วัดบาง

วัดบาง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้ชม 5,098

[16.473109, 99.5266479, วัดบาง]

           โบสถ์วัดบาง วัดแห่งนี้อยู่ท่ามกลางย่านเศรษฐกิจของกำแพงเพชร ด้านหนึ่งติดถนนราชดำเนิน 1 ด้านหนึ่งติดถนนเจริญสุข เมื่อเข้ามาในวัดจะมีบรรยากาศโล่งกว้าง ประกอบด้วยอาคาร (เสนาสนะ) ต่างๆ กระจายกันไป โดยมีเขตสังฆาวาสอยู่แยกออกไปอีกด้านหนึ่งอย่างชัดเจน โบสถ์หรืออุโบสถอยู่ตรงกลางของพื้นที่ มีวิหารหลวงพ่อเพชรอยู่เยื้องออกไปด้านข้าง มุขด้านหลังของอุโบสถล้อมด้วยกระจกใสรอบด้าน ก่อนที่จะเข้าไปไหว้พระกันอยากจะกล่าวถึงประวัติของวัดบางแห่งนี้กันก่อนดังนี้      
            วัดบางเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในตัวเมืองกำแพงเพชร สันนิษฐานว่าที่ชื่อวัดบางคงเป็นเพราะที่ตั้งวัดอยู่ใกล้กับคลองน้ำ ซึ่งแยกจากแม่ปิงไปสู่ "หนองรี" คลองน้ำดังกล่าวเรียกว่า "บาง" เมื่อวัดมาตั้งอยู่ ณ ที่แห่งนี้ จึงตั้งชื่อ "วัดบาง" 
            วัดบางสังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 10 ไร่ 3 งาน 58.4 ตารางวา  
             อาณาเขต
                ทิศเหนือ ติดต่อกับทางสาธารณะ
                ทิศใต้ ติดต่อกับถนนเจริญสุข 
                    ทิศตะวันออก ติดกับถนนวิจิตร
                ทิศตะวันตก ติดต่อกับถนนเทศา  
             พื้นที่วัดเป็นที่ราบลุ่ม อยู่ในบริเวณตัวเมือง มีถนนล้อมรอบ การคมนาคมสะดวก อยู่ในย่านชุมชนตลาดการค้าอาคารเสนาสนะต่างๆ มีอุโบสถกว้าง 9 เมตร ยาว 24 เมตร ศาลาการเปรียญกว้าง 16 เมตร ยาว 28 เมตร กุฏิสงฆ์จำนวน 2 หลัง สำหรับปูชนียวัตถุมีพระประธานในอุโบสถและเจดีย์ 2 องค์
             วัดบาง สร้างขึ้นเป็นวัดนับตั้งแต่ราว พ.ศ. 2420 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ประมาณ พ.ศ. 2430 มีพระภิกษุอยู่จำพรรษา ปีละ 21 รูป สามเณร 8 รูป (ข้อมูลที่เก็บเมื่อนานมาแล้ว) ทางวัดได้เปิดสอนพระปริยัติธรรม พ.ศ. 2515 เมื่อปี พ.ศ. 2501 ทางราชการได้ประกาศรวม "วัดกุฎีหงษ์" ซึ่งเป็นวัดร้างเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดบางอีกด้วย
              หลวงพ่อสุโขทัย พระประธานในอุโบสถ พระนามว่าหลวงพ่อสุโขทัย เป็นหนึ่งในพระพุทธรูปสำคัญของวัดบางพระพุทธลักษณะงดงาม
              หลวงพ่อสุโขทัย วิหารหลวงพ่อเพชร อำนวยการสร้างโดยพระธรรมาธิมุตมุนี พร้อมด้วยคณะกรรมการ ในระหว่างดำเนินการท่านได้มรณภาพเสียก่อน เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2524 ต่อมาพระอธิการตุ่น อินทโชโต เจ้าอาวาสวัดบาง พร้อมคณะกรรมการชุดใหม่ ได้ดำเนินการก่อสร้างต่อ ณ วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2526 แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2528
              ภายในวิหาร ประดิษฐานหลวงพ่อเพชรเป็นพระประธานในวิหาร โดยมีรูปเหมือนอดีตเจ้าอาวาสอยู่ด้านหน้า
              หลวงพ่อเพชรวัดบาง หลวงพ่อเพชร เป็นพระพุทธรูปเนื้อสำริดศิลปะแบบเชียงแสน ปางมารวิชัย ที่เรียกว่า สิงห์ ๑ ที่หาชมได้ไม่ง่ายนัก มีหน้าตักกว้าง 2 ศอก 1 คืบ 5 นื้ว สูง 3 ศอก 1 คืบ มีพุทธลักษณะงดงาม และมีขนาดใหญ่กว่าหลวงพ่อเพชรของจังหวัดพิจิตร ที่มีอายุกว่า 800 ปี เดิมทีหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดตอม่อ ปัจจุบันเป็นตลาดศูนย์การค้า ซึ่งวัดดังกล่าวเป็นวัดเก่าแก่และเป็นวัดร้าง หลวงพ่อผิวอดีตเจ้าอาวาสวัดบางและหลวงพ่อภา อดีตเจ้าอาวาสวัดเสด็จพร้อมด้วยชาวบ้านเห็นว่า ถ้าปล่อยให้หลวงพ่ออยู่ที่วัดตอม่อต่อไปก็คงไม่มีคนดูแล และอาจถูกมิจฉาชีพขโมยไปได้ ดังนั้น จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาที่วัดบาง ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่มีถนนหนทางต้องตัดไม้ทำเป็นเลื่อน ค่อยชะลอหลวงพ่อเพชรเลื่อนมา ซึ่งต้องใช้เวลานานมาก กว่าที่นำหลวงพ่อมาถึงวัดบางได้ เจ้าอาวาสวัดบางเล่าว่า เบื้องต้นใต้ฐานขององค์หลวงพ่อเพชรมีการผุกร่อนตามอายุ ต่อมาจึงได้จัดสร้างวิหารหลวงพ่อเพชรขึ้นเมื่อปี 2526 ก่อนจะอัญเชิญหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานอยู่ในวิหารแต่ที่ผ่านมาทางวัดไม่มีพระคอยดูแล จึงได้ปิดประตูวิหารไว้ ทำให้ประชาชนทั่วไปไม่ทราบว่าภายในวิหารมีหลวงพ่อเพชร พระพุทธรูปที่เก่าแก่และศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐานอยู่ ดังนั้นทางคณะสงฆ์และกรรมการจึงมีความเห็นพ้องต้องกันว่าควรเปิดประตูวิหารเพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสกราบไหว้ขอพรหลวงพ่อเพชร ผู้ที่ทำการศึกษาและผู้รู้เกี่ยวกับเรื่องพระพุทธรูปได้กล่าวว่า หลวงพ่อเพชรองค์นี้นับเป็นอันซีน Unseen กำแพงเพชร เพราะเป็นพระพุทธรูปยุคเชียงแสนที่เก่าแก่ เป็นพระเนื้อสำริดองค์ใหญ่ที่สุดองค์เดียวที่สมบูรณ์ที่สุดซึ่งเหลืออยู่ในประเทศไทย ดูจาพระพุทธลักษณะแล้วผู้สร้างได้จะต้องเป็นพระมหากษัตริย์เท่านั้น และช่างที่สร้างต้องเป็นช่างหลวง จึงสามารถสร้างได้งดงามอยู่ที่หาที่ติมิได้

บริเวณวัดบาง 
              พระซุ้มกอ เป็นพระเครื่องที่เลื่องลือกันมากของกำแพงเพชร วัดบางจึงสร้างพระซุ้มกอองค์ใหญ่ตั้งอยู่กลางวัดให้ประชาชนได้นมัสการ
              เปิดให้สักการะทุกวัน ตั่งแต่เวลา 09.00-20.00 น.

ภาพโดย :  https://www.google.co.th/search?

คำสำคัญ : วัดบาง

ที่มา : http://www.touronthai.com/article/834

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดบาง. สืบค้น 17 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?code_db=610009&code_type=01&nu=pages&page_id=284

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=284&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดป่ามืด

วัดป่ามืด

เป็นโบราณสถานมีเจดีย์กลมแบบลังกา ด้านหน้าเป็นฐานเจดีย์ราย 4-5 แห่ง มีกำแพงล้อมรอบต่อจากกำแพงด้านหน้าเป็นโบราณสถานอีกหมู่หนึ่ง มีฐานเจดีย์และฐานวิหารและเจดีย์รอบอีก 7 ฐาน มีกำแพงรอบเช่นเดียวกัน ตัววิหารเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าเป็นแบบโถงไม่มีผนัง พระประธานสร้างจากศิลาแลง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,045

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดกรุสี่ห้อง โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง เป็นโบราณสถานอยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏโบราณสถานอยู่ทั่วไป รวมถึงสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,154

วัดมะเคล็ด

วัดมะเคล็ด

เป็นอีกวัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์ที่ยังไม่ได้ไปสำรวจอย่างเป็นทางการ เมื่อศึกษาจากแผนที่แล้วจึงดั้นด้นเข้าไปสำรวจ ป้ายชื่อของวัดมะเคล็ดซึ่งเป็นป้ายขนาดใหญ่ มาหายไปทั้งหมดอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,018

วัดพระนอน

วัดพระนอน

วัดพระนอน อายุราวพุทธศตวรรษที่ ๒๐ – ๒๑ (พ.ศ. ๒๑๐๐ – พ.ศ. ๒๒๙๙) เป็นวัดขนาดใหญ่ที่มีแผนผังวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่นอกเมืองทางทิศเหนือ หรือบริเวณที่เรียกว่าอรัญญิก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลงเฉพาะด้านทิศตะวันออกและด้านทิศใต้ หน้าวัดมีศาลา บ่อน้ำ และห้องน้ำ ภายในวัดแบ่งพื้นที่ออกเป็น ๒ ส่วน คือ เขตพุทธาวาส และเขตสังฆาวาส มีกำแพงแก้วก่อด้วยศิลาแลง สิ่งก่อสร้างสำคัญในเขตพุทธาวาสประกอบด้วย พระอุโบสถ วิหารพระนอน เจดีย์ทรงระฆังขนาดใหญ่ และมณฑปประดิษฐานพระพุทธรูปปางมารวิชัย เขตสังฆาวาสตั้งอยู่ด้านเหนือของเขตพุทธาวาส เป็นบริเวณที่พักอาศัยของสงฆ์ มีกุฏิ ศาลา บ่อน้ำ และเว็จกุฎิ (ห้องส้วม) และได้พบใบเสมาหินชนวนจำหลักลวดลาย ปัจจุบันนำไปแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์สถานกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 6,395

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าหรือด้านตะวันออกของวัดพระสี่อิริยาบถ มีกำแพงวัดเฉพาะด้านตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้านเท่านั้น นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกและด้านใต้เพียงสองด้าน ลักษณะเด่นของฐานวิหารฆ้องชัยคือ การก่อฐานสูงเป็นเสาศิลาแลงแปดเหลี่ยม ภายในอาคารยังปรากฏแท่นอาสนสงฆ์และแท่นประดิษฐานพระประธาน ซึ่งเดิมเป็นพระพุทธรูปนั่งเจดีย์ประธานตั้งอยู่ถัดจากวิหารไปทางด้านหลัง

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,003

วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,171

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

วัดหนองยายช่วย (วัดหนองพลับ)

ในเขตอรัญญิก เมืองนครชุม โบราณสถานอายุ กว่า 700 ปี มีวัดในเขตอรัญวาสี เรียงรายอยู่หลายสิบวัด แต่ที่เหลือจากการถมทำลาย ขุดทิ้ง ไม่ถึง สิบวัด บริเวณทุ่งเศรษฐี ที่มีชื่อเสียง มานาน นับร้อยปี เนื่องจากมีพระเครื่องที่มีชื่อเสียง อาทิ พระซุ้มกอ พระกำแพงเขย่ง พระกำแพงนางพญา วัดที่เหลืออยู่ พอมีหลักฐานที่เห็นเด่นชัดคือ วัดซุ้มกอ วัดหนองพิกุล วัดหนองลังกา วัดหนองยายช่วย วัดหม่องกาเล วัดเจดีย์กลางทุ่ง วัดที่พึ่งสาญสูญ ไปเร็วๆนี้ คือ วัดหนองพุทรา

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2017 ผู้เช้าชม 2,886

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน

วัดท่าหมัน บ้านปากคลอง เคยเป็นวัดที่เก่าแก่และเคยเจริญรุ่งเรือง บ้านปากคลองเหนือ ที่เรียกว่าวัดท่าหมัน เพราะมีต้นหมันขนาดใหญ่ขึ้นเป็นร่มเงาของท่าน้ำ ที่มีการคมนาคมทางน้ำ มีการค้าขายทุกชนิดมีสินค้าออกจากป่า ได้หวาย น้ำมันยาง ไม้ท่อน ไม้แผ่นที่ขายเป็นยก สีเสียด น้ำผึ้ง หนังสัตว์ เนื้อสัตว์ทุกชนิดมาขึ้นซื้อขายกันที่ท่าหมันแห่งนี้ คือบริเวณตลาดนครชุมปัจจุบัน ท่าน้ำที่มีในตอนนี้ที่รู้จักกันเป็นอย่างดีผู้คนมาใช้มากที่สุดแห่งหนึ่งที่บ้านปากคลองสวนหมาก ร้านผัดไทยแม่สุภาพปากคลอง ก็เคยเป็นที่ตั้งของวัดท่าหมันเช่นกัน ที่คนปากคลองรู้จักกันดี

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 1,209

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ

วัดเตาหม้อ เมื่อได้ยินชื่อวัดเตาหม้อ จะไม่มีใครรู้สึกว่าเป็นวัดสำคัญ คิดว่าเป็นวัดขนาดเล็กวัดหนึ่ง ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร แต่เมื่อได้มีโอกาสเข้าชมแล้วจะรู้สึกถึงความมหัศจรรย์ ของ วัดเตาหม้อ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,360

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

วัดวังพระธาตุ (วัดท้าวแสนปม)

ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองไตรตรึงษ์ มีวังแม่น้ำปิงขนาดใหญ่ใกล้บริเวณวัด คนในท้องถิ่นเรียกว่า "วัดวังพระธาตุ" ภายในมีโบราณสถานที่สำคัญคือ เจดีย์พระประธานทรงข้าวบิณฑ์ (ทรงดอกบัว) ศิลปะสุโขทัย 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 5,143