เทวรูปพระอีศวร
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้ชม 1,156
[16.4883772, 99.5201012, เทวรูปพระอีศวร ]
พระอีศวร หรือ พระศิวะ เทพเจ้าที่สำคัญของศาสนาพราหม์ -ฮินดู พระอีศวรคือเทพแห่งการประสาทพร เทพแห่งพิธีบวงสรวง เทพแห่งเสียงเพลงการร่ายรำ ทรงเป็นผู้บำบัดอาการเจ็บป่วยและขจัดปัดเป่าทุกข์ ทรงมีความกรุณายิ่งกว่าปวงเทพทั้งหลาย เทวรูปพระอีศวรจึงเป็นประติมากรรมชั้นพิเศษสุดที่ทรงคุณค่าแสดงถึงความเชื่อความศรัทธาของบรรพบุรุษ ในด้านประวัติศาสตร์และประติมากรรม การหล่อโลหะในสมัยโบราณ อีกทั้งเป็นที่เคารพของชาวกำแพงเพชรตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 510 ปีมาแล้ว
จากจารึกหลักฐานในสมัยเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชได้ประดิษฐ์เทวรูปพระอีศวร ที่มีศิลปกรรมอยุธยาที่ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะเขมรแบบบายน จากฐานจารึกระบุมหาศักราช 1432 หรือพุทธศักราช 2053 ว่าได้ประดิษฐานเทวรูปนี้เพื่อให้คุ้มครองมนุษย์และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในเมืองกำแพงเพชร ตลอดจนการทำสาธารณประโยชน์ต่างๆ ทั้งมีการซ่อมแซมวัดวาอาราม และขุดลอกคูคลองชักน้ำส่งไปเลี้ยงที่เมืองบางพาน ปัจจุบันอำเภอพรานกระต่าย ปัจจุบันมีหมู่บ้านชื่อ วังพาน ตำบลเขาคีริส อำเภอพรานกระต่าย ตัวเมืองมีลักษณะเป็นรูปเกือกกลม มีคูคันดินล้อมรอบ ภายในเมืองและนอกเมืองโดยเฉพาะบริเวณเขานางทอง พบซากโบราณสถาน และโบราณวัตถุสมัยสุโขทัยจำนวนมาก เรื่องของเมืองบางพานมีการกล่าวถึงในศิลาจารึกหลายครั้ง
ผู้คนในอดีตกาลดินแดนกำแพงเพชรนั้นนับถือศาสนาฮินดูลัทธิไศวนิกาย ดังปรากฏเทวสถานเพียงแห่งเดียวในเขตเมืองกำแพงเพชร หรือ ศาลพระอ๊ศวร ที่มีฐานก่อสร้างด้วยศิลาแลง ส่วนพระนามนั้น "อีศวระ" ที่ปัจจุบันคนไทยเขียนผิดเพี้ยนไปเป็น อิศวร ซึ่งไม่ถูกต้อง จากหลักฐานที่ค้นพบในสมัยสุโขทัย คนสุโขทัยสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท เรียกพระศิวะว่า พระอีศวร และ พระมเหศวร (จากจารึกวัดป่ามะม่วง พ.ศ.1904 ) พระสทาศีพ (มาจาก พระสทาศิวะ) จารึกปู่ขุนจิดขุนจอด พ.ศ.1935 อาจจะเรียกพระนามพระศิวะ ว่า อีศะ และ ปรเมสูร น่าจะมาจาก ปรเมศวร จึงเป็นข้อสันนิษฐานเบื้องต้น
พระอีศวรเป็นรูปหล่อสำริด เมื่อ พ.ศ. 2426 ได้มีพ่อค้าชาวเยอรมัน ทราบชื่อนายรัสต์มัน Rastmann ได้ลักลอบตัดเศียรและพระกรทั้งสองข้างเพื่อนำออกนอกประเทศ แต่กงศุลเยอรมันจับได้และอายัดไว้ก่อน แล้วแจ้งให้ไทยรับทราบ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีรับสั่งให้หล่อพระเศียรและพระกรเชื่อมติดกับองค์เทวรูปเดิม ต่อมาปี พ.ศ.2430 ได้นำเทวรูป ประดิษฐานไว้ที่พระที่นั่งพุทธไธสวรรย์ และในสมัยรัชกาลที่ 7 ได้ย้ายไปประดิษฐานในพระที่นั่งอิศราวินิจฉัย จนล่วงมาในปี พ.ศ.2514 กรมศิลปากรดำเนินการสร้างพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร จึงอัญเชิญเทวรูปพระอิศวรกลับมาประดิษฐาน ณ เมืองกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบัน
คำสำคัญ : เทวรูปพระอีศวร, พระอีศวร
ที่มา : เพจรักษ์กำแพง By Mickysun. (2561). https://www.facebook.com/groups/254314207990910/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เทวรูปพระอีศวร . สืบค้น 27 มิถุนายน 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1271&code_db=610012&code_type=01
Google search
พระอีศวร หรือ พระศิวะ เทพเจ้าที่สำคัญของศาสนาพราหม์ -ฮินดู พระอีศวรคือเทพแห่งการประสาทพร เทพแห่งพิธีบวงสรวง เทพแห่งเสียงเพลงการร่ายรำ ทรงเป็นผู้บำบัดอาการเจ็บป่วยและขจัดปัดเป่าทุกข์ ทรงมีความกรุณายิ่งกว่าปวงเทพทั้งหลาย เทวรูปพระอีศวรจึงเป็นประติมากรรมชั้นพิเศษสุดที่ทรงคุณค่าแสดงถึงความเชื่อความศรัทธาของบรรพบุรุษ ในด้านประวัติศาสตร์และประติมากรรม การหล่อโลหะในสมัยโบราณ อีกทั้งเป็นที่เคารพของชาวกำแพงเพชรตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลากว่า 510 ปีมาแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 1,156
แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดช้างล้อม จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 798
หงส์ดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบจากการขุดเเต่งที่วัดช้างรอบ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,307
กระปุกลายคราม ศิลปะจีน สมัยรัชกาลวงศ์หมิง ราวต้น(พุทธศตวรรษที่ ๒๒) พบที่บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,512
บาลีดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 460
กระบวยสำริด ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒) พบในบริเวณบ้านศรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายนิเวศน์ มูลโมกข์ มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,006
ตลับรูปนกพร้อมฝา ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 425
วัดพานิชย์นิรมล ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านอุ้มผาง หมู่ที่ ๑ ตำบลอุ้มผาง อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓ ไร่ ๘๖ ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศใต้ติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันออกติดต่อกับทางสาธารณะ ทิศตะวันตกติดต่อกับทางสาธารณะ โดยมี น.ส. ๓ ก เลขที่ ๕๔๘ เป็นหลักฐาน
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2018 ผู้เช้าชม 286
เศียรพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปะทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕) พบที่วัดไตรตรึงษ์ (วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,183
กระเบื้องเชิงชาย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-23) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 782