กรุวัดคูยาง

กรุวัดคูยาง

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้ชม 5,005

[16.4756284, 99.5247578, กรุวัดคูยาง]

       เมื่อพูดถึงพระกรุวัดคูยาง ก็อดที่จะกล่าวถึงพระสงฆ์ผู้ที่คนเคารพนับถือว่าเป็นผู้ทรงวิทยาคุณ ขนานนามว่าพระเกจิอาจารย์เสียมิได้ โดยเฉพาะในส่วนของวัดคูยางแล้วก็นับว่าเป็นที่รู้จักและยอมรับนับถือของคนทั่วไป ไม่น้อยไปกว่าวัดอื่นๆ เลย เช่น พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) พระครูเมธีคณานุรักษ์ (ปลั่ง) ต่อมาได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระวิเชียรโมลี และพระวิเชียรธรรมคณี (ทองพาน) อดีตเจ้าอาวาสวัดคูยางและอดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชรทั้ง 3 รูป เป็นต้น โดยเฉพาะพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นพระเกจิอาจารย์ร่วมสมัยกับหลวงพ่อขำ อินทะปัญญา วัดลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร หลวงพ่อศุข วัดปากคลอง มะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท และหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จังหวัดพิจิตร เป็นต้น

ประวัติการสร้าง
       พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ผู้สร้างพระต่างๆ บรรจุไว้ในเจดีย์ ในราว พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นปีเดียวกับที่พระยาตะก่า ได้ขออนุญาตบูรณะเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม โดยรวมเจดีย์ทั้ง 3 องค์ ให้เหลือเพียงองค์เดียวแต่ใหญ่ขึ้นดังที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน และในการบูรณะครั้งนั้น น่าจะมีพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) ซึ่งเป็นผู้ปกครองวัดและพระสงฆ์สามเณรในจังหวัดนี้เป็นแม่กองงานบูรณะฝ่ายสงฆ์ด้วย ฉะนั้นในการสร้างพระบรรจุที่กรุวัดคูยางของท่าน ส่วนหนึ่งได้นำพระกรุเก่าที่ชำรุดจากเจดีย์วัดพระบรมธาตุมาซ่อมแล้วบรรจุไว้ด้วย นอกจากนี้ในการสร้างพระของท่าน มีหลักฐานเชื่อได้ว่าได้นำผงพระพุทธคุณของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) และผงพระพุทธบาทปิลันธน์ผสมลงไปด้วย โดยพิสูจน์ได้จากพระกรุวัดคูยางบางองค์ที่หักชำรุดจะเห็นผงสีขาว บางองค์มีผงใบลานเผาปนอยู่ด้วย   และบางองค์ยังมีไขคล้ายพระของพระพุทธบาทปิลันธน์อยู่บ้าง ข้อสังเกตอีกอย่างหนึ่งคือ พระที่หักชำรุดมีผงสีขาวปรากฏให้เห็นนั้น มักเป็นองค์ที่ไม่มีคราบราว่านหรือมีเพียงบางๆ แต่พระส่วนใหญ่จะมีคราบราว่านสีดำปนน้ำตาลแก่จับหนาแน่นไม่แพ้กรุเก่าเมืองกำแพงเพชรเลย เพียงแต่เนื้อพระดูจะสดกว่าหน่อยเท่านั้น เนื้อพระกรุเก่าของวัดคูยางนี้ จะใกล้เคียงกับเนื้อพระกรุวัดคุ้งยางใหญ่ ่ จังหวัดสุโขทัย เช่น พิมพ์สมเด็จสี่เหลี่ยมล้อพิมพ์สมเด็จ เนื้อและคราบราจะคล้ายคลึงกันมาก ต่างกันก็แต่กรุวัดคุ้งยางใหญ่ จะมีจารอักขระด้านหลังด้วยถ้าไม่มีจารก็แทบจะแยกไม่ออกว่าเป็นกรุวัดไหน ฉะนั้นความแตกต่างก็จะอยู่ที่พิมพ์พระเป็นสำคัญ แต่ก็มีบางพิมพ์ที่คล้ายกันมากทั้งเนื้อและพิมพ์ก็คือพิมพ์สมเด็จปรกโพธิ์ซึ่งล้อพิมพ์สมเด็จพระพุทธบาทปิลันธน์ เพียงแต่จะเล็กหรือใหญ่กว่ากันบ้างเพราะไม่ได้ใช้พิมพ์เดียวกัน

เกียรติคุณของผู้สร้าง              
       พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระสงฆ์ที่เพียบพร้อมไปด้วยศีลาจารวัตร ทรงวิทยาคุณและอภินิหาร เป็นที่เคารพเลื่อมใสอย่างสนิทใจของสงฆ์และคฤหัสถ์ มีความรู้ความชำนาญทั้งด้านปริยัติและปฏิบัติ ด้านสมณศักดิ์ก็เป็นพระครูสัญญาบัตรรูปแรกของเมืองนี้ ด้านการปกครองสงฆ์ก็เป็นเจ้าคณะเมืองหรือเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ด้านการศึกษาก็นับเป็นหนึ่งมีโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกบาลีภายในวัดจนมีผู้สอบมหาเปรียญได้แล้วท่านก็ส่งไปเรียนต่อที่กรุงเทพฯ ด้านสาธารณูปการคือการบูรณะปฏิสังขรณ์และการก่อสร้างศาสนวัตถุ โดยเฉพาะภายในวัดปรากฏชัดเจนดังหนังสือตรวจการณ์คณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตากของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เมื่อ พ.ศ. 2456 ตอนหนึ่งว่า  ".....วัดคูยางนี้เป็นวัดใหญ่ของเมืองกำแพงเพชร เคยเป็นวัดเจ้าคณะเมือง เจ้าคณะเมืองรูปก่อนคือพระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) เป็นพระกว้างมาก ได้ก่อสร้างปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ โบสถ์ วิหาร และศาลาการเปรียญไว้ดีเป็นหลักฐาน......

การเปิดกรุ
       นับเป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านี้ มีผู้แสวงหาพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) สร้างกันมากขึ้น จึงอาจเป็นเหตุให้มีการลักลอบขุดเจาะเจดีย์กันหลายครั้งโดยเฉพาะในราวกลางปี พ.ศ. 2513 มีการลักขุดเจาะฐานเจดีย์เป็นช่องขนาดใหญ่จนทำให้เจดีย์ชำรุด  และเมื่อต้นเดือนธันวาคมปีเดียวกันนี้ ก็มีการลักขุดกันอีก ทางวัดได้ปรึกษาผู้เกี่ยวข้องแล้วเห็นสมควรตั้งคณะกรรมการ โดยมีพระสิทธิวชิรโสภณ (ช่วง) เจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร พระครูวิมลวชิรคุณ (ทอน) เจ้าอาวาสวัดคูยาง และนายบุญรอด โขตะมังสะ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นต้น ทำการเปิดกรุ ปรากฏว่ามีทั้งพระกรุเก่าหรือพระฝากกรุและพระที่พระครูธรรมาธิมุตมุนีสร้างบรรจุไว้ทั้งประเภท พระบูชาและพระเครื่องจำนวนมากโดยเฉพาะในส่วนที่เป็นพระเครื่องมีประมาณ 3.000 องค์ ซึ่งเหลือจากที่มีผู้ลักขุดเอาออกไปก่อนหน้านี้ซึ่งคาดว่าคงไม่น้อยกว่าจำนวนที่เหลือแน่นอน

เนื้อ แบบพิมพ์และพระพุทธคุณ
       พระกรุวัดคูยางส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดินที่ละเอียดนุ่มหนักแน่นมีราดำปรากฏทั่วไป ส่วนมากเป็นสีแดงคล้ำ บางองค์จะมีไขจับ และบางส่วนไม่มีราว่านหรือมีแต่เพียงบางๆ มีไขจางๆ บางองค์ที่มีคราบราหนาๆ ก็จะเทียบกับพระกรุเก่าได้เลย มีความแห้งและเก่า แม้จะดูสดกว่าพระกรุเก่าก็ตามที พร้อมทั้งมีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง ในส่วนที่เกี่ยวกับแบบพิมพ์พระกรุวัดคูยางที่สร้างโดย พระครูธรรมาธิมุตมุนี (กลึง) นั้นมีทั้งพิมพ์ที่ทำขึ้นเองและถอดพิมพ์มาจากพระอื่นๆ ส่วนใหญ่จะตื้นไม่ลึกและไม่คมชัดเท่าที่ควร ถึงกระนั้นก็มีหลายพิมพ์ที่ยังคงความงามอยู่ไม่น้อยสำหรับพระที่สร้างพิมพ์ขึ้นเองก็มีพระปิดตาสี่ทิศ ด้านหน้าจะมียันต์ 5 ตัว คือ ตรงกลาง 1 ตัว ช่องว่างระหว่างองค์พระทั้ง 4 ทิศอีก 4 ตัว ซึ่งยันต์ทั้ง 5 ตัวนี้ เป็นยันต์เดียวกันกับพระของพระพุทธบาทปิลันธน์ เช่น พิมพ์ซุ้มประตู เป็นต้น ด้านหลังตรงกลางทำเป็นรูกลมลึกเข้าไปในเนื้อและก้นรูมียันต์ 1 ตัว แต่ก็พบพระปิดตาสี่ทิศบางองค์ไม่มียันต์ด้านหลัง อาจจะหลงลืมในการกดพิมพ์ หรือพระบางเกินไปกดพิมพ์ให้ลึกเป็นรูไม่ได้ หรือจะคิดว่าเป็นพระคะแนนก็เป็นได้ นอกจากนี้ยังพบพระพิมพ์อื่นๆ อีก เช่น พระนารายณ์สี่กร (ทรงปืน) เป็นต้น ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ทำขึ้นเองเช่นกัน มียันต์ที่ก้นรูด้านหลัง เช่นเดียวกับพระปิดตาสี่ทิศอยู่บ้าง แต่ก็หาดูได้ยากมาก พระที่ถอดจากพระพิมพ์เก่านั้น 
      ส่วนใหญ่จะเป็นพระของกำแพงเพชร แต่ก็จะมีจำนวนหนึ่งที่เป็นพิมพ์ของพระจังหวัดอื่นๆ เช่น พระสมเด็จปรกโพธิ์ พระพุทธบาทปิลันธน์ พระกริ่งคลองตะเคียน และพระพลายเดี่ยว เป็นต้น ส่วนพระคงกับพระรอดนั้น ไม่ได้ถอดพิมพ์มาแต่ล้อรูปแบบเดิมได้ใกล้เคียงจึงอนุโลมไว้ในกลุ่มนี้ สรุปพระกรุวัดคูยางนั้นเป็นที่ทราบกันว่ามีมากกว่า 40 พิมพ์ แต่เท่าที่มีผู้พบเห็นก็คือพระปิดตาสี่ทิศขนาดเล็ก กลาง และใหญ่ พระซุ้มกอขนมเบี๊ยะ พระซุ้มยอ พระขุนไกร พระคง พระร่วงนั่งฐานสำเภา พระนางกำแพงมีซุ้ม พระนางกำแพงหัวเรือเมล์ พระกริ่งคลองตะเคียน พระอู่ทอง  พระชินราชใบเสมา พระยอดขุนพล พระซุ้มยอไม่ตัดปีก (ฝากกรุ) พระลีลาเม็ดขนุนขนาดเล็ก และใหญ่ พระสมเด็จปรกโพธิ์พระสมเด็จฐาน 3 ชั้น  พระซุ้มระฆัง พระพลายเดี่ยว พระอู่ทองซุ้มเรือนแก้ว พระนารายณ์สี่กร (ทรงปืน) พระสุพรรณหลังผาน (หลังเรียบ) พระรอด พระนาคปรก (3-4 พิมพ์) พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระลีลาใหญ่ (3-4 พิมพ์) พระเชตุพน พระซุ้มกอเล็ก และพระซุ้มกอใหญ่ (ขนาดพิมพ์กลางของเดิม) และพิมพ์อื่นๆ
       กรุพระวัดคูยาง อยู่ตำบลในเมืองกำแพงเพชร ทิศตะวันออกติดถนนวิจิตร ทิศใต้ติดถนนซอย 3 ราชดำเนิน ประเภทพระที่พบ ได้แก่
           1. พระสมเด็จปรกโพธิ์พิมพ์เล็ก เนื้อดิน
           2. พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-เล็ก เนื้อดิน
           3. พระซุ้มยอ เนื้อดิน
           4. พระนารายณ์สีกร เนื้อดิน
           5. พระร่วงนั่งฐานสำเภา เนื้อดิน
           6. พระขุนไกร เนื้อดิน
           7. พระปิดตา เนื้อดิน
           8. พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ เนื้อดิน
           9. พระลีลาตักแตน เนื้อดิน
           10. พระสี่ทิศ เนื้อดิน
           11. พระนางพญากำแพง เนื้อดิน
           12. พระขุนแผน เนื้อดิน
           13. พระคง เนื้อดิน
       และพิมพ์อื่นๆ

คำสำคัญ : พระเครื่อง กรุพระ วัดคูยาง

ที่มา : สำราญ มหบุญพาชัย. (2533). พระเครื่องเมืองกำแพงฯ. กำแพงเพชร : มูลนิธิกำแพงเพชรสงเคราะห์. (https://forum.uamulet.com/view_topic.aspx?bid=2&qid=2645)

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). กรุวัดคูยาง. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1212&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1212&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 12,197

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 17,686

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอ

พระซุ้มยอนี้ นักพระเครื่องสมัยก่อนเห็นลวดลายเรือนแก้วของพระเครื่องพิมพ์นี้ใหญ่เป็นตุ่มคล้ายลูกยอ จึงเรียกกันว่า “ ปรกลูกยอ “ เนื้อดินมักมีคราบกรุจับและมีว่านดอกมะขามอยู่ทั่วไป เนื้อดินมีทั้งชนิดเนื้อค่อนข้างหยาบและเนื้อละเอียดนุ่ม มีทั้งกลังเรียบและหลังเบี้ย เนื้อชินเป็นชินเงินสนิมเขียว สนิมปรอท และสนิมดำก็มี สำหรับชนิดเนื้อชินมักทำหลังเป็นร่อง หลังเรียบก็มีบ้างแต่ก็มีน้อยมาก ขนาดมี 2 ขนาด ขนาดเล็กและขนาดใหญ่แต่ว่าต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ขนาดใหญ่สูงประมาณ 2.5 ซม.กว้าง 1.5 ซม.” 
พระกำแพงซุ้มยอพบที่กรุวัดพระบรมธาตุ ทั้งชนิดเนื้อชินและเนื้อดิน จากนั้นก็พบที่บริเวณทุ่งเศรษฐีที่กรุหนองพิกุล และกรุซุ้มกอ นับว่าเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีอีกพิมพ์หนึ่งที่มีชื่อเสียงเคียงคู่มากับบรรดาพระชั้นนำของเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันนี้พระกำแพงซุ้มยอเป็นพระที่หายากไปแล้ว ราคาค่านิยมยังไม่สูงมากเหมือนกับพระกำแพงซุ้มกอ แต่ก็ถือว่าเป็นพระที่นำมาอาราธนาบูชาติดตัวได้อย่างเชื่อมั่นไม่น้อยไปกว่าพระพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 12,635

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง กรุผู้ใหญ่เชื้อ จังหวัดกำแพงเพชรพระลีลากรุผู้ใหญ่เชื้อ องค์นี้สภาพสวยคมชัดลึก ดินกรุยังติดอยู่พอมองเห็นเนื้อพระ พระเนื้อแกร่งแห้ง พระกรุนี้เนื้อจะหยาบ ราคาจึงถูกทั้งที่แตกกรุในเขตนครชุมเหมือนกับพระกรุอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,408

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,630

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,420

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 34,313

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก พบที่วัดพระบรมธาตุ ให้นิมนต์พระ (อาราธนาพระ) ใส่ศีรษะหรือออมใส่ในปาก อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เสกด้วย "นวหรคุณ" หรือพระเจ้า 16 พระองค์ทั้งคู่คือ "กิริมิทิ กุรุมุกุ กะระมะทะ เกเรเมเท นะมะนะอะ นอกอนอกะกอออนกอะ นะอะกะอัง ให้เสก 3 จบหรือ 7 จบ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยทั้งปวง คาถาบทนี้ท่รตีค่าไว้ควรเมือง ถึงข้าศึกจะเป็นหมื่นเป็นแสนให้ภาวนาเดินฝ่าฝูงข้าศึก ข้าศึกจะจังงงหมดสิ้นแล ถ้าเข้าป่าถูกไฟป่าล้อมให้ภาวนาเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีอันตรายแล ถ้าจะค้าขายดีไปทางบกหรือทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงส์ เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยพระพุทธคุณ "อิติปิโส ภกูราติ" 7 จบ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 16,343

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมา

พระซุ้มเสมาทิศ มีผู้ค้นพบมากมายหลากหลายกรุ ในแถบพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง และภาคกลาง ล้วนเป็นที่นิยมและมีชื่อเสียงโด่งดังทั้งสิ้น ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ 2450 เป็นต้นมาจน ประมาณ พ.ศ 2490-6 มีการเปิดกรุอย่างเป็นทางการและมีผู้พบพระซุ้มเสมาทิศ ทั้งที่กรุวัดอรัญญิก จังหวัดพิษณุโลก โดยพบพร้อมกับพระชินราชใบมะยม มีทั้งเนื้อดิน และชินแข็งสภาพผุกร่อนไม่สมบูรณ์เป็นส่วนใหญ่ เช่นเดียวกับที่พบตามวัดร้าง และเนินดินตามเขตเมืองเก่าในจังหวัดชัยนาท มีบางส่วนพบที่จังหวัดกำแพงเพชร กรุวัดอาวาสใหญ่ส่วนมากเป็นพิมพ์กลาง เนื้อดินและเนื้อชินแก่ตะกั่วมีไขขาวแซมตามซอกองค์พระและที่กรุวัดอาวาสน้อย เนื้อชินจะเป็นลักษณะเป็นชินแข็งมีสนิมตีนกาและตามรอยผุระเบิดจะเป็นปื้นเกร็ดกระดี่มีปรอทขาวสีซีดแห้งสมอายุ เมื่อสัมผัสถูกความชื้นนานไปจะกลับเป็นสีเทาเข้มจนเกือบดำ กรุสำคัญที่ถือได้ว่ามีพระพิมพ์ซุ้มเสมาทิศทุกพิมพ์อยู่เป็นจำนวนมาก 

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 6,692

กรุตาพุ่ม

กรุตาพุ่ม

ที่ตั้งกรุพระตาพุ่ม อยู่ทิศตะวันตกเฉียงใต้ของวัดพระบรมธาตุ ไปประมาณ 800 เมตร ประเภทพบที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนก พิมพ์ใหญ่ พระเทิดขนนก พระเม็ดมะลื่น พระนางพญากำแพงสนิมแดง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 3,779