ผลไม้เชื่่อม
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 10,047
[16.4264988, 99.215725, ผลไม้เชื่่อม]
เป็นรูปแบบหนึ่งของการถนอมและแปรรูปอาหาร โดยวิธีการเพิ่มปริมาณน้ำตาลในผลไม้ และใช้ความร้อนทำให้สุก เพื่อให้เก็บไว้ได้นานและมีรสชาติอร่อย ผลไม้ที่คนในชุมชนนิยมนำมาเชื่อม ได้แก่ สาเก มะยม มะตูม พุทรา สับปะรด จาวตาล กล้วย มะละกอ และเปลือกผลไม้บางชนิดที่พบมากในชุมชน เช่น เปลือกส้มโอ เปลือกมะนาว เปลือกแตงโม เป็นต้น ลักษณะของผลไม้เชื่อมที่มีคุณภาพดี ต้องมีผิวตึงสวยเป็นมันเงา ไม่เหี่ยว น้ำตาลไม่ตกผลึก สีสันตามความเป็นจริงของผลไม้นั้นๆ
เครื่องปรุง
ได้แก่ ผลไม้สดที่ต้องการเชื่อม การเลือกผลไม้ หากดิบเกินไปเนื้อจะแข็ง หากแก่จัดเกินไปจะเละ นำผลไม้มาล้างให้สะอาด น้ำตาลทรายแดง การเชื่อมมี 2 แบบๆ เร็ว ควรใช้ผลไม้ที่มีเนื้อนุ่มแน่น เช่น สัปปะรด พุทรา เงาะ กล้วย จาวตาล มะยม มะละกอ กระท้อน ส้มโอ สำหรับการเชื่อมแบบช้าหรือเชื่อมแห้ง ควรเลือกผลไม้ที่มีเส้นใยมาก เพราะใช้เวลาเคี่ยวนาน เช่น สาเก มะตูม รากบัว เปลือกส้มโอ เปลือกมะนาว เป็นต้น สำหรับผลไม้ที่มีเปลือกแข็ง เช่น สัปปะรด สาเก จาวตาล ให้ปอกเปลือกก่อนนำไปล้างจนสะอาด หั่นเป็นชิ้นขนาดเท่าๆ กัน ผลไม้บางชนิดที่มีเปลือกบางและมีขนาดเล็ก เช่น มะยม ให้ล้าง คลึงพอช้ำ ไม่ต้องนำเมล็ดออก ผลไม้แห้งที่มีเมล็ด เช่น พุทราจีน ให้คว้านเม็ดออก แช่น้ำเพื่อให้นุ่มจะได้ดูดซึมน้ำตาลได้ดี สำหรับพุทราไทยไม่ต้องแช่น้ำ และไม่ต้องนำเมล็ดออก พวกเปลือกผลไม้ต่างๆ ให้ปอกเปลือกเขียวออกให้หมด หั่นเป็นชิ้นๆ ประมาณ 2*2 นิ้ว แล้วนำไปคั้นด้วยน้ำปูนในจนหมดรสขม ต้มและเปลี่ยนน้ำหลายๆ ครั้ง
วิธีการปรุง
นำผลไม้ที่เตรียมเรียบร้อยแล้ว ไปต้มให้เดือด เคี่ยวน้ำตาลทรายแดงจนเหนียว แล้วจึงนำผลไม้ที่ต้มไว้ เทใส่ลงในน้ำตาลที่เคี่ยว ต้มต่อไปจนน้ำตาลแห้ง ยกลง ตักใส่ภาชนะที่แห้ง สะอาด มีฝาปิดมิดชิด
ภาพโดย : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-wad-khu-yang
คำสำคัญ : ผลไม้เชื่อม
ที่มา : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-wad-khu-yang
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ผลไม้เชื่่อม. สืบค้น 13 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=647&code_db=610008&code_type=01
Google search
กล้วยเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ หาง่าย และมีอยู่มากมายในประเทศไทย ทุกภาคและทุกจังหวัดล้วนมีกล้วยอยู่แทบทั้งสิ้น เป็นที่รู้กันว่ากล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ ใบ ลำต้น และผล นอกจากนี้กล้วยมักจะเหลือจากที่รับประทานกันมาก ก็เลยมีการแปรรูปกล้วยหลายอย่าง เช่น กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยกวน กล้วยฉาบ กล้วยแขกทอด เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 10,117
ขนมชั้น เป็นขนมไทยโบราณที่ใช้ในงานพิธีมงคล โดยมีความเชื่อว่าจะต้องหยอดขนมให้ได้ 9 ชั้น จึงจะเป็นศิริมงคลเจริญก้าวหน้าแก่เจ้าภาพส่วนผสมของขนมส่วนใหญ่จะเป็นกะทิ และน้ำตาล แป้ง 3-4 ชนิด แล้วแต่สูตรและความชอบเนื้อขนมในแต่ละแบบ ซึ่งแป้งแต่ละอย่างก็จะมีคุณสมบัติทำให้ขนมมีเนื้อต่างกัน
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 5,872
หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 5,906
ขนมผักห่อ ขนมพืื้นบ้านของคนนครชุม ที่นิยมทำกินในครัวเรือน มีวิธีการทำง่ายๆ โดยโขลกพริก หอม กระเทียม กะปิให้ละเอียด ตักใส่ถ้วย นำแป้งข้าวเจ้า แป้งมันเทผสมกันในภาชนะ ใส่น้ำเปล่าคนให้เข้ากัน ใส่หมูและน้ำพริก น้ำปลา ไข่ไก่ คนให้เข้ากัน แล้วซอยต้นหอมเป็นท่อนยาวประมาณ 1 ซ.ม.ใส่ลงไป คนให้ทั่ว ชิมดูมีรสเค็ม เผ็ดนิดๆ เย็บกระทงเป็นรูปเรือยาว 4 นิ้ว กว้าง 3 นิ้ว เรียงในซึ้ง ตักแป้งใส่กระทง นำซึ้งตั้งไฟพอน้ำเดือดเอาขนมนึ่งประมาณ 20 นาที เวลารับทานจะทานเปล่าๆ หรือทานกับซอสศรีราชาก็ได้
เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,778
เมี่ยงโบราณ เป็นของว่างของคนนครชุมในอดีต มี 2 รสคือ เมี่ยงหวาน และเมี่ยงเปรี้ยว เครื่องปรุงประกอบด้วย มะพร้าวหั่นเป็นชิ้นๆ ตามแนวยาว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียมปอกเปลือก ใบเมี่ยง วิธีทำเริ่มจากการตั้งกระทะให้ร้อน นำมะพร้าวที่หั่นแล้ว ถั่วลิสง น้ำตาล กระเทียม ใส่ลงในกระทะ ผัดจนเข้ากัน ใบเมี่ยงที่หมักครบกำหนดแล้ว จะมีรสเปรี้ยวอมฝาด และอมหวาน สามารถเก็บไว้ได้นานปี เมี่ยงเป็นอาหารว่างที่คนเมืองนิยมรับประทานใช้รับแขกบ้านแขกเมือง โดยจะนำใบเมี่ยงที่ผ่านการหมักแล้ว ดึงเส้นใบออก เอามาห่อเกลือ น้ำตาล มะพร้าวคั่ว ขิง เป็นเมี่ยงส้ม (เปรี้ยว) หรือเมี่ยงหวานตามชอบ เรียกว่าเมี่ยงอม หรือเอาใบเมี่ยงมาห่อเกลือ จะทำให้รสชาติอร่อยไปอีกแบบหนึ่ง การรับประทานเมี่ยงจะใช้การอม หลังจากรับประทานอาหารเสร็จแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 3,847
ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณมีหลักฐานว่าขนมครกเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทำเตาขนมครกขายตั้งแต่ยุคนั้น ขนมครกแต่เดิมใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำ โม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ขนมครกชาววังจะมีการดัดแปลงหน้าขนมครกให้แปลกไปอีก เช่น หน้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอม
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 6,534
กะหรี่ปั๊บ เป็นอาหารแบบตะวันตกผสมกับอินเดีย ได้รับความนิยมจากชาวมุสลิมในประเทศไทย คาดว่าท้าวทองกีบม้าคิดค้นขึ้น ตอนแรกใช้ชื่อว่า curry puff (พัฟฟ์ผงกะหรี่) ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็น กะหรี่พัฟฟ์ และเพี้ยนเป็นกะหรี่ปั๊บในที่สุด กะหรี่ปั๊ปไส้ไก่เป็นที่นิยมมาก
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้เช้าชม 4,658
ในฤดูกาลที่ต้นมะม่วงออกผลมาจำนวนมากเกินกว่าที่จะบริโภคผลสดได้หมด เริ่มจะมีมะม่วงสุกร่วงหล่นจากต้นมาก ไม่น่ามาใช้รับประทานผลไม้สดได้ วิธีดั้งเดิมของชาวบ้านก็มักจะนำมะม่วงสุกเหล่านี้มาทำ "ส้มแผ่น” ที่รสชาติอร่อย ออกหวานอมเปรี้ยว เพื่อเก็บไว้กินได้อีกนาน หากปีไหนทำส้มแผ่นกันมากเกินเก็บ ก็จะเอามาขายบ้าง เริ่มเกิดความคิดที่จะนำส้มแผ่นซึ่งเป็นผลผลิตของชาวบ้านมาเป็นสินค้าและมีเป้าหมายที่จะทำให้ชื่อ "ส้มแผ่น” เป็นสินค้าของฝากและได้รับความนิยมจากผู้บริโภค ได้เลือกซื้อเป็นของฝากเสมอ
เผยแพร่เมื่อ 30-09-2022 ผู้เช้าชม 3,696
ขนมไข่นกกระทา คือ ขนมชนิดหนึ่ง เป็นขนมที่นิยมมากในอดีตตั้งแต่สมัยสุโขทัย กรุงศรีอยุธยา แม้กระทั่งรัตนโกสินทร์ จนถึงปัจจุบันเพราะสามารถทำได้ง่าย ราคาถูก และมีรสชาติติดปาก รับประทานง่าย มีลักษณะเป็นก้อนกลม สีเหลืองอ่อน ทำด้วยแป้งมัน แล้วนำไปทอด รสชาติหอมหวานมัน ข้างนอกจะแข็ง ข้างในนุ่ม
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 8,728
แกงบวดฟักทอง เป็นขนมไทยพื้นบ้านของชาวไทย ที่บ่งบอกถึงความเป็นไทยเนื่องจากชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม ปลูกผักผลไม้ ไว้รับประทานเอง จึงนำอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาทำขนมรับประทานเองภายในครอบครัว หรือนำไปทำบุญที่วัด และใช้รับรองแขก ปัจจุบันหลายครอบครัวเริ่มเลิกราห่างหายกันไปเนื่องจากเห็นว่ามีขั้นตอนที่ยุ่งยาก เสียเวลา และสามารถซื้อหาได้ง่ายตามตลาดทั่ว ๆ แต่ก็ยังคงเหลือเป็นบางครอบครัวที่สานต่อ รักษาสืบทอดการทำขนมแกงบวดฟักทอง คงไว้ให้ลูกหลานได้เรียนรู้ อนุรักษ์สืบสานต่อไป
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,729