เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้ชม 1,337

[16.3194159, 99.4823679, เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์]

             มีนิทานอันลือชื่อในท้องถิ่นของชาวไตรตรึงษ์เรื่อง “ท้าวแสนปม” ซึ่งเล่าสืบต่อกันมาแต่ครั้งโบราณถือเป็น นิทานฉบับท้องถิ่นโดยมีการถอดความจากการเล่าของนายสรวง ทองสีอ่อน ชาวบ้านวังพระธาตุ ตำบลวังพระ ธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งได้เล่าไว้ดังนี้ “ประวัติเรื่องท้าวแสนปม เดิมทีท้าวแสนปมไม่ใช่คนที่อยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร บ้านช่องพ่อแม่อยู่ที่ระแหง อยู่เหนือจังหวัดกำแพงเพชรขึ้นไป แต่พ่อแม่ของเจ้าแสนนี้ไม่ปรากฏว่าชื่ออะไร พอมีลูกชายก็ตั้งชื่อว่าเจ้าแสน เจ้าแสนคนนี้มีรูปร่างอัปลักษณ์ คือว่าผิวเนื้อของแกมีแต่ปุ่มเป็นปมขรุขระเหมือนผิวมะกรูด บางคน เรียกว่า เจ้าแสน บางคนเรียกว่าเจ้าปม บางคนมาเรียกรวมกันแล้ว เรียกว่าแสนปม แต่เจ้าแสนเป็นคนขี้เกียจ ไม่อยากทำงานทำการ กินแล้วก็นอน พ่อแม่จะว่าอย่างไรก็ช่าง นอนตะพึด พ่อแม่อิดหนาระอาใจขึ้นมาขืนเลี้ยงไว้ก็จะเปลืองเปล่าจะไม่เกิดประโยชน์อะไรจะต้องคิดกำจัดเถอะ ลอยแพไปเสียให้มันพ้นไปจะไปอยู่ที่ไหน จะไปเป็นตายที่ไหนช่าง ในเมื่อเจ้าแสนจะถูกเนรเทศนั้นก็ยอม เจ้าแสนก็ไม่คัดค้านพ่อแม่ ในเมื่อไม่รักลูกจะปล่อยลูกไปตามยถากรรมก็ตามใจ ผลที่สุดพ่อแม่ก็ต่อแพให้เจ้าแสนลงแพ เตรียมจอบเตรียมเสียมเตรียมเสบียงอาหารมาให้เสร็จ ขณะที่ปล่อยลอยแพมานั้น เจ้าแสนก็อธิษฐานให้ตัวเองว่าข้าพเจ้านี้ไปติดอยู่ที่ใดก็จะขออยู่ที่นั้นลอยมา ในระหว่างสายแม่ปิง ลอยมาถึงเกาะปม แพติดอยู่ที่เกาะปม เจ้าแสนก็เลยปลูกกระท่อมห้อมรังขึ้น อยู่บนเกาะก็ไม่ท้าอะไร มีผักมีหญ้าที่พ่อแม่ให้มากินเหลือก็เหวี่ยงทิ้งไป เม็ดมันขึ้นมาก็เอาไปปลูกมีปลูกพริก ปลูกมะเขือ แต่เจ้าแสนนี้ขี้เกียจน้ำท่าไม่รดหรอก ตื่นเช้ามาปวดท้องเยี่ยวลงจากกระท่อมไปเยี่ยวรดกกมะเขือ ไม่ใช้น้ำรดกะเขาหรอก เยี่ยวรดยังงั้นแหละ จนกระทั่งมะเขืองอกงามและมีลูกดก ก็มีลูกสาวเจ้าเมืองกำแพงเพชรเสด็จประพาสป่า จะเป็นด้วยเหตุอันใดดลใจก็ไม่รู้แน่ ก็ชักชวนพ่อให้มาเที่ยวป่า พ่อก็ตามใจลูกให้มาเที่ยวและมาเที่ยวถึงกระท่อมเจ้าแสนปม มาเห็นมะเขือเจ้าแสน มีลูกเข้าก็นึกอยากกินมะเขือ ก็ให้คนมาขอครั้งแรกเจ้าแสนก็ไม่ยอมให้เหมือนกัน ตานี้เห็นเป็นผู้หญิงอยากกินก็เลยอนุญาตให้ไป ครั้นเมื่อกลับไปแล้วมีอาการแพ้ท้อง ตั้งครรภ์ ในเมื่อตั้งครรภ์ขึ้นแล้ว เกิดมีลูกชายขึ้นมาพ่อแม่ก็สงสัย ผัวเจ้าไปไหน ใครเป็นผัวเจ้า นางลูกสาวนั้นก็ตอบไม่ถูกเพราะว่าไม่เคยไปสมสู่กับชายใดมาก่อน ก็ได้เพียงแต่ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ได้กินมะเขือเข้าไป ก็เกิดมีอาการแพ้ท้องและก็มีลูกขึ้นมา เจ้าเมืองก็จะขับไ ลไสส่งลูกก็ยัง ขับไล่ไสส่งไปไม่ได้ ก็ตั้งปณิธานว่าต้องหาผัว และว่าใครจะเป็นพ่อของเด็กก็เที่ยวให้ประชากรไปปิดประกาศกล่าวร้องพวกลูกเจ้าเมืองทั้งหลาย ว่าใครเป็นพ่อของเด็กก็ขอให้มา และอธิษฐานไว้ถ้าใครเป็นพ่อของเด็กแล้ว ให้เด็กคนนั้นคลานเข้าไปหา ผลที่สุดลูกขุนนางทั้งหลายก็มาซื้อเสื้อซื้อผ้ามาจะล่อใจเด็ก เมื่อมาแล้วเด็กมาเห็นเข้าก็ไม่พอใจใครทั้งนั้น เด็กไม่ออกไปหาใคร ผลสุดท้ายพวกนี้ก็ ไปหมดหาพวกประชาราษฎร์ พวกประชาราษฎร์ธรรมดา พวกราษฎรธรรมดาไป ไปแล้วก็ซื้อขนมนมเนย  ซื้อไปให้เด็ก เด็กก็ไม่ออกไม่ออกมาหาใครทั้งนั้น เหลืออยู่พวกหูหนวกตาบอดขาด้วนไปอีก ก็ไม่สำเร็จ  ไม่มีความสำเร็จสักคนเดียวก็เหลืออยู่เจ้าแสน พวกข้าราชการก็ไปบอกกล่าว เหลือคนอีกคนหนึ่ง  รูปร่างอัปลักษณ์น่าเกลียด ตัวเป็นปุ่มเป็นปม เจ้าเมืองก็ให้มาเชิญตานี้เจ้าแสนเมื่อถูกเชิญเข้ามา ก็ไม่มีอะไรจะไปฝากเสื้อผ้าก็ไม่มีขนม นมเนยก็ไม่มี มีข้าวเย็นก้นหม้ออยู่ก้อน ก็ตั้งใจอธิษฐานกับข้าวเย็น  ถ้าหากว่าเป็นบุญญาธิการของข้าพระพุทธเจ้าเมื่อชาติปางก่อน เคยเป็นผัวเมียกันและเคยเป็นพ่อเป็นลูกกัน ขอให้กุมารนั้นเห็นห่อชายผ้าขาวม้าไป เมื่อไปถึงที่ตำหนักของพระเจ้าแผ่นดิน และก็แก้ห่อข้าวเย็นออกมาวาง พอเด็กเห็นข้าวเย็นนั้นเด็กมันก็คลานเข้าไป คลานเข้าไปหาและก็เก็บเอาข้าวเย็นนั้น  ในเมื่อกินข้าวเย็นแล้ว เจ้าเมืองก็เห็นว่า“นี่เขาเป็นเนื้อคู่สู่สมกันแต่ชาติปางก่อนถึงแม้ว่ารูปร่างจะชั่วช้าอัปลักษณ์ในเมื่อเราตรัสออกไปแล้วว่าจะต้องยกให้เขาเราก็ต้องยกให้เขาจะไม่ให้เขาก็ไม่ได้  เพราะว่าเด็กก็ได้เข้าไปหาเขาแล้ว แสดงว่าเขาต้องเป็นพ่อของเด็ก” เมื่อยกให้กันแล้วก็ให้กลับมาอยู่ยังที่เดิม
            ในเมื่อกลับมาอยู่ยังที่เดิม ตานี้เจ้าแสนนั้นมีทั้งลูกทั้งเมียแล้ว จะขี้เกียจอยู่ก็ไม่ได้ ต้องขยันทำงาน งานนั้นก็ไม่มีอะไรหาปลา คือว่าไปตัดไม้มาสานเป็นลอบเป็นไซดักปลา ไปดักปลาที่คลองขมิ้น  มีชื่อคลองขมิ้นก็ยังมีเวลาไปกู้ปลาก็ไม่มีปลาติด มีแต่ขมิ้น ขมิ้นนั้นก็เป็นขมิ้นชันที่เขาใช้ตำทาเด็กสมัยก่อน กู้มาทีไรก็มีแต่ขมิ้นก็เทกอง ทีนี้เมียก็ถามว่า แกไปดักปลา ทำไมไม่ได้ปลาเล่า ตาแสนก็บอกปลาไม่มีเลย มีแต่ขมิ้น ขมิ้นทำไมไม่เอามาเททิ้งหมด ทีนี้เอามาให้ดูซิ ขมิ้นนั้นเป็นยังไง รุ่งเช้าก็ไปกู้ ลอบกู้ไซก็ติดขมิ้นอีก ติดขมิ้นก็เทใส่หม้อสะพายมาถึงบ้าน พอถึงบ้านเทขมิ้นออก ขมิ้นนั้นก็กลายเป็นทองคำไม่ได้เป็นขมิ้นอย่างเดิม ทีนี้ก็คิดกันว่าจะเอาไปทำอะไร อย่ากระนั้นเลยเราเอามาแผ่ทำเปลทำอู่สำหรับให้ลูกนอน ในเมื่อเอาทองคำมาทำเปลให้ลูกนอนก็เรียกว่า อู่ สมัยก่อนเขาเรียกว่า อู่ ก็เลยให้ลูกชาย ชื่อว่าอู่ทอง เปลทอง….อู่ทอง
            ต่อมาคิดอยากจะให้มันกว้างขวาง อยากจะทำไร่ทำนา ผลหมากรากไม้ ที่มันเป็นป่าเป็นดง ก็จะฟันให้มันเตียน เพื่อจะได้ทำไร่ เช้าขึ้นก็ไปฟันไร่ เมื่อเย็นลงก็กลับมา เช้าขึ้นก็ไปฟันต่อ ต้นไม้ก็ลุกขึ้น โงขึ้นเหมือนเดิม ไม่มีต้นไม้ต้นไหนล้มตายเลย ก็กลับมาบอกเมีย ว่ามันเป็นเพราะเหตุไร ต้นไม้ผัวฟันขาดโคนไปแล้ว มันทำไมถึงกลับขึ้นมาได้ เมียก็ไม่เชื่อหาว่าผัวยังมีสันดานขี้เกียจอยู่ เข้าใจว่าผัวไปหลับไปนอน ไม่ไปทำงานจริง ตาแสนนี้ก็ยืนยันว่าเป็นความจริง ไปตัดโค่นจริง ๆ แล้วก็ไปฟันอีก เช้าขึ้นก็ไปฟันครั้นเย็นลงก็กลับบ้าน เช้าขึ้นไปดูต้นไม้ลุกหมด ทีนี้ก็สงสัยนี่มันเป็นเพราะเหตุไร นี่มันจะเดือดร้อนถึงเทวดาถึงพระอินทร์คงจะเพ่งเล็งแล้ว แสนนี่นะคงจะไม่ใช่คนต่ำช้าจะต้องมีบญญาธิการก็จึงใช้วิษณุกรรมแปลงร่างมาเป็นลิงและให้ฆ้อง ฆ้องกายสิทธิ์ลูกหนึ่ง ถ้าตีขึ้นเมื่อไรต้นไม้นั้นจะลุกขึ้น ต้นไม้ที่ท้าวแสนปมฟันไว้นี่นะ ต้นไม้นั้นจะลุกขึ้นหมด ท้าวแสนแปลกใจ ฟันทีไรต้นไม้ลุกขึ้นหมดทุกต้น ไม่มีต้นไหนตายเลย อย่ากระนั้นเลยแอบดูเหอะ แอบดูซิว่ามันจะเป็นเพราะเหตุใด ก็ไปเที่ยวหาดูว่าตรงไหนมันจะเหมาะสมที่เราจะแอบดู บังเอิญมีต่อไม้อยู่ตอหนึ่ง ข้างล่างมันเป็นโพรง ก็เข้าไปอยู่ในโพรง ในเมื่อเข้าไปอยู่ในโพรงไม้ก็รอเวลา มันจะมีอะไรเกิดขึ้น ที่จะท้าให้ต้นไม้ลุกยืนขึ้นได้ ก็บังเอิญมีลิง ลิงตัวนั้นก็ลงมา ลิงตัวนั้นสีเขียว เมื่อลงมาแล้วก็ไม่ไปนั่งที่ไหนเสียด้วย ไปนั่งบนโพรงไม้ เอาหางหย่อนลงไปข้างล่าง เอาหางหย่อนลงไปในโพรง ตาแสนเห็นลิงตัวนี้เองมันมีฆ้องดูซิมันจะทำอย่างไร พอได้เวลา เจ้าลิงก็ตีฆ้อง พอตีฆ้อง ..ม้ง…ต้นไม้ก็ลุก … ม้ง….ต้นไม้ก็ลุก….ๆ…ๆ…. เจ้าแสนก็อ้อ…เป็นเพราะลิงตัวนี้เอง มันมีของวิเศษ เลยคว้าหางลิงพันแขวนไว้เลย เจ้าลิงก็ฉุด เจ้านี้ก็ฉุดต่างคนต่างแย่ง ลิงกับเจ้านี่ไม่ยอมปล่อย ในที่สุดลิงยอมให้เจ้าแสนจับได้ เมื่อจับได้แล้วก็ถามว่า ฆ้องอันนี้เอามาจากไหน ได้มาอย่างไร ประสิทธิภาพยังไง ลิงนั้นก็เล่าให้ฟังว่า ฆ้องอันนี้พระอินทร์ท่านให้มา ในเมื่อ ต้องการปรารถนาสิ่งใด ก็ปรารถนาได้ 3 ครั้ง กลับมาก็ลองปรารถนาว่า ขอให้ปมที่เป็นในตามตัวข้าพเจ้า ขอให้มันหลุดหายไปทั้งหมด พออธิษฐานเสร็จก็ตีฆ้อง พอตีฆ้องแล้ว ปมก็หลุดหายหมด หลุดหายไปหมด แล้วก็กลับบ้าน กลับมาถึงเมีย เมียสงสัยเลยจำไม่ได้ว่าใคร เพราะว่าสวย รูปร่างก็สะสวย ก็คิดว่า เอ๊ะ ….ชายไหนจะมาเกี้ยวพาราสีเรา ผัวเราไม่อยู่หรือยังไง ชักแปลกใจ เจ้าแสนก็เล่าให้ฟังอธิบายให้ฟัง เมียก็ไม่เชื่อ ยังไม่เห็นแก่ตา ก็ยังไม่เชื่อ เจ้าแสนต้องท้าให้ดู ตีฆ้องขึ้นมาอีกอธิษฐานให้มีปมขึ้นมาอีก เพื่อเมียจะได้เห็น ในเมื่ออธิษฐานให้เป็นปมแล้ว ก็ตีฆ้องเมื่อตีฆ้องแล้วก็เป็นปุ่มเป็นปมขึ้นมาอย่างเดิม เมื่อเป็นปุ่มเป็นปมขึ้นมาอย่างเดิม เมียเชื่อแล้วก็ เห็นว่าเป็นความจริงให้อธิษฐานให้ปมหาย ก็ตีฆ้องปมก็หาย อธิษฐานเอาบ้านเอาเมือง เอาช้าง เอาม้า เอาวัว เอาควาย เอาบริวาร ก็อธิษฐานขึ้น อธิษฐานแล้วตีฆ้องขึ้นมา มีปราสาทราชวัง มีช้าง มีม้า มีวัว มีควาย มีข้า บริวาร ถึงเวลาเอาช้างไปลงน้ำ น้ำจะอูดไปเพราะขี้ช้าง น้ำจะอูดขึ้นไปทดถึงเมืองพ่อตา พ่อตาสงสัย น้ำนี่มันมายังไงถึงได้มาท่วม ก็ให้ทหารมาดูผลที่สุดทหารก็กลับไปเล่าให้ฟังว่าแสนเขาสร้างเมืองแล้ว เข้าสร้างเมือง เขาแล้วมีช้าง ม้า วัว ควาย การที่น้ำอูดมานี้เพราะขี้ช้าง ที่เอาช้างไปลงน้ำ ที่นี่เจ้าเมืองก็มาเยี่ยมลูกชาย ลูกเขย ลูกเขยก็ให้สร้างสะพานทองอยู่เหนือขึ้นไป เมื่อเห็นแล้วก็ตั้งใจให้เป็นเจ้าเมือง สรุปแล้วก็เรียกว่า “ท้าวแสนปม ” มาจนทุกวันนี้     
          ตามเนื้อหาที่กล่าวมาเป็นนิทานของชาวบ้านในเขตตำบลไตรตรึงษ์ซึ่งเล่าสืบต่อกันมา เนื้อหาต้องการอธิบายถึงการกำเนิดของเมืองท้าวแสนปม (เมืองไตรตรึงษ์) ซึ่งท้าวแสนปมหรือตาแสนปมนั้นได้รับความเชื่อถือ ศรัทธาเป็นอย่างยิ่งในท้องถิ่นตำบลไตรตรึงษ์และชุมชนใกล้เคียง จึงได้มีการสร้างศาลไว้ที่ริมแม่น้ำปิง ใกล้กับวัดวังพระธาตุ เพื่อให้ชาวบ้านที่ศรัทธามากราบไหว้บูชา
          จากหลักฐานและร่องรอยตามตำนาน พงศาวดาร นิยายปรัมปราของเมืองไตรตรึงษ์ ล้วนเป็นร่องรอยที่ ยืนยันได้ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่มีอยู่จริงและเป็นเมืองความสำคัญมีอายุไม่ต่ำกว่าสมัยทวาราวดีมาจนถึงกรุงสุโขทัย อยุธยา และรัตนโกสินทร์ตอนต้นในพงศาวดาร เมืองไตรตรึงษ์ได้ถูกกล่าวถึงในฐานะที่เป็นเมืองสำคัญตามประวัติศาสตร์ของไทยเมือง หนึ่ง ดังพงศาวดารโยนกที่กล่าว่า ในสมัยของพระเจ้าชัยศิริเสชียงแสนซึ่งหนีข้าศึกลงมาทางใต้ตามแม่น้ำปิง และไปพักพลอยู่ที่เมืองร้างฝั่งตรงข้ามกับเมืองกำแพงเพชร มีชีปะขาวมาชี้ให้ตั้งเมืองใหม่ที่มีชัยภูมิดี พระเจ้าชัยศิริจง ให้ไพร่พลตั้งหลักสร้างเมืองชื่อว่าเมืองไตรตรึงษ์  มีตำนานพื้นบ้านที่เล่าสืบต่อกันมาเกี่ยวกับราชธิดาของเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ได้ประสูติกุมารออกมาโดยไม่รู้ ว่าผู้ใดเป็นบิดา เจ้าเมืองไตรตรึงษ์จึงต้องท้าการเสี่ยงทายได้ความว่าเป็นบุตรของคนทุตตะชื่อ นายแสนปม มีปุ่มเต็มตัว เจ้าเมืองไตรตรึงษ์จึงขับไล่ให้ออกจากเมืองไป นายแสนปมซึ่งความจริงเป็นคนมีบุญญาธิการได้รับความช่วยเหลือจากพระอินทร์ จึงไปสร้างเมืองใหม่ชื่อว่าเมืองเทพนคร ขึ้นครองราชย์เป็นเจ้าเมืองและได้น้าทองค้ามา เป็นอู่ให้กุมารน้อยผู้เป็นบุตรนอน กุมารน้อยจึงได้ชื่อว่า “พระเจ้าอู่ทอง” เมืองไตรตรึงษ์ เป็นเมืองที่มีขึ้นมาก่อนและอยู่ร่วมสมัยเดียวกันกับเมืองสุโขทัย และยังคงมีความเป็นเมืองสืบต่อกันมาอย่างยาวนานกว่าเมืองนครชุม ดังหลักฐานที่ปรากฏรายชื่อของเจ้าเมืองในจารึกหลักที่ 38 (จารึกกฎหมายลักษณะโจร) ว่าบรรดาเจ้าเมืองที่ไปเข้าเฝ้าเจ้าพระมหากษัตริย์จากกรุงศรีอยุธยาขณะที่มา ประทับ ณ เมืองกำแพงเพชรในครั้งที่จะสร้างศิลาจารึกกฎหมายลักษณะโจรนั้น มีเจ้าเมืองไตรตรึงษ์ปรากฏอยู่ด้วยต่างกับเมืองนครชุมที่กลายเป็นเมืองร้างและชื่อนั้นได้หายไปจากจารึกเสียแล้ว ความเจริญรุ่งเรื่องแห่งอดีตของเมืองไตรตรึงษ์กำลังเลือนหายไปจากความทรงจ้าของผู้คนในยุคปัจจุบัน จึงเป็นหน้าที่อันสำคัญที่คนรุ่นปัจจุบันต้องแสวงหาความยิ่งใหญ่แห่งอดีตของเมืองไตรตรึงษ์ให้กลับคืน มา เพื่อพลิกฟื้นความภาคภูมิใจของคนไทยทุกคน โดยเฉพาะชาวกำแพงเพชรและตำบลไตรตรึงษ์ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ให้รับรู้ร่วมกันว่า ณ ที่แห่งนี้ ครั้งหนึ่งเคยเป็นนครโบราณที่มีความเจริญรุ่งเรือง และมีคุณค่าทาง ประวัติศาสตร์เกินกว่าจะปล่อยให้สูญหายไป เหมือนอย่างเมืองบางพาน คณฑีและเทพนคร ที่ไม่เหลือแม้ เพียงเศษอิฐสักก้อน และหากเป็นเช่นนั้นเราจะเหลือความภาคภูมิใจอันใดไว้ให้ลูกหลานกันเล่า

คำสำคัญ : ไตรตรึงษ์, นิทานพื้นบ้าน

ที่มา : เมืองไตรตรึงษ์ ตามร่องรอยแห่งตำนานและประวัติศาสตร์. (ม.ป.ป). กำแพงเพชร: ม.ป.ท.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). เมืองไตรตรึงษ์กับตำนานนิทานพื้นบ้านของชาวบ้านตำบลไตรตรึงษ์. สืบค้น 28 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1320&code_db=610001&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1320&code_db=610001&code_type=01

Google search

Mic

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เมืองไตรตรึงษ์สมัยอยุธยา

เอกสารจากพงศาวดารฉบับปลีก ซึ่งนายไมเคิล ริคคารี่ ได้นำลงในหนังสือสยามสมาคม มีข้อความสรุปได้ว่า เมืองสุโขทัยได้ตกเป็นเมืองขึ้นของอยุธยาอีกครั้งเมื่อสมัยของพระบรมราชาธิราชที่ 2 และได้แบ่งอาณาจักรสุโขทัยออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 ให้พระมหาธรรมราชาที่ 4 (บรมปาลมหาธรรมราชา) ครองเมืองอยู่ที่สองแควหรือพิษณุโลก ส่วนที่ 2 ให้พระยารามครองเมืองอยู่ที่สุโขทัย ส่วนที่ 3 ให้พระยาเชลียงครองเมืองอยู่ที่สวรรคโลก และส่วนที่ 4 ให้เจ้าแสนสอยดาว ครองเมืองอยู่กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,743

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

หนึ่งพันปีเมืองกำแพงเพชร

จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน

เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 3,311

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) กับจารึกนครชุม

เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 3,197

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

ตำนานสามล้อกำแพงเพชร

สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช 2490 มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี 2500 รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรกที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่หน้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียนเป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนาย อุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมาก ๆ มีฐานะดีด้วย 

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,471

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

กำแพงเพชร : สมัยสุโขทัย

ข้อความในจารึกหลักที่ 2 ศิลาจารึกวัดศรีชุม ในหนังสือประชุมศิลาจารึกภาคที่ 1 หน้าที่ 37-39 ในบรรทัดที่ 21-40 อธิบายโดยสรุปว่า พ่อขุนศรีนาวนาถม ได้ครอบครองเมืองสุโขทัยและ เมืองศรีสัชนาลัยมาก่อน หลังสิ้นพ่อขุนศรีนาวนาถมแล้ว พ่อขุนบางกลางหาว ได้เข้ามาครอบครอง ต่อมาถูกขอมขยายอำนาจยึดเมืองต่าง ๆ ได้ พ่อขุนบางกลางหาวจึงต้องขอความช่วยเหลือไปยังพ่อขุนผาเมือง เจ้าเมืองราดซึ่งเป็นโอรสของพ่อขุนศรีนาวนาถม พ่อขุนผาเมืองได้สั่งให้พ่อขุนบางกลางหาวไปนำทหารของพระองค์ที่เมืองบางยางมาสู้รบ พ่อขุนบางกลางหาวก็ยังไม่สามารถที่จะชนะขอมสบาดโขลญลำพงได้ จนทำให้พ่อขุนผาเมืองต้องยกทัพออกมาช่วย จนในที่สุดได้เมืองบางขลัง ศรีสัชนาลัย  และเมืองสุโขทัยคืน ได้และพ่อขุนผาเมืองได้อภิเษกพ่อขุนบางกลางหาวขึ้นเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยทรงพระนามว่า “ศรีอินทรบดินทราทิตย์” 

เผยแพร่เมื่อ 24-02-2020 ผู้เช้าชม 5,483

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ประวัติศาสตร์กำแพงเพชร จากใบบอกเมืองกำแพงเพชร

ในสมัยโบราณ การติดต่อระหว่างเมืองประเทศราช เมืองพระยามหานคร และเมืองต่างๆ ในพระบรมโพธิสมภาร มีการติดต่อและรายงานโดยการใช้ใบบอก มีประโยชน์ในการรายงาน เรื่องราชการ ใบบอกเป็นเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญอย่างหนึ่ง อาจมีข้อเท็จจริงอยู่ในใบบอกประสมกันอยู่ แต่อาจเป็นต้นเค้าของหลักฐานในการสืบค้นให้ลึกลงไปในอดีตที่ยังไม่มีใครสนใจนัก ประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่เป็นประวัติศาสตร์ของเมืองหลวงของราชธานี ส่วนประวัติศาสตร์ของหัวเมืองมิใคร่มีผู้ใดใส่ใจ ใบบอกจึงเป็นหลักฐานที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่ฉายภาพในอดีตของแต่ละเมืองอย่างชัดเจนในสมัยนั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 7,339

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,809

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์สมัยทวาราวดี

เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,781

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

ดาบโบราณเมืองกำแพง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร

เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น

เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,713

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 1 เสด็จบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรฯ”

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา

เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,450