ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 9,291

[16.4821705, 99.5081905, ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ]

       ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้ผมสันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุการสร้างพระจำนวนมากคงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้น พระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆกันมาว่า ก้นครก (ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) บางครั้งก็แก่น้ำมันที่เป็นตัวประสาน ส่วนเนื้อโลหะอย่างพระกริ่งแม้แต่หล่อครั้งเดียวกันวรรณะหรือกระแสก็ยังไม่เท่ากัน ผมไม่สันทัดเรื่องพระกริ่งแต่เคยได้ยินเขาบอกว่าที่วรรณะต่างกันเกิดจากการเซทตัวของเนื้อโลหะที่ต่างกัน สภาพของกรุ พระที่สร้างครั้งเดียวกัน ที่บรรจุกรุ หรืออยู่ในพื้นดินที่มีสภาพต่างกัน ความแห้ง ความชื้น ที่ต่างกัน ปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ทำให้เนื้อของพระต่างกัน คำว่า เนื้อนี้ผมพูดให้คนที่ถามมาเข้าใจง่าย อันที่จริงเนื้อก็เหมือนกัน เพียงแต่สภาพของผิว คราบ นั้นจะต่างกันเพราะสภาพกรุต่างหาก ตัวอย่างพระสนิมแดงเช่นพระร่วงหนังรางปืน บางองค์สนิมสีลูกหว้า บางองค์มีแต่ไขขาวหนา บางองค์สีแดงจัด ประการสุดท้ายเกิดจากการเลี่ยมใช้ ในสมัยก่อนมีคติว่าการห้อยพระต้องเลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลัง พระที่ถูกเหงื่อไคล จึงมักดูหนึกนุ่มคนที่ดูพระไม่ชำนาญก็ชอบมาก บอกว่าดูง่าย แม้แต่การใส่ตลับก็จะมีไอเหงื่อและความร้อนจากร่างกายทำให้เนื้อพระดูนุ่ม ไม่แห้งผาก ส่วนบางองค์ขึ้นจากกรุก็เลี่ยมแบบกันน้ำรักษาสภาพเดิม พระสมเด็จบางองค์ไม่ผ่านการเลี่ยมห้อยคอ เรียกว่าสภาพหิ้งผิวแห้งนวลสะอาดตา พวกที่สายตาไม่กล้าแข็งก็นึกว่าพระใหม่ พระกำแพงบางองค์ขึ้นมาจากกรุยิ่งพบในภาชนะบางอย่างที่ฝังไว้ เอาขึ้นมาเลี่ยมดูแล้วเหมือนสีหม้อใหม่ เมื่อถูกเหงื่อและผ่านการจับต้องจึงจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นหนึกนุ่มขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ารักษาสภาพเดิมๆ จะน่าดูกว่ามาก    
       ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ มีผู้ถามมาว่า พระกำแพงต่างๆ ซึ่งเป็นพระกรุจังหวัดเดียวกันเหตุใดจึงมีเนื้อหาที่ต่างกัน ทำไมบางองค์เนื้อแดงดูฉ่ำมีแร่ใหญ่ ชัด บางองค์ละเอียดเนื้อแทบไม่มีเม็ดแร่ใหญ่ให้เห็น บางองค์ก็เหมือนเป็นพระที่ผ่านการใช้มามาก ลักษณะลื่นๆ เรียบๆ
       การที่พระเครื่องมีเนื้อหาต่างกัน ถ้าจะให้ผมสันนิษฐานน่าจะเกิดจากสาเหตุดังนี้
       1. การสร้างพระจำนวนมากคงไม่ได้มีการผสมเนื้อครั้งเดียวเป็นแน่ ดังนั้น พระที่ผสมหลายครั้งอาจจะมีเนื้อหาแตกต่างกันไป เช่น ถ้าครั้งใดมีส่วนผสมที่แก่ว่านและเกสรก็อาจจะหนึกนุ่มกว่าที่ครั้งที่แก่ดิน แม้แต่พระเนื้อผงอย่างพระสมเด็จก็มีแบบหยาบที่เรียกตามๆกันมาว่า ก้นครก (ซึ่งผมไม่แน่ใจว่าถูกหรือไม่) บางครั้งก็แก่น้ำมันที่เป็นตัวประสาน ส่วนเนื้อโลหะอย่างพระกริ่งแม้แต่หล่อครั้งเดียวกันวรรณะหรือกระแสก็ยังไม่เท่ากัน ผมไม่สันทัดเรื่องพระกริ่งแต่เคยได้ยินเขาบอกว่าที่วรรณะต่างกันเกิดจากการเซทตัวของเนื้อโลหะที่ต่างกัน
       2. สภาพของกรุ พระที่สร้างครั้งเดียวกัน ที่บรรจุกรุ หรืออยู่ในพื้นดินที่มีสภาพต่างกัน ความแห้ง ความชื้น ที่ต่างกัน ปัจจัยต่างๆเหล่านี้ทำให้เนื้อของพระต่างกัน คำว่า เนื้อนี้ผมพูดให้คนที่ถามมาเข้าใจง่าย อันที่จริงเนื้อก็เหมือนกัน เพียงแต่สภาพของผิว คราบ นั้นจะต่างกันเพราะสภาพกรุ ต่างหาก ตัวอย่างพระสนิมแดงเช่นพระร่วงหนังรางปืน บางองค์สนิมสีลูกหว้า บางองค์มีแต่ไขขาวหนา บางองค์สีแดงจัด
       3. ประการสุดท้ายเกิดจากการเลี่ยมใช้ ในสมัยก่อนมีคติว่าการห้อยพระต้องเลี่ยมเปิดหน้าเปิดหลัง พระที่ถูกเหงื่อไคล จึงมักดูหนึกนุ่มคนที่ดูพระไม่ชำนาญก็ชอบมาก บอกว่าดูง่าย แม้แต่การใส่ตลับก็จะมีไอเหงื่อและความร้อนจากร่างกายทำให้เนื้อพระดูนุ่ม ไม่แห้งผาก ส่วนบางองค์ขึ้นจากกรุก็เลี่ยมแบบกันน้ำรักษาสภาพเดิม พระสมเด็จบางองค์ไม่ผ่านการเลี่ยมห้อยคอ เรียกว่าสภาพหิ้งผิวแห้งนวลสะอาดตา พวกที่สายตาไม่กล้าแข็งก็นึกว่าพระใหม่ พระกำแพงบางองค์ขึ้นมาจากกรุยิ่งพบในภาชนะบางอย่างที่ฝังไว้ เอาขึ้นมาเลี่ยมดูแล้วเหมือนสีหม้อใหม่ เมื่อถูกเหงื่อและผ่านการจับต้องจึงจะค่อยๆเปลี่ยนเป็นหนึกนุ่มขึ้น ซึ่งที่จริงแล้วถ้ารักษาสภาพเดิมๆจะน่าดูกว่ามาก
       เมื่อเป็นดังที่ว่านี้แล้ว ขอแนะนำให้ดูพิมพ์เป็นประการแรก จากนั้นจึงพิจารณาเนื้อ และธรรมชาติ คำแนะนำก็คือว่าท่านต้องแม่นพิมพ์ และพยายามดูพระแบบเดียวกันหลายๆลักษณะ ถ้ามีโอกาสได้ดูพระแท้ๆ ก็ส่องพิจารณาจดจำไว้ พระแท้จะเป็นครูของเรามากกว่าตำราเล่มใด

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.facebook.com/taksilaprakruang/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ความแตกต่างของเนื้อพระกรุ. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1175&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1175&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,351

กรุวัดเชิงหวาย

กรุวัดเชิงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,888

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง

พระว่านหน้าทองนั้นในทรรศนะของผมเป็นพระเครื่องชั้นสูงของกำแพงเพชรอย่างแท้จริง และเป็นพระที่คู่ควรแก่การอาราธนาบูชาประจำตัว เพราะพระว่านหน้าเป็นพระที่พระมหากษตริย์ทรงสร้าง เป็นพระที่ศิลปสวยงามอลังการณ์ตามแบบของสกุลช่างสมัยสุโขทัยซึ่งเป็นยุคทองพระพุทธศาสนา การสร้างพระพิมพ์ด้วยทองคำซึ่งเป็นของสูงค่ามาตั้งแต่โบราณเป็นสิ่งที่บอกในตัวเองว่า พระว่านหน้าทองไม่ใช่พระในระดับธรรมดาแน่ พระกำแพงว่านหน้าทองที่นำมาให้ศึกษาอีกองค์หนึ่ง คือ พระกำแพงลีลาฝักดาบ สำหรับพุทธานุภาพของพระว่านหน้าทองนั้นเป็นที่ประจักษ์แก่นักพระเครื่องยุคเก่ากันมานักต่อนักว่า มีอานุภาพครอบจักรวาลสมดังคำจารึกในใบลานทอง เพื่อให้ท่านได้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้น จะขอคัดข้อเขียนของ อ.ประชุม ฯ ที่เขียนเล่าเรื่องพระกำแพงฝักดาบว่านหน้าทอง ไว้ในหนังสือของท่านเมื่อกึ่งศตวรรษมาแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 8,413

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

พระกำแพงเชยคางข้างเม็ด 2 จังหวัด

เป็นพระพิมพ์แบบเทหล่อแบบครึ่งซีก สัณฐานรูปสี่เหลี่ยมยาว ด้านบนโค้งมน ยอดแหลม ส่วนด้านล่างตัดตรง พุทธลักษณะองค์พระประธานประทับยืน แสดงปางลีลา เหนืออาสนะเส้นตรง 2 ชั้น ภายในซุ้มเรือนแก้ว รอบซุ้มและฐานประดับด้วยเม็ดไข่ปลา พระเกศเป็นมุ่นเมาลี 2 ชั้น บนสุดมีลักษณะคล้ายดอกบัวตูม พระศกเป็นเม็ดงายาวรีโดยรอบ พระพักตร์เอียงไปด้านซ้าย กลมกลืนกับพระอิริยาบถก้าวย่างพระบาท ปรากฏพระเนตร พระนาสิก และพระโอษฐ์ชัดเจน ลำพระศอไม่เด่นชัด แต่สร้อยพระศอปรากฏชัดเจน พระอังสากว้าง พระอุระอวบอูมล่ำสัน แต่แฝงความอ่อนช้อยงามสง่าในที ลำพระองค์วาดเว้ากลมกลืนอย่างมีทรงและทอดต่อลงมาจนถึงพระบาท เส้นพระอังสะและชายจีวรอ่อนช้อยแลดูไหวพลิ้ว พระกรข้างซ้ายขององค์พระยกพาดเหนือพระอังสา พระกรข้างขวาทอดแอ่นไปตามลำพระองค์ ส่วนด้านหลังเป็นหลังแบนเรียบปรากฏลายผ้าหยาบๆ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,655

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ว่านหน้าทอง

พระกำแพงซุ้มกอ ถือกันว่า เป็นพระเครื่องชั้นสูง อันเป็นที่นิยมสูงสุดของพระกำแพงทั้งหลายและได้ถูกจัดเข้าอยู่ในชุดพระเครื่องที่เรียกกันว่า เบญจภาคี มีหลักฐานปรากฏว่าเป็นพระที่สร้างโดยพระมหากษัตริย์ พระกำแพงซุ้มกอ พบทั้งแบบที่เป็นเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เนื้อชิน เนื้อที่ถือว่าเป็นพระสำคัญชั้นสูง คือ เนื้อ ที่ทำด้วยว่าน มีแผ่นทองคำ ประกบไว้ด้านหน้าซึ่งคนเฒ่าคนแก่และนักนิยมพระกำแพงในยุคเก่าเรียกกันว่า พระว่านหน้าทอง พระว่านหน้าทอง สร้างขี้นน้อยมาก นอกจากจะน้อยมากแล้วพระที่พบมักจะชำรุดเป็นส่วนใหญ่ หาพระที่สมบูรณ์ยากมาก ในยุคเก่าถือกันว่าเป็นพระชั้นสูงสร้างขึ้นสำหรับท้าวพระยา และแม่ทัพ นายกอง

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 11,853

กรุวัดพระนอน

กรุวัดพระนอน

ที่ตั้งกรุพระวัดพระนอน อยู่เหนือกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 200 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระลีลากำแพง พระร่วงนั่ง พระบรรทมศิลป์ พระสืบชาตินารายณ์แปลง พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพง พระสืบชาต และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,212

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่าง ๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา     

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 9,523

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงกลีบจำปา ว่านหน้าทอง

พระกำแพงพลูจีบองค์นี้เป็นพระที่พบจากกรุวัดกระแก้ว ในบริเวณอุทธยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ในคราวบูรณะเมื่อ ปี พ.ศ. 2520 เป็นที่ทราบกันว่า พระว่านหน้าทองที่พบจากวัดพระแก้ว เป็นพระที่ลงกรุโดยบรรจุอยู่ในภาชนะอีกทีหนึ่งจึงยังคงสภาพสวยงามสมบูรณ์ อ.สันติ อภัยราช วัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร เขียนเล่าในคราวที่พบกรุพระว่านหน้าทองครั้งนี้ ว่า “ มีพระเครื่องที่เรียกกันว่าพระว่านหน้าทองจำนวนมาก และพระว่านหน้าทองทั้งหมด ได้หายไปจากกำแพงเพชรเกือบทั้งสิ้น เพียงไม่ข้ามวัน สนนราคาเช่ากันขณะร้อนๆ เพียงเลข ห้าหลัก ปัจจุบันบางส่วนอยู่ในมือคหบดี พ่อค้า ที่หักคอผู้พบไป... ปัจจุบันราคาอยู่ที่ เลขหกหลัก “

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,596

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,099

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก

คาถาลานเงินจารึก พบที่วัดพระบรมธาตุ ให้นิมนต์พระ (อาราธนาพระ) ใส่ศีรษะหรือออมใส่ในปาก อันตรายทั้งปวงหายสิ้นแล ถ้าจะเข้าณรงค์สงครามให้เอาพระใส่น้ำมันหอม เสกด้วย "นวหรคุณ" หรือพระเจ้า 16 พระองค์ทั้งคู่คือ "กิริมิทิ กุรุมุกุ กะระมะทะ เกเรเมเท นะมะนะอะ นอกอนอกะกอออนกอะ นะอะกะอัง ให้เสก 3 จบหรือ 7 จบ อานุภาพดังกำแพงล้อมกันภัยทั้งปวง คาถาบทนี้ท่รตีค่าไว้ควรเมือง ถึงข้าศึกจะเป็นหมื่นเป็นแสนให้ภาวนาเดินฝ่าฝูงข้าศึก ข้าศึกจะจังงงหมดสิ้นแล ถ้าเข้าป่าถูกไฟป่าล้อมให้ภาวนาเดินฝ่ากองไฟโดยไม่มีอันตรายแล ถ้าจะค้าขายดีไปทางบกหรือทางเรือก็ดี ให้นมัสการด้วยพาหุงส์ เอาพระสรงน้ำมันหอม เสกด้วยพระพุทธคุณ "อิติปิโส ภกูราติ" 7 จบ ประสิทธิ์แก่คนทั้งหลายแล 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 15,808