พระร่วงเปิดโลก

พระร่วงเปิดโลก

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 22,687

[16.4746251, 99.5079925, พระร่วงเปิดโลก]

       พระร่วงเปิดโลก เม็ดทองหลาง ยืนตอ สีดำ กรุพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรวันนี้ผมอยากจะพูดถึง พระร่วงเปิดโลก จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระที่สร้างและเปิดกรุได้จากกรุต่างๆ ในลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ควบคู่กับพระซุ้มกอและพระลีลาเม็ดขนุน ซึ่งทั้งสององคืนั้นถือเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคียอดนิยม พระร่วงเปิดโลกมีพุทธลักษณะทั่วไปมี 3 แบบคือ แบบฐานยื่นหรือที่เรียกว่า “พระร่วงยืนตอ” แบบประดิษฐานรอยพระบาท คือยืนที่ปลายเท้าหรือที่เรียกว่า “พระร่วงทิ้งดิ่ง” หรือแบบท่ายืนแบบทหาร เรียกว่า “พระร่วงยืนตรง” มีทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล้ก หรือขนาดพิมพ์จิ๋ว มีปรากฎอยู่เกือบทุกกรุในกำแพงเพชร พุทธคุณดีทางอำนาจบารมี เมตตามหานิยม และโภคทรัพย์สมบูรณ์พูนสุข
       องค์พระเป็นการปั้นเป็นทรงกลงยาวและกดลงในแม่พิมพ์ และไม่มีการตัดขอบ ความสวยสง่างามขององค์พระจึงอยู่ที่การบรรจงแต่งทรงพระและการกดลงบนแม่พิมพ์ให้ได้ตรงและเรียบร้อยที่สุดซึ่งส่วนมากจะไม่ค่อยตรงเท่าที่ต้องการพิมพ์หลังจะเรียบมีรอยกดที่ฐานเป็นรอยกระดกเพื่อถอดพิมพ์องค์พระสีดำและเป็นมันวาวจะมีคราบแป้งแคลเซียมในอากาศจับอยู่เพียงเล็กน้อย

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=&pages=3&code_db=DB0003&code_type=

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระร่วงเปิดโลก. สืบค้น 28 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=199&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=199&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร

พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ. 2449 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ. 1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่น่าเชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอกำแพงเพชรนั้น สร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะทรงได้รับการสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัยและปลุกเสกโดยพระฤๅษี ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอกำแพงเพชรจนถึงปัจจุบันจึงมีประมาณ 700-800 ปี สถานที่ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จ.กำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า “ลานทุ่งเศรษฐี” หรือโบราณเรียกว่า “เมืองนครชุมเก่า” บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฏซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 8,398

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

พระนางกำแพงขาโต๊ะ

เมืองกำแพงเพชร เป็นเมืองกว้างใหญ่ มีสถาปัตยกรรมแบบต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมทั้งวัดเก่าแก่แต่โบราณกาลซึ่งมีมากถึง 20 วัด โดยสมัยก่อนนิยมสร้างวัดไว้ภายในตัวเมืองส่วนหนึ่ง และอีกส่วนหนึ่งสร้างไว้นอกเมือง ด้วยเหตุนี้เมืองกำแพงเพชร จึงมีพระกรุพระเก่าที่ขุดพบทั้งจากวัดในตัวเมือง และวัดนอกเมือง มากมายหลายกรุหลายวัดด้วยกัน ล้วนมีชื่อเสียงโด่งดังในวงการพระเครื่อง และที่ได้รับการยกย่องให้เป็นหนึ่งในพระชุดเบญจภาคียอดนิยม คือ พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อดินเผา เป็นพระกรุที่ขุดพบบริเวณทุ่งเศรษฐี ภายในตัวเมืองกำแพงเพชรนอกจากนี้ยังมีการขุดพบพระเครื่องพิมพ์ต่างๆ อีกจำนวนมาก โดยได้จากวัดทั้งหลายที่อยู่ภายในเมืองกำแพงเพชร พระเครื่องที่ขุดพบนี้มีหลายพิมพ์ มีทั้งขนาดเล็ก ขนาดปานกลาง และขนาดใหญ่

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 8,358

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน

วิีธีการศึกษาพระเนื้อดิน โดยเฉพาะพระซุ้มกอ ก่อนอื่นท่านต้องทำความเข้าใจก่อนว่าพระเนื้อดินนั้นปลอมง่าย เพราะมวลสารทำจากดินหาได้ง่ายๆ ทั่วๆ ไป ท่านจะเอาดินแบบไหนก็แสวงหาได้ง่าย การทำปลอมก็ทำง่าย จะทำคนเดียว/ทำเป็นกลุ่ม/ทำกันสองสามคน/ทำเป็นทีม เหล่านี้ทำได้ทั้งนั้น ทำสองสามคนจะดีเพราะช่วยถอดแบบเเกะแม่พิมพ์ได้ ดังนั้นพระเนื้อดินจึงปลอมได้ง่ายสุดๆและดินก็มีหลากหลายชนิด มันอยู่บนโลกใบนี้นับล้านๆปีมาแล้ว ผู้แสวงหาก็ปลอมได้แนบเนียน และดูเก่าจริง การเล่นพระเนื้อดินผู้เขียนว่าการเผานั้นไม่น่าจะเรียกกันน่าจะเรียกว่าการสุ่มไฟมากกว่า เพราะพระองค์เล็กๆไม่ใช่ตุ่มน้ำ/จานชามที่จะมาสร้างเตาไฟกัน พระหลักหมื่นหลักแสนก็กองนิดเดียว ไม่ใช่กองโตเลย สุ่มไฟก็เพื่อให้พระคงทนไม่แตกหักง่ายๆ 

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 46,820

กรุวัดพระสิงห์

กรุวัดพระสิงห์

วัดพระสิงห์ เป็นวัดขนาดย่อมยังไม่ได้ขุดแต่งและบูรณะ สันนิษฐานว่าใช้เวลาสร้างถึง 2 สมัย คือ สมัยสุโขทัยและสมัยอยุธยา กำแพงเป็นศิลาแลงโดยรอบ ภายในเป็นฐานเจดีย์มีซุ้มพระ 4 ทิศ ฐานเจดีย์กว้าง 11 เมตรสี่เหลี่ยม มีเจดีย์ราย 4 มุม ด้านหน้าเจดีย์ใหญ่มีฐานโบสถ์กว้าง 15 เมตร ยาว 30 เมตร ตั้งอยู่บนฐานอีกชั้นหนึ่งซึ่งกว้าง 23 เมตร ยาว 42 เมตร ด้านทิศใต้มีฐานวิหารใหญ่ 1 วิหาร และขนาดย่อมอีก 1 วิหาร ภายในวัดมีบ่อน้ำ 2 บ่อ เป็นบ่อกรุ ด้วยศิลาแลง ที่ตั้งกรุพระวัดสิงห์ อยู่ทิศเหนือของกรุพระวัดป่ามืดประมาณ 500 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางเสน่ห์จันทร์ พระอู่ทองกำแพง พระนางพญากำแพง และพิมพ์อื่นๆ 

เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 3,112

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินและว่าน

สีของพระเครื่องเนื้อดินฝังตัวเมืองกำแพงเพชร และฝั่งนครชุมมีหลายสีด้วยกัน พระเครื่องเนื้อดินที่ปรากฏเป็นสีต่างๆ คือมาจากส่วนผสมของวัสดุและสาเหตุต่างๆ ดังนี้ 1. ดินที่ถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แหล่งต่างๆ สีและเนื้อดินจะไม่เหมือนกัน 2. เกสรว่าน ดอกว่าน เมล็ดว่าน ใบว่านและต้นว่าน วิธีการของการเก็บว่านมาใช้ ฤดูของต้นว่านดินที่มีเกสรก็เก็บเอาเกสรเมื่อไม่มีเกสรก็จะเก็บเอาดอก เมื่อไม่มีดอกก็จะเก็บเอาเมล็ด เมื่อไม่มีเมล็ดก็จะเก็บเอาใบ และเมื่อไม่มีใบก็ใช้ต้นว่าน 3. ผงใบลานเผาของพระคัมภีร์ที่ใช้การไม่ได้เผาแล้วจะเป็นผงสีดำ 4. น้ำท่ี่ศักดิสิทธิ์นำมาผสมสีทำให้เป็นสีต่างๆ  5. จากผงพระพุทธคุณจะเป็นผงสีขาว 6. เมื่อทำพระต่างๆ เสร็จก็จะนำไปเผาไฟ ซึ่่งการเผาเมื่อแก่ไฟสีจะแดง เมื่ออ่อนไฟสีจะเหลืองแดง เมื่อเผาไม่สุกสีก็จะดำและดำเขียวหรือสีเทา 7. ท่าไม่เผาไฟก็จะเป็นเนื้อดินดิบ สีคงไปตามสีของดินและส่วนผสมของว่านโดยธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 14-08-2019 ผู้เช้าชม 21,859

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพงเม็ดมะลื่น วัดพระบรมธาตุ

พระนางกำแพง  หนึ่งในพระเครื่องเมืองกำแพงเพชร ที่เรียกได้ว่าไม่เป็นสองรองใครเช่นกัน และมีพุทธศิลปะที่แสดงถึงศิลปะสุโขทัยหมวดสกุลช่างกำแพงเพชรได้อย่างชัดเจนที่สุด ทั้งยังเป็นพระที่สร้างในสมัยเดียวกับพระกำแพงซุ้มกอ พระกำแพงเม็ดขนุน ฯลฯ ดังนั้น เนื้อหามวลสาร ความหนึกนุ่มซึ้งของเนื้อพระ รวมถึงด้านพุทธคุณในด้านเมตตามหานิยมและโชคลาภจึงเท่าเทียมกัน และเป็นที่นิยมและแสวงหาในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องเช่นเดียวกัน แต่ด้วยพระในตระกูลพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรนั้นก็มีปรากฏอยู่มากมายหลายพิมพ์และหลายกรุ โดยเฉพาะ “พระนางกำแพง” มีขึ้นแทบจะทุกกรุในบริเวณทุ่งเศรษฐีทำให้ค่านิยมและการแสวงหาจึงลดหลั่นกันลงไป

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 7,786

พระกรุกำแพงเพชร

พระกรุกำแพงเพชร

"การเรียนรู้พระกรุมีความสำคัญมาก เพราะปัจจุบันผิดเพี้ยนไปเกือบทั้งหมด ความถูกต้องแท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับคำพูดของใครคนใดคนหนึ่ง สิ่งที่สามารถบ่งบอกถึงความถูกต้องแท้จริงของพระกรุ ต้องมาจากธรรมชาติที่ปรากฏให้เห็นขององค์พระนั้นๆ" คำกล่าวของ "ชัยฤทธิ์ โสภณโภไคย" เจ้าของพิพิธภัณฑ์โสภณไคย ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ถือเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนที่รวบรวมพระกรุกำแพงเพชรไว้มากที่สุดแห่งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,883

วัดช้างกรุเก่า/กรุใหม่

วัดช้างกรุเก่า/กรุใหม่

ที่ตั้งกรุพระวัดช้าง อยู่ทิศตะวันออกของศาลหลักเมือง จากศาลหลักเมืองไป ถนนกำแพงพรานกระต่าย 150 เมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 200 เมตร วัดช้างกรุเก่า ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงลีลา พระกลีบบัวนาคปรก พระนางพญากำแพง พระซุ้มยอ พระกำแพงห้าร้อย พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพง พระซุ้มกระรอกกระแต และพิมพ์อื่นๆ ส่วนกรุใหม่ ประเภพพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอหน้ายักษ์มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอหน้าหนุ่มมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอแดง-ดำพิมพ์กลาง พระซุ้มกอหน้าแก่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอดำ-แดงไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนแดง 

เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 5,035

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอขนมเปี๊ยะ

พระซุ้มกอพิมพ์อื่นๆนอกจากพิมพ์ใหญ่ นั้นเดิมมีการแบ่งออกเป็น พิมพ์กลางและพิมพ์เล็ก และยังมีแยกย่อยแบบพิมพ์พิเศษ เช่น พิมพ์เล็กแบบยอดแหลม เรียกกันตามลักษณะขององค์ท่านว่าพิมพ์ พัดใบลาน ส่วนพิมพ์เล็กที่ไม่ตัดขอบก็เรียกกันว่าขนมเปี๊ยะ และดังที่ว่าไว้ว่า พระซุ้มกอนั้นขึ้นกันหลายกรุ ลักษณะในรายละเอียดมีผิดกันไปบ้าง แต่ก็ยังมีลักษณะรวมของท่าน ทั้งทางเนื้อและทางพิมพ์ทรง องค์ที่เห็นในภาพเป็นชินเงินระเบิด ด้านหลังเป็นแอ่ง ถ้าใช้จนสึกๆก็อาจมีการโต้แย้งกันว่าใช่ซุ้มกอแน่ละหรือ หากโชคดีที่ยังถือว่าสมบูรณ์ เนื้อหาสาระจัดจ้าน คนที่ผ่านพระกำแพงเนื้อชินกรุเก่าๆ นั้น ถือว่าพิจารณาง่ายพระซุ้มกอนี้ยังมีแบบเนื้อว่านล้วน และเนื้อแบบหน้าทอง

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 14,746

พระกำแพงกลีบจำปา

พระกำแพงกลีบจำปา

เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงพลูจีบไปแล้ว ทำให้นึกถึงพระกำแพงลีลาชั้นนำอีกองค์หนึ่ง ซึ่งปัจจุบันนี้เป็นพระเครื่องในระดับตำนานที่หาชมของแท้ได้ยากยิ่งนัก พระที่ว่านี คือกำแพงกลีบจำปา พระพิมพ์นี้เป็นปางลีลา ศิลปะสุโขทัยตามแบบฉบับของพระลีลาของกำแพงเพชรสกุลทุ่งเศรษฐี มีฐานรองรับด้วยบัวเล็บช้างสามกลีบ พุทธลักษณะใกล้เคียงกับพระกำแพงเม็ดขนุนมาก ที่ต่างกับพระกำแพงเม็ดขนุนและสามารถแยกแยะง่ายๆ ก็คือ พระกำแพงเม็ดขนุนฐานเรียบ ไม่มีลักษณะเป็นบัว พระกำแพงกลีบจำปาด้านหลังจะเป็นแบบปาดเรียบ ไม่ใช่อูมนูนขึ้นแบบพระกำแพงเม็ดขนุน และขอบข้างจะเป็นลักษณะแบบขอบตัดส่วนพระเม็ดขนุนไม่มีลักษณะที่ว่า หรือถ้าจะว่ากันสั้นๆ ก็คือ ถ้ามีลักษณะบางคือ กำแพงกลีบจำปา ถ้าอูมหนาก็คือกำแพงเม็ดขนุน มีหลักฐานว่าพระกำแพงกลีบจำปาพบครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ เมื่อ พ.ศ. 2392 พร้อม ๆ กับการพบพระกำแพงเม็ดขนุน แต่พบน้อยมาก ที่นักนิยมพระในยุคเก่าท่านพากันเรียกว่าพระกำแพงกลีบจำปาเพราะมีสัณฐานบาง เรียวแบน ปลายแหลมเรียวมน และมีสีเหลืองเข้มคล้ายดอกจำปา

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 15,067