ตำหนิพระซุ้มกอ

ตำหนิพระซุ้มกอ

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้ชม 26,457

[16.4821705, 99.5081905, ตำหนิพระซุ้มกอ]

ผ่าตำหนิ พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่
          ส่วนเมืองนครชุมมีปรากฏในศิลาจารึก ของ พระมหาธรรมราชาลิไทย มาก่อน พ.ศ. 1900 พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ ที่ฝักใฝ่ ในพุทธศาสนา ทรงทำนุบำรุงและสร้างสรรค์พุทธสถาน พระบูชา พระเครื่อง ไว้อย่างมากมาย จนตกทอดถึงปัจจุบัน พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร เริ่มเป็นที่รู้จักและนิยมกันขึ้นมา ในสมัยของพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ โดยมีบันทึกใน พระราชนิพนธ์เรื่องเสด็จประภาสเมืองกำแพงเพชร ปรากฏเรื่องราว ของเมืองกำแพงเพชร และพระเครื่องว่า
          ...นายชิด มหาเล็กหลวงบวรเดช เดิมรับราชการในกระทรวงมหาดไทย ลาป่วย ได้กลับมารักษาตัว ที่บ้านภรรยา เมืองกำแพงเพชร ได้ทูลเกล้าฯ ถวายตำนานพระกำแพงทุ่งเศรษฐี เป็นจารึกบนแผ่นลานทอง แด่รัชกาลที่ 5ขุด ได้จากบริเวณทุ่งเศรษฐี ว่า การพบกรุพระครั้งแรกที่วัดพระบรมธาตุ นครชุม จากเจดีย์ 3 องค์ ได้ถูกซ่อมขึ้นรวมเป็นองค์เดียวโดยชาวพม่า ชื่อพระยาตะก่า แล้วนำยอดฉัตร จากประเทศพม่ามาประดับยอดพระบรมธาตุ ได้บันทึกไว้ว่า หลังจากพบพระพิมพ์จาก เจดีย์ต่างๆ ในบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ได้พระพิมพ์ จำนวนมาก พระพิมพ์ เมืองกำแพงเพชร นี้นับถือกัน มาช้านานแล้วว่า มีอานุภาพมาก ผู้ใดมีไว้ จะทำการใด ก็มีความสำเร็จ ผลตามความปรารถนาทุกประการ ทั้งนี้นายชิดได้ทูลเกล้าฯ ถวายพระพิมพ์ทุ่งเศรษฐี หลายแบบ แด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 อีกด้วย ซึ่งท่านได้นำออก พระราชทาน แก่พระบรมวงศานุวงศ์ต่ออีกภายหลัง จนเป็นที่นิยม ในหมู่เจ้านายชั้นผู้ใหญ่สืบต่อมาอีกจนถึงปัจจุบัน ในบริเวณลานทุ่งเศรษฐีมีการพบพระกรุทุ่งเศรษฐีกันมากมายหลายพิมพ์ ที่นิยมมากเห็นจะหนีไม่พ้น พระกำแพงเขย่ง ซึ่งได้แก่พระกำแพงเม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา เป็นต้น และ ที่นิยมเป็นที่สุด เป็น 1 ในชุดเบญจภาคี ก็คือ พระกำแพงซุ้มกอ ซึ่งประกอบด้วย
          - พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก
          - พระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ไม่มีกนก (ซุ้มกอดำ)
          - พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง
          - พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก
          - พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปียะ (ไม่ตัดปีก)
          - พระซุ้มกอ พิมพ์เล็ก พัดใบลาน
          พระซุ้มกอ ที่นิยมมากสุด คือ พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มีกนก ซึ่งเริ่ม มีการพบจากบริเวณลานทุ่งเศรษฐี และบรมธาตุ นครชุม เป็นพระดินเผา ที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียดมาก มีว่านดอกมะขามปรากฏทั่วองค์พระ ความที่มีความละเอียดและเนื้อนิ่มมาก จึงให้พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ มักจะหักชำรุดเสียเป็นส่วนใหญ่ พระที่เหลือเป็นแบบที่สมบูรณ์ มีน้อยมากๆ ที่พบเห็นอยู่ในวงการจึงทำให้ความนิยม และ ราคาการเช่าหา พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ เทียบได้กับ พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่ เลยทีเดียว
           พุทธลักษณะพระกำแพงซุมกอ เป็นพระปางสมาธิ มีทั้งสมาธิราบ และสมาธิเพชร เป็นศิลปะเชียงแสนผสม กับสุโขทัย คือ องค์พระอวบอ้วน พระอุระผึ่งนูนดูเด่นสง่างามมาก แบบเชียงแสน พระนาภีเรียว การทิ้ง พระพาหา และขัดสมาธิงดงามแบบสุโขทัย มีประภามณฑลรอบพระเศียรคล้าย รูปตัว ก.ไก่ บางท่านว่า ซุ้มที่องค์พระเหมือนรูป ก.ไก่มาก จึงเรียกว่า พระซุ้มกอ   
           พระกำแพงซุ้มกอ แบบไม่มีลายกนก แบบนี้เป็นพระชนิด เนื้อสีดำและสีเขียว ส่วนสีแดงก็มีบ้าง พระกำแพงซุ้มกอสีแดงที่ไม่มีลายกนกนี้ พิมพ์ใหญ่มีน้อยมาก พระซุ้มกอดำ เป็นแบบที่มีประภามณฑล คล้ายรูปทรงของตัว ก. แบบอื่นๆ คือยังมีรูปทรง ตลอดจนประภามณฑ ลคล้ายพระพุทธรูป คันธารราฐมากที่สุดนั่นเอง
           พระกำแพงซุ้มกอ แบบที่มีลายกนก แบบนี้เข้าใจว่าจะพัฒนา มาจาก แบบแรก คือมีลายบัว ที่ฐาน และการเปล่งรังสี ออกจาก พระวรกาย โดยทำเป็น รูปลายกนก อย่างงดงาม โดยเฉพาะพิมพ์ใหญ่ ช่องพระพาหาลึก ทำให้พระอุระ และองค์พระ ซึ่งแลดูเด่นนูน อยู่แล้วดูสง่างามยิ่งขึ้น นอกจาก ชนิดพิมพ์ บางพิมพ์ เท่านั้นที่ช่องพระพาหาตื้น แบบนี้มีบางพิมพ์ ที่ทำเป็น สมาธิเพชร แต่ส่วนมากทำเป็นสมาธิราบทั้งนั้น
            พระกำแพงซุ้มกอ เป็นยอดทางเมตตามหานิยม โภคทรัพย์ โชคลาภ และความเป็น สิริมงคล บางท่านว่ามีพระซุ้มกอ แล้วไม่มีวันจน เมื่อมี ความนิยมสูง ของปลอมย่อมมีปรากฏมากมาย หลายรุ่น หลายแบบ มีทั้งแบบปลอมแบบหยาบๆ และ ปลอมแบบ เหมือนมาก แต่ก็ยังมีจุดที่ไม่เหมือนอยู่หลายจุด ซึ่งเกิดจาก แม่พิมพ์ของพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีความงดงามและซับซ้อนในรายละเอียดสูง
            หลักการพิจารณาพระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ มีกนก มีตำหนิสำคัญ ดังนี้
            1. ขอบแม่พิมพ์ด้านซ้ายขององค์พระ จะมีขนาดเล็กกว่าด้านขวาขององค์พระ
            2. ขอบกนกด้านข้างทางขวามือองค์พระเป็นขดวงกลม ๓ ขด
            3. ขอบกนกด้านบนขวามือองค์พระและซ้ายองค์พระจะเป็นเส้นโค้งงอนขึ้น และโค้งเข้าหากัน
            4. ขอบกนกด้านซ้ายมือขององค์พระเป็นรูปพญานาค หรือตัว “S” ในภาษาอังกฤษ
            5. ที่บริเวณกระจังหน้าบนเศียรพระมีรอยบุบของขอบกระจัง (มักเห็นในพระที่สมบูรณ์)
            6. หูทั้งสองข้างขององค์พระยาวจรดบ่า
            7. ซอกแขนทั้งสองข้างขององค์พระมีความลึกมาก
            8. เส้นอังสะ (ข้างเส้นสังฆาฏิ) จะตวัดซ้อนลึกเข้าไปในซอกรักแร้
            9. ประทับนั่งแบบมือขวาทับซ้าย ชัดเจน
            10. ฐานบัวเล็บช้างกลีบแรก (จากทางขวาขององค์พระ) โค้งจากด้านข้าง มาด้านหน้า
            นี่คือตำหนิในแม่พิมพ์พระแท้ของพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ที่สำคัญมาก และสามารถนำมาใช้เป็นจุดวิเคราะห์ พระแท้ พระปลอม ได้ จึงนำเสนอไว้เป็นข้อมูลสำหรับท่านผู้สนใจในพระพิมพ์นี้ ไว้ศึกษาเทียบเคียงกับพระที่ท่านมีโอกาสพบเจอในภายหน้าต่อไป

คำสำคัญ : พระเครื่อง

ที่มา : http://www.dopratae.com/บทความ/ตำหนิพระซุ้มกอ/82/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). ตำหนิพระซุ้มกอ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=1152&code_db=610005&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1152&code_db=610005&code_type=01

Google search

Mic

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

ประเภทของพระเครื่องกำแพงเพชร

 พระเครื่อง พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่มีกระหนก (กระหนกหมายถึงลวดลาย) พระกำแพงซุ้มกอพิมพ์ใหญ่ไม่มีกระหนก (ซุ้มกอดำ) และพระกำแพงลีลาเม็ดขนุน พระยอดนิยมของพระเครื่องจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องกำแพงเพชร มีมากมายหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันเช่น เรียกชื่อตามสถานที่ หรือกรุที่พระเครื่องบรรจุอยู่ เช่น กำแพงทุ่งเศรษฐีใช้เรียกชื่อพระเครื่องทุกชนิดที่ได้จากบริเวณเมืองเก่าฝั่งตะวันตกที่เรียกกันว่า “ทุ่งเศรษฐี”และวงการนักพระเครื่องทั่วไปเมื่อกล่าวถึงพระกำแพงเพชรหรือพระที่อื่นคล้ายพระกำแพงเพชร ก็เติมคำว่า“กำแพง”ลงข้างหน้า ชื่อพระนั้น ๆ เช่น เรียกพระลีลาศ(เดิน)ของจังหวัดกำแพงเพชรว่า“กำแพงเขย่ง”เรียกพระสุพรรณว่า“กำแพงเขย่งสุพรรณ”พระกำแพงเพชรที่มีลักษณะคล้ายกับพระอื่น ๆ ที่มีชื่อเสียงมาก่อนเรียกชื่อตามนั้น เช่น กำแพงท่ามะปราง  เรียกชื่อตามพุทธลักษณะอาการขององค์พระ เช่น กำแพงลีลาศ (หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“กำแพงเขย่ง”)เพราะดูอาการ เดินนั้นเหมือนเขย่งพระบาทข้างหนึ่ง) กำแพงประทานพร กำแพงนาคปรก เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,061

พระลีลา

พระลีลา

พระลีลาแห่งเมืองกำแพงเพชร"พุทธลักษณะของพระกำแพงลีลาเม็ดขนุนก้าวย่างไปข้างหน้า ส่วนพระกำแพงลีลาพลูจีบท่านกำลังจะเหาะ นอกจากพระพุทธลักษณะที่งดงามสุดยอดแล้ว พุทธคุณก็ยังเป็นเลิศครบครันอีกด้วย"1นอกจาก “พระกำแพงซุ้มกอ” หนึ่งในสุดยอดพระเครื่องของเมืองไทยแล้ว ที่ จ.กำแพงเพชร ยังมี “พระกำแพงลีลาเม็ดขนุนและพระกำแพงลีลาพลูจีบ” ซึ่งนับเป็นพระกรุเก่าที่ได้รับการยกย่องให้เป็น “สุดยอดพระเครื่องปางลีลา” ของจังหวัดกำแพงเพชร ที่ได้รับความนิยมและเป็นที่แสวงหาของบรรดานักนิยมสะสมพระเครื่องพระบูชามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยพุทธศิลปะที่มีความงดงามยิ่งนัก เรียกว่าในยุคหลังๆ จะหาช่างฝีมือในการแกะแม่พิมพ์เช่นนี้ไม่ได้อีกแล้ว

เผยแพร่เมื่อ 28-02-2017 ผู้เช้าชม 14,406

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา “กำแพงเขย่ง”

พระลีลา หรือ พระกำแพงเขย่ง เป็นหนึ่งในกลุ่มพระพิมพ์ที่ได้รับความนิยมในวงการพระเครื่อง ซึ่งมีความโดดเด่นในเรื่องพุทธคุณที่เชื่อถือศรัทธากันมา และมีรูปลักษณะงดงามทางพุทธศิลป์ โดยนิยมทำเป็นพระพิมพ์ใน 2 ลักษณะ ได้แก่ พระพิมพ์ขนาดเล็กที่สามารถพกพานำติดตัว และองค์พระขนาดใหญ่ประมาณศอก เรียกว่า พระกำแพงศอก พระกำแพงลีลานี้ บางครั้งเรียกว่า พระกำแพงเขย่ง คำว่า พระกำแพง นี้สันนิษฐานว่าเป็นคำเรียกจากลักษณะการพิมพ์รูปพระที่ย่อส่วนมาจากพระพุทธรูปปางลีลาที่เป็นปฏิมากรรมเอกลักษณ์สมัยสุโขทัย ซึ่งเป็นหนึ่งในพระพุทธรูปที่เรียกว่าพระ 4 อิริยาบถ ได้แก่ พระนั่ง พระยืน พระเดิน และพระนอน ซึ่งพระพุทธรูปปางลีลาอยู่ในอิริยาบถเดิน มักปั้นให้มีลักษณะอ่อนช้อย นิยมปั้นติดกับกำแพงหรือผนังซุ้มสถูปเจดีย์ ไม่ปั้นเป็นพระลอยองค์เหมือนรูปพระอิริยาบถอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานอื่นถึงคำว่า กำแพงนั้น มาจาก กำแพงเพชร ซึ่งเป็นกลุ่มเมืองสำคัญโบราณในสมัยสุโขทัยที่มีการค้นพบพระพิมพ์ปางลีลาในรูปแบบต่างๆ จำนวนมาก ส่วนคำว่า เขย่ง เรียกจากลักษณะการย่างพระบาทของพระพุทธรูปปางลีลา บิดสะโพกเล็กน้อยและเอียงกายทางซ้าย ซึ่งเรียกว่า กริดพัง คนโบราณแลดูว่าเหมือนว่าพระกำลังก้าวเขย่ง จึงเรียกต่อกันมาว่า พระกำแพงเขย่ง 

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 17,686

พระประทานพรยืน

พระประทานพรยืน

กรุที่พบหรือสถานที่พบพระพิมพ์นี้คือ บริเวณบ้านของครูกำยาน ตรงด้านใต้เชิงสะพานฝั่งตะวันตก ซึ่งรวมอยู่ฝั่งนครชุมของเมืองกำแพงเพชรนั่นเอง เป็นพระกรุพิมพ์หนึ่งที่มีศิลปะสมัยสุโขทัย บวกศิลปะกำแพงเพชรโบราณ พระกรุแตกเมื่อปี พ.ศ.2537 ได้พบพระพิมพ์ต่าง ๆ มากมาย มีทั้งพระเนื้อชินเงิน พระเนื้อดินเผา และพระพุทธรูปบูชา-เทวรูปศิลปะสมัยลพบุรีก็รวมอยู่ด้วย มีพระเครื่อง-พระบูชาหลายขนาด

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 10,930

สมเด็จพบกรุพระ

สมเด็จพบกรุพระ

ตามตำนานท่านพระมหาโต ได้ขึ้นไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชรสมัยอายุท่าน 62 ปี คือตรงกับ พ.ศ. 2392 ประจำวัดที่วัดเสด็จ ท่านได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ซึ่งอยู่ในโบสถ์วัดเสด็จ (คือพบเป็นศิลาจารึกหลักที่ 3) ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมธาตุอยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำปิง คือตรงข้ามกับตัวเมือง สมัยนั้นพระยาน้อยซึ่งเป็นเจ้าเมือง เมื่อทราบข่าวจึงได้เป่าร้องให้ชาวบ้านไปช่วยกันค้นหาจนพบ เป็นพระเจดีย์ชำรุดอยู่ 3 องค์ ต่อมาสมัยผู้ว่าราชการอ๋อง ปี พ.ศ. 2444 พญาตะก่า ได้ขออนุญาตรื้อสร้างเป็นเจดีย์องค์เดียวคือ เจดีย์วัดพระบรมธาตุปัจจุบัน มีพระเครื่องพิมพ์เนื้อชินและเนื้อดินแบบพิมพ์ต่างๆ มากมาย

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 2,978

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง

พระลีลากล้วยปิ้ง กรุผู้ใหญ่เชื้อ จังหวัดกำแพงเพชรพระลีลากรุผู้ใหญ่เชื้อ องค์นี้สภาพสวยคมชัดลึก ดินกรุยังติดอยู่พอมองเห็นเนื้อพระ พระเนื้อแกร่งแห้ง พระกรุนี้เนื้อจะหยาบ ราคาจึงถูกทั้งที่แตกกรุในเขตนครชุมเหมือนกับพระกรุอื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,407

กรุตาลดำ

กรุตาลดำ

ที่ตั้งกรุพระวัดตาลดำ อยู่ทิศตะวันออกของกรุเจดีย์กลางทุ่ง ประมาณ 400 เมตร ปัจจุบันถูกชาวบ้านปราบเป็นที่ทำการเกษตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระนางพญากำแพง พระอู่ทองกำแพง พิมพ์ใหญ่ พระลูกแป้ง คู่ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกลีบบัว พระลูกแป้ง เดียว พระเจ้าสามพระองค์ พระเจ้าสิบพระองค์ และพิมพ์อื่นๆ

เผยแพร่เมื่อ 19-08-2019 ผู้เช้าชม 5,090

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ กรุฤาษี

พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 21,425

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

กำแพงเม็ดขนุน พิมพ์เล็ก

ในจำนวนพระเครื่องมากมาย ที่พบบริเวณ ทุ่งเศรษฐี ฝั่งตรงข้ามเมืองกำแพงเพชร พระพิมพ์ยืน หรือปางลีลาศ มีคนนำไปติดตัว ใช้คุ้มตัวได้ผล เป็นที่นิยม สมัยแรกๆเรียกกันว่า พระกำแพงเขย่ง พระพิมพ์ยืนมีหลายพิมพ์ ไล่เลียงลำดับ ตามค่านิยมของวงการ ใช้คำนำหน้า “กำแพง” แล้วตามด้วยรูปพรรณสัณฐาน เริ่มจาก กำแพง เม็ดขนุน กำแพงพลูจีบ กำแพงกลีบจำปา กำแพงขาว กำแพงเชยคางข้างเม็ด ฯลฯ พิมพ์ยืน หรือกำแพงเขย่ง ที่เคยเรียก ไม่เพียง “เขย่ง” พระบาทขวา ยังมี “เขย่ง” พระบาทซ้าย คนรักพระยืนกรุทุ่งเศรษฐี รักทั้งชื่อรักทั้งเนื้อพระที่นุ่มนวลจนเรียก “เนื้อทุ่ง” ถ้าไม่หลง ตามค่านิยมของวงการ รู้จักเลือก “สักพิมพ์” ยิ่งเป็นพิมพ์ที่ไม่ค่อยพบเห็น ว่ากันด้วยเหตุผล พุทธคุณพระกรุเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 15,398

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ

พระกำแพงหน้าอิฐ เป็นพระเครื่องพิมพ์หนึ่งที่พบครั้งแรกจากกรุวัดพระบรมธาตุเมื่อ พ.ศ. 2392 และจากนั้นก็พบอีกบ้างในบริเวณทุ่งเศรษฐี ฝั่งนครชุม แต่มีจำนวนน้อยมากแทบจะเรียกว่านับองค์ได้ และเท่าที่ติดตามจากแหล่งข้อมูลด้านพระเครื่องเมืองกำแพงไม่เคยปรากฏว่ามีการพบพระพิมพ์นี้ในฝั่งจังหวัดเลยแม้แต่องค์เดียว พระกำแพงหน้าอิฐมีพุทธลักษณะเป็นพระยืนประทานพร ประทับในซุ้มเรียบ รอบองค์พระลึกทำให้องค์พระดูเป็นสง่าสวยงาม ขนาดองค์พระพระทัดรัด กว้างประมาณ 2 x 3 ซม. หนาประมาณ 0.7 ซม.เท่านั้น จากการได้พบและสนทนากับนักสะสมพระเครื่องเมืองกำแพงรุ่นเก่า หลายคนยืนยันว่าได้พบพระพิมพ์นี้เพียงไม่กี่องค์ หนังสือพระเครื่องรุ่นเก่า ๆ แม้กระทั่งหนังสือที่จัดพิมพ์ขึ้นโดยจังหวัดกำแพงเพชร หลายเล่ม ไม่เคยปรากฏรูปพระเครื่องพิมพ์นี้ ยังไม่ต้องกล่าวถึงประวัติการค้นพบ เมื่อหนังสือ อมตพระกรุ โดยพิศาล เตชะวิภาค ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือที่รวบรวมภาพพระกรุไว้มากที่สุดเท่าที่เคยมีการจัดพิมพ์มา ก็ปรากฏว่ามีเพียงรูปเดียวโดยไม่มีคำบรรยายอื่นใดนอกจากระบุว่า เป็นพระกำแพงหน้าอิฐเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 8,585