พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้ชม 2,487
[16.1212349, 99.3295236, พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่]
ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ การตั้งของชุมชน สามารถมองเห็นชุมชนได้อย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ตามความเชื่อของอาข่า เพื่อให้เจ้าที่สามารถดูแลและปกปักรักษาคนในชุมชนได้อย่างทั่วถึง ในการประกอบพิธีกรรมที่ศาลพระภูมิเจ้าที่จะใช้เวลาเพียง 1 วัน โดยก่อนที่จะมีการทำพิธี หัวหน้าครัวเรือนทุกครัวเรือนจะต้องไปรวมตัวกันที่บ้านของผู้นำศาสนา มีการเตรียมเครื่องหรืออุปกรณ์ในการเซ่นไหว้ต่างๆ ให้พร้อม จากนั้นก็จะเดินทางไปบริเวณที่ก่อตั้งศาลพระภูมิเจ้าที่ ผู้หญิงหรือแม่บ้านจะไม่เข้าร่วม เพราะว่าตามประเพณีของอาข่า นอกจากผู้หญิงที่ได้ผ่านการยกตำแหน่งเทียบเท่าผู้ชายแล้วเท่านั้น จึงสามารถที่จะประกอบพิธีได้ แต่เด็กตัวเล็กๆ สามารถไปร่วมรับประทานอาหารได้ เมื่อไปถึงบริเวณศาลทุกคนก็จะช่วยกัน ทำความสะอาดบริเวณศาล แล้วเลือกต้นไม้ต้นหนึ่งที่ไม่โต หรือไม่เล็กเกินไป เพื่อจะทำเป็นที่บูชา เมื่อเลือกต้นไม้ได้แล้วก็จะมีการแบ่งงานกัน มีกลุ่มที่ต้องไปตัดไม้ไผ่ เพื่อจะนำมาตบแต่งบริเวณศาล โดยทำเป็นเครื่องประดับ อาข่าเรียกว่า “หน่าชิหน่าจะ” และมี ตาแหลว “ด๊าแล้” ทุกคนก็จะช่วยกันสร้างศาลขึ้นมา เมื่อสร้างศาลเสร็จ ก็จะมีการบูชาเซ่นไหว้ ขอพรเจ้าที่เจ้าป่า ให้ดูแลพื้นที่ทำกิน ให้ได้ผลผลิตที่งอกงาม ปลอดแมลงต่างๆ ที่จะมารบกวนในพื้นที่ทำกิน หลังจากทำพิธีและขอพรเสร็จ ทุกคนก็จะร่วมรับประทานอาหารในบริเวณศาล หลังจากรับประทานอาหารแล้วก็จะช่วยกันทำความสะอาด แล้วทุกคนก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ถือว่าเสร็จสิ้นพิธีกรรม
ภาพโดย : http://img.tsood.com/userfiles/image/sdc100031.jpg
คำสำคัญ : พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่
ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thailand/hilltribes/akha.html#Cultural
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พิธีบูชาศาลพระภูมิเจ้าที่. สืบค้น 7 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=172&code_db=610004&code_type=01
Google search
เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 7,975
การออกพรรษานั้น ถือเป็นข้อปฏิบัติตามพระวินัยสำหรับพระสงฆ์โดยเฉพาะจัดเป็นญัตติกรรมวาจาสังฆกรรมประเภทหนึ่ง ที่ถูกกำหนดโดยพระวินัยบัญญัติให้โอกาสแก่พระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ร่วมกันตลอด เมื่อถึง วันออกพรรษา พุทธศาสนิกชนถือเป็นโอกาสอันดีที่จะเข้าวัดเพื่อบำเพ็ญกุศลแก่พระสงฆ์ที่ตั้งใจจำพรรษาและตั้งใจปฏิบัติธรรมมาตลอดจนครบไตรมาสพรรษากาลในวันนี้
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,482
ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,705
เทศบาลเมืองกำแพงเพชรจัดงาน "ชากังราวว่าวไทย" เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการเล่นว่าว ในประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดว่าวไทย ในระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การประกวดปลากัดและปลาสวยงาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ยามว่างของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,309
ในปัจจุบันนี้พิธีโกนจุกได้เลือนหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากเด็กไม่นิยมที่จะไว้ผมจุก เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมจึงทำให้พิธีกรรม ในสมัยโบราณได้สูญหายไป พิธีโกนจุกจะกระทำเมื่อเด็กย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หมายความว่า ชายจะมีอายุ 13 ปี ส่วนหญิงจะมีอายุ 11 ปี จึงมีการบอกกล่าวแก่ญาติมิตรโดยเรียกว่า พิธีมงคลโกนจุก ในพิธีการสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ 1 วัน วันรุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้วต้องตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ในตอนบ่ายจะมีการเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กตามแบบพิธีพราหมณ์ โดยส่วนมากพิธีโกนจุกจะหาโอกาสทำร่วมกับพิธีมงคลอื่นๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญวันเกิด เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 6,001
“นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่นโลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล”
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 3,226
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,099
บ้านร้านดอกไม้ ในอดีต กลายมาเป็นบ้านลานดอกไม้ในปัจจุบัน ริมฝั่งน้ำปิงเหนือเมืองกำแพงเพชรไปเล็กน้อย มีชุมชนโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งคือ ชุมชนโบราณบ้านลานดอกไม้ ในชุมชนแห่งนี้ เป็นชุมชนดั้งเดิม ประชาชนอาศัยอยู่สืบทอดมาหลายชั่วอายุคน ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมจึงฝังรากลึก ในบ้านลานดอกไม้ เพลงพื้นบ้านที่เล่นกันมากว่าร้อยปี จึงอยู่ในสายเลือดของชาวบ้าน การตามหาเพลงพื้นบ้าน โดยการไปพบแม่เปรื่อง ผิวพรรณ วัย 70 ปี ลูกศิษย์เอกของแม่ต่อ นุ่มน่วม แม่เพลงในอดีต ที่เสียชีวิตไปแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 1,892
ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด
เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 5,489
เทศบาลตำบลนครชุมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ทำพิธีพลียาและชวน“กินแกงขี้เหล็กวันเพ็ญเดือนสิบสอง” ในวันเพ็ญเดือนสิบสองตัวยาจากต้นขี้เหล็กจะหนีขึ้นสู่ยอด จะเป็นยารักษาสารพัดโรค คนนครชุมโบราญจึงมีพิธีพลียาคือ การบวงสรวงขอดอก ใบ ผล ฯลฯ จากต้นขี้เหล็กเพื่อไปใช้เป็นเครื่องยารักษาโรค โดยจะทำการเก็บในตอนเช้ามืด และแกงในวันเดียวกัน
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 1,594