พระพุทธรูปปางมารวิชัย
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้ชม 930
[16.4880015, 99.520214, พระพุทธรูปปางมารวิชัย]
ลักษณะ
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหน้ากระดานเรียบ ลักษณะพระพักตร์แสดงเอกลักษณ์ทางศิลปกรรมของช่างฝีมือกำแพงเพชรโดยเฉพาะ คือ พระนลาฏกว้าง พระหนุเสี้ยม พระขนงโก่งต่อกันเหนือสันพระนาสิก พระเนตรเรียวและเหลือบต่ำ พระนาสิกโด่งปลายงุ้มเล็กน้อย ขอบพระโอษฐ์ด้านบนบาง ฝีพระโอษฐ์ล่างหนาเต็มอิ่ม อมยิ้มเล็กน้อยแฝงพระเมตตาก่อให้เกิดความรู้สึกสงบร่มเย็นต่อผู้พบเห็น พระกรรณยาว ปลายพระกรรณโค้งงอนเล็กน้อย ขมวดพระเกศาเล็ก พระอุษณีษะทำเป็นต่อมนูนใหญ่ทรงมะนาวตัด พระรัศมีรูปเปลวเพลิง ส่วนยอดของเปลวรัศมีชำรุดหักไปเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นหระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียงเปิดพระอังสาขวา ชายจีวรบนพระอังสาซ้ายได้ยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายชายจีวรตัดตรง พระหัตถ์ซ้ายวางหงายเหนือพระเพลา พระหัตถ์ขวาวางคว่ำบนพระชงฆ์ ปลายนิ้วพระหัตถ์ชี้ลงเบื้องล่างเพื่อเรียกพระแม่ธรณีมาเป็นพยานว่า ในชาติก่อนๆ พระองค์ได้สั่งสมบำเพ็ญบารมีมาเพียงพอที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในชาตินี้ แม่พระธรณีจึงบีบมวยผมหลั่งน้ำออกมาไหลท่วมเหล่ามาร
การเดินทาง
ตั้งงอยู่ระหว่างโรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม กับพิพิธภัณฑสถานจังหวัดกำแพงเพชรเฉลิมพระเกียรติ (เรือนไทย) ฝั่งตรงข้ามกับวัดพระธาตุ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ภายในเขตเมืองเก่ากำแพงเพชร
ราคา/ค่าเข้าชม/ค่าทำเนียม
ชาวไทย 20 บาท ชาวต่างชาติ 100 บาท ยกเว้นนักเรียนนักศึกษาในเครื่องแบบ นักบวชทุกศาสนา คนพิการ และผู้สูงอายุ (60 ปีขึ้นไป)
วันและเวลาทำการ
09.00-16.00 น. วันพุธ – วันอาทิตย์ (หยุดวันจันทร์ วันอังคาร และวันหยุดนักขัตฤกษ์)
หน่วยงานที่รับผิดชอบ
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ภาพโดย : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
คำสำคัญ : พระพุทธรูปปางมารวิชัย
ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระพุทธรูปปางมารวิชัย. สืบค้น 7 กรกฎาคม 2565, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=335&code_db=610012&code_type=01
Google search
เศียรครุตฑปูนปั้น ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑) พบในจังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 562
แม่พิมพ์ดินเผา (พระเเผง) ศิลปะรัตนโกสินทร์(พุทธศตวรรษที่15)พระครูวิมลวชิรคุณ เจ้าอาวาสวัดคูยาง จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 516
ตลับรูปนกพร้อมฝา ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 434
ลูกปัด ศิลปะทวารวดี(พุทธศตวรรษที่ ๑๓-๑๕) พบที่วัดไตรตรึงษ์ (วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 998
โถเคลือบเขียว ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่19-20) พระครูวิธารวชิรศาสตร์ เจ้าอาวาสวัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 468
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางประทานอภัย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่22-23) พระครูวิธานวชิรศาสน์ เจ้าอาวาสวัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 1,309
เศียรเทวดาปูนปั้น ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาด สูง 27 เซนติเมตร กว้าง 14.5 เซนติเมตร พบที่วัดร้างข้างโรงเรียนนารีวิทยา นายประเสริฐ ศรีสุวพันธ์ มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 881
หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน องค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์สาม สร้างราวพุทธศักราช ๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชร มิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือ เมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คน มาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช ๑๖๐๐ อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป)
เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 1,071
อิฐสลักภาพม้าเเละพันธ์พฤกษา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 360
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางป่าเลไลยก์ ศิลปะรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 24-25)
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,307