กรุวัดคูยาง

กรุวัดคูยาง

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้ชม 5,007

[16.4756284, 99.5247578, กรุวัดคูยาง]

       เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆ เลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลี และพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง 3 รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

ประวัติการสร้าง
       พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ผู้สร้างพระต่างๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ในราว พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่พระยาตะก่า ได้ขออนุญาตบูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม โดยรวมเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ให้เหลือเพียงองค์เดียวแต่ใหญ่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และในการบูรณะครั้งนั้น น่าจะมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัดและพระสงฆ์สามเณรในจังหวัดนี้เป็นแม่กองงานบูรณะฝ่ายสงฆ์ด้วย ฉะนั้นในการสร้างพระบรรจุที่กรุวัดคูยางของท่าน ส่วนหนึ่งได้นำพระกรุเก่าที่ชำรุดจากเจดีย์วัดพระบรมธาตุมาซ่อมแล้วบรรจุไว้ด้วย นอกจากนี้ในการสร้างพระของท่าน มีหลักฐานเชื่อได้ว่าได้นำผงพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และผงพระพุทธบาทปิลันธน์ผสมลงไปด้วย โดยพิสูจน์ได้จากพระกรุวัดคูยางบางองค์ที่หักชำรุดจะเห็นผงสีขาว บางองค์มีผงใบลานเผาปนอยู่ด้วย   และบางองค์ยังมีไขคล้ายพระของพระพุทธบาทปิลันธน์อยู่บ้าง ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ พระที่หักชำรุดมีผงสีขาวปรากฏให้เห็นนั้น มักเป็นองค์ที่ไม่มีคราบราว่านหรือมีเพียงบางๆ แต่พระส่วนใหญ่จะมีคราบราว่านสีดำปนน้ำตาลแก่จับหนาแน่นไม่แพ้กรุเก่าเมืองกำแพงเพชรเลย เพียงแต่เนื้อพระดูจะสดกว่าหน่อยเท่านั้น เนื้อพระกรุเก่าของวัดคูยางนี้ จะใกล้เคียงกับเนื้อพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ ่ จังหวัดสุโขทัย เช่น พิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมล้อพิมพ์สมเด็จ เนื้อและคราบราจะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันก็แต่กรุวัดคุ้งยางใหญ่ จะมีจารอักขระด้านหลังด้วยถ้าไม่มีจารก็แทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นกรุวัดไหน ฉะนั้นความแตกต่างก็จะอยู่ที่พิมพ์พระเป็นสำคัญ แต่ก็มีบางพิมพ์ที่คล้ายกันมากทั้งเนื้อและพิมพ์ก็คือพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งล้อพิมพ์สมเด็จพระพุทธบาทปิลันธน์ เพียงแต่จะเล็กหรือใหญ่กว่ากันบ้างเพราะไม่ได้ใช้พิมพ์เดียวกัน

เกียรติคุณของผู้สร้าง              
       พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระสงฆ์ที่เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตร ทรงวิทยาคุณและอภินิหาร เป็นที่เคารพเลื่อมใสอย่างสนิทใจของสงฆ์และคฤหัสถ์ มีความรู้ความชำนาญทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ด้านสมณศักดิ์ก็เป็นพระครูสัญญาบัตรรูปแรกของเมืองนี้ ด้านการปกครองสงฆ์ก็เป็นเจ้าคณะเมืองหรือเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ด้านการศึกษาก็นับเป็นหนึ่งมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีภายในวัดจนมีผู้สอบมหาเปรียญได้แล้วท่านก็ส่งไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ด้านสาธารณูปการคือการบูรณะปฏิสังขรณ์และการก่อสร้างศาสนวัตถุ โดยเฉพาะภายในวัดปรากฏชัดเจนดังหนังสือตรวจการณ์คณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตากของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อ พ.ศ. 2456 ตอนหนึ่งว่า  ".....วัดคูยางนี้เป็นวัดใหญ่ของเมืองกำแพงเพชร เคยเป็นวัดเจ้าคณะเมือง เจ้าคณะเมืองรูปก่อนคือพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระกว้างมาก ได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญไว้ดีเป็นหลักฐาน......

การเปิดกรุ
       นับเป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านี้ มีผู้แสวงหาพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) สร้างกันมากขึ้น จึงอาจเป็นเหตุให้มีการลักลอบขุดเจาะเจดีย์กันหลายครั้งโดยเฉพาะในราวกลางปี พ.ศ. 2513 มีการลักขุดเจาะฐานเจดีย์เป็นช่องขนาดใหญ่จนทำให้เจดีย์ชำรุด  และเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีเดียวกันนี้ ก็มีการลักขุดกันอีก ทางวัดได้ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องแล้วเห็นสมควรตั้งคณะกรรมการ โดยมีพระสิทธิวชิรโสภณ (ช่วง) เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร พระครูวิมลวชิรคุณ (ทอน) เจ้าอาวาสวัดคูยาง และนายบุญรอด โขตะมังสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น ทำการเปิดกรุ ปรากฏว่ามีทั้งพระกรุเก่าหรือพระฝากกรุและพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนีสร้างบรรจุไว้ทั้งประเภท พระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระเครื่องมีประมาณ 3.000 องค์ ซึ่งเหลือจากที่มีผู้ลักขุดเอาออกไปก่อนหน้านี้ซึ่งคาดว่าคงไม่น้อยกว่าจำนวนที่เหลือแน่นอน

เนื้อ แบบพิมพ์และพระพุทธคุณ
       พระกรุวัดคูยางส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินที่ละเอียดนุ่มหนักแน่นมีราดำปรากฏทั่วไป ส่วนมากเป็นสีแดงคล้ำ บางองค์จะมีไขจับ และบางส่วนไม่มีราว่านหรือมีแต่เพียงบางๆ มีไขจางๆ บางองค์ที่มีคราบราหนาๆ ก็จะเทียบกับพระกรุเก่าได้เลย มีความแห้งและเก่า แม้จะดูสดกว่าพระกรุเก่าก็ตามที พร้อมทั้งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ในส่วนที่เกี่ยวกับแบบพิมพ์พระกรุวัดคูยางที่สร้างโดย พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) นั้นมีทั้งพิมพ์ที่ทำขึ้นเองและถอดพิมพ์มาจากพระอื่นๆ ส่วนใหญ่จะตื้นไม่ลึกและไม่คมชัดเท่าที่ควร ถึงกระนั้นก็มีหลายพิมพ์ที่ยังคงความงามอยู่ไม่น้อยสำหรับพระที่สร้างพิมพ์ขึ้นเองก็มีพระปิดตาสี่ทิศ ด้านหน้าจะมียันต์ 5 ตัว คือ ตรงกลาง 1 ตัว ช่องว่างระหว่างองค์พระทั้ง 4 ทิศอีก 4 ตัว ซึ่งยันต์ทั้ง 5 ตัวนี้ เป็นยันต์เดียวกันกับพระของพระพุทธบาทปิลันธน์ เช่น พิมพ์ซุ้มประตู เป็นต้น ด้านหลังตรงกลางทำเป็นรูกลมลึกเข้าไปในเนื้อและก้นรูมียันต์ 1 ตัว แต่ก็พบพระปิดตาสี่ทิศบางองค์ไม่มียันต์ด้านหลัง อาจจะหลงลืมในการกดพิมพ์ หรือพระบางเกินไปกดพิมพ์ให้ลึกเป็นรูไม่ได้ หรือจะคิดว่าเป็นพระคะแนนก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์อื่นๆ อีก เช่น พระนารายณ์สี่กร (ทรงปืน) เป็นต้น ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ทำขึ้นเองเช่นกัน มียันต์ที่ก้นรูด้านหลัง เช่นเดียวกับพระปิดตาสี่ทิศอยู่บ้าง แต่ก็หาดูได้ยากมาก พระที่ถอดจากพระพิมพ์เก่านั้น 
      ส่วนใหญ่จะเป็นพระของกำแพงเพชร แต่ก็จะมีจำนวนหนึ่งที่เป็นพิมพ์ของพระจังหวัดอื่นๆ เช่น พระสมเด็จปรกโพธิ์ พระพุทธบาทปิลันธน์ พระกริ่งคลองตะเคียน และพระพลายเดี่ยว เป็นต้น ส่วนพระคงกับพระรอดนั้น ไม่ได้ถอดพิมพ์มาแต่ล้อรูปแบบเดิมได้ใกล้เคียงจึงอนุโลมไว้ในกลุ่มนี้ สรุปพระกรุวัดคูยางนั้นเป็นที่ทราบกันว่ามีมากกว่า 40 พิมพ์ แต่เท่าที่มีผู้พบเห็นก็คือพระปิดตาสี่ทิศขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ พระซุ้มกอขนมเบี๊ยะ พระซุ้มยอ พระขุนไกร พระคง พระร่วงนั่งฐานสำเภา พระนางกำแพงมีซุ้ม พระนางกำแพงหัวเรือเมล์ พระกริ่งคลองตะเคียน พระอู่ทอง  พระชินราชใบเสมา พระยอดขุนพล พระซุ้มยอไม่ตัดปีก (ฝากกรุ) พระลีลาเม็ดขนุนขนาดเล็ก และใหญ่ พระสมเด็จปรกโพธิ์พระสมเด็จฐาน 3 ชั้น  พระซุ้มระฆัง พระพลายเดี่ยว พระอู่ทองซุ้มเรือนแก้ว พระนารายณ์สี่กร (ทรงปืน) พระสุพรรณหลังผาน (หลังเรียบ) พระรอด พระนาคปรก (3-4 พิมพ์) พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระลีลาใหญ่ (3-4 พิมพ์) พระเชตุพน พระซุ้มกอเล็ก และพระซุ้มกอใหญ่ (ขนาดพิมพ์กลางของเดิม) และพิมพ์อื่นๆ
       กรุพระวัดคูยาง อยู่ตำบลในเมืองกำแพงเพชร ทิศตะวันออกติดถนนวิจิตร ทิศใต้ติดถนนซอย 3 ราชดำเนิน ประเภทพระที่พบ ได้แก่
           1. พระสมเด็จปรกโพธิ์พิมพ์เล็ก เนื้อดิน
           2. พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-เล็ก เนื้อดิน
           3. พระซุ้มยอ เนื้อดิน
           4. พระนารายณ์สีกร เนื้อดิน
           5. พระร่วงนั่งฐานสำเภา เนื้อดิน
           6. พระขุนไกร เนื้อดิน
           7. พระปิดตา เนื้อดิน
           8. พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ เนื้อดิน
           9. พระลีลาตักแตน เนื้อดิน
           10. พระสี่ทิศ เนื้อดิน
           11. พระนางพญากำแพง เนื้อดิน
           12. พระขุนแผน เนื้อดิน
           13. พระคง เนื้อดิน
       และพิมพ์อื่นๆ

คำสำคัญ : พระเครื่อง กรุพระ วัดคูยาง

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์. (https://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=2&qid=2645)

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุวัดคูยาง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1212&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1212&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุวัดป่ามืด

กรุวัดป่ามืด

ที่ตั้งกรุพระวัดป่ามืด ถนนกำแพง-พรานกระต่ายจากศาลเจ้าพ่อหลักเมือง 200 เมตร เลี้่ยวซ้ายไปประมาณ 900 เมตร ถึงวัดป่ามืดนอก แล้ววัดป่ามืดอยู่ทิศตะวันตกติดกัน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเม็ดขนุน พระเปิดโลก พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระลีลากำแพงเพชร พระเม็ดมะลื่น พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่-กลาง พระนางพญาท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระเล็บมือนาง พระเชตุพนพิมพ์บัวสองชั้น พระเชตุพน พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พิมพ์เล็ก พระฝักดาบ พระกลีบจำปา พระเปิดโลกทิ้งดิ่ง พระประทานพร พระซุ้มยอ พระท่ามะปราง พระนาคปรก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระกลีบบัว พระเชตุพนพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองซุ้มเสมา พระกำแพงใบตำแย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 4,922

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 7,358

กรุวัดกระโลทัย

กรุวัดกระโลทัย

ที่ตั้งกรุพระวัดกระโลทัย อยู่ถนนลำมะโกรก หลังโรงเเรียนจงสวัสดิ์วิทยา จากรั้วโรงเรียนไปประมาณ 30 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาวพิมพ์กลางสนิมตีนกา พระกำแพงห้าร้อย พระกำแพงคืบ พระโพธิ์บัลลังก์ พระสิบชาติ พระนางพญากำแพง พระงบน้ำอ้อย พระนารายณ์ทรงปืน พระซุ้มกระรอกกระแต พระสิบชาตินารายณ์แปรง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 4,005

พระกรุกำแพงเพชร

พระกรุกำแพงเพชร

"การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,856

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย

พระกำแพงห้าร้อย ได้มีการขุดพบอยู่หลายกรุในจังหวัดกำแพงเพชร พบครั้งแรกประมาณปี พ.ศ. 2392 ที่วัดพระบรมธาตุ ฝั่งทุ่งเศรษฐี ต่อมาในปี พ.ศ. 2475 ก็พบอีกที่กรุวัดกะโลทัย และต่อมาก็พบที่กรุวัดอาวาสน้อยทางฝั่งจังหวัด ศิลปะขององค์พระเป็นพระประทับนั่งปางมารวิชัย มีประภามณฑล ขนาดของแต่ละองค์มีขนาดเล็กมาก คาดว่าคงสร้างในสมัยสุโขทัย ในราวปี พ.ศ. 1900 พระที่พบมีแต่พระเนื้อชินเงินเท่านั้นพระกำแพงห้าร้อย ถ้าสมบูรณ์เต็มแผ่นนั้นหายากมากๆ และสนนราคาสูง นิยมทำแผงไม้ตั้งไว้บูชาประจำบ้าน ถือว่ากันไปได้ชะงัดนัก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 12,718

พระลีลา

พระลีลา

พระลีลาแห่งเมืองกำแพงเพชร"พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ นอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย"1นอกจาก “พระกำแพงซุ้มกอ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยแล้ว ที่ จ.กำแพงเพชร ยังมี “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนและพระกำแพงลีลาพลูจีบ” ซึ่งนับเป็นพระกรุเก่าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพระเครื่องปางลีลา” ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยพุทธศิลปะที่มีความงดงามยิ่งนัก เรียกว่าในยุคหลังๆ จะหาช่างฝีมือในการแกะแม่พิมพ์เช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 14,407

พระกลีบจำปา

พระกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา จัดเป็นพระอยู่ในตระกูลเดียวกันกับพระกำแพงเม็ดขนุน จะมีเนื้อดิน และเนื้อชินเงินเท่านั้น เป็นพระที่พบไม่มากนัก ส่วนใหญ่พระพิมพ์นี้จะตื้นประมาณ 80% จะชำรุดเพราะเป็นพระที่เนื้อเปราะบางด้านพุทธคุณแล้วเหมือนกับพระกำแพงเพชรเม็ดขนุนและพลูจีบทุกอย่าง ขุดพบที่วัดพิกุล วัดอาวาสน้อย และบริเวณลานทุ่งทั่ว ๆ ไป

 

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 6,057

พระนางกำแพง

พระนางกำแพง

พระเครื่องกำแพงเพชร ที่นำมาพูดถึงในวันนี้เป็น พระนางกำแพงเพชร และพระนางกำแพงกลีบบัว ของกรุทุ่งเศรษฐีครับ พระตระกูลนางกำแพงฯ นั้นมีอยู่หลายอย่างหลายกรุซึ่งสนนราคาก็แตกต่างกันไป และเป็นพระเครื่องที่พบมากที่สุดในพระตระกูลกำแพงเพชร เรียกได้ว่าแทบจะทุกกรุก็จะพบพระนางกำแพงปะปนอยู่แทบทุกกรุ แสดงว่าในสมัยที่สร้างพระเครื่องนั้นคงมีความนิยมพระพิมพ์นี้กันมากจึงได้สร้างกันไว้แทบทุกกรุ ศิลปะพระนางกำแพงเป็นศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 13,779

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

 พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง  เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,062

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 41,966