จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้ชม 2,039
[16.3937891, 98.9529695, จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์]
เมื่อพุทธศักราช 2448 พระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาชวิราวุธ (รัชกาลที่ 6) เสด็จมาประพาสเมืองพระร่วง ได้ศึกษาเมืองเก่ากำแพงเพชรโดยละเอียด บันทึกเรื่องราวให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชบิดาให้ทรงทราบ พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เห็นว่ายังไม่ถูกต้องนัก จึงนำเสด็จพระบรมโอรสาธิราชมายังเมืองกำแพงเพชร ในเดือนสิงหาคม 2449 ด้วยพระองค์เอง และในปีพุทธศักราช 2450 พระบรมโอรสาธิราช เสด็จมาศึกษากำแพงเพชรโดยละเอียดอีกครั้ง ในครั้งนี้ทรงปลูกต้นสักไว้หน้าที่ว่าการเมืองกำแพงเพชร (ตรงข้ามธนาคารออมสินสาขากำแพงเพชร) และจารึกความสำคัญการเสด็จประพาสกำแพงเพชรไว้ในใบเสมา ได้ประดิษฐานจารึกไว้บริเวณใต้ต้นโพธิ์ หน้าเมืองกำแพงเพชร
หลังจากสร้างสะพานข้ามลำน้ำปิงและศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชรเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในราวปีพุทธศักราช 2500 มีผู้ทักท้วงว่าแบบแผนผิดหลักฮวงจุ้ย คือทางลงสะพานตรงกับศาลากลางเลยทีเดียว จึงปรึกษากันว่าควรนำจารึกรัชกาลที่ 6 ใต้ต้นโพธิ์นี้ ไปประดิษฐานขวางเข้าไว้ให้จารึกปะทะกับความไม่ดีงามที่จะเข้ามากำแพงเพชร จึงปรากฏจารึกใบเสมานี้ ตั้งอยู่กลางวงเวียนต้นโพธิ์เหนือ มาจนทุกวันนี้
รายละเอียดของจารึกวงเวียนต้นโพธิ์กำแพงเพชร หินปูนสีเทา กว้าว 78 เซนติเมตร สูง 126 เซนติเมตร หนา 8 เซนติเมตร ลักษณะตัวอักษร อักษรไทย ข้อความเรียงตามบรรทัด เป็นการจารึก (กพ. 8) หลักที่ 237 นายประสาร บุญประคอง ได้อ่านจารึกหลักนี้ความว่า
1. ศุภมัสดุพระพุทธศาสนายุกาลได้ 2448 พรรษา
2. จุลศกัราช 1267 ศกมะเส็ง รัตนโกสินทรศก 124
3. เป็นปีที่ 38 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
4. เจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
5. มกุฎราชกุมารได้เสด็จพระราชดำเนินจากมณฑลพายัพ
6. มาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้ วันอังคารเดือนยี่ แรม 7 ค่า
7. สุริยคติกาลกำหนด วันที่ 16 เดือนมกราคม เสด็จประพาส
8. ทอดพระเนตรโบราณสถานหลายแห่งเป็นครั้งแรก
9. ประทับแรมอยู่ 2 ราตรีตั้งพลับพลานอกกำแพง
10. เมืองกำแพงเพชรที่วัดชีนางเกา (วัดชินวงศ์) ริมลำน้ำปิงฝั่งเหนือฯ
11. ครั้นลุพระศาสนายุกาลได้ 2450 พรรษา
12. จุลศกัราช 1269 ศกมะแม รัตนโกสินทรศก 126
13. เป็นปีที่ 40 ในรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
14. เจ้าอยู่หัวสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชพระองค์นั้น
15. ได้เสด็จพระราชดำเนินมาถึงเมืองกำแพงเพชรนี้
16. วันพุธเดือนยี่ขึ้น 13 ค่ำ สุริยคติกาลกำหนด
17. วันที่ 15 มกราคม ได้เสด็จประพาสทอดพระเนตร
18. โบราณสถานซ้ำอีกเป็นครั้งที่ 2 ประทับแรมอยู่
19. 3 ราตรีที่พลับพลาเดิมฯ
สภาพของจารึก อยู่ในสภาพสมบูรณ์
สถานที่ประดิษฐาน
จารึก กพ. 8 ซุ้มน้ำพุวงเวียนต้นโพธิ์ ตั้งอยู่ในเขตตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ : ต้นโพธิ์, วงเวียนต้นโพธิ์
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). จำรึกวงเวียนต้นโพธิ์. สืบค้น 14 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1293&code_db=610001&code_type=01
Google search
ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,574
มีหลักฐานจากการตรวจค้นและศึกษาข้อมูลของจิตร์ ภูมิศักดิ์ ได้พบว่าเมืองไตรตรึงษ์ยังคงมีสภาพเป็นบ้านเมืองแต่อาจลดขนาดเป็นเพียงเมืองเล็ก ๆ ต่อมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ดังหลักฐานที่พบรายชื่อเมืองในจารึกวัดพระเชตุพน (วัดโพธิ์) ซึ่งจารึกไว้ในคราวซ่อมแซมวัดครั้งใหญ่ระหว่าง พ.ศ. 2374-2381 สมัยรัชกาลที่ 3 โดยมีใบบอกเมืองขึ้นของเมืองกำแพงเพชร (เมืองโท) ว่ามี 5 เมือง คือ เมืองโกสามพิน 1 (น่าจะหมายถึงเมืองโกสัมพี) เมืองบงการบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองโบราณราช 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองนาถบุรี 1 (ไม่รู้ว่าเป็นเมืองใด) เมืองไตรตรึงษ์ 1
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,211
ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 6,583
กำแพงเพชร มีต้นโพธิ์สำคัญอยู่สองต้น คือต้นโพธิ์เหนือ และต้นโพธิ์ใต้ เป็นต้นโพธิ์ขนาดใหญ่ คู่กับเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน ต้นโพธิ์เหนือ ยังยืนต้นอยู่ถึงปัจจุบัน บริเวณวงเวียนต้นโพธิ์ ส่วนต้นโพธิ์ใต้ หน้าวัดบาง ได้ถูกโค่น ทำอาคารพาณิชย์ไปแล้ว ต้นโพธิ์เหนือ ชาวบ้านกำแพงเพชร เรียกกันสั้นๆ ว่าต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกำแพงเพชรเลยทีเดียว เป็นจุดนัดหมายที่สำคัญที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชร ในอดีตสันนิษฐานว่า บริเวณแห่งนี้เป็นวัดเก่า อยู่หน้าเมืองกำแพงเพชร (บริเวณนี้มิใช่เป็นประตูเมืองดั่งที่เห็นในปัจจุบัน) เป็นแนวกำแพงเมืองยาวไปถึงบริเวณประตูบ้านโนน (หลังทัณฑสถานวัยหนุ่มเก่า)
เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 2,877
จากบทพระราชนิพนธ์ “เที่ยวเมืองพระร่วง” ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเกี่ยวกับการสำรวจโบราณสถานที่บริเวณเขตพระราชวัง วัดพระแก้ว วัดพระธาตุ แล้วเสด็จไปตามถนนโบราณผ่านสระแก้ว สระคำ เพื่อสำรวจวัดใหญ่ๆ อีกหลายวัด สำหรับในตอนนี้จะเป็นการนำเสนอบทบนัทกึที่ทรงเสด็จ ตรวจตราโบราณสถานในเขตอรัญญิกกำแพงเพชรกันต่อ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จตรวจตราโบราณสถานที่วัดอาวาสใหญ่และบ่อสามแสนแล้ว ได้เสด็จต่อยังวัดอื่นๆ อีก ดังบทพระราชนิพนธ์ที่ทรงบันทึกไว้ดังนี้ “ยังมีที่วัดใหญ่ และที่มีพระเจดีย์เป็นชิ้นสำคัญอยู่อีกวัดหนึ่ง คือวัดที่ราษฎรเรียกกันว่า วัดช้างรอบ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,633
ตราประจำจังหวัด คือ เป็นรูปกำแพงเมืองประดับเพชรเปล่งประกายแห่งความงดงามโชติช่วงประดิษฐานอยู่ในรูปวงกลม รูปกำแพงเมือง หมายถึง กำแพงเมืองโบราณของเมืองกำแพงเพชรซึ่งเป็นมรดกที่ล้ำค่าทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีแสดงเกรียติประวัติที่น่าภาคภูมิใจของชาวเมืองนี้และเป็นที่มาของชื่อจังหวัดกำแพงเพชร รูปวงกลม หมายถึง ความกลมเกลียว สมัครสมานสามัคคี รักใคร่มีน้ำใจ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของชาวกำแพงเพชรทั้งมวลความหมายโดยสรุป คือ กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีกำแพงเมืองมั่นคงแข็งแกร่งสวยงามเป็นมรดกแห่งอดีตอันยิ่งใหญ่ประจักษ์พยานแห่งความรุ่งโรจน์โชติช่วงในอดีตที่น่าภาคภูมิใจ เมืองมีความเจริญรุ่งเรือง ผู้คนพลเมืองมีความสมัครสมานสามัคคีรักใคร่กลมเกลียวกันเป็นอันดี
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 7,760
เมืองโบราณเทพนคร ตำบลเทพนคร อำเภอเมือง ตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง ตรงกันข้ามกับเมืองโบราณนครไตรตรึงษ์ เมืองเทพนครเป็นชุมชนโบราณมีคูน้ำและคันดินล้อมรอบชั้นเดียว เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาดกว้างประมณ 800 เมตร ยาวประมาณ 900 เมตร แนวคัดดินและคูเมืองถูกทำลายไปเกือบหมด เหลือพอเห็นบ้างทางทิศตะวันออกเท่านั้น พื้นที่ส่วนใหญ่ถูกไถปรับระดับเพื่อเกษตรกรรมหมด
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2020 ผู้เช้าชม 3,484
ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,207
พระพุทธนวราชบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง ๒๓ เซนติเมตร สูง ๔๐เซนติเมตร ที่บัวฐานด้านหน้า บรรจุพระพิมพ์ พระสมเด็จจิตรลดา ไว้อีกองค์หนึ่ง พระพิมพ์ส่วนพระองค์นี้ สร้างขึ้นด้วยฝีพระหัตถ์ ทรงสร้างไว้สำหรับ บรรจุไว้ที่ฐานบัวหงาย ด้านหน้าของพระพุทธนวราชบพิตร และเพื่อพระราชทานแก่ข้าราชบริพาร และบุคคลอื่นไว้สักการะบูชา ผงศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำมาบรรจุในพระพิมพ์ส่วนพระองค์นั้นประกอบด้วย เส้นพระเจ้า คือเส้นผมพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งเจ้าพนักงาน ได้รวบรวมไว้หลังจากทรงพระเครื่องใหญ่ คือตัดผม ทุกครั้ง ดอกไม้แห้งจากพวงมาลัย ที่ประชาชนทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย เวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปลี่ยนเครื่องทรง พระมหามณีรัตนปฏิมากร และทรงบูชาไว้ที่พระพุทธปฏิมากร ตลอดเทศกาล จนถึงคราวเปลี่ยนเครื่องทรงใหม่ ดอกไม้แห้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้รวบรวมไว้ ดอกไม้แห้งจากมาลัยที่แขวนที่พระมหาเศวษฉัตร และด้ามพระแสงขรรค์ชัยศรี ในพระราชพิธีฉัตรมงคล ชันและสีจากเรือใบพระที่นั่ง ขณะที่ทรงตกแต่งซ่อมแซมเรือ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,163
วันนี้ตื่นสาย อยู่ข้างจะฟกช้ำ 4โมงเช้า จึงได้ลงเรือเหลืองข้ามฟากไปฝั่งตะวันตกยังไม่ขึ้นที่วัดพระธาตุ เลยไปคลองสวนหมาก ต้องขึ้นไปไกลอยู่หน่อย ในคลองนี้น้ำไหลเชี่ยวแต่น้ำใส เพราะเป็นลำห้วย มีคลองแยกข้างขวามือ แต่ต้นทางที่จะเข้าไปเรียกว่า แม่พล้อ ถ้าไปตามลำคลอง 3 วันจึงถึงป่าไม้แต่มีหลักตอมาก เขาเดินขึ้นไปทางวันเดียวถึง ป่าไม้นี้ พะโป้กะเหรี่ยงในบังคับอังกฤษเป็นคนทำ เมียเป็นคนไทย ชื่ออำแดงทองย้อย เป็นบุตรผู้ใหญ่บ้านวันและอำแดงไทย ตั้งบ้านเรือนอยู่ติดกันในที่นั้นไปขึ้นถ่ายรูปที่บ้านสองบ้านนี้ แล้วจึงกลับออกมาจอดเรือกินกลางวันที่หาดกลางน้ำ
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,822