เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี

เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 29,357

[16.4821705, 99.5081905, เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี]

เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี
          พระซุ้มกอ หรือเจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐีเป็นยอดพระเครื่องอันดับนำของจังหวัดกำแพงเพชรที่ใครได้ไว้บูชาติดตัวแล้ว นับว่าเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง เพชรนพเก้าค่าล้นปานใดก็ตาม บางครั้งก็หาเปรียบได้กับ พระซุ้มกอ ซึ่งสูงทั้งค่าและมีประสิทธิภาพซึ่งมนุษย์ไม่อาจเนรมิตได้ การมีชีวิตเพื่ออยู่และสร้างแต่กรรมดีแล้ว พระซุ้มกอ ย่อมคุ้มครองท่านได้เสมอ และสิ่งที่น่าอิจฉาสำหรับผู้มีพระพิมพ์นี้ยิ่งขึ้นก็คือ ท่านจะอยู่อย่างคนมีโชคตลอดเวลาทีเดียว  ผมเองนั้นเชื่อเหลือเกิน เชื่อว่า มึงมีกูไม่จน ประกาศิตที่กังวานจากเจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐีนั้นจะเป็นใครกล่าวหรือใครพูดขึ้นเล่นก็ตามทีเถิด เพราะจนบัดนี้ ผู้ที่ใช้ พระซุ้มกอ แล้วก็ยังไม่เคยมีใคร บอกว่าห้อยพระซุ้มกอแล้ว ยากจน เลยสักรายเดียว

กำแพงเพชรเมื่อในอดีต
          จากซากวัตถุโบราณบางชิ้นแสดงให้รู้ว่า กำแพงเพชร เมื่ออดีตนั้น คงเป็นส่วนหนึ่งที่ ขอม เข้ามามีอำนาจปกครองอยู่ จนกระทั่งถึง พ.ศ. 1890  พระยาเลอไท กษัตริย์องค์ที่ 4 ในราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย ได้โปรดให้ฟื้นฟูบูรณะเมืองกำแพงเพชรขึ้นใหม่พร้อมกับพระราชทานนามว่า นครชุม แล้วยกให้เป็นเมืองลูกหลวงควบคู่กันไปกับ ศรีสัชนาลัย กำแพงเพชร แม้จะมีชื่อใหม่ในยุคนั้นว่า นครชุม แล้วก็ตาม ชาวเมืองก็ยังคงเรียกว่า ชากังราว หรือ นครชุม ตลอดมาจนถึงสมัยอยุธยา ในแผ่นดินของ สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ จึงได้กลับมาเรียกเมือง 2 ชื่อนี้ใหม่อีกครั้งว่า กำแพงเพชร และได้กันเรื่อยมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ เมืองกำแพงเพชร นี้ได้ประมาณกันว่ามีอายุกว่า 700 ปี ขึ้นไป นับเป็นเมืองหน้าด่านที่ต้องเผชิญกับภัยสงครามตั้งแต่สมัยอยุธยาเรื่อยมา จนถึงสมัยกรุงธนบุรี ตั้งแต่ พ.ศ. 1926-2317 นับเป็นสงครามที่สร้างความบอบช้ำให้กับกำแพงเพชร ในช่วงนั้นไว้มาก ก่อนหน้าที่จะเรียกกันว่า กำแพงเพชร นั้น ปรากฏว่าเมื่อ พ.ศ. 1900 ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ พระมหาธรรมราชาลิไทย ครองราชย์อยู่นั้น พระองค์นับเป็นกษัตริย์องค์เดียวของกรุงสุโขทัย ที่ทรงฝักใฝ่การพระศาสนามากกว่าด้านการทหาร และในช่วงระยะ พ.ศ. 1900 ดังกล่าวนี้เอง กำแพงเพชร นับว่าเป็นเมืองสำคัญยิ่งนัก ทั้งนี้ก็เพราะ พระพุทธศาสนา ได้เจิดจ้าขึ้นอย่างคาดไม่ถึง จากศิลาจารึกหลักที่ 3 ได้แสดงให้รู้ว่า พระมหาธรรมราชาลิไทย ได้เสด็จไปสถาปนาพระบรมธาตุ, ปลูกพระศรีมหาโพธิ์, และยังได้บำเพ็ญพระราชกุศลเกี่ยวกับการพระศาสนาไว้ ณ ที่ นครชุม นั้นอีกเป็นอันมาก นอกจากนั้นกำแพงเพชร จากตำนานยังได้กล่าวไว้ว่า เมืองนี้ได้เคยเป็นที่ประดิษฐานองค์พระแก้วมรกต, และพระพุทธสีหิงค์อีกด้วย
           ณ จังหวัดกำแพงเพชรปัจจุบันนี้ ถ้ามองจากตัวจังหวัดพุ่งสายตาข้ามลำน้ำปิงไปทางทิศนะวันตกก็จะพบกับผืนแผ่นดินนั่นนั้น ซึ่งเมื่อครั้งอดีต คือ นครชุม แต่ปัจจุบันนี้เป็น ตำบล ซึ่งรู้จกกันทั่วไปว่า ทุ่งเศรษฐี อาณาจักรของพระเครื่องที่โด่งดังในด้านโชคลาภมหานิยมยิ่งนัก และที่ฝั่งลำน้ำปิง ซึ่งใกล้กับปากคลองสวนหมากฝั่งนครชุมนั้นเอง จะปรากฏ วัดพระบรมธาตุ อารามหลวงที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งพระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วงในรัชกาลที่ 5 ได้เป็นผู้สถาปนาพระบรมธาตุ ไว้เมื่อ พ.ศ. 1900 นอกจากนั้น ที่ลานทุ่งเศรษฐียังปรากฏโบราณสถานที่รกร้างเหลืออยู่บ้าง, กับที่เป็นเนินดินไม่ปรากฏซากปรักหักพังเสียก็มาก คงมีแต่ชื่อวัดที่สำคัญ เช่น วัดพิกุล, วัดฤาษี, วัดทุ่งเศรษฐี, วัดน้อยบ้านไร่, วัดเจดีย์กลางทุ่ง ฯลฯ เป็นต้น ทั้งนี้ ประมาณว่าได้กำเนิดขึ้นยุคเดียวกัน โดยอยู่ที่ลานทุ่งเศรษฐีทั้งสิ้น นอกจากนั้น วัดสำคัญที่กำเนิดในสมัยเดียวกันแต่อยู่ฝั่งจังหวัดก็มีเช่น วัดอาวาสน้อย, วัดอาวาสใหญ่, วัดช้างล้อม,วัดกำแพงงาม, วัดสี่อิริยาบถ, วัดเชิงหวาย, วัดช้าง, วัดป่ามืด, วัดพระแก้ว, วัดพระนอน, วัดกะโลทัย, วัดพระธาตุ และวัดนาคเจ็ดเศียร ฯลฯ เป็นต้น ปฐมเหตุที่ทำให้พบกรุกำเนิดอันเป็นที่มาของพระเครื่องพิมพ์ต่าง ๆ นั้น ก็ด้วยท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ แห่งวัดระฆังฯ ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ.ศ. 2392 ท่านได้อ่านศิลาจารึกที่วัดเสด็จ ก็พบว่าที่เมืองกำแพงเพชรนี้ ยังมีโบราณสถานและพระบรมธาตุอยู่ทางฝั่งตะวันตก ซึ่งได้สร้างไว้เมื่อ พ.ศ. 1900 พระยากำแพง เจ้าเมืองเดิมจึงบุกป่าสำรวจตามแผ่นศิลาจารึกนั้น ก็พบพระเจดีย์ 3 องค์ องค์ใหญ่เป็นที่บรรจุพระบรมธาตุไว้ด้วย ต่อมา พระยาตะก่า จึงได้ขอปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ทั้ง 3 นั้น โดยรวมเข้าเป็นองค์เดียวกันแล้วสร้างเป็นแบบศิลปพม่า แต่พระยาตะก่าได้สิ้นชีวิตเสียก่อนจะปฏิสังขรณ์เสร็จต่อมา พะโป้ และ นางทองย้อย จึงได้ทำการสร้างต่อจนสำเร็จในที่สุด 
            ในปัจจุบันนี้เหนือลำน้ำแม่ปิงขึ้นไปบนฝั่งนครชุมวัดที่จะยังคงอยู่ก็แต่ วัดพระบรมธาตุ ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดพระเครื่องกรุแรกเท่านั้น และจากคราวท่านเจ้าประคุณสมเด็จ ได้อ่านศิลาจารึกและพ่อเมืองกำแพงเพชรได้ไปสำรวจพบพระเจดีย์จน พระยาตะก่า และ พระโป้ ได้ขอบูรณปฏิสังขรณ์เสียใหม่ในครั้งนั้นนั่นเอง เมื่อทำการรื้อเจดีย์ก็ได้พบพระพุทธรูปและพระเครื่องมากมายอยู่ในเจดีย์นั้นทั้งยังเป็นที่ประจักษ์อีกว่า ผู้สร้างพระเจดีย์ทั้ง 3 องค์นั้น ได้เป็นผู้นำพระบรมธาตุจากลังกามาบรรจุไว้อีกด้วย นั่นก็คือ พระมหาธรรมราชาลิไทย กษัตริย์แห่งกรุงสุโขทัยนั่นเอง พระเครื่องที่พบทั้งหมดจาการปฏิสังขรณ์คราวนั้นจึงมีอายุ 600 กว่าปีขึ้นไป ส่วนพระเครื่องที่ขึ้นจากกรุวัดพระบรมธาตุครั้งนั้นก็มี พระซุ้มกอ, พระเม็ดขนุน, พระพลูจีบ, พระซุ้มยอ พระเชยคางข้างเม็ด,พระท่ามะปราง, พระฝักดาบเนื้อว่านหน้าทอง-เงิน, พระกำแพงขาโต๊ะ, พระกำแพงขาว, พระนาคปรก, พระเม็ดมะรื่น,พระนางพญากำแพง, พระกลีบบัว, พระกำแพงห้าร้อย, พระกำแพงเรือนแก้ว, พระเปิดโลก, พระกลีบจำปา, พระเม็ดมะเคล็ด, พระสาม, พระเชตุพน, พระงบน้ำอ้อย, และพิมพ์อื่น ๆ มากกว่าร้อยพิมพ์ทีเดียว ทั้งนี้ยังปรากฏว่าพระแผงเช่นพระนารายฯทรงปืน, พระซุ้มกระรอกกระแต, พระสาม พระปางมหาปาฏิหาริย์ ก็ได้รวมอยู่ในกรุนี้ขึ้นมาอีด้วยเช่นกัน
           จากการอ่านศิลาจารึก ที่วัดเสด็จจนเป็นผลให้นำไปสู่กรุพระเครื่องมหึมาและได้พบพระบรมธาตุด้วยแล้ว ยังได้พบแผ่นลานเงินจารึกอักษรขอม เป็นตำนานกล่าวไว้ว่า ตำบลเมืองพิษณุโลก, เมืองกำแพงเพชร, เมืองพิชัย, เมืองพิจิตร, เมืองสุพรรณ, ว่ามีฤาษี 11 ตน ฤาษีเป็นใหญ่ 3 ตน ฤาษีพิลาลัยตนหนึ่ง ฤาษีตาไฟตนหนึ่ง, ฤาษีตาวัวตนหนึ่ง ซึ่งเป็นประธานฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่าเราทั้งหลายนี้จะเอาอันใดให้แก่พระศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง 3 จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่าเราจำทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ ฉลองพระองค์จึงทำเป็นเมฆพัตรอุทุมพร เป็นมฤตย์พิศย์อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐ์ไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายสมณชีพราหมณาจารย์ไปถ้วนทั่ว 5000 พรรษา พระฤาษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่าท่านจงไปเอาว่านทั้งหลายอันมีฤทธิ์เอามาให้ได้ 1000 เก็บเอาเกสรดอกไม้อันวิเศษที่มีกฤษณาเป็นอาทิจึงป่าวร้อยเทวดาทั้งปวงให้มาช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่งทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง 3 องค์นั้นจึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผงเป็นก้อน ถ้าผู้ใดได้ถวายพระพรแล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด ฯลฯ ยังมีข้อความที่พระฤาษีได้กล่าวอุปเท่ห์ไว้อีกมาก ถ้าหากท่านได้ทราบเรื่องราวข้อความจารึกจากแผ่นลานทองที่ได้จากพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดสุพรรณแล้ว บางท่านก็อาจจะสงสัยว่า ข้อความที่แปลจากใบลานทองดังกล่าว กับใบที่พบจากกรุพระปรางค์เมืองสุพรรณนั้น ช่างมีข้อความที่ออกจะไม่ต่างไปกว่ากันเลยละก้อ ขอให้นึกเสียว่า นั่นเป็นเรื่องราวที่ต่างก็ เล่ากันว่า... แล้วก็ยังมีการคัดลอกข้อความกันต่อ ๆ มาอีกเป็นทอด ๆ โดยจะจริงเท็จประการใดก็หาหลักฐานมาพิสูจน์ไม่ได้เลย จากเรื่องราวดังได้กล่าวไปแล้ว จึงพอสรุปได้ว่าพระเครื่องในสกุลทุ่งเศรษฐีที่กำเนิดขึ้นระยะแรก โดยพระมหาธรรมาราชาลิไทยเป็นผู้สร้างไว้นั้น เมื่อ พ.ศ. 2524นี้แล้ว พระทุ่งเศรษฐีซึ่งพบครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุนั้น บัดนี้ได้แตกกรุออกมาเป็นเวลาถึง 132 ปีแล้ว และนับตังแต่ปีที่ได้สร้างพระ พ.ศ. 1900 พระทุ่งเศรษฐีกรุปฐมฤกษ์ก็จะมีอายุถึง 624 ปีแล้วด้วยเช่นกัน
 
 
 ลักษณะของศิลปะ
          พระเครื่องซึ่งพบที่จังหวัดกำแพงเพชร ไม่ว่าจะเป็นของพระเครื่องของกรุปฐมฤกษ์ วัดพระบรมธาตุ อันเป็นปราการด่านแรกของพระกรุทุ่งเศรษฐี หรือจากกรุอื่น ๆ ในบริเวณทุ่งฯ หรือแม้แต่กระทั่งกรุฝั่งเมืองกำแพงเพชรปัจจุบันนี้ก็ตาม ในจำนวนพระเครื่องเหล่านั้นทั้งหมด ศิลปที่ปรากฏประมาณ 70% จะแสดงออกตามจินตนาการของช่างสุโขทัย ซึ่งจะมีทั้งศิลปสุโขทัยยุคต้น ยุคกลางและยุคปลาย โดยเฉพาะศิลปสุโขทัยแบบกำแพงเพชรมากที่สุด นอกจากนั้น พระอีกประมาณ 30% เราจะเห็นว่า ศิลปะ จะมีส่วนสัมพันธ์กันถึง 4 สมัย เช่นพระเครื่องบางองค์เป็นแบบ สุโขทัย แต่รับเอาอิทธิพลของศิลป เชียงแสน ผสมเข้าไว้ และบางองค์ก็รับอิทธิพลของศิลป อู่ทอง สัมพันธ์ร่วมไว้อย่างอลังการ แม้กระทั่งศิลป ลพบุรี ก็ยังเข้ามามีอำนาจอยู่ในพระเครื่องเมืองนี้อยู่ด้วยเช่นกัน ก็ด้วยเหตุนี้เอง จากการพบกรุพระในลานทุ่งเศรษฐีนั้น บางครั้ง กลับมีผู้ได้พระเครื่องศิลปแบบอยุธยายุคต้นก็มี นั่นย่อมแสดงให้รู้ว่า สมัยราชวงศ์พระร่วงได้เสื่อมลงไปแล้ว ศิลปย่อมสืบสมัยต่อมาโดยไม่สิ้นสุด เมื่อสมัยอยุธยารุ่งโรจน์ ศิลปะ ของสมัยนั้นย่อมเข้ามามีอิทธิพลแทนที่ในระยะต่อมา ดังนั้น นักเลงพระ ที่ชาญฉลาดเขามักจะสังเกต ศิลปะ ที่เกี่ยวโยงกัน ซึ่งจะสามารถบอกให้รู้ถึงอายุของพระได้ หรือสังเกต เนื้อ ก็จะบอกให้รู้ถึงความเก่า-ใหม่ และถ้าทราบประวัติศาสตร์ไว้บ้างก็จะเป็นส่วนหนึ่งให้เราได้รู้ว่าพระ ทุ่งเศรษฐี นี้ มิใช่จะมีแต่พระศิลปแบบสุโขทัยเสมอไปเพราะจากคำว่า กำแพงเพชร หมายถึง ปราการที่แข็งแกร่ง รู้จักกันดีอยู่ในสมัยอยุธยา ส่วน นครชุม นั้นอยู่ในสมัยสุโขทัย และ ชากังราว ต่างก็เข้าใจว่า อาจเป็นระยะหนึ่งที่อยู่ในความปกครองของขอม ดังนั้นจึงเป็นของแน่เหลือเกินที่อาจมีผู้ได้พระเครื่องศิลปแบบลพบุรี จากลานทุ่งเศรษฐีนี้ไว้บ้างก็ได้
 
พระกำแพง ซุ้มกอ ทุ่งเศรษฐี
          พระกำแพงซุ้มกอ เป็นยอดพระเครื่องอันดับ 1 จากลานทุ่งเศรษฐี พิมพ์ที่นิยมกันมากได้กับพระซุ้มกอชนิดที่มีลายกนก ที่นิยมรองลงมาได้กับ พระกำแพงซุ้มกอดำ ซึ่งพระพิมพ์นี้จะไม่มีลวดลายกนกปรากฏรวมอยู่ในองค์พระไว้เลย  พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระเครื่องปางสมาธิแบบ ขัดราบ ประทับนั่งบนฐานบัวเล็บช้างห้ากลีบ ด้านข้างทั้งสองขององค์พระใกล้ ๆ กับพระกรนั้นจะปรากฏลวดลายกนก 4 ขดม้วนตัววิ่งขึ้นไปบรรจบกับพระรัศมี ที่เป็นเส้นแฉกวิ่งจากประภามณฑล ที่ปรากฏ ที่ปรากฏล้อมรอบพระเศียรองค์พระซุ้มกอไว้อีกชั้นหนึ่ง อย่างอลังการไว้ทุกองค์ เว้นแต่พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์กลางบางพิมพ์เท่านั้น  พระยอดมหาโชคมหาลาภพิมพ์นี้ เป็นพระเครื่องเนื้อผง ผสมด้วยดินกับมวลสารที่รวมตัวเป็นองค์พระเครื่องนั้น จะมีว่านร้อยแปด โดยเฉพาะว่านดอกมะขาม จะต้องปรากฏให้เห็นตามผิวองค์พระ อันเป็นสัญลักษณ์ของพระเนื้อทุ่งเศรษฐีไว้ทุกๆ องค์ นอกจากนั้นก็มีทรายเงิน, ทรายทอง, และผงเกสรดอกไม้ร้อยแปดรวมอยู่ด้วย จึงทำให้พระกำแพง ซุ้มกอ กว่า80% เนื้อจะนุ่มอ่อนตัวกว่าคล้ายกับพระผงสุพรรณทีเดียวว่ากันที่จริงแล้วพระเครื่องพิมพ์ยอดนิยมจากลานทุ่งเศรษฐี ที่เราเรียกกันว่าพระกำแพงซุ้มกอนี้ หาได้มีแต่พิมพ์เดียวไม่ เพราะทั้งขนาดและเนื้อก็ยังมีแตกต่างกันออกไปอีกมาก ฉะนั้นเพื่อให้ท่านผู้อ่านได้รู้ซึ้งถึงการแตกต่างของพระเครื่องพิมพ์นี้ได้โดยละเอียดยิ่งขึ้น ผมจึงจะขอแยกกล่าวเป็นชนิดๆ ดังต่อไปนี้
           1.   พระซุ้มกอเนื้อผงชนิดมีลายกนก แบบมีลายกนกนี้ โดยเฉพาะเนื้อผงจะมีแต่สีแดง, และสีเหลือง, เท่านั้น ทั้งนี้ยังแยกแบบออกได้เป็น 3 พิมพ์คือ 
                  พิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์นี้ด้านข้างจะหนา อย่างน้อยครึ่ง ซ.ม. ขึ้นไป พุทธลักษณะนับว่างดงามกว่าพระซุ้มกอทุกชนิด งามถึงขนาดเห็นหู, ตา, ปาก, จมูก และจะมีราคาเช่าแพงกว่าทุกพิมพ์อีกด้วย ข้อควรจำสำหรับพระพิมพ์ใหญ่นี้ก็คือ ซอกแขนทั้งสองข้างจะลึกมาก ด้านข้างจะถูกตัดด้วยเส้นตอก เหมือนกับด้านข้างพระนางพญา ส่วนด้านหลังสำหรับพระพิมพ์นี้จะต้องปรากฏเป็นลายกาบหมากอยู่ที่ด้านหลังไว้ทุกองค์ สำหรับขนาดจะมีประมาณ 1.7คูณ 2.5 ซ.ม. 
                   พิมพ์กลาง พระซุ้มกอพิมพ์กลางนี้ ความหนาบางที่ปรากฏไม่ค่อยจะอยู่ในระดับมาตรฐาน แต่ถึงกระนั้นก็ควรจะหนาประมาณ 4 ม.ม. ขึ้นไป และพูดได้เลยว่า เป็นพิมพ์ที่ค่อนข้างจะหายากด้วย สำหรับความงามออกจะด้อยกว่าพิมพ์ใหญ่มากอยู่หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ หูตาปากจมูกตลอดจนชายสังฆาฏิจะเห็นเพียงราง ๆ เท่านั้น ทั้งซอกแขนก็จะตื้นมาก ส่วนด้านข้างจะถูกตัดด้วยคมตอกหรือปาดด้วยมีดก็มี แต่ด้านหลังจะเป็นมุมกลับกับพิมพ์ใหญ่คือ จะต้องมีลายมือปรากฏอยู่ หรือไม่ก็เป็นแบบปาดราบไปเลย พระพิมพ์นี้จะมีขนาดประมาณ 1.7 คูณ 2.3 ซ.ม.
                  พิมพ์เล็ก พระซุ้มกอพิมพ์เล็กนับว่าเป็นพระเครื่องที่ค่อนข้างมีมากกว่าทุก ๆ พิมพ์ทีเดียว ความหนาบางองค์พระก็จะไม่มาตรฐานอีกเช่นกัน ทั้งในด้านความงาม หรือขอบข้างหรือด้านหลัง ก็จะปรากฏ เช่นเดียวกับพระซุ้มกอพิมพ์กลางทุกอย่าง ขนาดวัดได้ประมาณ 1.5 คูณ 2.2 ซ.ม. 
พิมพ์จิ๋ว พระซุ้มกอพิมพ์นี้ออกจะหาชมได้ยากมาก ทั้งของจริงก็ไม่งดงามด้วย ขณะนี้มีมากแต่ละองค์ก็สวยงามชัดเจนประมาณ 95% มักจะเป็นของปลอม พระพิมพ์จิ๋วนี้ส่วนมากมักจะเป็นของกรุวัดพิกุลองค์พระจะบางกว่าพิมพ์เล็กลงไปเล็กน้อย ส่วนด้านหลังจะมีลายมือปรากฏอยู่ประปราย ขนาดโดยประมาณวัดได้ 1.1 คูณ 1.4 ซ.ม. เท่านั้นเอง
          2.   พระซุ้มกอพิมพ์ ขนมเปี้ย พิมพ์ขนมเปี้ยดังกล่าวนี้ เป็นพระซุ้มกออีกพิมพ์หนึ่งที่ให้แบบ คล้ายกับพระงบน้ำอ้อย แต่จะเล็กกว่า ลักษณะทำเป็นพิมพ์กลม ๆ ด้านหลังอูมนูนและมีลายมือปรากฏด้วย ส่วนด้านข้างจะโค้งทรงกลมโดยไม่มีรอยตัดเลย พระพิมพ์นี้ความจริงแล้วก็คือ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง หรือ พิมพ์เล็ก นั่นเอง จะผิดกันก็ตรงที่มีปีกยื่นออกเป็นวงกลม นักเลงพระยุคโน้นเห็นพิมพ์ท่านอยู่ในลักษณะเช่นนั้นครั้นจะเรียกว่า ซุ้มกอพิมพ์งบน้ำอ้อย ฟัง ๆ ดูก็จะไปจ๊ะเอ๋กับพิมพ์จริง ๆ เข้า ทั้งยังเป็นพระเครื่องคนละสกุลกันอีกด้วย ดังนั้นจากความกลมของพระซุ้มกอพิมพ์นี้จึงได้ถูกเรียกกันต่อมา โดยไม่ซ้ำกับพิมพ์งบน้ำอ้อยว่า พิมพ์ขนมเปี้ย เพราะขนมเปี้ยนั้นเขาก็กลมอยู่แล้วเช่นกัน  พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี้ย นี้ ได้แยกขนาดออกเป็น 2 แบบด้วยกันคือ พิมพ์ใหญ่ พระพิมพ์ใหญ่ซุ้มกอขนมเปี้ยนี้ ความจริงก็คือ พระซุ้มกอพิมพ์กลางและพิมพ์ธรรมดา ๆ เรานี่เอง จะผิดก็ตรงที่มีปีกวงกลมแผ่ออกไป โดยจะมีพระลอยองค์ตรงกลางเท่านั้นเอง ขนาดพิมพ์ใหญ่นี้เส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้ประมาณ  2.5 ซ.ม.  พิมพ์เล็ก สำหรับพระซุ้มกอขนมเปี้ยเล็กนี้ ค่อนข้างจะหายากสักหน่อย จะสังเกตองค์พระได้โดยจะเล็กกว่าพิมพ์ใหญ่ ส่วนปีกที่ยื่นออกเป็นทรงกลมนั้นจะไม่กลมทีเดียวทั้งขอบข้างบางองค์ก็จะเว้าแหว่งเป็นคลื่นด้วย ขนาดพระพิมพ์เล็กนี้เส้นผ่าศูนย์กลางวัดได้ประมาณ 1.7 ซ.ม. เท่านั้น
          3.   พระซุ้มกอดำ ถัดจากพระซุ้มกอพิมพ์ขนมเปี้ยผ่านไปแล้วคราวนี้ก็มาถึงเรื่องพิมพ์ซุ้มกอดำกันบ้าง พระพิมพ์นี้ พิมพ์ ค่อนข้างจะแหวกแนวไปมากอยู่แต่พุทธลักษณะของท่านจะเหมือนกับพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ชนิดที่มีลายกนกทุกอย่าง จะผิดก็แต่ตัดกนกด้านข้าง กับบัวเล็บช้างใต้ฐานประทับออกจนหมด พระซุ้มกอดำ จึงมีแต่พระประทับนั่งปางสมาธิบนฐานเชียง โดยมีปีกโค้งเว้า รองรับไว้กับมีประภามณฑลล้อมรอบพระเศียรไว้ด้วยพระพักตร์ค่อนข้างป้อม พระอุระจะผึ่งผายเข้มข้นกว่าพิมพ์นิยมชนิดมีลายกนกเอามากทีเดียว ด้วยเหตุนี้เองเราจึงต้องยกให้ พระซุ้มกอดำ นี้ เป็นพระเครื่องศิลปะ วัดตระกวน ซึ่งเป็นยอดศิลปะชั้นหนึ่งของสมัยสุโขทัยยุคต้น และก็เลยทำให้ผู้เขียนได้คิดไปอีกว่า พระซุ้มกอดำ พิมพ์นี้ น่าจะเป็นพระซุ้มกอพิมพ์ปฐมฤกษ์ที่กำเนิดขึ้นก่อนพระซุ้มกอชนิดที่มีลายกนกเสียมากกว่า เพราะต่อเมื่อภายหลังขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมของสุโขทัยได้รุ่งโรจน์ขึ้นแล้ว ก็ย่อมเป็นของธรรมดาที่ ศิลปะจะต้องได้รับการพัฒนาให้อลังการยิ่งขึ้นไปด้วยเช่นกัน ถ้าหากเป็นเช่นนี้แล้ว จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า พระซุ้มกอชนิดที่มีลายกนกด้านข้างนั้น ที่จริงแล้วอาจเป็นพระเครื่องที่ช่างให้การพัฒนามาจาก พระซุ้มกอดำนั่นเอง และการที่เรียกว่า พระซุ้มกอดำ นั้น ก็เพราะเมื่อก่อนไม่ว่าจะขุดพระพิมพ์นี้ได้จากกรุใดในลานทุ่งเศรษฐีก็ตาม พระทุกองค์มักจะมีสีดำ ไปหมดพระซุ้มกอพิมพ์นี้จึงถูกขนานนามว่า พระซุ้มกอดำ โดยถือเอาสีมาเรียกเป็นชื่อตั้งแต่นั้นมา ออกจะหย่อนงามไปบ้างสำหรับพระซุ้มกอดำ เป็นที่รู้กันว่ากรุกำเนิดของพระซุ้มกอดำ และพระซุ้มกอชนิดที่มีลายกนกมากแบบนั้น ต่างก็ขึ้นจากกรุ วัดพระบรมธาตุ เป็นปฐมฤกษ์ด้วยกันทั้งนั้น พระซุ้มกอดำ ที่จัดว่างามผึ่งผายและเป็นที่นิยมกันมาก ก็เห็นจะได้กับพระซุ้มกอดำของ กรุวัดพิกุล ภายหลังต่อมาก็ได้มีผู้พบพระซุ้มกอดำพิมพ์นี้อีกที่กรุตาพุ่ม และ กรุวัดน้อย แต่ก็ได้เพียง 10 กว่าองค์เท่านั้น โดยองค์พระจะเล็กกว่าของกรุวัดพิกุล ทั้งเนื้อก็จะออกสีดำอมน้ำตาลเป็นส่วนมากด้วย
            4.   พระซุ้มกอ เนื้อว่าน พระซุ้มกอชนิดเนื้อว่าน จัดเป็นพระเครื่องทุ่งเศรษฐีที่อยู่ในอันดับ ยอดหายาก อีกพิมพ์หนึ่งเนื้อเท่าที่ปรากฏจะคล้ายกับพิมพ์ฝักดาบ พิมพ์เม็ดขนุน, คือใช้ว่านมากชนิดรวมทั้งผงเกสรตำรวมกันแล้วอัดลงแน่พิมพ์อีกทอดหนึ่งเรื่องพระเนื้อว่านนี้ พระบางพิมพ์ของกรุทุ่งเศรษฐียังเคยปรากฏพบเนื้อที่เป็นแผ่นว่านล้วน ๆ กดลงแม่พิมพ์เป็นองค์พระก็มี พระซุ้มกอที่เป็นชนิดเนื้อว่านนี้ปัจจุบันนี้เราจะพบก็แต่หน้าทองหรือเงินประกบไว้กับว่านอีกชั้นหนึ่งเท่านั้น เพราะเกือบ 80% พระทุ่งเศรษฐีเนื้อนี้มักจะกะเทาะกร่อนแตกหมด เรื่องพระซุ้มกอชนิดเนื้อว่านดังกล่าวนี้ (มีผู้ทำปลอมกันไว้มาก โดยเนื้อจะอยู่ในสภาพที่ดีเกินไป) นอกจากจะมีทำเป็นพิมพ์ประกบด้วยแผ่นทองคำ หรือแผ่นเงินปิดหน้าไว้แล้วชนิดที่เป็นว่านล้วน ๆ โดยไม่ประกบหน้าอะไรไว้เลยก็มี เราจะพบกับพระเนื้อว่านซึ่งมีเฉพาะพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ชนิดมีลายกนกกับพิมพ์กลางเท่านั้น และก็ยังไม่เคยมีผู้ใดได้พบจากกรุอื่น ๆ ในภายหลังอีกเลย นอกจากกรุวัดพระบรมธาตุ ซึ่งได้แตกกรุออกมาเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2392 เท่านั้นเอง 
            5.   พระซุ้มกอ เนื้อชิน พระซุ้มกอชนิดเนื้อชินดังกล่าวนี้ นับเป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่หายากกว่าชนิดเนื้อผงเสียอีก ความแตกต่างของพระซุ้มกอชนิดเนื้อชินเงินนี้ ยังแยกพิมพ์ออกได้เป็น 3 ขนาดดังนี้ 
                   พิมพ์ใหญ่ ความงามจะลึกคมพอ ๆ กับพระซุ้มกอชนิดเนื้อผงทีเดียว ทั้งนี้แม้แต่ขนาดก็จะเท่ากันด้วย แต่ด้านหลังแทนที่จะเป็นลายกาบหมาก กลับเป็นลายผ้าเหมือนพระเนื้อชินทั่ว ๆ ไป 
                   พิมพ์กลาง ดูกันในด้านความงามแล้ว พระซุ้มกอชนิดเนื้อชินพิมพ์นี้ จะงามกว่าชนิดเนื้อผงพิมพ์กลางมาก แต่ความตื้นและขนาดยังคงเท่ากัน ส่วนด้านหลังจะเป็นลายผ้าและต้นปาดราบก็มี 
                   พิมพ์เล็ก ในด้านความงามสำหรับพิมพ์นี้จะดีกว่าชนิดเนื้อผง แต่ขนาดจะเท่ากัน นอกจากนั้นทุก ๆ อย่างของพระซุ้มกอชนิดเนื้อชินพิมพ์เล็กนี้ จะมีเหมือนกับพระซุ้มกอเนื้อชินพิมพ์กลางทุกอย่าง
 
 
เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี
            จากความยิ่งใหญ่ของพระกำแพงซุ้มกอนี้เอง บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมพระเครื่องพิมพ์นี้ จึงไดรับเกียรติยกย่องให้อยู่ในอันดับ  เหนือกว่าพระทุ่งเศรษฐีที่ขึ้นจากเมืองกำแพงเพชรทั้งปวง แม้กระทั่งผู้เขียนเองก็ยังถึงกับขนานนามว่า พระซุ้มกอ พิมพ์นี้ว่า เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี ที่เป็นเช่นนี้มิใช่ว่า พระซุ้มกอ จะเป็นพระเครื่องที่งามเพียบพร้อมทั้งพิมพ์และเนื้อก็หาไม่ แต่พระพุทธคุณของพระซุ้มกอนี่ซิ คือหัวใจของความยิงใหญ่ที่ทำให้พระเครื่องพิมพ์นี้ ได้เป็นพระยอดนิยมอันดับ 1 อยู่ในอาณาจักรพระเครื่องมาจนปัจจุบันนี้
            พระซุ้มกอ หรือเจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐีเป็นยอดพระเครื่องอันดับนำของจังหวัดกำแพงเพชรที่ใครได้ไว้บูชาติดตัวแล้ว นับว่าเป็นสิริมงคลให้กับตัวเอง เพชรนพเก้า ทองคำมากมาย แก้วแหวนเงินทองค่าล้นปานใดก็ตาม บางครั้งก็หาเปรียบได้กับ พระซุ้มกอ ซึ่งสูงทั้งค่าและมีประสิทธิภาพซึ่งมนุษย์ไม่อาจเนรมิตได้ การมีชีวิตเพื่ออยู่ของท่านและสร้างแต่กรรมดีแล้ว หมั่นระลึกถึงบาปบุญคุณโทษใส่ใจในทั้งสามโลก แล้วพระซุ้มกอ ย่อมคุ้มครองท่านได้เสมอ และสิ่งที่น่าอิจฉาสำหรับผู้มีพระพิมพ์นี้ยิ่งขึ้นก็คือ ท่านจะอยู่อย่างคนมีโชคตลอดเวลาทีเดียว  

คำสำคัญ : พระเครื่อง, พระซุ้มกอ

ที่มา : http://www.dopratae.com/บทความ/เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี/117/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). เจ้าพ่อแห่งลานทุ่งเศรษฐี. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1153&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1153&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุวัดหนองพิกุล พบจากกรุวัดหนองพิกุล หรือ เรียกกันสั้นๆ ว่าวัดพิกุล ซึ่งเป็นวัดร้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี พระที่พบจากกรุนี้เช่น พระกำแพงซุ้มกอ พระเม็ดขนุน พระว่านหน้าทอง และพระอื่นๆเนื้อนุ่มจัด และมีพุทธศิลป์ที่งดงามอ่อนช้อย สมส่วน พระเครื่องกรุวัดพิกุลนี้ได้ถูกเปิดภายหลังจากกรุวัดพระบรมธาตุเพียงไม่กี่ปี มีพระพิมพ์ต่างเกือบทุกแบบเช่นเดียวกับที่พบในกรุวัดพระบรมธาตุ ลักษณะของพระซุ้มกอจากกรุวัดพิกุลนี้ จะเห็นว่ามีความแตกต่างจากพระกำแพงซุ้มกอ กรุฤาษีที่เคยนำมาให้ศึกษากันอยู่บ้าง กล่าวคือ พระพักตร์เรียวงาม ไม่ต้อป้อมเหมือนกรุฤาษี พระเศียรจะตั้งตรง (กรุฤาษีเอียงขวาเล็กน้อย) บัวที่อาสนะทั้ง 5 กลีบ กลีบบัวจะมนโค้ง ไม่มีลักษณเป็นเหลี่ยมและลายในกลีบบัวจะไม่ลึกเหมือนกรุฤาษี ความคมชัดของพิมพ์ไม่ชัดเท่ากรุฤาษี ซอกพระพาหาตื้นกว่าของกรุฤาษี และหากพิจารณาอย่างพิเคราะห์จะเห็นว่าเนื้อพระจะหนึกแน่นกว่ากรุฤาษี

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 32,218

กรุวัดพระสิงห์

กรุวัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์ เป็นวัดขนาดย่อมยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา กำแพงเป็นศิลาแลงโดยรอบ ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ 4 ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง 11 เมตรสี่เหลี่ยม มีเจดีย์ราย 4 มุม ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 42 เมตร ด้านทิศใต้มีฐานวิหารใหญ่ 1 วิหาร และขนาดย่อมอีก 1 วิหาร ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อ เป็นบ่อกรุ ด้วยศิลาแลง ที่ตั้งกรุพระวัดสิงห์ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางเสน่ห์จันทร์ พระอู่ทองกำแพง พระนางพญากำแพง และพิมพ์อื่นๆ 

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,498

กรุหนองพิกุล

กรุหนองพิกุล

ที่ตั้งกรุพระวัดหนองพิกุล อยุู่ตรงข้ามของท่ารถ บขส. ไปประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก-พิมพ์จิ๋ว พระซุ้มกอดำไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนพิมพ์ใหญ่-กลาง พระพลูจีบ พระฝักดาบ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์ใหญ่ พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์กลาง พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระลีลาเชยคางข้างเม็ดพิมพ์เล็ก พระกำแพงขาวพิมพ์ใหญ่-กลาง-เล็ก พระเปิดโลกเม็ดทองหลาง พระกำแพงหย่อง พระเปิดโลกพิมพ์ใหญ่ พระท่ามะปราง พระซุ้มยอ พระเม็ดมะลื่น พระเล็บมือนาง พระใบพุทรา พระนางพญากำแพงท้องลอน พระนางพญากำแพงพิมพ์ตื้น พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์เม็ดแตง พระนางพญากำแพงตราตาราง พระนาคปรก พระกลีบบัว พระเจ่้าสามพระองค์ พระเจ้าสี่พระองค์ พิืมพ์เชตุพน พระร่วงนั่งสนิมตีนดา พระเชตุพนพิมพ์ปีกกว้าง พระเชตุพน พิมพ์เล็ก พระงบน้ำอ้อยสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 2,287

พระกำแพงเม็ดมะลื่น

พระกำแพงเม็ดมะลื่น

ยอดพระกรุแห่งลานทุ่งเศรษฐีพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้ ได้มีการสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของเจ้าพระยาลิไทพระบรมกษัตริย์ในลำดับที่5แห่งราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนามาก พระองค์จึงได้ทรงทำนุบำรุงและทรงสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องมากแบบมากพิมพ์ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาหาความรู้ว่า ครั้งหนึ่งในสมัยของพระองค์นั้นพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากดังปรากฏ เป็นอนุสรณ์ ณ ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร และที่อื่นๆ อีกมากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 4,344

เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ

เนื้อที่จัดสร้างพระฯกรุ

พระเครื่องเนื้อดิน พระเครื่องฝังตัวเมืองกำแพงเพชรจะสร้างด้วยเนื้อดินผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณทรายละเอียดและแร่ พระเครื่องเนื้อดินฝัั่งนครชุม (ทุงเศรษฐี) จะสร้างด้วยเนื้อดินละเอียดผสมว่าน เกสรว่าน เมล็ดว่าน ผงใบลานเผา ผงพุทธคุณ แต่บางกรุผสมทรายละเอียดด้วยก็มี พระเครื่องโลหะวัสดุการสร้างจะแบ่งออกได้ดังนี้ กล่าวคือ 1. ทองคำ 2. เงิน 3. ดีบุก 4. ทองแดง 5. ตะกั่ว 6. ทองเหลือง 7. แร่ เนื้อพระเครื่องโลหะโบราณ ทั้งฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งทุ่งเศรษฐี การสร้างพระเครื่องโลหะในจำนวน 100 ส่วน จำนวนพระเครื่องจะมี 99 ส่วน สร้างด้วยเนื้อเงินผสมด้วยดีบุกและตะกั่ว เป็นผิว ปรอทเรียกว่าพระชินเงิน 0.2 ส่วนสร้างด้วยเนื้อทองคำผสมดีบุก และทองแดงหรือทองเหลืองเรียกว่าพระเนืื้อสำริด 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อเงินด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าเงิน และอีก 0.4 ส่วนสร้างด้วยแผ่นเนื้อทองคำด้านหลังเป็นเนื้อว่าน เรียกว่าพระว่านหน้าทอง พระชนิดนี้กรุส่วนมากจะมีบางกรุจะมีเพียงคู่เดียวถือเป็นพระประธานของกรุเนื้อว่าน ซึ่งนำมาจากต้นว่านเนื้อจะแกร่งเห็นว่าผุแต่ไม่ยุ่ย

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 3,918

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 12,561

กรุวัดเชิงหวาย

กรุวัดเชิงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,892

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,183

กรุนาตาคำ

กรุนาตาคำ

ที่ตั้งกรุพระวัดนาตาคำ อยู่ทิศใต้ของป้อมบ้านเศรษฐี ประมาณ 800 เมตร ปัจจุบันถูกขุดเป็นบ่อปลา ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอพิมพ์กลาง พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ พระลีลากำแพง พระกลีบบัว พระซุ้มกอพิมพ์เล็ก พระกลีบจำปาเนื้อเหลือง พระเปิดโลก พระมารวิชัย และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 7,509

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระลูกแป้งเดี่ยว

พระนางกำแพงลูกแป้ง เป็นพระเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นพระอีกพิมพ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในบรรดาพระเครื่องของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระในตระกูลพระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็กนั่นเอง พุทธลักษณะเป็นพระปางมารวิชัย ประทับนั่งสมาธิราบบนฐานหนึ่งชั้นและมีเส้นกรอบเป็นเส้นซุ้มรอบรูปสามเหลี่ยม และไม่มีการตัดขอบซึ่งจะต้องมีเส้นซุ้มรอบแบบนี้ทุกองค์ พบขึ้นจากกรุทั้งฝั่งนครชุมและลานทุ่งเศรษฐี ตลอดจนบริเวณที่ใกล้เคียง เช่นที่กรุวัดพิกุล กรุวัดอาวาสน้อย กรุวัดป่ามืด กรุวัดพระบรมธาตุ และกรุวัดพระแก้ว เป็นต้น พระนางกำแพงลูกแป้ง มีหลายพิมพ์ตามจำนวนองค์พระที่ปรากฎรวมกันอยู่ เช่น พระนางกำแพงลูกแป้งเดี่ยว พระนางกำแพงลูกแป้งคู่ พระนางกำแพงลูกแป้งสาม พระนางกำแพงลูกแป้งห้า เป็นต้น ส่วนทางด้านพุทธคุณนั้น เป็นที่ยอมรับการมาอย่างช้านานด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภ

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 9,195