ระบำร้องแก้
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 1,849
[16.4336195, 99.4094765, ระบำร้องแก้]
ที่มา
มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมเล่นกันเมื่อเสร็จงานบ้านและทำไร่นา งานเทศกาลต่างๆ หนุ่มสาวจะมาจับกลุ่มร้องเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องนิยมใช้คำเปรียบเปรยเรื่องความรัก ความงาม
วิธีการเล่น
หนุ่มสาวล้อมลงหนุ่มสาวคู่แรกเดินออกมากลางวง ร้องโต้ตอบเป็นบทกลอน โดยมีท่ารำประกอบบทร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวงจะรับเป็นลูกคู่ สลับคู่กันจนครบทุกคู่
การแต่งกาย
หญิงนุ่งผ้าซิ่น เสื้อสีสวยงาม
ชายนุ่งโจงกระเบน เสื้อคอกลมลายดอก
เครื่องดนตรี
กลอง ฉิ่ง กรับ ฉาบ
เนื้อเพลง
ชาย - นักจะเล่นให้น้องเต้นออกมา อย่ามัวระอาแกมอาย
ลูกคู่ - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
หญิง - นักระบำอย่ามัวทำกระบวน ยื่นหน้าลอยนวลเถิดพ่อพวงมาลัย
ลูกคู่ - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
ชาย - แต่พอโดดเข้าวง พี่ก็โก่งเสียงร้อง เสียงกลมเหมือนดังกลอง ตีใกล้ดังไกล
ลูกคู่ - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
หญิง - พ่อสูงระหงโปร่งฟ้า มาแลดูหล่อกว่าใครเอ๋ยใคร
ลูกคู่ - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
ชาย - พี่รักน้องจริงๆ เหมือนกับปลิงเกาะขา ยืดไปยาวมาเหมือนกับปลิงเกาะควาย
ลูกคู่ - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
หญิง - อย่ามารักร้องเลย นะพ่อเตยต้นต่ำ รักน้องไปทำเอ๋ยไม่
ลูกคู่ - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
ชาย - พี่รักน้องแท้ๆ เหมือนผ้าแถบ พี่รักน้องเอาเสียแทบขาดเอ๋ยใจ
ลูกคู่ - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
หญิง - พี่รักน้องจริง หรือพี่รักน้องเล่น น้องยังไม่เห็นน้ำเอ๋ยใจ
ลูกคู่ - ชะเออระเหย ลอยมา หงส์เอ๋ยลอยมาลอยไป
ผู้ร้องระบำร้องแก้
นางแฉล้ม บุญสุข ร้องเป็นชาย
นางทองย้อย คำอินทร์ ร้องเป็นหญิง
นางทองปอน ว่องธัญญการ ร้องเป็นชาย
นางพวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา ร้องเป็นหญิง
นางสนวน ประสาทพร ร้องเป็นชาย
นางทองหล่อ วงษ์จ่า ร้องเป็นหญิง
ร้องลูกคู่
นางลั่นทม โรจน์พัฒนกุล
นางสุภาพ สุขสำราญ
นางเนียม เกตุน้อย
นางบุญมา เงินอาจ
นางมณี กาวีสูง
ด.ญ.นันทิกาญจน์ เงินอาจ
นางมาลี คำอินทร์
นางสุวรรณ สังจ์สุวรรณ
ลักษณะคำประพันธ์
เป็นคำประพันธ์ที่มีรูปแบบถูกต้องเป็นมาตรฐานของเพลงไทยโบราณ คือลงท้ายด้วยสระเดียวกันตลอด เช่น หญิง - นักระบำอย่ามัวทำกระบวน ยืนหน้าลอยนวลเถิดพ่อพวงมาลัย ชาย - แต่พอโดดเข้าวง พี่ก็โก่งเสียงร้อง เสียงกลมเหมือนดังกลอง ตีใกล้ดังไกล แต่ละวรรคยังไม่สามารถกำหนดจำนวนคำลงไม่ได้ชัดเจน หรือเท่ากันแต่ขึ้นอยู่กับจังหวะ และเสียงมากกว่าเน้นที่จังหวะคำ
คำสำคัญ : เพลงพื้นบ้าน
ที่มา : สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2544). การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณเมืองกำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ระบำร้องแก้. สืบค้น 1 เมษายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=123&code_db=610004&code_type=01
Google search
เทศบาลเมืองกำแพงเพชรจัดงาน "ชากังราวว่าวไทย" เพื่อส่งเสริมและอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมการเล่นว่าว ในประเทศไทยขึ้นเป็นประจำทุกปี ณ บริเวณลานอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย สิริจิตอุทยาน ภายในงานมีกิจกรรมดังนี้ การประกวดว่าวไทย ในระดับเยาวชนและประชาชนทั่วไป การประกวดปลากัดและปลาสวยงาม เพื่อส่งเสริมกิจกรรม ยามว่างของเยาวชนและประชาชนทั่วไป ทั้งยังเป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมอีกด้วย
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 1,159
ระบำร้องแก้ มีมาก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 นิยมเล่นกันเมื่อเสร็จงานบ้านและทำไร่นา งานเทศกาลต่างๆ หนุ่มสาวจะมาจับกลุ่มร้องเกี้ยวพาราสีกัน เนื้อร้องนิยมใช้คำเปรียบเปรยเรื่องความรัก ความงาม วิธีการเล่น หนุ่มสาวล้อมลงหนุ่มสาวคู่แรกเดินออกมากลางวง ร้องโต้ตอบเป็นบทกลอน โดยมีท่ารำประกอบบทร้อง เพื่อนหญิงชายที่ล้อมวงจะรับเป็นลูกคู่ สลับคู่กันจนครบทุกคู่
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,849
เพื่อเป็นการอนุรักษ์สืบสานประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของไทยและของท้องถิ่น อีกทั้งเป็นการสนับสนุนส่งเสริมการท่อง เที่ยวของจังหวัดกำแพงเพชร และยังช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสร้างรายได้ให้กับประชาชนด้วย
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 1,509
ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 9,463
โดยเริ่มจากวันที่ 12 เมษายน ประชาชนจะทำบุญตักบาตรกันในตอนเช้า ในตอนเย็นจะมีประเพณีการขนทรายเข้าวัด และร่วมกันก่อเจดีย์ทราย ที่ตกแต่งด้วย ดอกไม้ ธงทิว พวงมะโหด ปักเท่าอายุตนเอง เพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ เมื่อก่อพระทรายแล้วนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ ที่กำแพงเพชร นิยมก่อที่วัดบาง นำทรายจากหาดทรายแม่น้ำปิงหน้าวัดบางมาก่อพระเจดีย์ แต่ ในปัจจุบัน หาดทรายอยู่ห่างจากวัดมาก จึงใช้รถขนมา หรือซื้อมาแล้วมาก่อที่วัด อาจไม่ได้ความรู้สึกที่ดีๆ เหมือนในอดีต ที่หนุ่มสาว หาบ ขน ทราย จากหาดทราย กระเซ้าเย้าแหย่ คุยกัน เกี้ยวพาราสี กันมาตลอดทางจนถึงวัด บรรยากาศจะเป็นธรรมชาติและสนุกมาก??ซึ่งในปัจจุบันไม่เห็นมาหลายสิบปีแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,041
ในงานสงกรานต์อนุรักษ์มรดกไทย จังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2551 เมื่อวันพุธที่ 16 เมษายน พุทธศักราช 2550 ณ ลานรวมใจ เทิดไท้องค์ราชัน หน้าศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดกิจกรรม โดยให้ครอบครัวประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอ ทั้ง 11 อำเภอ ได้แสดงออกทางวัฒนธรรม ร่วมกัน อย่างน้อย 3 คน ซึ่งต้องผูกพันเป็นเครือญาติกัน
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 637
ความรักและบุเพสันนิวาส เป็นสิ่งที่ไม่มีคำตอบและคำถาม ว่าทำไมคนสองคนที่อยู่ห่างไกลกันคนละซีกโลก จึงมีโอกาสได้อยู่ด้วยกัน ได้รักกัน ได้ใช้ชีวิตร่วมกัน เพราะโลกไร้พรมแดนอย่างจริงจัง การที่สาวไทยไปแต่งงานกับคนต่างชาติ มีมานานแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจีน อินเดีย พม่า กะเหรี่ยง เวียดนาม ลาว หรือชาติบ้านใกล้เรือนเคียง ปัจจุบันยุโรปและอเมริกา คนละซีกโลก แต่เพียงลัดนิ้วมือเดียว ก็ลัดฟ้ามาพบกันได้ เราจึงเรียกเขยฝรั่งเหล่านี้ว่า สานสัมพันธ์วัฒนธรรมข้ามโลก ดำเนินการโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 687
เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 623
พระมหาธรรมราชาลิไท นำพระบรมพระสารีริกธาตุและพระศรีมหาโพธิ์ มาประดิษฐานตั้งแต่พุทธศักราช 1900 กาลเวลาล่วงมาพระบรมธาตุกลายเป็นวัดร้าง พญาตะก่า พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยง ได้ขอพระบรมราชานุญาต สร้างเจดีย์ทรงมอญครอบไว้ แต่มิทันเสร็จ พญาตะก่าถึงแก่กรรม พะโป้น้องชายบูรณะต่อโดยนำฉัตรทองจากเมืองมะระแหม่ง มาประดิษฐาน ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2449 ก่อนหน้าพระพุทธเจ้าหลวงเสด็จกำแพงเพชรเพียง 3 เดือน คือเมื่อ 99 ปีที่ผ่านมา เจดีย์วัดพระบรมธาตุเป็นหลักชัย ในพระพุทธศาสนาเมืองกำแพงเพชรมาตลอดเกือบศตวรรษ
เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 853
เป็นการละเล่นพื้นบ้านเก่าแก่ของตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร การละเล่นนี้ได้ดัดแปลงการคล้องช้างลากไม้มาแสดงรำคล้องช้างในเทศกาลสงกรานต์ การทำบุญกลางบ้าน เพื่อหนุ่มสาวได้มีโอกาสพบปะกัน ผู้สืบค้น แม่เฟี้ยม กิตติขจร แม่ลำภู ทองธรรมชาติ แสดงโดยแม่บ้านตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ดนตรีและนักรองจะเริ่มบรรเลง ฝ่ายชายจะจับชายผ้าทั้งสอง ชายรำป้อออกมาคล้องหญิงที่ตนสนใจ แล้วรำต้อนไปมาอยู่กลางวง ฝ่ายหญิงนำฝ่ายชายมาส่งแล้วไปคล้องชายคนอื่นๆ สลับกัน
เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 6,707