล นุชนิยม คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภัยพิริยปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร-นุช) เดิมรับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ ในรัชสมัยขององค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ พระยากำแพงเพชร-นุช มีภรรยาเรียกกันว่า ท่านผู้หญิงชี แต่ชื่อจริงเรียก “กาว” เป็นราชธิดาเจ้าผู้ครองนครเชียงราย พระยากำแพงเพชร-นุช เป็นญาติกับสมเด็จพระพุฒาจารย์ วัดระฆังเรียกกันว่าท่านเจ้าโต สมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ครั้นพระยากำแพงเพชร-นุช ได้ไปราชการทัพหลายครั้ง มีความดีความชอบ องค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกฯ ได้พระราชทาน ดาบด้ามทองฝักทองคำเป็นบำเหน็จ (ดาบนี้อยู่ที่ศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร) และอีกทั้งได้รับพระราชทานตำแหน่งให้เป็นผู้สำเร็จราชการเมืองกำแพงเพชร
พระยากำแพงเพชร-นุช มีบุตรกับท่านผู้หญิงชี คือ
1 ท่านผู้หญิง แพง เป็นภรรยาพระกำแพงเพชร (นาค) มีบุตรด้วยกัน 6 คน ชาย5 หญิง 1 คือ
1.1 พระยากำแพงเพชร (บัว) ไปราชการทัพเวียงจันทร์ กลับมาก็ถึงอนิจกรรมในเวลานั้น
1.2 เป็นพระยาสวรรคโลก (เถื่อน) ลงไปรับราชการอยู่กรุงเทพฯ เป็นพระยาราชสงครามไปราชการทัพเวียงจันทร์ ได้ลาวเชลยมา 100 ครัวมีความชอบโปรดเกล้าให้ขึ้นมาเป็นพระยากำแพงเพชรแทนพี่ชายและได้รับพระราชทานลาว 100 ครัวเรือนด้วย ได้ให้เชลยตั้งบ้านเรือนอยู่วัดป่าหมู เหนือบ้านหลวงมนตรี ปัจจุบันเรียกว่า “เกาะยายจันทร์” รับราชการได้ 16 ปีเศษ พระยากำแพงเพชร (เถื่อน) ก็ถึงอนิจกรรม
1.3 ชื่อ น้อย เป็นพระพลอยู่แล้ว ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยากำแพงเพชร รับราชการ 15 ปี ถึงแก่อนิจกรรม
1.4 ชื่อ เกิด รับราชการเป็นพระยาตากอยู่ 10 ปี ไปราชการทัพเชียงตุง กลับจากทัพได้เลื่อนเป็นพระยากำแพงเพชรแทนพี่ชาย อยู่ 11 ปี จึงถึงแก่อนิจกรรม (เป็นปู่ของพระกำแหงสงคราม- ฤกษ์ นุชนิยม)
1.5 ชื่อ สุดใจ รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ เป็นที่พลพ่าย
(ท่านทั้ง 5 นี้เป็นมหาดเล็กหุ้มแพรทุกท่าน)
1.6 ชื่อ อิ่ม เป็นท้าวอยู่ในแผ่นดินสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย และรับราชการอยู่จนแผ่นดินพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4 ในระหว่างนั้น พระอินทรเดช (บัว) เป็นคนกรุงเก่าต่างสกุลมาเป็นผู้รักษาการเมืองคือ ต้นสกุลรามโกมุท มารับราชการได้ 3 ปีก็ออกจากที่นั่น
2 ท่านผู้หญิงพลับ
3 บุตรชายที่เป็นพระฤทธิเดช รับราชการอยู่ที่กรุงเทพฯ
จาก 1.4 พระยากำแพงเพชร (เกิด) สมรสกับท่านผู้หญิงทรัพย์ มีบุตร ธิดา รวม 9 คน คือ
1. คุณย่าหุ่น
2. คุณย่านก-คุณปู่เสือ
3. คุณย่าขำ
4. หลวงวิเศษสงคราม (ดิษฐ์)
5. คุณย่าผึ้ง-พระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม นุชนิยม)
6. หลวงพิพิธอภัย (ต่าย รามสูต)
7. พระยากำแพงเพชร (อ้น รามสูต)
8. คุณหญิงภู่-พระยากำแพงเพชร (หรุ่น อินทรสูต)
9. คุณย่าทองหยิบ
ต่อมาทั้ง 9 ท่านได้สืบสายสกุลรวม อย่างน้อย 15 สายสกุลคือ
สายสกุลสายตรง - กำแหงสงคราม, กลิ่นบัว, นาคน้อย, นุชนิยม, รอดศิริ, รามบุตร, รามสูต, ศุภดิษฐ์ และอินทรสูต---เรียงตามอักษร
สายสกุลที่เกี่ยวข้อง - กัลยาณมิตร สายพระสุจริตรักษา, ชูทรัพย์, ชูพินิจ, รัชดารักษ์, รามโกมุท และวิชัยขัทคะ-สายพระศรีพัฒนาการ
พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม) เกิดจากคุณย่าผึ้ง ในวันที่พระกำแหงสงคราม (เหลี่ยม) ผู้บิดา กำลังจัดทัพไปรบในสงครามขบถเจ้าอนุวงศ์ คนที่บ้านมาแจ้งว่าท่านได้บุตรชาย ท่านบอกให้คนมารายงานว่า "ให้ตั้งชื่อลูกที่เกิดมาว่า ชื่อ"ฤกษ์" แล้วออกทัพไปราชการสงครามด้วยจิตใจที่เด็ดเดี่ยว
พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์) รับราชการสนองพระเดชพระคุณรับใช้ชาติในสงครามปราบศึกฮ่อ รัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนสงบราบคาบ แล้วกลับมาอยู่กำแพงเพชร จนถึงสมัยสงครามโลกครั้งที่สอง เกษียณอายุราชการ แต่ไปช่วยเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) ในตำแหน่งกรมการพิเศษ ก่อตั้งค่ายสุรศักดิ์มนตรี มณฑลทหารบกที่ 7 จังหวัดลำปาง
ในปัจจุบัน มีผู้ใช้นามสกุล "นุชนิยม" มีจำนวนประมาณ 350 คน
คำสำคัญ : สายสกุล
ที่มา : http://www.sunti-apairach.com/letter/index.php/topic,1404.0/wap2.html
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ประวัติความเป็นมาของสายสกุล “นุชนิยม” และความเกี่ยวพันกับตระกูลพระยากำแพงเพชร. สืบค้น 27 มีนาคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1337&code_db=610001&code_type=01
Google search
กำแพงเพชร มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองสัตว์สองตีนสี่ตีนในเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคือเทวรูปพระอิศวร พระอิศวร คือเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ เรียกกันว่าพระศิวะก็ได้ พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจมากและดุร้าย จึงนับว่าเป็นเทพผู้สร้าง ผู้ทำลาย เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือพระศอสีนิล พระองค์สีแดง มีพระเนตรที่สาม เมื่อลืมตาที่สามแล้วจะทำลายล้างโลกได้สิ้น แล้วจึงสร้างใหม่ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดคือ ศิวลึงค์ พระอิศวรมีพระมเหสี คือพระนางอุมาเทวี พระอิศวร มีงูเป็นสังวาล กะโหลกศีรษะมนุษย์ร้อยเป็นสร้อยพระศอ ทรงโคเผือก อุศุภราช นุ่งหนังเสือ แบบพระฤาษีทรงพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม สถิต ณ เขาไกรลาส เป็นที่เคารพบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั่วโลก
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,781
ธงประจำจังหวัดกำแพงเพชร เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีพื้นสีอยู่ 3 สี คือ สีเหลือง สีแดง และสีเขียวใบไม้ มีรูปตราประจำจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ตรงกลางแถบสีแดง แถบสีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองของเมืองกำแพงเพชร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางพระพุทธศาสนา กำแพงเพชรมีโบราณสถานและโบราณวัตถุมากมายและย่ิงใหญ่ที่สุดจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย กำแพงเพรมีพระเครื่องนับพันพิมพ์ จนได้รับการยกย่องให้เป็นจังหวัดที่ีพระเครื่องมากที่สุด และทรงคุณค่ามากที่สุดจนเป็นคำขวัญประจำจังหวัดวรรณหนึ่งว่า "กรุพระเครื่อง" แถบสีเขียว หมายถึง เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่อุดมสมบูรณ์ เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เต็มไปด้วยป่าไม้ น้ำตก และพืชพันธุ์ธัญญาหาร เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญ มีประชากรจากทุกสารทิศอพยพเข้ามาสู่เมืองกำแพงเพชรอย่างมากมาย ความหมายโดยรวม เมืองกำแพงเพชรเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน โดยเฉพาะอย่างย่ิงทางด้านพระพุทธศาสนา ประชาชนมีความกล้าหาญในการสงครามอย่างหาที่เปรียบมิได้ มีความอุดมสมบูรณ์ในการเป็นอู่ข้าวอู่น้ำของประเทศไทยมาโดยตลอด
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 3,429
บทพระราชนิพนธ์ เที่ยวเมืองพระร่วง ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงบันทึกเอาไว้ ตอนหนึ่งมีความว่า “…ยังมีสิ่งที่ทำให้น่าเชื่อถือมากขึ้นคือถนนระหว่างกำแพงเพชรกับสุโขทัยนั้นได้ผ่านไปใกล้เมืองย่อมๆ 3 เมืองตรงตามความในหลักศิลา แต่เมื่อข้าพเจ้าเดินตามถนนนั้นได้เห็นปลายถนนทางด้านตะวันตกไปหมดอยู่เพียงขอบบึงใหญ่อันหนึ่ง ห่างจากเมืองกำแพงเพชรกว่า 100 เส้น พระวิเชียรปราการแสดงความเห็นว่าน่าจะข้ามบึงไป แต่น้ำได้พัดทำลายไปเสียหมดแล้ว ข้อนี้ก็อาจจะเป็นได้ แต่ข้าพเจ้ายังไม่สู้จะเชื่อนัก ยังนึกสงสัยอยู่ว่าคงจะมีต่อไปจนถึงเมืองเชียงทอง แต่เมื่ออยู่ที่กำแพงเพชรก็ยังไม่ได้ความ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,184
มีหลักฐานเกี่ยวกับเมืองไตรตรึงษ์และพระเจ้าอู่ทองว่าเป็นใครมาจากไหน ปรากฏอยู่ในหนังสือประชุมพงศาวดาร ฉบับกาญจนาภิเษก เล่ม 1 ซึ่งเขียนไว้มีความว่า ในกาลครั้งนั้นยังมีบุรุษผู้หนึ่ง มีสรีรกายเป็นปมเปาหูดต่อมทั่วทั้งตัว เป็นคนไพร่อยู่ในบ้านนอกใต้เมืองไตรตรึงษ์ อันชื่อว่าเมืองแปปนั้นลงมาทางไกลวันหนึ่ง ทำไร่ปลูกฟักแฟงแตงน้ำเต้าพริกมะเขือต่าง ๆ กล้วย อ้อย เผือก มัน ขายแลกเลี้ยงชีวิต หาภริยามิได้มาช้านาน มะเขือต้นหนึ่งอยู่ใกล้บันไดเรือน บุรุษนั้นไปเบาลงที่ริมต้น มะเขือนั้นเนือง ๆ ลูกมะเขือนั้นใหญ่โตงามกว่าทุกต้นในไร่นั้น ผลมะเขือนั้นเป็นที่รักที่ชอบใจยิ่งนักครั้งนั้นยังมีราชธิดาแห่งพญาไตรตรึงษ์พระองค์หนึ่ง มีพระรูปพระโฉมงามพร้อมบริบูรณ์ด้วยเบญจกัลป์ยานี
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 884
ที่บริเวณบ้านหัวยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ตรงกับตีนสะพานข้ามลำน้ำปิง ฝั่งนครชุม มีสถานที่หนึ่ง ชาวบ้านเรียกกันว่า บ้านวังแปบ เล่ากันว่า เดิมเป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่ง ที่เรียกขานกันว่าเมืองแปบ เป็นเมืองโบราณ อายุกว่าพันปี ปัจจุบันน้ำกัดเซาะจนเมืองเกือบทั้งเมืองตกลงไปในลำน้ำปิง เหลือโบราณสถานไม่กี่แห่งที่เป็นหลักฐานว่า บริเวณแห่งนี้ เคยเป็นเมืองสำคัญมาก่อน มีเรื่องเล่าต่อๆ กันมาว่า
เผยแพร่เมื่อ 16-04-2020 ผู้เช้าชม 1,907
วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่ภายในเมืองนครชุม สันนิษฐานว่าสร้างมาแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย ดังความที่ปรากฏใน จารึกหลักที่ ๓ ศิลาจารึกนครชุม) กล่าวถึงพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไทย) เสด็จฯ ไปทรงสร้างพระธาตุและทรงปลูกต้นศรีมหาโพธิ์ที่เมืองนครชุม ใน พ.ศ.1900 พระธาตุที่กล่าวไว้ในจารึกเชื่อกันว่าอยู่ที่วัดพระบรมธาตุแห่งนี้ เจดีย์ที่วัดพระบรมธาตุเดิมมี 3 องค์ องค์กลางเป็นรูปพระเจดีย์ไทย (น่าจะหมายถึงพระเจดีย์ทรงดอกบัวหรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) ฝีมือช่างสมัยสุโขทัย แต่ที่พบในปัจจุบันเป็นแบบพระเจดีย์พม่าเพราะในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีพระบรมราชานุญาติให้พ่อค้าชาวพม่าชื่อ “พญาตะก่า” ซ่อมแซมปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ ซึ่งชาวพม่าผู้ศรัทธานั้นได้สร้างตามแบบเจดีย์พม่า และมีขนาดใหญ่กว่าองค์เดิม
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 6,336
เมืองคณฑี เป็นเมืองโบราณเก่าแก่เมืองหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงทางฝั่งตะวันออก ตัวกำแพงเมืองหรือร่องรอยของเมืองเกือบไม่เหลือร่องรอยให้เห็นในปัจจุบัน ทั้งที่เป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาอย่างน้อยในช่วง พ.ศ. 1176-1204 เมื่อครั้งพระนางจามเทวี พระราชธิดาของกษัตริย์ละโว้ (พระยากาฬวรรณดิส) ซึ่งเสด็จโดยทางชลมารคจากนครละโว้ (ลพบุรี) ขึ้นไปสร้างเมืองที่นครหริภุญชัย (ลำพูน) ระหว่างทางที่เสด็จพระนางจามเทวีได้เสด็จขึ้นมาประทับที่เมืองคณฑี แล้วจึงไปพักที่เมืองกำแพงเพชร ผ่านเมืองตากไปจนถึงลำพูน
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 1,677
เมื่อสมเด็จพุฒาจารย์(โต) ได้รื้อค้นพระเจดีย์พระบรมธาตุนครชุม ภายในกรุพบแผ่นลานเงินจารึกภาษาขอม กล่าวถึงตำนานการสร้างพระพิมพ์และวิธีการสักการบูชาพร้อมลำดับอุปเท่ห์ไว้พระพิมพ์ที่ได้จากกรุนี้คือ ว่ามีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนฤาษีพิราลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่งฤาษีตาวัวตนหนึ่ง เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งนี้จะเอาอันใดให้แก่พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงปรึกษาแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพรเป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 4,278
พ.ศ. 2313 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งพระยาสุรบดินทร์ ข้าหลวงเดิมเป็นพระยากำแพงเพชร ล่วงมาถึงปีขาล 2313 มีข่าวมาถึงกรุรธนบุรีว่า เจ้าพระฝางให้ส่งกำลังลงมาลาดตระเวนถึงเองอุทัยธานี และเมืองชัยนาท เป็นทำนองว่าจะคิดลงมาตีกรุงธนบุรี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้เตรียมกองทัพจะยกไปตีเมืองเหนือในปีนั้น พระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จโดยกระบวนทัพเรือยกกำลังออกจากรุงธนบุรี เมื่อวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 8 ไปประชุมพล ณ ที่แห่งใดไม่ปรากฏหลักฐาน เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีปราบชุมนุมพระฝางได้แล้ว ก็เท่ากับได้เมืองเหนือกลับมาทั้งหมด พระองค์ได้ประทับจัดการปกครองเมืองเหนืออยู่ตลอดฤดูน้ำ เกลี้ยกล่อมราษฏรที่แตกฉานซ่านเซ็นให้กลับมาอยู่ตามภูมิลำเนาเดิม จัดการสำรวจไพร่พลในเมืองเหนือทั้งปวง
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,495
อำเภอลานกระบือ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร มีชื่อเสียงโดดเด่นหลายด้าน โดยเฉพาะการค้นพบแหล่งน้ำมันดิบ คือ "แหล่งน้ำมันสิริกิติ์" บ่อน้ำมันสิริกิติ์ ตั้งอยู่ที่บ้านเด่นพระ หมู่ที่ 4 บ้านหนองตาสังข์ ตำบลลานกระบือ อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อยู่ห่างจากที่ว่าการ อำเภอลานกระบือ ไปตามเส้นทางถนนสายลานกระบือ-พิษณุโลก ประมาณ 7 กิโลเมตร
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 19,504