พระยอดขุนพล

พระยอดขุนพล

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 24,240

[16.4746251, 99.5079925, พระยอดขุนพล]

         พระยอดขุนพล กรุเก่าวัดพระบรมธาตุ เมืองกำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระปางมารวิชัย พุทธลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูป "ทรงเทริด" ของเมืองลพบุรี (เทริด [อ่านว่า "เซิด"] หมายถึง เครื่องประดับศีรษะ รูปมงกุฎอย่างเตี้ย มีกรอบหน้า) องค์พระประดิษฐานอยู่บนฐานในซุ้มทรงห้าเหลี่ยม คล้ายกับรูปทรง ใบเสมา เซียนพระสมัยก่อนจึงเรียกว่า "พระเสมาตัด" มาในระยะหลังคนรุ่นใหม่เห็นว่า คำว่า "ตัด" ฟังแล้วไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก จึงตัดคำนี้ออกไป เหลือเพียง พระยอดขุนพล กำแพงเพชร ก็เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่ว (เช่นเดียวกับ พระขุนแผน พิมพ์ใบไม้ร่วง กรุวัดบ้านกร่าง จ.สุพรรณบุรี ที่เซียนพระรุ่นเก่าเรียกกันมานานปี ต่อมาเมื่อ 10 ปีก่อนหน้านี้  เซียนพระชาวสุพรรณพร้อมใจกันเปลี่ยนชื่อเรียกพระพิมพ์นี้เสียใหม่ว่า พระขุนแผน พิมพ์ซุ้มเรือนแก้ว ฟังดูแล้วไพเราะกว่า ใบไม้ร่วง ที่ไม่ค่อยจะเป็นสิริมงคลนัก ทำให้พระพิมพ์นี้มีราคาพุ่งขึ้นทันที) พระยอดขุนพล กำแพงเพชร องค์นี้เป็นพระเก่าเก็บ สภาพเดิมๆ ทุกอย่าง ผิวพระไม่ได้ผ่านการใช้มาก่อนเลย  ผิวพระมีปรอทคลุมทั่วองค์พระ และมีคราบกรุติดอยู่โดยทั่วไป ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ทำให้องค์พระมีเสน่ห์น่าชวนชม สวยงามสมบูรณ์ทุกซอกมุม แม้ว่าธรรมชาติของพระพิมพ์นี้จะเป็นพระพิมพ์ตื้น แต่เฉพาะองค์นี้มีความคมชัดมาก และหากพิจารณาให้ละเอียดจริงๆ จะเห็นว่า พระพักตร์เหมือนกับใบหน้าของคนจริงๆ (ใบหน้าของคนขณะหลับตา) ความสวยคมชัดของพระองค์นี้ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ได้คว้ารางวัลชนะเลิศมาแล้วหลายสิบงาน จนทำให้มีภาพปรากฏอยู่ในหนังสือรวมภาพพระยอดนิยม ยุคแรกๆ ที่มีการจัดพิมพ์กันขึ้นมา...ขอแสดงความยินดีด้วยกับ คุณหมอพัฒนพงศ์ ที่มีพระสวยระดับแชมป์อยู่ในครอบครองอีกองค์หนึ่ง พระยอดขุนพล เป็นพระศิลปลพบุรี เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นแม่ทัพนายกอง ผู้บริหารองค์กรใหญ่ๆ ควรจะหาไว้ใช้ติดตัว เป็นการเสริมสร้างบารมี อำนาจ ให้เป็นที่เคารพรักนับถือและเกรงขามของผู้ใต้บังคับบัญชา ขณะเดียวกัน ผู้ใช้พระพิมพ์นี้ก็ต้องมี "ความเมตตา" แก่ผู้น้อยด้วย ถึงจะได้อยู่ด้วยกันอย่างสันติสุขนานๆ
         อ.ประชุม กาญจนวัฒน์ นักพระเครื่องอาวุโสผู้ล่วงลับไปแล้ว ได้เขียนถึง พระยอดขุนพล ว่าเป็นพระที่น่าใช้มาก มี 3 เมืองใหญ่ๆ ที่สร้างพระพิมพ์นี้ คือ ลพบุรี ที่ท่านเรียกว่า พระยอดขุนพล เมืองละโว้ /กำแพงเพชร ที่เรียกว่า พระยอดขุนพล ชากังราว และ กรุงศรีอยุธยา ที่เรียกว่า พระยอดขุนพล อโยธยา แต่ไม่ว่าจะเป็น พระยอดขุนพล ของเมืองไหนก็ตาม ทุกวันนี้หาพระองค์แท้ๆ ได้ยากนัก ผู้สนใจจึงต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะ ของปลอม มีมากเหลือเกิน คือ มากกว่า ของแท้ เสียอีกพูดถึง เมืองกำแพงเพชร สุดยอดของพระเมืองนี้ต้องยกให้ พระซุ้มกอ ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็น 1 ใน 5 ของ พระชุดเบญจภาคี ที่เช่าหากันองค์หนึ่งหลายแสนบาท ไปจนถึงหลักล้านก็มี ตามสภาพความสวยงามคมชัด อย่างองค์ที่เป็นภาพประกอบหัวคอลัมน์ "คมเลนส์ส่องพระ" ที่เห็นข้างบนนี้ ฝ่ายศิลป์ทำให้ภาพเบลอๆ ความจริงแล้วภาพเดิมสวยคมชัดมาก องค์นี้แหละที่เรียกว่า พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ องค์เจ้าเงาะ องค์ดั้งเดิมของ อ.เชียร ธีรศานต์ ซึ่งมีประวัติความเป็นมาอันน่าสนใจมาก ต่อมาได้เปลี่ยนมือไปโน่นไปนี่หลายแห่งหน จนในที่สุด มร.ไลน์ ก็อด วิน เศรษฐีจากเกาะฮ่องกง ก็มานิมนต์ท่านไปอยู่ที่โน่น ด้วยราคานับสิบล้านบาท ทุกวันนี้ยังหา พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ องค์อื่นใดมาเทียบความสวยคมชัดได้ยากยิ่ง ทิ้งไว้เป็นความทรงจำของคนในวงการพระเครื่องเมืองไทย จนทุกวันนี้พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก องค์ในภาพนี้เป็นพระของ พิทักษ์ ชำนาญวินิจฉัย นักธุรกิจหนุ่มผู้สนใจพระสวย ที่มีพุทธคุณทางเมตตามหานิยม และโชคลาภ จึงนิมนต์ พระซุ้มกอ องค์นี้ไปขึ้นคอด้วยความสุขสมหวังทุกประการ พระซุ้มกอ เป็นพระเนื้อดินเผา เนื้อหามวลสารละเอียดมาก มีว่านดอกมะขามเป็นจุดแดงเล็กๆ ปรากฏทั่วองค์พระ เป็นพระปางสมาธิ มีทั้งสมาธิราบ และสมาธิเพชร ศิลปะเชียงแสนผสมกับสุโขทัย คือ องค์พระอวบอ้วน พระอุระผึ่งผาย นูนเด่นเป็นสง่า งดงามมาก เหมือนกับพระสมัยเชียงแสน พระนาภีเรียว การทิ้งพระพาหา และขัดสมาธิงดงามแบบสุโขทัย มีประภามณฑลรอบพระเศียรคล้ายรูปตัว ก ไก่ จึงมีการเรียกพระพิมพ์นี้ว่า พระซุ้มกอ มีหลายพิมพ์ อาทิ พิมพ์ใหญ่ มีกนก พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก (ส่วนมากเป็นพระซุ้มกอดำ) พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์ขนมเปี๊ยะ (มีปีกกว้าง) และพระซุ้มกอ พิมพ์พัดใบลาน พระซุ้มกอ และ พระเมืองกำแพงเพชร อื่นๆ เป็นที่รู้จักกันครั้งแรกในสมัย พระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ 5 โดยมีบันทึกในพระราชนิพนธ์เรื่อง เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร ว่ามีผู้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนาน พระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง ซึ่งขุดได้จากเจดีย์ต่างๆ ในวัดพระบรมธาตุ บริเวณทุ่งเศรษฐี นครชุม พร้อมกับพระเครื่องจำนวนหนึ่ง นับเป็นการพบกรุพระเป็นครั้งแรก จนเป็นที่เลื่องลือในเวลาต่อมา และเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสกันมากในสมัยนั้น เพราะเชื่อกันว่า พระกรุนี้มีอานุภาพยอดเยี่ยมมาก ผู้ใดมีไว้จะประสบพบกับความสำเร็จสมหวังตามความปรารถนาทุกประการ 

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=164&code_db=DB0003&code_type=P004

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระยอดขุนพล. สืบค้น 23 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=201&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=201&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์กลาง

พระซุ้มกอ พิมพ์กลางขึ้นมาจากหลายกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐี แม้ว่าแต่ละกรกุจะมีรายละเอียดทางพิมพ์ที่แตกต่างกันออกไปบ้างแต่หลักการพิจารณาก็คล้ายๆกันกับการพิจารณาพระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ คือ จำเป็นจะต้องพิจารณาลักษณะโดยรวม เนื้อหา และธรรมชาติ เนื่องจากแต่และกรุมีรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆที่แตกต่างกันออกไป จะยึดถือจุดสังเกตตรงนั้นตรงนี้เป็นจุดตายตัวย่อมจะไม่น่าจะถูกต้องนัก ต้องสังเกตลักษณะโดยรวม ลักษณะโดยรวมที่ว่านี้หมายถึงลักษณะของฝีมือช่าง ซึ่งประกอบด้วยลักษณะองค์พระ ลายกนก ลวดลายโพธิ์บัลลังค์ เป็นต้น พุทธศิลปะจะต้องเป็นไปในแนวทางเดียวกัน ส่วนทางเนื้อหานั้นเช่นเดียวกันกับการพิจารณาพระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ และพระกำแพงชั้นสูงทั่วไป กล่าวคือต้องมีลักษณะนุ่ม ละเอียด มีจุดแดงเล็ก ๆ ในเนื้อเป็นบางแห่ง คราบรารักที่จะมีบ้างไม่มากก็น้อยขึ้นกับสภาพของกรุ ที่สำคัญที่สุดต้องพิจารณาธรรมชาติให้ดี การยุบตัวด้านหลังที่เป็นคลื่น ไม่ราบเรียบตึง เพราะการเซทตัวของเนื้อพระ ด้านขอบข้างจะเห็นว่ามีการตัดด้วยวัตถุบางอย่างทุกองค์

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 37,488

กรุสี่อิริยาบถ

กรุสี่อิริยาบถ

ที่ตั้งกรุพระวัดสี่อิริยาบถ อยู่เหนือกรุวัดป่ามือประมาณ 400 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระท่ามะปราง พระคู่สวดอุปฌา พระกำแพงขาโต๊ะ พระเปิดโลก พระอู่ทอง ฐานสำเภา พระเทริดขนนก พระโพธิบัลลังก์ พระกำแพงห้าร้อย พระนางพญาแขนอ่อนฐานบัว พระลีลากำแพง พระประทานพร พระอู่ทอง ฐานสูง พระนาคปรก พระกลีบบัว และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,813

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตา “สี่ทิศ”

พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ

เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 10,097

สมเด็จพบกรุพระ

สมเด็จพบกรุพระ

ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,764

กรุอาวาสใหญ่

กรุอาวาสใหญ่

ที่ตั้งกระพระวัดอาวาสใหญ่ อยู่ริมถนนกำแพงพรานกระต่ายติดกับบ่อสามแสน ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระฝักดาบ พระลีลากำแพง พระซุ้มเสมา พระคู่สวดอุปฌานอกเสมา พระโพธิ์บัลลังก์ พระฤาษีสนิมตีนกา พระท่ามะปราง พระลีลาพิมพ์ตะกวน พระซุ้มเรือนแก้ว พระคู่สวดอุปฌาในเสา พระมารวิชัยสนิมตีนกา และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,325

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

“พระซุ้มกอ” กำแพงเพชร มีอีกชื่อว่า “พระฤๅษี” สุดยอดหนึ่งในชุดเบญจภาคี

ย้อนกลับไปในสมัยสุโขทัย ราวปี พ.ศ. 1800 พญาเลอไทยได้บูรณะเมืองชากังราวและยกฐานะขึ้นเป็นเมืองลูกหลวงเช่นเดียวกับเมืองศรีสัชนาลัย และโปรดเกล้าฯ ให้พระราชโอรสพระองค์หนึ่งมาครองเมือง ครั้นเมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของอาณาจักรทางใต้ ล่วงมาถึงรัชสมัยของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) พระองค์ยกทัพมาตีสุโขทัย ผลของสงครามทำให้สุโขทัยถูกแบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำปิงส่วนหนึ่ง และดินแดนทางริมฝั่งแม่น้ำยมและแม่น้ำน่านอีกส่วนหนึ่ง ทางด้านแม่น้ำปิงได้รวมเมืองชากังราว และเมืองนครชุมเข้าเป็นเมืองเดียวกัน แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “เมืองกำแพงเพชร” ยกฐานะขึ้นเป็นเมืองราชธานีปกครองดินแดนทางลุ่มแม่น้ำปิงในย่านนี้ ส่วนทางลุ่มแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ให้เมืองพิษณุโลกเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯ ให้พญาไสลือไทย หรือพระมหาธรรมราชาที่ 2 เป็นเจ้าเมือง ล่วงมาถึงรัชสมัยพระบรมราชาธิราชที่ 2 หรือเจ้าสามพระยา การแบ่งเขตการปกครองออกเป็นสองส่วนดังกล่าว มีเรื่องไม่สงบเกิดขึ้นเสมอ ดังนั้น จึงรวมเขตการปกครองทั้งสองเข้าด้วยกัน โดยยุบเมืองกำแพงเพชรจากฐานะเดิมแล้วให้ทุกเมืองขึ้นต่อเมืองพิษณุโลกเพียงแห่งเดียว

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 3,172

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,098

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง กรุผู้ใหญ่เชื้อ จังหวัดกำแพงเพชรพระลีลากรุผู้ใหญ่เชื้อ องค์นี้สภาพสวยคมชัดลึก ดินกรุยังติดอยู่พอมองเห็นเนื้อพระ พระเนื้อแกร่งแห้ง พระกรุนี้เนื้อจะหยาบ ราคาจึงถูกทั้งที่แตกกรุในเขตนครชุมเหมือนกับพระกรุอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,130

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 16,830

กรุวัดดงหวาย

กรุวัดดงหวาย

ที่ตั้งกรุพระวัดดงหวาย ดูริมถนนกำแพงพรานกระต่าย จากศาลเจ้าพ่อหลักเมืองไปประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระเปิดโลก พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระนางพญากำแพงพิมพ์กลาง พระนางพญากำแพงเพชรพิมพ์เล็ก พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่-เล็ก พระเชตุพนบัวสองชั้น พระนางพญากำแพงเศียรโตพิมพ์ใหญ่ พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,031