ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้ชม 10,995

[16.4821705, 99.5081905, ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ]

       พระกำแพงพลูจีบในปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นพระเครื่อง ในตำนานไปแล้วอย่างแท้จริง เมื่อราว พ.ศ. 2500 พระกำแพงพลูจีบเป็นพระเครื่องที่ค่านิยมสูงสุดของพระเมืองกำแพงสูงกว่าพระกำแพงเม็ดขนุน และพระกำแพงซุ้มกอ แม้แต่นักนิยมพระรุ่นเก่ามีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่เคยเห็นและพิจารณาของจริง ในยุคนั้นจึงมีพระพลูจีบที่ทำปลอมออกมาเป็นแบบต่างๆ ตามแต่จินตนาการของนักปลอมแปลงพระ บางทีก็เป็นรูปบิดม้วนเป็นเกลียวบ้าง แบบเรียวยาวชะลูดปลายแหลมบ้าง เพื่อให้เข้ากับคำว่าพลูจีบตามที่ได้ยินมา 
       เกือบ 40 ปีที่แล้ว ได้มีโอกาสส่องพิจารณาพระกำแพงพลูจีบองค์แรก ด้วยความเอื้อเฟื้อของ คุณสมนึก จาดเสน ที่ท่าพระจันทร์ เป็นพระกำแพงพลูจีบองค์แรกที่ได้ส่องพิจารณาและได้เห็นว่าเป็นพระที่สวยงามมากสมเป็นที่สุดแห่งพระกำแพงลีลา ต้นกำเนิดของคำว่า กำแพงเขย่งของนักพระเครื่องรุ่นปู่ ยังรู้สึกขอบคุณคุณ สมนึกจนบัดนี้ ถึงวันนี้ ยังไม่ต้องพูดถึงการหาผู้ที่รู้จริง และพิจารณาพระกำแพงพลูจีบได้อย่าง “ดูขาด“ เลย แค่จะหาพระแท้ มาส่องพิจารณาศึกษาสักองค์หนึ่งก็ยากยิ่งนัก
       วิธีการพิจารณาพระกำแพงพลูจีบ มีดังนี้
       พระกำแพงพลูจีบเป็นพระที่ตื้นมาจากแม่พิมพ์ จึงเป็นพระที่ถอดพิมพ์ง่าย พิจารณารายละเอียดต่างๆ ได้ยาก มีขนาดความสูง ประมาณ 4 ซม. ส่วนความกว้างในตอนกลางอยู่ในราว 1.5-1.8 ซม. การพิจารณาพิมพ์ทรงขอให้สังเกต พระพักตร์ จะเป็นรูปไข่เหมือนพระสมัยสุโขทัย แต่จะคอดเว้าตรงกลางค่อนไปด้านบน แสดงรายละเอียดของพระกัมโบล (แก้ม) ที่ป่องออกเล็กน้อย จุดที่สำคัญมาก คือ จะปรากฏพระหนุ (คาง) ที่ชัดเจน ขอให้ดูภาพประกอบ จุดที่แสดงพระหนุนี้ถึงจะสึกหรออย่างไรถ้าเห็นเค้าพระพักตร์เหลือ จะต้องเห็นทุกองค์ ถ้าไม่ปรากฏ คือมีแต่พระพักตร์รูปไข่แบนๆสามารถตัดสินได้ว่าเป็นของปลอม
       พระพาหา (แขน) ด้านขวาที่ทอดลงมามีลีลาที่โค้งสวยงาม และตรงพระหัตถ์จะแสดงรายละเอียดของนิ้วหัวแม่มือที่แยกออกมา ตรงนี้เป็น จุดสังเกตสำคัญเช่นเดียวกัน ของปลอมหลายสำนักมักจะไม่ปรากฏ )
       ริ้วจีวรที่คลุมลงมาจะเป็นเส้นคู่ ขนานที่ชัดเจนสวยงามมาก พระถอดพิมพ์มักจะติดเป็นปื้น ๆ เส้นหนาทึบเดียว ถ้ามองเผิน ๆลักษณะคล้ายกับนุ่งกางเกงจีน ปลายพระบาทงอนขึ้นด้านส้นเท้าคล้ายสวมรองเท้า คล้ายส้นสูง ลักษณะของฐานชั้นบนสุดถ้าองค์ใดติดชัด จะเห็นลักษณะบัวคว่ำ ชั้นกลางเป็นสองเส้นคู่ ชั้นล่างสุดเป็นเส้นคู่เช่นกันแต่มักไม่ติดชัด สามารถเห็นได้ว่าเป็นสองเส้นตรงปลายฐานด้านขวา
       ด้านเนื้อหาของพระกำแพงพลูจีบ เป็นพระประเภทเนื้อหนึกแกร่ง มักไม่ค่อยมีราดำ หรือมีน้อยมาก มีจุดแดงขนาดเล็กๆ บางแห่ง ที่สำคัญ คือ จะมีชิ้นทองหรือโลหะบางอย่างที่มีประกายทอง ชิ้นเล็กๆ ในเนื้อแทบทุกองค์ ขนาดเล็กมาก เพียงประมาณ 0.5 มม. หรือเล็กกว่านั้น และจะปรากฏเพียง 1-2 ชิ้น เท่านั้น ไม่ใช่เป็นชิ้นใหญ่ๆ พราวไปทั้งองค์ ขอให้ค่อย ๆ ส่องพิจารณากับแสงแดด หรือหลอดไฟกำลังสูง ค่อยๆ ขยับพระไปมา ไม่ใช่ทองคำเปลว แต่เป็นชิ้นทองที่ใหญ่กว่าผงตะไบ ดังที่ หลวงบรรณยุทธชำนาญ (สวัสดิ นาคะสิริ) ท่านเขียนไว้ในหนังสือเรื่องพระพิมพ์เครื่องรางฯ ซึ่งเขียนไว้เมื่อ พ.ศ. 2488 ว่า พระกำแพงพลูจีบ“ มีแร่ทองและแร่เงินอยู่ในเนื้อ “
       ถ้าท่านพบว่าพระกำแพงพลูจีบองค์ใดมีราดำจับเขรอะ ขอให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของปลอม สำหรับธรรมชาติ พระกำแพงพลูจีบด้านหลังจะยุบตัวเป็นคลื่นตามลักษณะของพระกรุเก่าทั้งหลาย คือไม่ตึงเรียบ และมักจะมีริ้วรอยลายมือจางๆ จากการกดพระทุกองค์ ขอบด้านข้างมนตามธรรมชาติ ไม่มีการตัดขอบแบบพระกำแพงกลีบจำปา 
พระกำแพงพลูจีบเป็นพระหายากและเป็นพระในตำนานไปแล้วก็จริง แต่ใครจะทราบว่า ท่านอาจจะมีพระพิมพ์นี้อยู่ในบ้านโดยไม่เคยทราบมาก่อนก็เป็นได้ หรือ หากบุญพาวาสนาส่ง ท่านอาจได้เป็นเจ้าของพระกำแพงพลูจีบที่ผู้คนในยุคนี้ไม่รู้จักกันแล้วก็เป็นได้ ขอเรียนว่า พระกำแพงพลูจีบนั้นปลอมแปลงมาตั้งแต่ครั้งคุณทวด ปลอมมานามจนเป็นพระเก่าไปเรียบร้อยแล้ว ขอให้ท่านพิจารณาพิมพ์ทรงเป็นสำคัญ และเชื่อว่า หลังจากที่บทความนี้ได้เผยแพร่แล้วขบวนการปลอมแปลงพระก็จะพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่ง ขอให้ข้อเสนอแนะที่ได้เขียนมานี้ เป็นเครื่องคุ้มภัยให้ทุกท่านปลอดภัยจากพระปลอมทั่วกัน
        พระกำแพงพลูจีบเท่าที่ได้พบและยอมรับกันในหมู่นักนิยมพระกำแพงรุ่นเก่ามีอยู่ 2 แบบ ที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้นเป็นแบบที่ 1 ซึ่งขอเรียกว่า เป็นพิมพ์แบบฐานสูง ตามพุทธลักษณะที่มีฐานบัวบัลลังค์มากชั้นกว่าแบบที่สอง ซึ่งจะขอเรียกว่าแบบฐานเตี้ย ดังมีข้อพิจารณาทางพิมพ์ดังนี้
        พระพิมพ์นี้ความหนาและขนาดใกล้เคียงกับพิมพ์แรก แต่บริเวณขอบตรงกลางจะไม่คอดเว้าเข้ามาเหมือนแบบแรก พระพักตร์ยาวรีกว่าเล็กน้อย และพระเกศจะสั้นชิดขอบพระทุกองค์ ลักษณะของเส้นจีวร เป็นเส้นคู่เช่นเดียวกับแบบแรก แต่ขอให้สังเกตว่าเส้นที่แสดงเป็นจีวรนี้ตรงบริเวญระดับพระชานุ (หัวเข่า) จะปรากฏว่ามีก้อนเนื้อนูนขึ้นมาทุกองค์ ส่วนลักษณะของพระบาทก็คล้ายกับแบบแรกคือปลายพระบาทงอนเชิด และมีลักษณะคล้ายสวมรองเท้าแบบส้นสูง เส้นจีวรด้านล่างจะดูคล้ายกับสวมกางเกงจีน จุดสังเกตสำคัญก็คือ ตรงกลางฝ่าพระบาทขวาจะมีเส้นวิ่งลงไปจรดฐานบัวบัลลังค์ซึ่งเป็นลักษณะบัวคว่ำ เส้นนี้จะปรากฏทุกองค์ เข้าใจว่าเป็นรอยแตกในแม่พิมพ์มาแต่เดิม ฐานของพระกำแพงพลูจีบพิมพ์นี้จะปรากฏเพียงสามชั้น คือ ชั้นบนเป็นแบบบัวคว่ำ ฐานชั้นที่สองเป็นเส้นเล็กติดกับชั้นที่สามซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า ฐานทั้งสองเส้นดีหากมองเผินๆ จะเหมือนกับว่าเป็นฐานเส้นเดียว แต่ถ้าพิจารณาช้าๆ จะสังเกตได้ว่าเป็นสองเส้นโดยเฉพาะทางด้านขวาจะเห็นได้ชัด การพิจารณาทางเนื้อและธรรมชาติก็เหมือนกับแบบแรกที่ได้นำเสนอไปแล้วทุกประการ ขอให้สังเกตด้านหลังที่เป็นคลื่นและมีรอยลายมือรางๆ

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : https://www.facebook.com/taksilaprakruang/posts/1528466867284402?__tn__=K-R

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ข้อเสนอแนะในการพิจารณา พระกำแพงพลูจีบ. สืบค้น 19 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1172&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1172&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

กรุหนองพิกุล

กรุหนองพิกุล

ที่ตั้งกรุพระวัดหนองพิกุล อยุู่ตรงข้ามของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก-พิมพ์จิ๋ว พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-กลาง พระพลูจีบ พระฝักดาบ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระกำแพงขาวพิมพ์ใหญ่-กลาง-เล็ก พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงหย่อง พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระท่ามะปราง พระซุ้มยอ พระเม็ดมะลื่น พระเล็บมือนาง พระใบพุทรา พระนางพญากำแพงท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์เม็ดแตง พระนางพญากำแพงตราตาราง พระนาคปรก พระกลีบบัว พระเจ่้าสามพระองค์ พระเจ้าสี่พระองค์ พิืมพ์เชตุพน พระร่วงนั่งสนิมตีนดา พระเชตุพนพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพน พิมพ์เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,793

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 14,442

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 45,399

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพงเนื้อว่าน

พระนางกำแพง หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพง ซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหา ในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ "พระนางกำแพง" มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี ทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 8,050

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,916

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

กรุวัดทุ่งเศรษฐี

ที่ตั้งกรุพระวัดทุ่งเศรษฐี อยู่ทิศตะวันตกของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 200 เมตร ปัจจุบันที่ตั้งกรุถูกขุดเป็นสระกว้างประมาณ 600 ตารางเมตร ชาวบ้านนิยมเรียกคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ก็เห็นจะเป็นนามมงคลของคำว่า "เศรษฐี" กรุพระต่างๆ ที่ชาวบ้านนิยมเรียกใช้นามคำว่า "กรุทุ่งเศรษฐี" ขอสรุปมีกรุดังนี้ กรุวัดทุ่งเศรษฐี กรุหนองลังกา กรุซุ้มกอ กรุเจดีย์กลางทุ่ง กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุตาลดำ กรุคลองไพร กรุบริเวณวัดพระบรมธาุและกรุอื่่นๆ ที่อยู่ในบริเวณลานทุ่ง กรุพระต่างๆ ที่เขียนนี้ สมัยก่อนเป็นบริเวณทุ่งนาของเศรษฐีพิกุล ปัจจุบันชาวบ้านจึงเรียกว่า "กรุทุ่งเศรษฐี"

 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 10,064

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร

พระกำแพงสามขา วัดเสด็จ เป็นพระที่พบเจอครั้งแรก ในปี 2549 โดยพบใต้ฐานพระประธานในอุโบสถ เป็นพระเนื้อโลหะ ลักษณะคล้ายพระสกุลช่างดังที่ได้กล่าวข้างต้น แต่ไม่สามารถสืบทราบ ปี พศ. ที่ได้จัดสร้าง ไม่มีข้อมูลผู้สร้างพระ มีเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีการสร้างตั้งแต่ก่อนมีวัดเสด็จ เพราะการ ขุดพบนั้น ได้ขุดพบบริเวณใต้ฐานพระประธาน นั่นหมายถึง มีการสร้างก่อนที่รัชกาลที่ 5 เสด็จพระพาสต้น และศิลปะเป็นแบบสุโขทัย ซึ่งเป็นพระเนื้อสัมฤทธิ์ มีฐานคล้ายขาโต๊ะ เป็น 3 ขา จึงสันนิษฐานได้ว่าเป็นศิลปะแบบเดียวกันกับพระสกุลช่าง กำแพงเพชร แต่พระที่วัดเสด็จไม่ได้มีการจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 8,969

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง กรุผู้ใหญ่เชื้อ จังหวัดกำแพงเพชรพระลีลากรุผู้ใหญ่เชื้อ องค์นี้สภาพสวยคมชัดลึก ดินกรุยังติดอยู่พอมองเห็นเนื้อพระ พระเนื้อแกร่งแห้ง พระกรุนี้เนื้อจะหยาบ ราคาจึงถูกทั้งที่แตกกรุในเขตนครชุมเหมือนกับพระกรุอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,872

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 41,762

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอดำ กรุวัดพิกุล

จำนวนกรุต่างๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร มีทั้งหมดประมาณไม่ต่ำกว่า 50 กรุ  ส่วนฝั่งซ้ายซึ่งเป็นที่ตั้งของอำเภอเมือง และเป็นเขตอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร รวมทั้งพระราชวังเก่าที่มีวัดพระแก้วอยู่ภายในด้วยรวมเรียกว่ากรุเมือง มีจำนวนประมาณ 20 กรุ ซึ่งมีกรุเมืองที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดี เช่น กรุวัดพระแก้ว กรุวัดพระธาตุ กรุวัดป่ามืด กรุวัดช้างล้อม และกรุวัดนาคเจ็ดเศียร เป็นต้น ทั้งนี้เมื่อปี 2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆังฯ ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่านจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 11,913