ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้ชม 765

[16.4264988, 99.2157188, ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร]

บทนำ
         จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่นที่ชัดเจนมีแม่น้ำ ภูเขา อุทยานประวัติที่สวยงามน่าสนใจ มีกลุ่มชนที่หลากหลายจึงเป็นเมืองที่น่าสนใจ น่าท่องเที่ยวอีกเมืองหนึ่งจังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองเก่าที่นับว่ามีความสำคัญทางประวัติศาสตร์และเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่สมัยทวารวดี เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณหลายเมือง เช่น เมืองชากังราว นครชุม ไตรตรึงษ์ เทพนคร และเมือง คณฑี นอกจากนี้เมืองกำแพงเพชรยังเป็นเมืองที่สองที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้ครองเมือง มีบรรดาศักดิ์เป็น " พระยาวชิรปราการ" ต่อมาในปี พ.ศ.2459 ได้เปลี่ยนเมืองกำแพงเพชรเป็นจังหวัดกำแพงเพชรตามประวัติศาสตร์ กล่าวว่า กำแพงเพชร เป็นเมืองหน้าด่านของสุโขทัยมีฐานะเป็นเมืองลูกหลวง เดิมเรียกชื่อว่า " เมืองชากังราว" และมีเมืองบริวารรายล้อมอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น ไตรตรึงษ์ เทพนคร ฯลฯ การที่กำแพงเพชรเป็นเมืองหน้าด่านรับศึกสงครามในอดีตอยู่เสมอ จึงเป็นเมืองยุทธศาสตร์มีหลักฐานที่แสดงให้เห็น ว่าเป็นเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย เช่น กำแพงเมือง คูเมือง ป้อมปราการ วัดโบราณ มีหลักฐาน ให้สันนิษฐานว่าเดิมเคยเป็นที่ตั้งของเมือง 2 เมือง คือ เมืองชากังราว และเมืองนครชุม โดยเมืองนครชุมสร้างขึ้นก่อน ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง พระเจ้าเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์สุโขทัย เป็นผู้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ พ.ศ.1800 ต่อมาสมัยพระเจ้าลิไท กษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยได้สร้างเมืองใหม่ขึ้นทางฝั่งตะวันออกของลำน้ำปิงคือ “เมืองชากังราว”
         สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงบันทึกเรื่อง กำแพงเมืองไว้ว่า " เป็นกำแพงเมืองที่เก่าแก่ มั่นคง ยังมีความสมบูรณ์มาก และเชื่อว่าสวยงามที่สุดในประเทศไทยปัจจุบันจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์แห่งหนึ่ง เพราะมีโบราณสถานเก่าแก่ซึ่งก่อสร้างด้วยศิลาแลงหลายแห่งรวมอยู่ใน "อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร" ที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) ให้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2534 ด้วยความงดงามและอุดมไปด้วยทรัพยากรทางวัฒนธรรมมากมาก คณะทำงานจึงจึงมีแนวคิดที่นำวัฒนธรรมของกลุ่มชนที่ปรากฏในจังหวัดกำแพงเพชรนำเอกลักษณ์เด่นเฉพาะด้านเครื่องแต่งกายนำมาเสนอรูปแบบในด้านการแต่งกายในรูแบบการแสดงนาฏศิลป์
         ในการจัดขบวนการสร้างงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุดนี้ได้นำและคัดเลือก ชนเผ่าม้ง เผ่าเย้า เผ่ามูเซอ เผ่าลีซอ เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าล๊วะ และกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ไทยยวน และลาวครั่ง ซึ่งทุกชาติพันธุ์ได้เข้ามาพำนักในจังหวัดกำแพงเพชรเป็นเวลา ยาวนานได้นำศิลปะและวัฒนธรรมติดตามเข้ามาและได้ปฏิบัติสืบทอด ทั้งวิถีวัฒนธรรมความเป็นอยู่ พิธีกรรม อาหาร และที่งดงามคือเครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน ด้วยเหตุนี้จึงเป็นแรงบันดาลใจสำคัญให้คณะดำเนินการจัดการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์จึงได้สร้างสรรค์การแสดงชุดนี้ขึ้นเพื่อนำไปใช้ในโอกาสต่าง ๆ ได้ทั้งด้านการศึกษา ด้านการแสดส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองกำแพงเพชรได้อย่างมีคุณค่ะต่อไป

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
         จังหวัดกำแพงเพชรเป็นเมืองท่องเที่ยวเมืองมรดกโลก ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจคือ เรื่องการแสดงและต้อนรับ ซึ่งต้องเน้นให้เห็นชัดเจนว่าเป็นการแสดงเฉพาะถิ่นที่ไม่ซ้ำกับการแสดงที่อื่น มาท่องเที่ยวกำแพงเพชรจึงมีโอกาสที่จะได้ชมการแสดงชุดนี้เท่านั้น ด้วยความเหตุนี้คณะทำงานจึงได้ประดิษฐ์สร้างสรรค์การแสดงชุดระบำชาติพันธุ์ด้วยเหตุผลคือ เพื่อสร้างระบำชุดใหม่ใช้แสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว เป็นการสร้างการแสดงสร้างสรรค์ให้เกิดความเหมาะสมและสามารถเป็นสื่ออัตลักษณ์ความเป็นกำแพงเพชร และเป็นการสืบสานศิลปวัฒนธรรม โดยการแสดงในชุดการแสดงเป็นบทบาทหนึ่งที่สำนักศิลปะและวัฒนธรรมให้การสนับสนุนสร้างสรรค์และให้เกิดมาตรฐานสามารถนำไปใช้ในการแสดงได้อย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้าหมายสร้างชุดการแสดง 1 ชุด
         ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชรเป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์

วัตถุประสงค์
        1. เพื่อสร้างมาตรฐานด้านศิลปะและวัฒนธรรมซึ่งกำหนดไว้ในแผนปฏิบัติราชการระดับมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
        2. เพื่อศึกษาค้นคว้าการสร้างประดิษฐ์และสร้างสรรค์การแสดง 1 ชุด ให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น
        3. เพื่อใช้ในการแสดงในโอกาสต่างๆ ได้ อย่างเหมาะสม

ขั้นตอน/กระบวนการ
        1. รวบรวมข้อมูลจากเอกาสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
        2. ศึกษาข้อมูลลงพื้นที่เก็บรวมรวมข้อมูลจากสถานที่จริง
             - วิเคราะห์ข้อมูล แต่งเนื้อร้อง ทำนองเพลง
             - ประดิษฐ์ท่ารำ
             - ออกแบบเครื่องแต่งกายประกอบการแสดง
             - ฝึกซ้อมการแสดง
             - จัดการแสดงและประเมินผล

ประเภทการแสดง “ระบำ” เป็นการแสดงชุดสร้างสรรค์
         โอกาสที่ใช้ในการแสดง
             - การแสดงต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร
             - ใช้ในโอกาสเผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม
             - ใช้ในการแสดงในงานประเพณีของจังหวัดกำแพงเพชร
             - ใช้แสดงเพื่อการเรียนการสอน

         ผู้คิดค้น 
             - ท่ารำ             ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธิ์หรรษา
             - ประพันธ์เพลง   นายอนุลักษณ์ อาสาสู้
             - เครื่องแต่งกาย  ผู้ช่วยศาสตราจารย์เยาวลักษณ์ ใจวิสุทธ์หรรษา

         สถานที่ริเริ่ม/สถานที่แสดง
             - มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร
             - งานมหกรรมวัฒนธรรมอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
             - เวทีกลางงานประเพณีจังหวัดกำแพงเพชร        

ข้อมูลการแสดง
         ข้อมูลกลุ่มชาติพันธุ์ ที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร
             เผ่าม้ง          อำเภอคลองลาน  อำเภอปางศิลาทอง
             เผ่าเย้า         อำเภอคลองลาน  อำเภอปางศิลาทอง
             เผ่ากะเหรี่ยง   อำเภอคลองลาน  อำเภอโกสัมพีนคร
             เผ่ามูเซอ       อำเภอคลองลาน  อำเภอขาณุวรลักษบุรี
             เผ่าลัวะ         อำเภอคลองลาน
             เผ่าลีซอ        อำเภอคลองลาน
             ไทยวน         อำเภอคลองลาน อำเภอเมือง
             ไทยทรงดำ     อำเภอลานกระบือ อำเภอเมือง อำเภอคลองขลุง
             ลาวครั่ง         อำเภอขาณุวรลักษบุรี

การกำหนดจำนวนนักแสดง
         - จำนวน 9 คน หรือ 18 คน
         - ลักษณะผู้แสดง ใช้ผู้หญิงแสดงล้วนเพื่อเป็นการแสดงที่มุ่งเน้นการแสดงเอกลักษณ์

การแต่งกาย

         แต่งกายตามลักษณะชาติพันธุ์ของสุภาพสตรี การแต่งกายผู้แสดง/เครื่องประดับ

ข้อมูลเพลง/ดนตรี
         แนวคิดในการแต่งเพลงระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร
         เพลงระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชรประกอบไปด้วย 3 ส่วน คือส่วนแรกส่วนนำหรือเกริ่นหัวเพลงและส่วนสองเพลงแต่ละกลุ่มชนเผ่าชาติพันธุ์ และส่วนสุดท้ายคือส่วนสรุปเป็นเพลงเร็วและจบท้ายด้วยเพลงรัวเฉพาะผู้ประพันธ์ได้อาศัยเค้าโครงจากระบำรวมเผ่าชาวเขาเดิม  อาศัยสำนวนสำเนียงเพลงสั้นๆมาแต่งเป็นเพลงประกอบการแสดงระบำชาติพันธุ์ ระหว่างปี พ.ศ. 2561-2562 ซึ่งเนื้อหาส่วนใหญ่กล่าวถึงการแต่งกายที่สวยงามของแต่ละของแต่ละชาติพันธุ์ ซึ่งมีอัตลักษณ์ของกลุ่มชนที่โดดเด่นในกำแพงเพชร เนื้อเพลงในตอนท้ายปรับปรุงมาจากเพลงร้องพื้นบ้านกำแพงเพชรและต่อด้วยเพลงเร็ว และเพลงรัว ซึ่งแต่งขึ้นเฉพาะ ใช้วงดนตรีพื้นเมืองเหนือยืนพื้นบรรเลงเฉพาะสอดแทรกด้วยเครื่องดนตรี ประเภทแคน กลอง เกราะ บรรเลงคั่น
         เพลงที่ใช้ประกอบการแสดงเป็นเพลงที่แต่งขึ้นใหม่เฉพาะเพื่อใช้ในการแสดงชุดระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร ชื่อเพลง “ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร”

เนื้อเพลง

        เกริ่นร้อง           

        กำแพงเพชรรวมชาติพันธุ์ชนหลายเผ่า        อยู่นานเนาวัฒนธรรมที่หลากหลาย
        ชนหลายกลุ่มลุ่มแม่ปิงมิเสื่อมคลาย           สื่อความหมายต่างสายน้ำเนิ่นนานมา

        1. เผ่าม้ง                                        แคนม้งเกริ่น ชาวเผ่าม้งนุ่งห่มสีดำขลับ
            งามประดับลูกปัดเหรียญทรงคุณค่า        กระทบเสียงเมื่อเคลื่อนไหวมีราคา                            
            บ่งบอกค่าฐานะทางสังคม

        2. เผ่าเย้า                                       กลอง และเกราะชาวเผ่าเย้านุ่งกางเกงสีดำหมด
            พู่สวยสดสีแดงดูงามสม                    ปักลวดลายหน้าผ้าให้กลืนกลม 
            แลนุ่งห่มคล้ายคนจีนดูเข้าที

        3. เผ่ากะเหรี่ยง                                 พิณเตะนาเกริ่น เผ่ากะเหรี่ยงนุ่งห่มด้วยสีขาว        
            เมื่อถึงคราวแต่งงานต้องเปลี่ยนสี          นุ่งสีดำหรือแดงความหมายมี                                 
            เสื้อผ้านี้ทรงกระสอบตัดง่ายดาย

        4. เผ่ามูเซอ                                     กลองเกริ่น เผ่ามูเซอนุ่งดำคู่ควรค่า     
            ตัดสีฟ้าเสริมเด่นเป็นลวดลาย               เครื่องเงินมีประดับไว้รอบกาย     
            งามทั้งหลายอัตลักษณ์กลุ่มชน

       5. เผ่าลั๊ว                                         เกราะ เผ่าลั๊วสวมเสื้อขาว                                         
           ผ้าพันตัวยาวงามทุกแห่งหน                 สวมทับเสื้อขลิบแดงปน                                      
           ประดับทั่วตนลูกปัดหินและกำไล

       6. เผ่าลีซอ                                       กลอง เผ่าลีซอสวมเสื้อตัวยาว        
           งามอะคร้าวผ้าคาดเอวสีสดใส               เสื้อคอกลมทับผ่าขวาเอาไว้      
           ประดับได้ด้วยเครื่องเงินกระดุมกลม

       7. ไทยยวน                                       แคนแปด ไทยยวนแต่งกายคล้ายลานนา   
           ซิ่นทอหัวผ้าลวดลายงามสม                 สวมเสื้อแขนกระบอกสไบห่ม                                  
           เกล้ามวยผมประดับดอกไม้มากมี

       8. ไทยทรงดำ                                    แคนแปด ไหซอง ไทยทรงดำจดจำมั่นหมาย
           พวกเราทั้งหลายสวมใส่”เสื้อฮี”              สีดำเป็นอัตลักษณ์ยึดมั่นในประเพณี                         
           งานสำคัญของเรานี้สวมใส่เสื้อฮีพร้อมเพรียงกัน

       9. ลาวครั่ง (คั่ง)                                  แคนแปด ไหซอง ชาวครั่งพวกเราเผ่านี้หนอ
           นุ่งห่มผ้าทอด้วยผ้าไหมงามดี                งามเด่นนุ่งห่มมากมี   
           ผืนดินแดนนี้มีสุขยืนนาน 
                                                                                                                                               
(สรุปซึงเกริ่น)

           ทุกชาติพันธุ์ล้วนพี่น้องเป็นผองเผ่า          อยู่นานเนากำแพงเพชรสมัครสมาน
           บนผืนดินชากังราวมาเนิ่นนาน                สุขสำราญสามัคคีพีน้องไทย

                                                                            ประพันธ์/รวบรวม/เรียบเรียง โดย  อนุลักษณ์  อาสาสู้

โน้ตดนตรี ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

เกริ่น

- ดรม

- - - ซ

- - - ล

- - -ม

- - - ซ

- - - ม

- - - ล

/ / / /

- - - ม

- - - ซ

- - - ม

- - - ล

ม ซ ม ล

ม ซ ม ล

ม ซ ม ล

ม ซ ม ล

- - - ซ

- - - รํ

- - - มํ

- - - ดํ

/ / / /

/ / / /

/ / / /

/ / / /

ร้อง

- - - มํ

- - - รํ

- - - ดํ

- - - ล

- - - ร

- - - ม

- - - ซ

- - - ล

- - - ซ

- - - ม

- - - ซํ

- - - รํ

- - - ม

- - - ซ

- - - ล

- - - ดํ

            กำแพงเพชรรวมชาติพันธุ์ชนหลายเผ่า      อยู่นานเนาวัฒนธรรมที่หลากหลาย

         ชนหลายกลุ่มลุ่มแม่ปิงมิเสื่อมคลาย            สื่อความหมายต่างสายน้ำเนิ่นนานมา

 

  1. 1. เผ่าม้ง แคนม้งเกริ่น

- - - ซ

- ม – ล

- ซ – ม

ร ด – ร

- - - ม

- ซ – ล

- ซ – ล

- ด - ร

- - - ซ

- ม – ล

- ซ – ม

ร ด – ร

- - - ม

- ซ – ล

- ซ – ม

ร ด – ร

        

    ชาวเผ่าม้งนุ่งห่มสีดำขลับ                  งามประดับลูกปัดเหรียญทรงคุณค่า

         กระทบเสียงเมื่อเคลื่อนไหวมีราคา          บ่งบอกค่าฐานะทางสังคม

 

  1. 2. เผ่าเย้า กลองและเกราะ

- - - รํ

- รํ- ล

- - - รํ

- รํ – ดํ

- - - รํ

- รํ – ล

- ดํ – ฟ

- ล - ซ

- - - รํ

- รํ- ล

- - - รํ

- รํ – ดํ

- - - ฟ

- ซ – ล

- ดํ – ร

- ฟ – ซ

       

     ชาวเผ่าเย้านุ่งกางเกงสีดำหมด           พู่สวยสดสีแดงดูงามสม

         ปักลวดลายหน้าผ้าให้กลืนกลม                แลนุ่งห่มคล้ายคนจีนดูเข้าที

 

  1. 3. เผ่ากะเหรี่ยง พิณเตะนาเกริ่น

- - - ล

- ดํ – ร

- ฟ – ซ

- ล – ดํ

- - - ล

- ดํ – ร

- ฟ – รํ

- ล – ดํ

- - - ล

- ดํ – ร

- ฟ – รํ

- ล – ดํ

- - - ซ

- ล – ซ

- ฟ – ซ

ฟ ร – ด

    

        เผ่ากะเหรี่ยงนุ่งห่มด้วยสีขาว                  เมื่อถึงคราวแต่งงานต้องเปลี่ยนสี

        นุ่งสีดำหรือแดงความหมายมี                           เสื้อผ้านี้ทรงกระสอบตัดง่ายดาย

 

  1. 4. เผ่ามูเซอ กลองเกริ่น

- - - ร

- - ฟ ซ

- ล ซ ฟ

- ซ - -

ฟ ร ด ร

- ฟ – ซ

ล ซ ฟ ซ

- - ล ดํ

- - - ล

- ด – ร

ฟ ร ด ล

- ด - -

ซ ซ ล ซ

ฟ ร ฟ ซ

ล ซ ฟ ร

- ด - -

  

          เผ่ามูเซอนุ่งดำคู่ควรค่า                      ตัดสีฟ้าเสริมเด่นเป็นลวดลาย

        เครื่องเงินมีประดับไว้รอบกาย                  งามทั้งหลายอัตลักษณ์กลุ่มชน 

 

  1. 5. เผ่าลั๊ว เกราะ

- - - -

- ม – ล

- ม – ล

- ม – ซ

- ม – ล

- ม – ซ

- ม – ซ

- ล – ด

- - - -

- ล – ร

- ล – ร

ล – ด

ล – ร ล – ด

ฟ – ร ฟ ร – ด

   

      

      เผ่าลั๊วสวมเสื้อขาวนุ่งผ้าสั้น           ใช้ผ้าพันทรงกระบอกทุกแห่งหน

         สวมทับเสื้อแขนยาวขลิบแดงปน              ประดับตนลูกปัดหินและกำไล

 

  1. 6. เผ่าลีซอ กลอง

- - - -

- - - ซ

- ฟ – ร

- ฟ – ซ

- - - ด

- ร – ซ

- ด – ล

ซ ฟ - ซ

- - - -

- - - ซ

- ฟ – ร

- ฟ – ซ

- - - ด

- ล – ร

- ดํ – ล

ซ ฟ – ซ

   

         เผ่าลีซอสวมเสื้อยาวถึงตาตุ่ม                  ยาวและคลุมผ้าคาดเอวสีสดใส

        สวมเสื้อคอกลมทับผ่าขวาเอาไว้                ประดับได้ด้วยเครื่องเงินกระดุมกลม

  1. 7. ไทยวน แคนแปด

- - - ซ

- ม ร ด

ล ด ร ม

ซ ม ร ด

ล ด ร ม

ซ ม ร ด

ล ด ร ซ ม ร ด

ล ซ – ซ

           

   

        ไทยยวนแต่งกายคล้ายลานนา         ซิ่นทอหัวผ้าลวดลายงามสม

         สวมเสื้อแขนกระบอกสไบห่ม                  เกล้ามวยผมประดับดอกไม้มากมี

 

  1. 8. ไทยทรงดำ แคนแปด ไหซอง

(- - - -

- ล – ดํ

- ล – ดํ

- ล – ซ

- ล – ซ

- ดํ – ล

- ซ – ด

- ร – ม )

- - - -

- ม – ซ

- ล – ซ

- ม – ร

- - - ด

- ล – ด

- ร – ม

- ร – ด

- - - -

- ล – ด

- - - -

- ร – ม

- - ซ ล

- ซ – ม

- ซ – ร

- ร – ร

 

             ไทยทรงดำจดจำมั่นหมาย                พวกเราทั้งหลายสวมใส่”เสื้อฮี”

         สีดำเป็นอัตลักษณ์ยึดมั่นในประเพณี          งานสำคัญของเรานี้สวมชุดฮีพร้อมเพรียงกัน

 

  1. 9. ลาวครั่ง(คั่ง) แคนแปด ไหซอง

- - - -

- - - ล

- - - ซ

- ม – ล

- - - ซ

- ด – ล

- - - ซ

- ม – ล

- - - -

- ซ – ม

- - - ร

- ด – ม

- - - ร

- ซ – ม

- - - ร

- ด – ล

- - - ด

- ร – ม

- ร – ด

- ซ – ล

- - - ด

- ร – ม

- ร – ด

- ซ – ล

             ชาวครั่งพวกเราเผ่านี้หนอ                นุ่งห่มทอด้วยผ้าไหมมัดหมี่

         ลายโดดเด่นนุ่งห่มมากมี                       ผืนดินแดนนี้สุขยั้งยืนนาน

                                                       (สรุป)

                                                    (ซึงเกริ่น)

ร้องเพลง

- - - -

- ล – ด

- - - ร

- ล - -

- ท ล ซ

ล ท ล ด

- ร ล ดํ

- ร ล ดํ

- - - ม

- ม – ม

- ซ – ม

- ร – ด

- - - ม

- ม – ม

- ซ – ม

- ร – ด

- ซ ล ท

- ล – ล

ท ล ซ ม

- ซ – ล

       

             ทุกชาติพันธุ์ล้วนพี่น้องเป็นผองเผ่า      อยู่นานเนากำแพงเพชรสมัครสมาน

         บนผืนดินชากังราวมาเนิ่นนาน                         สุขสำราญสามัคคีพีน้องไทย

สะล้อเดี่ยว

- - - ซ

- - - ม

- ซ – ล

- - - -

- ม – ซ

- - - -

- - - ด

- - - ล

 

- - - ล

- ด – ร

- - - ม

- ล – ด

         

                                                       กลับต้น

เพลงเร็ว

(- - - -

- - - ม

- ซ – ม

- ซ – ล

- ด – ล

- ด – ล

- ด – ล

- ร – ด)

- ซ – ซ

- ซ – ซ

- ร ด ล

- ซ – ซ

- ซ – ซ

- ซ – ซ

- ร ด ล

- ม – ร

- ซ – ซ

- ซ – ซ

- ร ด ล

- ซ – ซ

- ซ – ซ

- ม – ม

- ซ – ล

- ร – ด

รัว จบ

- ดรม

- - - ซ

- - - ล

- - -ม

- - - ซ

- - - ม

- - - ล

/ / / /

- - - ด

- - - - ล

- ด – ร

- ม – ด

       

ประพันธ์ รวบรวม/เรียบเรียง โดย อนุลักษณ์ อาสาสู้
ม.ค. 61 – ม.ค. 62

ผู้แต่งเพลง
         อาจารย์อนุลักษณ์ อาสาสู้

เครื่องดนตรีประกอบ
         - วงดนตรีพื้นเมืองภาคเหนือ
         - วงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสาน

บันทึกเสียงโดย
         อาจารย์บัณฑิต ศรีบัว

การออกแบบท่ารำ
         การตีความหมายตามคำร้อง
         ภาษาท่านาฏศิลป์ เป็นการนำท่าทางต่างๆ และสีหน้าที่มีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น คำพูด กริยาอาการ  อารมณ์ ความรู้สึก มาปฏิบัติเป็นท่าทางนาฏศิลป์ไทยที่มีความหมายแทนคำพูด ให้สอดคล้องกับจังหวะเพลงและการขับร้อง การฝึกปฏิบัติ การฝึกหัดภาษาท่าจะต้องฝึกให้ถูกต้องตามแบบแผนเพื่อจำได้สื่อความหมายได้โดยตรง ซึ่งจะทำให้ผู้ชมเข้าใจความหมายที่ผู้แสดงต้องการสื่อความหมายมากขึ้น ที่มาของภาษาท่าที่ใช้ในการแสดงนาฏศิลป์ แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
         1. ภาษาท่าที่มาจากธรรมชาติ เป็นท่าทางที่ดัดแปลงมาจากท่าทางตามธรรมชาติของคนเรา แต่ปรับปรุงให้ดูสวยงามอ่อนช้อยมากยิ่งขึ้น โดยใช้ลักษณะการร่ายรำเบื้องต้นมาผสมผสาน เช่น ท่ายิ้ม ท่าเรียก ท่าปฏิเสธ ท่าร้องไห้ ท่าดีใจ ท่าเสียใจ ท่าโกรธ
         2. ภาษาท่าที่มาจากการประดิษฐ์โดยตรง เป็นท่าทางที่ประดิษฐ์ ขึ้นเพื่อให้เพียงพอใช้กับคำร้องหรือคำบรรยายที่จะต้องแสดงออกเป็นท่ารำ เช่น สอดสร้อยมาลา เป็นต้น ภาษาท่าเป็นสิ่งสำคัญที่ใช้ความหมายระหว่างผู้แสดงและผู้ชมในการแสดงนาฏศิลป์ เพราะทำให้ผู้ชมทราบว่าผู้แสดงกำลังสื่ออะไร หรือกำลังมีอารมณ์อย่างไร ภาษาท่าสามารถแบ่งได้เป็น 3 ลักษณะ คือ
             1. ภาษาท่าที่ใช้แทนคำพูด
             2. ภาษาท่าที่ใช้แทนกิริยาอาการต่างๆ
             3. ภาษาท่าที่ใช้แสดงอารมณ์ ความรู้สึกภายใน

ภาษาท่าทางนาฏศิลป์
         ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ ในชีวิตประจำวันทุกวันนี้มนุษย์เราใช้ท่าทางประกอบการพูดหรือบางครั้งมีการแสดงสีหน้า ความรู้สึก เพื่อเน้นความหมายด้วยในทางนาฏศิลป์ ภาษาท่าเสมือนเป็นภาษาพูด โดยไม่ต้องเปล่งเสียงออกมา แต่อาศัยส่วนประกอบอวัยวะของร่างกาย แสดงออกมาเป็นท่าทาง โดยเลียนแบบท่าทางธรรมชาติ เพื่อให้ผู้ชมสามารถเข้าใจได้ การปฏิบัติภาษาท่าทางนาฏศิลป์แบ่งออกได้ ดังนี้
         1. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แทนคำพูด เช่น ฉัน เธอ ท่าน ปฏิเสธ ท่าเรียก ท่าไป
         2. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์อริยบทหรือกิริยาอาการ เช่น ท่ายืน ท่าเดิน ท่านั่ง
         3. ภาษาท่าทางนาฏศิลป์ที่ใช้แสดงอารมณ์ความรู้สึก เช่น ดีใจ เสียใจ โกรธ เศร้าโศก   
         ลักษณะของการตีภาษาท่าของระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร การตีภาษาที่ง่ายไม่ซับซ้อน โดยมีวัตถุประสงค์จะนำไปเผยแพร่และถ่ายทอดท่ารำให้นักเรียนในเขตอำเภอคลองลานเพื่อนำไปใช้แสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว ในโอกาสต่อไป

การแปรรูปแถว
         - แถวเฉียง
         - แถวครึ่งวงกลม
         - แถวตอน
         - ปากพนัง
         - แถวหน้ากระดาน

อภิปรายผล
         การประดิษฐ์นาฏศิลป์สร้างสรรค์ชุด ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการนำเสนอวัฒนวิถึผ่านรูปแบบการแสดงนาฏศิลป์ โดยยึดหลักการออกแบบท่ารำ การตีภาษาท่าตามบทประพันธ์ ตามหลักการการสร้างสรรค์นาฏศิลป์ การออกแบบท่ารำ ออกแบบเครื่องแต่งกาย การประพันธ์คำร้อง การบรรจุทำนองเพลง การแก้แบบการแปรแถว การออกแบบจำนวนนักแสดง การพิจารณาเลือกชาติพันธุ์ที่ปรากฏในการแสดง นอกจากนั้น ยังยึดหลักการตีภาษาท่ายึดหลักขนบตามแบบโบราณ เช่น กำหนดการมือซ้าย มือขวาเพื่อสื่อความหมายต่างๆ

ประโยชน์ของการแสดง
         - ได้ศึกษาวิถีวัฒนธรรมของชนเผ่าชาติพันธุ์กำแพงเพชร
         - ได้ระบำชุดใหม่เพื่อเป็นการแสดงเพื่อสืบสาน อนุรักษ์ ส่งเสริมเผยแพร่วัฒนธรรมด้านการแสดงที่เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่นสู่สาธารณชน

คำสำคัญ : ระบำชาติพันธุ์ กำแพงเพชร

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร. สืบค้น 7 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=2126&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2126&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

รำโทน

รำโทน

รำโทนมีมาก่อนสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นการพบปะกันระหว่างหนุ่มสาวในงานเทศกาลต่างๆ เพื่อความสนุกสนาน รื่นเริง ผู้สืบค้น แม่ลำภุ ทองธรรมชาติ และแสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น  ดนตรีและนักร้องเริ่มบรรเลง หนุ่มสาวจะออกรำเป็นคู่ๆ รำไปรอบลงจะมีลีลาและท่าทางประกอบในแต่ละเพลง

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 11,411

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง

การเข้าทรงแม่ศรี ที่บ้านปากคลอง แตกต่างจาก การเข้าทรงแม่ศรี หรือการรำแม่ศรีที่อื่นๆ ครูมาลัย ชูพินิจ เขียนใว้ใน นวนิยายทุ่งมหาราชและมีเรื่องเล่าในบ้านปากคลองว่า สาวงามที่ชาวบ้านคัดเลือก ให้เป็นแม่ศรีในวันสงกรานต์จะนั่งเท้าทั้งสองเหยียบอยู่บนกะลาตาเดียวที่หงายไว้ มือทั้งคู่แตะอยู่ที่พื้นดิน เสียงเพลง ร้องจากผู้เล่นร่วมรอบวงว่า 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,031

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีทำบุญในไร่ข้าว

พิธีนี้จะทำหลังจากทำพิธีปลูกข้าวเริ่มแรกประมาณ 1 เดือน หรือ ประมาณ 3 อาทิตย์ของอาข่า (สุ่มนองจ๊อง) ทำเพื่อให้ผลผลิตในไร่ข้าวเจริญงอกงาม ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น ตั๊กแตน ปลวก ฯลฯ ในการทำพิธีนี้ต้องนับวันฤกษ์วันดีของครอบครัว (เป็นวันเกิดของคนในครอบครัว แต่ไม่ตรงกับวันตายโหงของคนในครอบครัว) การประกอบพิธี แบ่งออกได้ 2 ลักษณะ คือ การประกอบพิธีแบบธรรมดาโดยใช้ไก่ และการประกอบพิธีขนาดใหญ่โดยใช้หมู

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,101

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ครอบครัวอนุรักษ์ไทย

ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,022

ชากังราวว่าวไทย

ชากังราวว่าวไทย

เทศบาลเมืองกำแพงเพชรจัดงาน "ชากังราวว่าวไทย" เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการเล่นว่าว ในประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดว่าวไทย ในระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การประกวดปลากัดและปลาสวยงาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ยามว่างของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกด้วย

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,644

ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีบุญบั้งไฟ เทศบาลตำบลนิคมทุ่งโพธิ์ทะเล จังหวัดกำแพงเพชร

งานประเพณีบุญบั้งไฟ เป็นประเพณีสำคัญของชาวอีสาน จัดขึ้นเพื่อเป็นการบวงสรวง พระอิศวร ซึ่งมีตำนานพื้นบ้าน เล่าลือกันมาว่า พญาแถน เป็นเทพยดา มีหน้าที่บันดาลให้ฝนตกในเมืองมนุษย์ พญาแถนเกิดความไม่พอใจชาวโลกจึงบันดาลไม่ให้ฝนตกตามฤดูกาล แล้งตลอด 7 ปี 7 เดือน 7วัน ทำให้พืช สัตว์ มนุษย์ ล้มตายไปเป็นจำนวนมาก ชาวเมืองทนไม่ไหว จึงคิดทำสงครามกับพญาแถน แต่สู้พญาแถนไม่ได้ จึงถูกไล่ล่าหนีมาถึงต้นไม้ใหญ่ที่พญาคางคกอาศัยอยู่ พญาคางคกนั้นคือพระโพธิสัตว์ บรรดาผู้หนีการล่าของพญาแถน ตกลงทำสงครามกับพญาแถนพญาปลวก ก่อจอมปลวกไปถึงสวรรค์ พญามอดไปทำลายด้ามอาวุธของทหารและอาวุธพญาแถนพญาผึ้ง ต่อ แตน ไปต่อยทหารพญาแถน พญาแถนกับเทวดาพ่ายแพ้

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 7,185

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

ประเพณีบายศรีสู่ขวัญข้าว

ตามประเพณีไทย สิ่งที่มีบุญคุณกับคนไทยและมองไม่เห็นจะเรียกว่าแม่เสมอ เช่นน้ำเรียกกันว่า แม่คงคา พื้นดิน เรียกว่า แม่ธรณี ข้าวเรียกว่าแม่โพสพ ทุกสิ่งล้วนมีพระคุณต่อวิถีชีวิตของคนไทย มาตั้งแต่ตั้งเป็นชาติไทย ประเพณี การบูชาแม่โพสพ หรือข้าวนั้น คนไทยนิยมทำกันมาช้านานถือว่า แม่โพสพมีพระคุณกับคนไทยทั้งประเทศ เพราะข้าวนั้นเลี้ยงคนไทย แม่โพสพจึงมีความหมายอย่างลึกซึ้งและเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตคนไทยมาโดยตลอด

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 10,035

พิธีโกนจุก

พิธีโกนจุก

ในปัจจุบันนี้พิธีโกนจุกได้เลือนหายไปจากสังคมไทย เนื่องจากเด็กไม่นิยมที่จะไว้ผมจุก เพราะความเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมจึงทำให้พิธีกรรม ในสมัยโบราณได้สูญหายไป พิธีโกนจุกจะกระทำเมื่อเด็กย่างเข้าวัยหนุ่มสาว หมายความว่า ชายจะมีอายุ 13 ปี ส่วนหญิงจะมีอายุ 11 ปี จึงมีการบอกกล่าวแก่ญาติมิตรโดยเรียกว่า พิธีมงคลโกนจุก ในพิธีการสวดมนต์เย็นก่อนวันฤกษ์ 1 วัน วันรุ่งขึ้นเลี้ยงพระแล้วต้องตัดจุกเด็กตามเวลาฤกษ์ ในตอนบ่ายจะมีการเวียนเทียนสมโภชทำขวัญเด็กตามแบบพิธีพราหมณ์ โดยส่วนมากพิธีโกนจุกจะหาโอกาสทำร่วมกับพิธีมงคลอื่นๆ เช่น การทำบุญขึ้นบ้านใหม่ การทำบุญวันเกิด เป็นต้น  

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 7,049

รำแม่ศรี

รำแม่ศรี

แม่ศรีเป็นการละเล่นพื้นบ้านตามความเชื่อของชาวบ้านในเรื่องการเข้าทรง จากวรรณกรรมเรื่องทุ่งมหาราชของครูมาลัย ชูพินิจ ได้กล่าวถึงการรำแม่ศรี เพื่อคัดเลือกสาวงามประจำหมู่บ้าน นิยมเล่นกันในงานสงกรานต์ ผู้สืบค้นคือ แม่เฟี้ยม กิตติขจร แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น แม่ศรีจะเลือกจากหญิงสาวที่มีหน้าตาสวยงาม รำสวยที่สุดในหมู่บ้าน ผู้รำแม่ศรีจะถือกรวยดอกไม้ธูปเทียน นั่งอยู่กลางวง ผู้เล่นคนอื่นจะร้องเพลงเชิญแม่ศรีร้องซ้ำไปมาจนแม่ศรีเข้าร่างทรงจะวางดอกไม้และเริ่มลุกรำ

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 28,333

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีเทศน์มหาชาติ

ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,703