ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้ชม 1,545
[16.3937891, 98.9529695, ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง]
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้เสด็จพระราชดำเนินเมืองกำแพงเพชร เป็นครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2514 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าสิริธร ไปทรงบำเพ็ญพระราชกุศลถวายผ้ากฐินส่วนพระองค์ ณ วัดคูยาง อำเภอเมืองกำแพงเพชร และทรงถวายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์เพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหม่
วัดคูยาง ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร สภาพเดิมของวัดเคยเป็นวัดร้างมาครั้งโบราณไม่น้อยกว่า 400 ปี เคยมีซากโบราณสถาน อุโบสถและแท่นพระประธานก่อด้วยศิลาแลง วัดเดิมชื่ออะไร ใครเป็นผู้สร้าง และสร้างในสมัยใด ไม่มีใครรู้ได้แน่นชัด แต่ทราบต่อมาว่าเมื่อราวสมัยรัชกาลที่ 4 ระหว่าง พ.ศ. 2394-2399 ได้มีการสร้างวัดขึ้นมาใหม่ในบริเวณที่ตั้งวัดเดิม ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เจ้าเมืองกำแพงเพชรได้เข้าร่วมทัพไปปราบเมืองศรีสัตนาคหุต ตีเมืองเวียงจันทน์และเมืองหลวงพระบางได้สำเร็จ จึงได้รับบำเหน็จเป็นเชลยชาวชาวเวียงจันทน์ ขมุ และยาง (กะเหรี่ยง) มาหลายร้อยครัวเรือน และได้จัดตั้งบ้านเรือนอยู่ตรามเขตนอกเมืองกำแพงเพชร และที่ปากคลองสวนหมากฝั่งนครชุม ชาวขมุและชาวยางที่เข้ามาปักหลักสร้างฐานมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาจึงขออนุญาตต่อเจ้าเมืองกำแพงเพชร ทำการสร้างอุโบสถด้วยการขุดคูขนาดกว้าง 6 วา ลึก 2 วา แล้วเอาดินขึ้นมาถมพื้นที่ และยังเอาดินมาทำเป็นอิฐ กระเบื้องมุงหลังคาโบสถ์ วิหาร ส่วนทางด้านทิศใต้ได้สร้างหอไตรเอาไว้กลางคูน้ำ เพื่อป้องกันมดปลวกเข้ามารบกวนพระคัมภีร์ ด้วยศรัทธาอันแรงกล้าของชาวยางที่มุ่งส่งเสริมพระพุทธศาสนา ชาวบ้านเลยให้ชื่อวัดแห่งนี้ว่า “วัดคูยาง” (ยาง หมายถึง ชาวกะเหรี่ยง) เมื่อได้มีการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่ของวัดคูยางเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2523 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระปรมาภิไธยย่อ ภ.ป.ร. มาประดิษฐานที่หน้าบันพระอุโบสถทางด้านหน้า และพระนามาภิไธย ย่อ ส.ก. มาประดิษฐานที่หน้าบันอุโบสถทางด้านหลังของอุโบสถวัดคูยาง ถัดมาวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2527 ได้ทรงพระราชทานนามพระพุทธรูปประธาน ซึ่งหล่อแบบศิลปะสุโขทัยหมวดกำแพงเพชร ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 9 นิ้ว ว่า “พระพุทธวชิรปราการ”
วัดคูยางจึงถือเป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของเมืองกำแพงเพชร ด้วยเหตุเพราะมีโบราณสถานโบราณวัตถุ และมีพระภิกษุจำพรรษาอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นวัดที่พระเจ้าแผ่นดินและบุคคลสำคัญได้เสด็จมาเยี่ยมเยียนอยู่เป็นประจำ ดังหลักฐานที่ได้มีการบันทึกเอาไว้ ดังนี้
เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2449 พระพุทธเจ้าหลวงได้เสด็จวัดคูยาง พระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้น ได้กล่าวไว้ดังนี้ “...วัดคูยางมีลำคูกว้างประมาณ 6 หรือ 8 วา มีน้ำขัง กุฏิและหอไตตั้งอยู่ในน้ำ แปลกอยู่ต่อข้ามคูเข้าไปจนถึงพระอุโบสถ ทางที่เข้าไปเป็นทิศตะวันตกด้านหลังหันหน้าออก ทุ่งมีพะรอุโบสถหลังย่อมหลังหนึ่ง วิหารใหญ่หลังหนึ่ง ก่อด้วยศิลาแลงเสริมอิฐถือปูน หลังคา เห็นจะผิดรูป เตี้ยแบนไป หลังวิหารมีพระเจดีย์มีฐาน 3 ชั้น อย่างพระเจดีย์เมืองนี้แต่ข้างบนแปลงเป็นพระปรางค์ เห็นจะแก้ไขขึ้นใหม่โดยพังเสียแล้ว ไม่รู้ว่ารูปทรงเดิมเป็นอย่างไร ในวิหารมีพระพุทธรูปต่าง ๆ ข้างจะดี พระครูเลือกไว้ให้เป็นพระ 4 ลีลา สูงศอกคืบกับอะไรอีกองค์หนึ่ง ต้นเต็มที่ไม่ใชอบจึงได้เลือกเอาเอง 4 องค์ เป็นพระยืนกำแพงโบราณแท้ เช่น เขรมองค์ 1 พระนาคปรกขาดฐาน เขาหล่อฐานเติมขึ้นไว้องค์ 1 พระกำแพงเก่าอีกองค์หนึ่ง พระชินราชจำลองเหมืองพอใช้อีกองค์ 1 กลับจากวัดหยุดถ่ายรูปบ้าง จนเที่ยงจึงได้ลงเรือเหลือง” ล่าสุดเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2551 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช พร้อมด้วยพระวรวงค์เธอพระองค์เจ้าศรีรัตน์ พระวรชายา ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์เพื่อเป็นองค์ประธานในงานพิธีพระราชทานเพลิงศพ ที่วัดคูยาง ปัจจุบันวัดคูยาง เป็นวัดอารามหลวง เป็นสถานที่ศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยของพระภิกษุ สามเณรและเป็นวัดศูนย์รวมการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดกำแพงเพชร และภายในวัดยังมีความน่าสนใจของโบราณสถานให้ศึกษาอีกหลายอย่าง อาทิ หอไตรกลางน้ำ วิหารที่ประดิษฐานพระประธาน ตู้ พระธรรม และเจดีย์เก่า และน่าจะเป็นเรื่องที่ดี หากจะมีการสืบค้นข้อมูลถึงผู้คนและภาพถ่ายเก่า เพื่อบันทึกเรื่องราวสาระดี ๆ และเอกลักษณ์ท้องถิ่นของเมืองกำแพงเพชร เอาไว้ให้คงอยู่ตลอดกาล
คำสำคัญ : ในหลวงเสด็จกำแพงเพชร
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ในหลวงกับการเสด็จกำแพงเพชร ครั้งที่ 2 เสด็จวัดคูยาง. สืบค้น 12 กันยายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1286&code_db=610001&code_type=01
Google search
สามล้อถีบเมืองกำแพงเพชร มีมาก่อนพุทธศักราช 2490 มารุ่งเรืองสูงสุด ในปี 2500 รายได้ดีมาก สามารถเลี้ยงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามล้อท่านแรกที่รู้จัก คือลุงเอก บ้านอยู่หน้าโรงเรียนอนุกูลศึกษาทางไปโรงพยาบาลกำแพงเพชร (ปัจจุบันเลิกกิจการแล้ว) ผู้เขียนเป็นเพื่อนรักกับลูกชายลุงเอก คือนาย อุ่น ไปมาหาสู่กันเป็นประจำไปนอนเล่นบ้านลุงเอกเสมอ ท่านใจดีมาก ๆ มีฐานะดีด้วย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,245
การสำรวจที่บ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมืองกำแพงเพชร พบตะเกียงดินเผา แวดินเผา แร่ทองคำ อันเป็นที่มาของคำว่า นาบ่อคคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกหินปัด เครื่องสำริด ตะกรัน ขี้แร่ เศษพาชนะดินเผาจำนวนมาก ส่วนการสำรวจบ้านคลองเมือง ตำบลโกสัมพี อำเภอโกสัมพีนคร พบหลักฐานเก่าก่อนประวัติศาสตร์มากมาย ตำนานเมืองโกสัมพี จังหวัดกำแพงเพชร ในพงศาวดารเหนือความว่า พระพุทธศกัราช 1002 ปี จุลศกัราช 10 ปีระกาสัมฤทธิศก มีพระยากาฬวรรณดิศราช บุตรของพระยากากะพัตรได้สวยราชสมบัติเมืองตักกะสิลามหานคร (สันนิษฐานว่าเมืองตาก)
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 1,918
เทศนาจุลยุทธการวงศ ์ พระเจ้าศิริไชยเชียงแสน (บุรุษแสนปม) ได้ทรงสร้างเมืองเทพนคร เมื่อจุลศักราช 681 (พุทธศกัราช 1862) ในช่วงระยะที่ยังไม่พบเมืองเทพนครนั้น นักประวัติศาสตร์จึงยังไม่เชื่อว่าเรื่องราวในเทศนาจุลยุทธการวงศ์เป็นความจริง เป็นเพียงตำนานที่เล่ากันต่อมา ในคราวหลังพบหลักฐานทางโบราณคดี มีเมืองไตรตรึงษ์และเมืองเทพนครเกิดขึ้นจริง ดังผังเมืองโบราณและภาพถ่าย ซึ่งกรมศิลปากรได้ทำบัญชีทะเบียนทรัพย์สินด้านโบราณสถาน จังหวัดกำแพงเพชรไว้
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,795
เมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองโบราณที่เก่าแก่อีกเมืองหนึ่งของจังหวัด กำแพงเพชรพบหลักฐานแสดงว่าเป็นเมืองเก่าในสมัยทวารวดีต่อเนื่องมาถึงสมัยสุโขทัย ดังหลักฐานวัตถุโบราณจากการขุดค้นภายในบริเวณเมืองพบเศษภาชนะ ดินเผา ตะกรันขี้เหล็กจ้านวนมาก พบตะเกียงดินเผาสมัยทวาราวดี จึงสันนิษฐานว่าเมืองนี้น่าจะพัฒนามาตั้งแต่สมัยทวารวดีหรือก่อนหน้านั้น
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,576
พงศาวดารโยนกได้กล่าวว่า เมื่อพระเจ้าพรหมกุมารแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ได้ทรงขับไล่พวกขอมออกจากแคว้นโยนกได้แล้วก็ยกกองทัพไล่ติดตามตีพวกขอมไปอีกนับเดือนและตีบ้านเมืองในแคว้นลวะรัฐได้อีกหลายตำบล โดยยกพลไปถึงท้องที่ใดก็เข้าตีถึงเมืองนั้น ร้อนถึงองค์อัมรินทร์ทรงเห็นว่าเจ้าพรหมกุมารได้ไล่ฆ่าขอมและผู้คนล้มตายเป็นจำนวนมาก จำต้องช่วยป้องกันชีวิตมนุษย์เอาไว้ให้พ้นจากการถูกฆ่าฟันจึงตรัสให้พระวิษณุกรรมเทวบุตร ลงไปเนรมิตกำแพงเมืองเป็นศิลาขวางกั้นเส้นทางที่เจ้าพรหมกุมารจะเดินทัพต่อไป ด้วยพลังแห่งเทวนุภาพนั้นทำให้เจ้าพรหมไม่สามารถเดินทัพต่อไปได้ จึงหยุดยั้งตั้งทัพอยู่เพียงเมืองนั้นเอง และให้ชื่อเมืองนั้นว่า กำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,990
จังหวัดกำแพงเพชร เป็นเมืองโบราณที่สำคัญยิ่ง มาตลอดยุคสมัย และเกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์ไทยมาโดยตลอด อาจนับตั้งแต่ พระร่วงโรจนราช กษัตริย์ต้นราชวงศ์พระร่วง
จากตำนานชินกาลมาลีปกรณ์ว่ามาจากบ้านโคน เมืองคณฑี จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งชาวบ้านโคนถือกันว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก แม้ตำนานท้าวแสนปม ได้กล่าวถึงท้าวแสนปมเป็นพระราชบิดาของ พระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา..เป็นความเชื่อทั้งสองเรื่องที่คู่กับจังหวัดกำแพงเพชรเล่าขานสืบต่อกันมาช้านาน…ว่าปฐมกษัตริย์ทั้งกรุงสุโขทัย และอยุธยามาจากกำแพงเพชรทั้งสองพระองค์ …. จากตำนานสิงหนวติกุมาร ฉบับสอบค้น ของนายมานิต วัลลิโภดม ได้กล่าวถึงกำแพงเพชรที่เกี่ยวข้องกับพระมหากษัตริย์หลายตอน
เผยแพร่เมื่อ 21-01-2020 ผู้เช้าชม 2,796
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัว เคยเสด็จมาเมืองกำแพงเพชรเป็นครั้งแรกเมื่อคราวล่องกลับจากเมืองเชียงใหม่ ่ในปี พ.ศ. 2448 เป็นเวลา 3 คืน 2 วัน ด้วยมีเวลาในครั้งนั้นน้อยอยู่ และไม่ค่อยได้มีโอกาสไปตรวจค้นทางโบราณคดีมากนัก จึงได้เสด็จขึ้นมาประพาสเมืองกำแพงเพชรอีกครั้งในช่วงวันที่ 14-18 มกราคม 2450 โดยประทับพักแรมอยู่ที่พลับพลาใกล้วัดชีนาเกา ซึ่งในครั้งนั้นได้มีการปลูกต้นสัก (ที่สวนสาธารณะเทศบาลฯ หลังธนาคารกรุงไทย) ไว้เป็นที่ระลึก และจารึกบันทึกเหตุการณ์เอาไว้ที่วงเวียนต้นโพธิ์ การเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชรของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎุเกล้าเจ้าอยู่หัวในครั้งที่ 2 นี้ได้ ทรงออกตรวจตราและวินิจฉัยข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของเมืองกำแพงเพชรเอาไว้อย่างมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 1,280
ในยุคแรกของบ้านโคนนั้น มีเรื่องราวที่กล่าวถึงชุมชนบ้านโคนในหลักศิลาจารึกสุโขทัยและในตำนาน “ ชินกาลมาลีปกรณ์ “ มีข้อความระบุว่าบ้านโคน ยังมีชายหนุ่มรูปงามมีกำลังมาก ท่องเที่ยวอยู่ในป่า มีนางเทพธิดาองค์หนึ่งเห็นชายคนนั้นแล้วใคร่อยากร่วมสังวาสด้วย จึงแสดงมารยาหญิง ชายคนนั้นก็ร่วมสังวาสกับเทพธิดาองค์นั้น จึงเกิดบุตรชาย และบุตรชายคนนั้นก็มีกำลังมาก รูปงาม เพราะฉะนั้นชาวบ้านทั้งปวงจึงพร้อมใจกันทำราชาภิเษกบุตรชายนั้น…. ครองราชสมบัติในเมืองสุโขทัย ปรากฏพระนามในครั้งนั้นว่า “ โรจราจ “ บ้านโคนเป็นชุมชนที่เก่าแก่มากในทางประวัติศาสตร์เกิดมานานกว่า 700 ปีมาแล้ว สภาพทางภูมิศาสตร์มีความอุดมสมบูรณ์ มีแม่น้ำปิงไหลผ่านเหมาะต่อการทำมาหากิน ชุมชนบ้านโคนเดิมตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงฝั่งตะวันออก
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 2,514
เมื่อราวปลายรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระยากำแพงเพชร( น้อย) ได้ปลงศพท่านผู้หญิงแพง ซึ่งท่านเป็นธิดาของพระยารามรณรงคสงครามรามภักดีอภัยพิริยะปรากรมพาหุ (พระยากำแพงเพชร นุช) กับท่านผู้หญิงชี นามกาว ผู้สร้างวัดชีนางเกา ท่านผู้หญิงแพงมีศักดิ์เป็นมารดาของพระยากำแพง (น้อย) และมีศักดิ์เป็นป้าของหลวงพ่อโต ได้รับพระราชทานไฟพระราชทานและจัดการศพที่หาดทรายหรือตรงข้ามโรงสีนายล้อม นุตตโยธินซึ่งเป็นบ้านของท่านมาแต่เดิม ปัจจุบันได้สูบทรายขึ้นมาเป็นสิริจิตอุทยาน ในการนี้สมเด็จพุฒาจารย์โต ได้เสด็จมาในงานด้วย เพราะท่านผู้หญิงแพง เป็นป้าสมเด็จพุฒาจารย์
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,919
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช “ ในหลวง” ผู้เป็นที่รักยิ่งของปวงชนชาวไทย ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ยาวนานที่สดุในโลก ได้ทรงอุทิศพระวรกายพระราชหฤทัย และพระสติปัญญา บำเพ็ญพระราชกรณียกิจทั้งปวง เพื่ออาณาประชาราษฎร์ของพระองค์อย่างมากมายมหาศาล จนยากยิ่งที่จะหาพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในโลกมาเทียบเคียงได้ ดังนั้นในโอกาสมหามงคล จึงขอนำเรื่องราวแห่งความปลื้มปิติมาน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ท่านที่มีต่อชาวกำแพงเพชรด้วยการเสด็จถึง 3 ครั้ง ตลอดระยะเวลากว่า 69 ปีที่ครองราชย์ เป็นช่วงเวลาที่พระองค์ทรงงานอย่างไม่เคยว่างเว้น และทรงประกอบพระราชกรณียกิจที่พร้อมทั้งความบริสุทธิ์และบริบูรณ์ตลอด 69 ปีที่ผ่านมา
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,103