ครอบจักรวาล

ครอบจักรวาล

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้ชม 4,889

[16.5055083, 99.509574, ครอบจักรวาล]

ลักษณะทั่วไป
        ต้น  ไม้พุ่มขนาดเล็กสูงประมาณ 0.5-2 เมตร ตั้งตรง สามารถแตกกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้านได้มากตามลำต้น และกิ่งก้าน จะมีขนอ่อนนุ่มสีเทาปกคลุม
         ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกจากลำต้นแบบสลับ ใบกว้างรูปร่างแบบใบโพธิ์ ปลายใบไม่เรียวแหลมมากเหมือนใบโพธิ์ ขอบใบเป็นหยัก ฐานใบโค้งมนเว้าเข้าหาก้านใบเป็นรูปหัวใจ
        ดอก ออกตามซอกใบ เป็นดอกเดี่ยว ก้านดอกยาว ใกล้ฐานดอกมีรอยต่อที่ก้านดอกดอกจะมีกลีบเลี้ยงติดกันสีเขียว มีกลีบดอก 5 กลีบ สีเหลือง มีเกสรตัวผู้จำนวนมาก รังไข่อยู่ปลายสุดของดอกมีผนังรังไข่เรียงติดกันเป็นกลีบ รัศมีวงกลม
        ผล  มีลักษณะเป็นกลีบ ๆ เรียงติดกันคล้ายฟันเฟือง 15-20 กลีบ มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 ซม. หนา 1-1.5 ซม. ผลอ่อนมีสีเขียวเมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล เมล็ดรูปไต
        นิเวศวิทยา  ออกดอกตลอดปี
        การขยายพันธุ์  อาศัยเมล็ด
        ประโยชน์  เป็นสมุนไพรช่วยขับลม บำรุงเลือด แก้ไอ หูหนวกชั้นกลางอักเสบ เหงือกอักเสบ คอตีบ ปวดท้อง ท้องร่วง ขับปัสสาวะ ริดสีดวงทวาร

ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap2/local//contents/kanchana_c/Hurb/63.jpg

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ครอบจักรวาล. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=75&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=75&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง

มะกล่ำตาช้าง, มะกล่ำต้น, มะแค้ก, หมากแค้ก, มะแดง, มะหัวแดง หรือ มะโหกแดง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Adenanthera pavonina) เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Leguminasae วงศ์ย่อย Mimosoideae โคนต้นมีพูพอน ผิวเรียบ สีเทาอมน้ำตาล ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ใบย่อยรูปไข่ ดอกช่อแบบแตกแขนง เกสรตัวผู้สีเหลืองจำนวนมาก เห็นเป็นพู่ ผลเดี่ยว เป็นฝักแบน ยาวขดเป็นวง เมื่ออ่อนสีเขียวอ่อน สุกแล้วสีน้ำตาล เป็นผลแห้ง แตกตามตะเข็บ เมล็ดแบนสีแดง

เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 3,264

ผักตบไทย

ผักตบไทย

ผักตบไทย มีถิ่นกำเนิดในแถบเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดเป็นไม้ล้มลุกมีอายุได้หลายปี อาศัยอยู่ในน้ำ มีเหง้าใหญ่ แตกลำต้นเป็นกอ มีความสูงได้ประมาณ 50-100 เซนติเมตร ลำต้นอยู่ใต้ดิน ชูก้านใบเหนือระดับน้ำ ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ดหรือแยกต้นอ่อนไปปลูกในบริเวณที่ต้องการ มีเขตการกระจายพันธุ์กว้าง พบได้ตั้งแต่อินเดีย เนปาล ศรีลังกา พม่า ภูมิภาคอินโดจีน และภูมิภาคมาเลเซีย ในประเทศไทยพบได้ทุกภาคของประเทศ โดยมักขึ้นตามแหล่งน้ำจืด ริมหนองน้ำ คลองบึง ที่ชื้นแฉะ โคลนตม และตามท้องนาทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 5,111

ต้นหมีเหม็น

ต้นหมีเหม็น

มีชื่อพฤกษศาสตร์ว่า Litsea glutinosa C.B. Robinson ในวงศ์ Lauraceae บางถิ่นเรียก ดอกจุ๋ม(ลำปาง) ตังสีไพร(พิษณุโลก) ทังบวน(ปัตตานี) มะเย้อ ยุบเหยา(พายัพ) มัน(ตรัง) หมี(อุดรธานี) หมูทะลวง(จันทบุรี) หมูเหม็น(แพร่) อีเหม็น(กาญจนบุรี ราชบุรี) กำปรนบาย(ชอง-จันทบุรี) มือเบาะ(มาเลย์-ยะลา)

เผยแพร่เมื่อ 06-02-2017 ผู้เช้าชม 3,250

แตงโม

แตงโม

แตงโม เป็นผลไม้ที่มีต้นกำเนิดในแถบทวีปแอฟริกาในทะเลทรายคาลาฮารี ซึ่งชาติที่แรกที่ปลูกแตงโมไว้รับประทานนั้นก็คือชาวอียิปต์ สำหรับประเทศไทยนั้นการปลูกแตงโมจะมีอยู่ทั่วทุกภาคและปลูกได้ทุกฤดู โดยพันธุ์ที่นิยมปลูกกันมากโดยทั่วไปจะมีอยู่ 3 สายพันธุ์หลักๆ คือ พันธุ์ธรรมดาทั่วไป (เมล็ดมีขนาดเล็ก รสหวาน เช่น แตงโมจินตหรา แตงโมตอร์ปิโด แตงโมกินรี แตงโมน้ำผึ้ง แตงโมไดอานา แตงโมจิ๋ว เป็นต้น) สายพันธุ์ต่อมาก็คือ พันธุ์ไร้เมล็ด (เป็นพันธุ์ผสมผลิตเพื่อส่งออก) และพันธุ์กินเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,543

สำรอง

สำรอง

สำรอง จัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 30-40 เมตร และอาจสูงได้ถึง 45 เมตร ลำต้นมีลักษณะตั้งตรงสูงชะลูด แตกกิ่งก้านออกรอบต้น เรียงกันเป็นชั้นๆ ลำต้นเป็นสีเทาดำ เปลือกต้นหยาบ มีเส้นเป็นร่องตามแนวดิ่ง สามารถพบได้ตามป่าดิบเขาที่มีฝนตกชุกและมีแสงแดดส่องถึง พบได้มากในจังหวัดจันทบุรี แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มว่าอาจจะสูญพันธุ์ได้

เผยแพร่เมื่อ 16-07-2020 ผู้เช้าชม 3,702

ไมยราบ

ไมยราบ

ไมยราบ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Mimosa Pudica L. อยู่ในวงศ์ FABACEAE และมีชื่ออื่น ๆ ได้แก่ หญ้าต่อหยุบ หญ้ายุบยอบ กะหงับ ก้านของระงับ หงับพระพาย หญ้าจิยอบ และหญ้าปันยอด เป็นไม้ล้มลุก ใบประกอบเหมือนขนนก 2 ชั้น ดอกช่อกระจุกแน่น สีชมพู ออกที่ง่ามใบ ผลเป็นฝักแบน ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,675

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร จัดเป็นพืชล้มลุกที่มีความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร หรือประมาณ 1-2 ศอก ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แตกกิ่งมาก ทุกส่วนของต้นมีรสขม กิ่งเป็นใบสีเหลี่ยม สามารถพบได้ทั่วไปในประเทศไทย ลาว กัมพูชา มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน และหมู่เกาะในทะเลแคริบเบียน ใบฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นใบเดี่ยว แผ่นใบสีเขียวเข้มเป็นมัน ลักษณะของใบรียาว ปลายใบแหลม ดอกฟ้าทะลายโจร ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและตามซอกใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว มีดอกย่อย กลีบดอกมีสีขาวโคนกลีบติดกัน ปลายแยกเป็น 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ (มีเส้นสีม่วงแดงพาดอยู่) ส่วนปากล่างมี 2 กลีบ ผลฟ้าทะลายโจร ลักษณะเป็นฝัก ฝักจะคล้ายกับฝักต้อยติ่ง (หรือเป๊าะแป๊ะ) ฝักอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่ฝักจะเป็นสีน้ำตาลและแตกได้ ภายในฝักมีเมล็ดสีน้ำตาลอ่อนจำนวนมาก

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,344

ขมิ้นอ้อย

ขมิ้นอ้อย

ต้นขมิ้นอ้อย จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุหลายปีที่มีเหง้าอยู่ใต้ดินและมีรากเล็กน้อยที่บริเวณเหง้า มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับขมิ้นชันแต่มีลำต้นที่สูงกว่า ขนาดเหง้าและใบใหญ่กว่า โดยต้นขมิ้นอ้อยจะมีความสูงประมาณ 1-1.2 เมตร เหง้ามักโผล่ขึ้นมาเหนือดินเล็กน้อย เหมือนเจดีย์ทรงกลมสูงหลายชั้นๆ (บ้างเรียกว่าขมิ้นขึ้นหรือขมิ้นเจดีย์) ลักษณะของเหง้ามีลักษณะเป็นรูปกลมรี มีความยาวประมาณ 18-24 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 7-11 เซนติเมตร ผิวด้านนอกเป็นสีขาวอมเหลือง

เผยแพร่เมื่อ 19-05-2020 ผู้เช้าชม 5,394

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว

หนูท้องขาว จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยาวได้ประมาณ 50-150 เซนติเมตร มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5-12.0 มิลลิเมตร ลำต้นมีลักษณะกลมเป็นสีเขียวอ่อนถึงเขียวปนน้ำตาล ลำต้นส่วนที่ถูกแสงมักเป็นสีม่วงแดงหรือสีน้ำตาล ส่วนด้านล่างที่ไม่ถูกแสงจะเป็นสีเขียว และมีขนสีเหลืองขึ้นปกคลุมอย่างหนาแน่น พบขึ้นทั่วไปในดินนา ดินทราย และในสวนป่าเต็งรังที่ความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 35-475 เมตร เช่น จังหวัดร้อยเอ็ด อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ ขอนแก่น บุรีรัมย์ สุรินทร์ นครราชสีมา พิษณุโลก สงขลา แม่ฮ่องสอน เป็นต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 1,905

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต

เพชรสังฆาต เป็นไม้เถา เถาอ่อนสีเขียวเป็นสี่เหลี่ยมเป็นข้อต่อกัน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปสามเหลี่ยม แผ่นใบเรียบสีเขียวเป็นมัน ออกเรียงสลับตามข้อต้น ปลายใบมน โคนใบเว้า ขอบใบหยักมนห่าง ๆ ก้านยาว ดอกเป็นสีเขียวอ่อน ออกเป็นช่อตามข้อตรงข้ามกับใบ กลีบดอกมี 4 กลีบ โคนด้านนอกสีแดง ด้านในเขียวอ่อน เมื่อดอกบานเต็มที่จะงองุ้มไปด้านล่าง ผลเป็นรูปทรงกลม ผิวเรียบเป็นมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกสีแดงออกดำ โดยส่วนที่นำมาใช้เป็นยาสมุนไพร ได้แก่ เถา ราก ใบยอดอ่อน และน้ำจากต้น

เผยแพร่เมื่อ 17-07-2020 ผู้เช้าชม 3,657