วัดฆ้องชัย

วัดฆ้องชัย

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้ชม 2,017

[16.500461, 99.515985, วัดฆ้องชัย]

         เป็นวัดขนาดใหญ่วัดหนึ่งในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร เมืองมรดกโลกตั้งอยู่ระหว่างทางออกทั้งสองด้านของอุทยานประวัติศาสตร์ หันหน้าไปทางทิศตะวันออก กำแพงวัดก่อด้วยศิลาแลง คือทางด้านทิศใต้กับทิศตะวันตก นอกกำแพงวัดด้านทิศตะวันตกปรากฏบ่อศิลาแลงขนานไปกับแนวกำแพงของวัด ด้านหลังของวัดอยู่ระหว่าง วัดพระนอนกับวัดพระสี่อิริยาบถ โดยมีถนนคั่นกลางเท่านั้น สิ่งที่น่าสนใจที่สุดภายในวัดคือ มหาวิหารที่สูงกว่าทุกวัดในเขตอรัญญิก คือเป็นอาคารรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ฐานล่างก่อเป็นฐาน หน้ากระดานมีบันไดทางขึ้นทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ฐานหน้ากระดานล่างของวัดฆ้องชัย แตกต่างจากแห่งอื่นๆคือทำเป็นหน้ากระดานสูงถึง 2.10 เมตร นับว่าเป็นฐานเขียงหรือฐานหน้ากระดาน ของอาคารที่สูงที่สุดเท่าที่พบในเขตเมืองกำแพงเพชร มีบันไดขึ้นสองทาง ฐานวิหารข้างบนทำเป็นฐานบัวลูกแก้วอกไก่ มีมุขเด็จหน้าหลัง ห้องโถงของพระวิหารมีขนาด 7 ห้อง แต่เมื่อรวมมุขทั้งหน้าและหลังแล้ว มี 9 ห้อง เป็นอาคารขนาดใหญ่มาก เสารับเครื่องบนเป็นเสาศิลาแลง แปดเหลี่ยม บริเวณชานชาลามุขหน้าเดิมประดับด้วยมกร(อ่านว่ามะกอน ) สัตว์ในนิยายคือมังกร เป็นมกร ดินเผาหรือมกรสังคโลก ซึ่งเนื่องจากการขุดแต่งในปี พ.ศ.2525 ได้พบชิ้นส่วนของมกรจำนวนมากในบริเวณนี้ ซึ่งสามารถประกอบเป็นตัวมกรได้เกือบสมบูรณ์ ซึ่งปัจจุบันตัวมกรแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติกำแพงเพชร บนพระวิหารมีฐานพระประธานที่ใหญ่มาก แต่ไม่มีร่องรอยของพระประธานอยู่เลย
         
เจดีย์ประธานตั้งอยู่ด้านหลังของวิหาร ในแกนทิศทางเดียวกันเป็นเจดีย์ทรงระฆังหรือทรงลังกาหรือทรงโอคว่ำศิลปะสุโขทัยสกุลช่างกำแพงเพชร องค์เจดีย์ตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยมและฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมที่หลดหลั่นซ้อนกันขึ้นมา ฐานบัวลูกแก้วอกไก่แปดเหลี่ยมรองรับชั้นมาลัยที่ทำเป็นบัวถลา 3 ชั้น ปัจจุบันองค์ระฆังและส่วนยอดหักพังจัดเป็นเจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม องค์ระฆังเล็กทำให้รูปทรงของเจดีย์สูงเพรียว ซึ่งเป็นรูปแบบของเจดีย์ในเมืองกำแพงเพชร ด้านหลังเจดีย์ประธาน มีเจดีย์รายขนาดเล็ก 4 องค์ เหลือเพียงแค่ฐานรูปทรงเดียวกับเจดีย์ประธาน ทั้งหมดเป็นเขตพุทธาวาส ซึ่งเป็นเขตที่ทำสังฆกรรม มีกำแพงกั้นระหว่างเขตพุทธาวาสกับเขตสังฆาวาส เขตสังฆาวาส คือบริเวณที่อยู่อาศัยของพระสงฆ์ประกอบด้วยสิ่งก่อสร้าง เช่นศาลา กุฏิ บ่อน้ำ และเวจกุฎี (ห้องส้วม) ที่วัดฆ้องชัย มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกว้าง ยาว ประมาณ 4 เมตร ลึกประมาณ 10 เมตรแต่ไม่มีน้ำอยู่เลย บ่อน้ำอยู่ในบริเวณกุฎี หลังวัดมีศาลาขนาดใหญ่อยู่สองศาลา ต่อกัน มีห้องน้ำ ห้องส้วมอยู่ในอาคารซึ่งนับได้ว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่ก้าวหน้ามาก เป็นภูมิปัญญาที่ยิ่งใหญ่ของกำแพงเพชร ที่ทำให้ห้องส้วมและห้องน้ำและไม่มีกลิ่นแม้จะอยู่ในอาคารก็ตาม เมื่อสมัยที่กำแพงเพชรยังไม่ถูกทิ้งร้าง วัสดุที่นำมาก่อสร้าง เป็นศิลาแลงทั้งหมด มาเป็นแกนกลาง ที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบร่องรอยการตัดศิลาแลงขึ้นมาใช้ในทุกวัด ที่เห็นชัดเจนในบริเวณ หน้าวัด พระสี่อิริยาบถ
             ที่ตั้ง : อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำปิง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 62000 ตามทางหลวงหมายเลข 101 ถึงหลัก กม.ที่ 360 เลี้ยวซ้ายเข้าอุทยานฯ เปิดให้บุคคลทั่วไปได้เข้าชมทุกวัน ไม่เว้นวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่เวลา 08.00-17.00 น. หรือสอบถามรายละเอียด เพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 055-711921, 055-712528

 

ภาพโดย : https://www.thai-tour.com/include/p_img/1/28/tt59def5c347ec9.jpg

คำสำคัญ : วัดฆ้องชัย

ที่มา : http://oknation.nationtv.tv/blog/guidepong/2011/03/16/entry-2

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). วัดฆ้องชัย. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=272&code_db=610009&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=272&code_db=610009&code_type=01

Google search

Mic

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง

วัดป่าแลง ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร มีวัดร้างที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างมากมายนับร้อยวัด วัดป่าแลงเป็นวัดหนึ่งที่อยู่หน้าวัดหมาผี ได้รับการบูรณะและตกแต่งอย่างงดงามถูกต้องตามหลักการและนับว่าสมบูรณ์ที่สุดโดยมีข้อมูลอย่างครบถ้วน นับว่าน่าศึกษายิ่งนัก วัดป่าแลง เป็นวัดขนาดกลางมีเนื้อที่ 21,700 ตารางเมตร มีบ่อแลงโดยรอบ จึงเรียกกันตามชื่อสามัญว่าวัดป่าแลง

เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 1,531

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล

วัดมหาโพธิ์มงคล เดิมเป็นวัดร้างเก่าแก่ กล่าวกันว่า เมื่อ พ.ศ. 2499 ได้มีประชาชน 60-70 ครอบครัว อพยพมาจากอุบลราชธานี เพื่อมาทำมาหากิน ในเขตจังหวัดกำแพงเพชร และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่าทุ่งโพธิ์ทะเล ซึ่งเขตท่ี่ตั้งหมู่บ้านนี้ มีพระอุโบสถเก่าแก่หลังหนึ่ง และพระพุทธรูปเก่าๆ ซึ่งมีกระเบื้อง ก่้อนอิฐ ศิลาแลงปรักหักทับถมอยู่ พระครูวิบูย์ศิลาภรณ์ ได้นำญาติโยมซึ่งมีความศรัทธาอย่างแรงกล้าในบวรพุทธศาสนา ก่อตั้งสำนักสงฆ์ นามว่าสำนักสงฆ์ใหญ่ชัยมงคล

เผยแพร่เมื่อ 09-01-2020 ผู้เช้าชม 2,027

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดพระกรุสี่ห้อง

วัดกรุสี่ห้อง โบราณสถานวัดกรุสี่ห้อง เป็นโบราณสถานอยู่ที่ตำบลหนองปลิง อำเภอเมืองจังหวัดกำแพงเพชร ปรากฏโบราณสถานอยู่ทั่วไป รวมถึงสถาปัตยกรรมที่เป็นเอกลักษณ์

เผยแพร่เมื่อ 08-02-2017 ผู้เช้าชม 2,170

วัดกะโลทัย

วัดกะโลทัย

ที่ท้ายเมืองเก่าของกำแพงเพชร มีวัดอยู่ทางทิศตะวันออก นอกกำแพงเมือง พงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐเรียกว่า วัดยม เป็นวัดขนาดใหญ่ เป็นที่พักทัพ ของ กษัตริย์ อยุธยาที่ยกมาเมืองกำแพงเพชร หรือไปตีเมืองเหนือ ลักษณะของวัดที่ปรากฏ มีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ หรือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม ขนาดใหญ่ที่งดงามและสมบูรณ์ ที่สุด และเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ องค์เดียว ทางฝั่งกำแพงเพชร วัดนี้ชาวบ้านเรียกกันว่า วัดกะโลทัย เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัย ในยุคเดียวกับการสร้างเมืองนครชุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ คือเป็นวัดที่ได้เคยใช้เป็นที่ประทับแรมของกษัตริย์กรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งยกทัพไปตีเมืองเหนือ วัดกะโลทัยมีโบราณสถานที่ โดดเด่น คือเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ เช่นเดียวกับวัดเจดีย์กลางทุ่ง และ วัดวังพระธาตุ

 

เผยแพร่เมื่อ 11-02-2017 ผู้เช้าชม 3,159

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดใน

วัดป่ามืดในแห่งนี้ ที่น่าชมยิ่ง ไม่เหมือนวัดใดทุกแห่งในกำแพงเพชร คือมณฑปที่ขนาดใหญ่และงดงามที่สุด ในอดีตเมื่อมองภาพย้อนกลับไป วัดป่ามืดในจะงดงามน่าชม เหลือที่จะพรรณนา เมื่อมีโอกาสชมมณฑปของวัดป่ามืดใน จะประทับใจไปอีกนานแสนนาน

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 2,422

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน

วัดบ่อเงิน ตั้งอยู่เลขที่ 264 หมู่ที่ 12 ตำบลเทพนคร ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชรโดยสำนักพุทธศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ อนุญาตให้ตั้งเป็นวัดบ่อเงิน ตั้งแต่วันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ.2525 หลักฐานที่ดินในการตั้งวัดบ่อเงิน เป็นหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) เล่มที่ 13 (3) หน้า 53 จากที่ดินอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เดิมวัดบ่อเงิน ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 7 ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 1,332

วัดตะแบกคู่

วัดตะแบกคู่

เป็นอีกวัดหนึ่ง ที่อยู่ในเขตอรัญญิกเมืองกำแพงเพชร อยู่ถัดจากวัด เพการามไปประมาณ 20 เมตร  มีต้นตะแบกขนาดใหญ่ยืนตระหง่านอยู่หน้ากำแพงพระวิหาร อายุของต้นตะแบกนี้ราว 200 ปี 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,188

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

วัดเจดีย์กลางทุ่ง

เมื่อท่านชมโบราณสถานฝั่งตะวันออกแม่น้ำปิงตามสมควรแล้ว ถ้ามีเวลาพอก็ข้ามสะพานกำแพงเพชรไปยังเมืองนครชุมฝั่งตะวันตก ท่านจะพบเจดีย์มีลักษณะคล้ายกับเจดีย์กโลทัยอยู่ทางซ้ายมือ ไม่ห่างจากถนนมากนัก วัดนี้ชื่อวัดเจดีย์กลางทุ่ง ฐานสีเหลี่ยมกว้างด้านละ 17 เมตร มีฐานเชียงซ้อนกัน 3 ชั้น แล้วถึงหน้ากระดานย่อเหลี่ยม 4 มุม ๆ ละ 5 เหลี่ยม ตอนบนเป็นพุ่มข้าวบิณฑ์หรือดอกบัวตูม วัดนี้ยังไม่ได้ขุดแต่งบูรณะ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,302

วัดหม่องกาเล

วัดหม่องกาเล

เดิมชื่อวัดใดไม่ปรากฏชัดเจนชาวบ้านเมืองนครชุมเรียกตามภูมินามที่พบเห็น โดยสันนิษฐานว่า บริเวณที่ค้นพบวัด อยู่ในที่จับจองของชาวพม่า ที่ชื่อหม่องกาเล ซึ่งสืบหาลูกหลานของท่านไม่ได้ รู้แต่ว่าหลังจากหม่องกาเล ที่บริเวณนั้น เป็นที่ครอบครองของตาหมอหร่อง ตาหมอหร่อง มีลูกเขยชื่อนายจันทร์ ได้ครอบครองที่ดินบริเวณนี้ต่อมา และได้ขายที่ดินทั้งหมดให้ผู้อื่น

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,966

โบราณสถานทางวัฒนธรรม

โบราณสถานทางวัฒนธรรม

การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งที่สามารถนำรายได้เข้าสู่ประเทศไทย ช่วยฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจ สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้แก่ประชาชนในสังคม ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวมีการเติบโตและแข่งขันกันสูง ทุกประเทศเริ่มนำสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมของตนเองที่เป็นอัตลักษณ์มาเป็นจุดขายในการดึงดูดนักท่องเที่ยวกันอย่างดุเดือด จังหวัดกำแพงเพชรก็เป็นอีกหนึ่งจังหวัดที่มีความโดดเด่นทางอัตลักษณ์ของศิลปวัฒนธรรม จากการได้รับขึ้นทะเบียนให้เป็นเมืองมรดกโลกจาก UNESCO โดยมีอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญทางประวัติศาสตร์เป็นจุดขาย เช่นเดียวกันกับ สุโขทัยและศรีสัชนาลัย ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนเช่นเดียวกัน

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 707