วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้ชม 2,456
[16.4630403, 99.5263337, วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร)]
วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี) มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์ พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ) ขณะนั้นโรงพยาบาลกำแพงเพชร ยังมีพื้นที่ติดกับวัดแห่งนี้เพราะไม่มีใครกล้าเข้ามาใช้สถานที่วัดเจ๊ก เพราะกลัวมากลือกันว่ามีผีดุ ปัจจุบันบริเวณท่าควายแห่งนี้เป็นบริเวณสามแยกไฟแดงหลังโรงพยาบาล คลองที่เป็นท่าควายกลายเป็นส่วนหนึ่งของถนนสายตัดใหม่ เดิมโรงพยาบาลกำแพงเพชรเป็นส่วนหนึ่งของเกาะแขก แต่เมื่อถมคลองเกาะแขกเลยหายไปในที่สุด เมื่อบิดาของผู้เขียนไปรักษาตัวที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร ในปี 2506 ได้ไปเผ้าและไปชมวัดเจ๊กแห่งนี้ เป็นวัดร้างที่รกครึ้มมีต้นไม้ขึ้นมากมาย แต่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่เลย ทุกคนกลัวมาก ๆ รั้วของโรงพยาบาลติดกับวัดเจ๊ก ที่เรียกว่าวัดเจ๊ก เพราะมีคนจีนครอบครัวหนึ่งมาทำพืชผักสวนครัวบริเวณนี้ เป็นคนจีนที่อพยพมาจากเมืองจีน ราว พุทธศกัราช 2450 ประชาชนคนกำแพงเลยเรียกกันว่าวัดเจ๊ก ไม่ทราบเลยว่าแต่เดิมวัดแห่งนี้ชื่อว่าไร เหมือนวัดโบราณทุกวัดในกำแพงเพชร ตนจีนที่ทำสวนผักอยู่นั้นหายไปไหนไม่มีใครทราบ เพราะท่านไม่วิสาสะกับใครเลย แต่ก็นำผักมาส่งที่ตลาดบริเวณวัดบางหลังโรงแรมชากังราวถึงธนาคารกรุงเทพ เป็นตลาดสดเช้า ชาวกำแพงเพชรมาซื้อหาจ่ายตลาดบริเวณนั้น ต่อมาเรียกวัดเจ๊กว่าวัดสามจีน คงเห็นว่าเรียกว่าวัดเจ๊กไม่สุภาพ จึงเปลี่ยนเป็นวัดสามจีน เมื่อโรงพยาบาลกำแพงเพชรบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเจ๊กและนำพื้นที่ทั้งหมดของวัดเจ็กมาเป็นส่วนหนึ่งของ โรงพยาบาลกำแพงเพชรในที่สุด
วัดเจ๊กหรือสามจีนเป็นโบราณสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของเมืองกำแพงเพชร และคู่โรงพยาบาลกำแพงเพชรมาชา้นาน วัดสามจีนแต่เดิมเป็นวัดร้างของกรมศาสนา เมื่อปี พ.ศ.2496 ได้เริ่มทำการก่อสร้างโรงพยาบาลกำแพงเพชรขึ้นจึงได้ขอที่วัดสามจีน และที่ดินของกรมอาชีวศึกษา ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงเรียนเกษตรกรรมที่ได้เลิกไปและทำการก่อสร้างโรงพยาบาลกำแพงเพชรขึ้น พระประธาน คือหลวงพ่อวัดสามจีน เป็นพระประธาน ศิลปะสมัยอู่ทองตามคำบอกเล่าของนายเกษม กล้าตะลุมบอน ซึ่งกล่าวว่า พระประธานเป็นสมัยอู่ทองคางคน ที่เรียกเช่นนี้เพราะว่ามี คางคล้ายคน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นก่อด้วยอิฐ สันนิษฐานได้จากวัตถุก่อสร้าง เช่น ฐานเจดีย์ที่พบอยู่ข้างโบสถ์ด้านทิศเหนือ ก่อด้วย อิฐเก่าลักษณะเหมือนอิฐที่ก่อสร้างเจดีย์ตามวัดร้างในทุ่งเศรษฐีและที่อื่นในจังหวัดกำแพงเพชร เห็นว่าการก่อสร้างวัดนี้คงอยู่ในสมัยสุโขทัยร่วมกับอู่ทอง ในปี พ.ศ.2501 นายแพทย์ประธาน กาญจนาลัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาล นายอินทร์ ดีสาร, นายวีระ อิ่มพิทักษ์, นายเกษม กล้าตะลุมบอน และผู้มีจิตศรัทธาอีกหลายท่านได้ทำการบูรณะโบสถ์วัดสามจีนขึ้นระหว่างการก่อสร้างได้เกิดพายุใหญ่พัดโบสถ์ พังทลาย โครงหลังคาฟาดทับพระประธานพระศอหัก พระเศียรและพระหัตถ์ข้างขวาเป็นปูนหัก กรรมการจึงได้บอกบุญผู้มีจิตศรัทธาทำการปฏิสังขรณ์ใหม่ โดยสร้างโบสถ์เป็นคอนกรีต เสริมเหล็กและให้ช่างปั้นปฏิสังขรณ์พระประธานใหม่ ในปี พ.ศ.2518 ได้ทำการลงรักปิดทองพระประธานในปี พ.ศ.2519 และปี พ.ศ. 2520 คณะกรรมการโบสถ์ได้ทำการก่อสร้างต่อเติมระเบียงรอบโบสถ์ โดยเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก มุงหลังคาด้วยกระเบื้องดินเผา ก่ออิฐฉาบปูน ผนังโบสถ์ รอบพระประธานพร้อมทั้งที่พื้นซีเมนต์ทำหินด้วยเกล็ดขัดมันบริเวณพื้นโบสถ์ด้านหน้า มีสภาพดังที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ วัดเจ๊กหรือวัดสามจีนกลายเป็นความหวังกำลังใจของผู้ป่วยที่โรงพยาบาลกำแพงเพชร มักจะบนบานศาลกล่าวด้วยพวงมาลัยทั้งแห้งและสด เป็นความสุขและความหวังของชาวกำแพงเพชรที่มารักษาตัวที่ โรงพยาบาลทุกคน
คำสำคัญ : วัดเจ๊ก, วัดสามจีน, โรงพยาบาลกำแพงเพชร
ที่มา : กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร. (2557). ประวัติศาสตร์เมืองกำแพงเพชร ยุคหิน-ปัจจุบัน (เรียบเรียงจากการสัมมนาและทบทวน เมื่อวันที่ 27-28 กันยายน 2557). กำแพงเพชร: กองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). วัดเจ๊ก (วัดสามจีน ในโรงพยาบาลกำแพงเพชร). สืบค้น 14 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1305&code_db=610001&code_type=01
Google search
กำแพงเพชรบุรีศรีวิมาลาสน์ ชื่อเมืองกำแพงเพชรที่มีความไพเราะและมีความน่าสนใจอย่างยิ่ง ซึ่งชื่อนี้ พบในจารึกหลักที่ ๓๘ กฎหมายลักษณะโจร หรืออาญาลักพา ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจอย่างยิ่งสมควรอ่านไว้เป็นเครื่องประดับสติปัญญาครับ จารึกหลักที่ ๓๘นี้ จารึกลงบนแผ่นหินชนวน รูปใบเสมา จำนวนด้าน ๒ ด้าน ด้านที่ ๑ มี ๔๕ บรรทัด ด้านที่ ๒ มี ๕๔ บรรทัด จารึกลักษณะลักพา/โจร แบ่งเนื้อหาออกเป็น ๒ ตอน ตอนแรกเป็นอารัมภกถา บอกเหตุที่พระเจ้าแผ่นดิน ทรงตราพระราชบัญญัติขึ้น ตอนที่สองเป็นตัวบทมาตราต่าง ๆ ที่อธิบายลักษณะความผิดและโทษตามพระราชศาสตร์แต่ในวันนี้จะได้ยกนำบทความในตอนที่ ๑ อารัมภบท มากล่าวเพราะชื่อของเมืองกำแพงเพชรปรากฏ ความว่า วันพฤหัสบดีที่ ๑๒ เมษายน พ.ศ. ๑๙๔๐ วันเพ็ญเดือน ๖ วันหนไทยตรงกับวันลวงเม้า ลักคนาในผคุนี ในเพลาค่ํา สมเด็จบพิตรมหาราชบุตรธรรมราชาธิราชศรีบรมจักรพรรดิราช ผู้เสด็จขึ้นเสวยราชย์อภิรมย์สมดังพระราชมโนรถ (ความปรารถนา) ทดแทนพระราชบิดาในแดนพระธรรมราชสีมานี้ อันเปรียบเสมือนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (บรรทัดที่ ๑-๔)
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,614
เมืองไตรตรึงษ์ในสมัยสุโขทัยคงจะมีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากโดยได้ตกเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรสุโขทัย เป็นเมืองขึ้นของเมืองลูกหลวงกำแพงเพชร เพราะในช่วงนั้นสุโขทัยได้ขยายอาณาจักรลงมาทางตอนใต้ยึดได้เมืองไตรตรึงษ์ เลยลงไปถึงเมืองนครพระราม (ชัยนาท) โดยส่งลุงของกษัตริย์สุโขทัยมาเป็นเจ้าเมือง หลักฐานที่ว่าเมืองไตรตรึงษ์เป็นเมืองสำคัญชั้นลุงของกษัตริย์กรุงสุโขทัยคือข้อความที่พบในศิลาจารึกสุโขทัย (กฎหมายลักษณะโจร)
เผยแพร่เมื่อ 02-03-2020 ผู้เช้าชม 1,060
ภาพที่นำมาให้ชมกันนี้เป็นภาพสะพานกำแพงเพชร ซึ่งถ่ายเอาไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. 2501อันเป็นช่วงที่สะพานแหง่นี้สร้างเสร็จใหม่ๆ มองดูโดดเด่นเป็นสง่าเหนือล้ำน้ำปิงและยืนหยัดกรำแดดกรำฝน รับใช้พี่น้องชาวกำแพงเพชรมากว่าสี่สิบปี ก่อนจะถูกบดบังจนมองเกือบไม่เห็นใน พ.ศ. 2542 ด้วย สะพานคู่ขนานขนาดใหญ่ตามวิถีการขยายตัวของสังคมเมือง เพื่อมิให้สะพานเก่าเมืองกำแพงเพชรเลือนหายไปจากความทรงจำ จึงขอนำเรื่องราวความเป็นมาของสะพานข้ามแม่น้ำปิงแห่งแรกของจังหวัดกำแพงเพชรมาทบทวนความทรงจำกันอีกครั้ง
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 3,506
กำแพงเพชร มีเทวรูปศักดิ์สิทธิ์ที่คุ้มครองสัตว์สองตีนสี่ตีนในเมืองกำแพงเพชรมาช้านาน สิ่งศักดิ์สิทธิ์นั้นคือเทวรูปพระอิศวร พระอิศวร คือเทพสูงสุดแห่งศาสนาพราหมณ์ เรียกกันว่าพระศิวะก็ได้ พระอิศวรเป็นเทพเจ้าที่มีอำนาจมากและดุร้าย จึงนับว่าเป็นเทพผู้สร้าง ผู้ทำลาย เป็นเทพที่มีลักษณะพิเศษ คือพระศอสีนิล พระองค์สีแดง มีพระเนตรที่สาม เมื่อลืมตาที่สามแล้วจะทำลายล้างโลกได้สิ้น แล้วจึงสร้างใหม่ สิ่งที่เป็นสัญลักษณ์ของการเกิดคือ ศิวลึงค์ พระอิศวรมีพระมเหสี คือพระนางอุมาเทวี พระอิศวร มีงูเป็นสังวาล กะโหลกศีรษะมนุษย์ร้อยเป็นสร้อยพระศอ ทรงโคเผือก อุศุภราช นุ่งหนังเสือ แบบพระฤาษีทรงพระจันทร์เป็นปิ่นปักผม สถิต ณ เขาไกรลาส เป็นที่เคารพบูชาของผู้ที่นับถือศาสนาพราหมณ์ทั่วโลก
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 3,421
ดอกพิกุล ดอกไม้ประจำจังหวัดกำแพงเพชร พิกุลเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางสูงประมาณ 8–15 เมตร เป็นพุ่มทรงกลมใบออกเรียงสลับกันใบมนรูปไข่ปลายแหลม ลักษณะโคนใบมน สอบขอบใบโค้งเป็นคลื่นเล็กน้อย ใบเป็นมันสีเขียว ดอกเป็นดอกเดี่ยว ออกดอกเป็นกระจุกตามง่ามใบหรือยอด มีกลีบดอกประมาณ 8 กลีบ เรียงซ้อนกัน กลีบดอกเป็นจักรเล็กน้อย สีขาวนวลมีกลิ่นหอมมาก ผลรูปไข่หรือกลมรีผลแก่มีสีแสด เนื้อในเหลืองรสหวาน ภายในมีเมล็ดเดียว
เผยแพร่เมื่อ 30-08-2019 ผู้เช้าชม 5,743
ในกำแพงเพชรมีเรื่องเล่าขาน ถึงพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่าผลส้มเกลี้ยงสุกสว่าง ลอยวนไปมาเหนือพระเจดีย์ อยู่หลายแห่ง อาทิเจดีย์วัดวังพระธาตุ เจดีย์วัดเสด็จ (ปัจจุบันเหลือแต่ฐาน) เจดีย์วัดกะโลทัย เจดีย์วัดพระบรมธาตุ และเจดีย์วัดบ้านธาตุ มีเรื่องเล่าว่า ในวันเดือนมืดสนิท จะมีดวงไฟขนาดใหญ่ออกจากพระเจดีย์ดังกล่าว ลอยทักษิณาวรรต ๓ รอบ ณ พระเจดีย์แล้ว ทุกดวงจะเสด็จมาที่เจดีย์วัดพระบรมธาตุ แสดงปาฏิหาริย์ให้เห็นบ่อยครั้ง
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,522
เมืองกำแพงเพชรในประวัติศาสตร์ขึ้นชื่อว่า เป็นเมืองหน้าด่านที่มีการก่อสงครามอยู่ไม่ขาดสาย และมีป้อมปราการรายล้อมพร้อมคูเมือง เนื่องจากมีสงครามและเพื่อปกป้องบ้านเมือง จึงจำเป็นต้องมีศาสตราวุธคู่กายเพื่อนำมาป้องกันตัวและต่อสู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นยุคสมัยที่ดาบสามารถนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายเนื่องจากวัตถุดิบที่หาได้ง่าย ทั้งนี้ดาบที่ผู้ถือครองนั้นก็มีความแตกต่างออกไปตามบทบาทและหน้าที่ อาทิ ทหารศึกที่มีไว้เพื่อรบศึกสงครามโดยเฉพาะ หรือชาวบ้านที่มีไว้เพื่อป้องกันตัว แต่ยังมีดาบอีกประเภทที่สามารถบ่งบอกถึงชนชั้น ความสามารถ ไปจนถึงความยิ่งใหญ่ซึ่งถือได้ว่าการจะได้ดาบเล่มนี้มาย่อมจะต้องมีความ สามารถสูงและแลกมากับความพยายามอย่างสุดความสามารถดังเช่นความเป็นมาของดาบโบราณของจังหวัดกำแพงเพชรที่มีประวัติที่แสนวิเศษโดยมีเรื่องราวกล่าวกันว่าดาบเล่มนี้เคยเป็นดาบประจำตระกูลของพระยากำแพงผู้ปกครองเมืองกำแพงในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 3,369
นุชนิยม (อักษรโรมัน NUJANIYAMA) เป็นสกุลพระราชทาน ลำดับที่ 4787 ในรัชสมัยองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ผู้ขอพระราชทานนามสกุลคือ พระกำแหงสงคราม (ฤกษ์ นุชนิยม) กรมการพิเศษ จังหวัดลำปาง ตอนที่ขอพระราชทานนามสกุลนั้น พระกำแหงสงคราม ได้ขอไปให้ใช้คำว่า “ราม” นำหน้า แต่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เห็นว่ามีผู้ใช้คำนำหน้า “ราม” แล้วหลายสกุล กอปรกับเห็นว่า พระกำแหงสงครามได้ทำคุณงามความดีให้กับแผ่นดิน ในการปราบศึกฮ่อ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 และมีเชื้อสายของพระยารามรณรงค์สงคราม (นุช)
เผยแพร่เมื่อ 03-03-2020 ผู้เช้าชม 4,633
วัดเจ๊ก เป็นวัดสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เพราะสันนิษฐานจากพระประธาน เป็นพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง ตั้งอยู่นอกเมืองกำแพงเพชร เป็นวัดขนาดใหญ่ขนาดเดียวกับวัดหลวงพ่อโม้ (หลวงพ่อโมลี) มีอายุใกล้เคียงกัน และพระประธานใหญ่ก็มีขนาดใกล้เคียงกัน เป็นวัดร้างมาหลายร้อยปี ตั้งอยู่ท้ายเมืองกำแพงเพชร พบเพียงมีพระพุทธรูปที่เป็นพระประธานปรักหักพังตั้งอยู่อย่างโดดเดี่ยว เจดีย์พังทลายเป็นเพียงแค่เนินดิน แต่เดิมไม่สามารถเดินทางจากในเมืองไปวัดเจ๊กได้ เพราะถนนเทศาไปสิ้นสุดบริเวณท่าควาย เป็นท่าน้ำที่มีดินเหนียวที่มีคุณภาพมาก (สมัยเป็นนักเรียน ราวพ.ศ. 2500 ไปนำดินเหนียวบริเวณท่าควายนี้มาเรียนการปั้นในโรงเรียนเสมอ จึงเห็นวัดเจ๊กบ่อย ๆ)
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2020 ผู้เช้าชม 2,456
ชุมชนดั้งเดิมของกำแพงเพชร ชุมชนยุคหิน เขากะล่อน (แผนที่ทหารเรียกว่าเขาการ้อง) เป็นเขาลูกรัง เป็น แนวติดต่อกันสามลูก ไปทางทิศเหนือและทิศใต้ อยู่ที่บ้านหาดชะอม ตำบลป่าพุทรา อำเภอขาณุวรลักษบุรี ห่างจากลำน้ำปิงไปทางตะวันออก ราว 2 กิโลเมตร จากการสำรวจของนายปรีชา สระแก้ว นายช่างกรมทางหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ขุดค้นพบ ขวานหินขัด หัวธนูหิน กำไลหิน ลูกปัดหิน อายุราว 10,000 ปี
เผยแพร่เมื่อ 18-02-2020 ผู้เช้าชม 2,207