บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร

บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 21-06-2022 ผู้ชม 3,501

[16.4709737, 99.5268233, บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร]

บทนำ
         บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร เป็นร้านก๋วยเตี๋ยวชื่อดังในจังหวัดกำแพงเพชร สืบทอดสูตรก๋วยเตี๋ยวกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ยึดอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวมาตลอด สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สืบทอดกันมานับ 70 ปี ร้านบะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชรจึงเป็นอีกหนึ่งร้านดังและอยู่กับจังหวัดกำแพงเพชรมานาน บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกี่ยวกับ 1) ประวัติความเป็นมาบะหมี่เซี้ยงชากังราว 2) เครื่องปรุง ขั้นตอนการปรุงและการจัดเสิร์ฟ

ประวัติความเป็นมาบะหมี่เซี้ยงชากังราว
         ก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารที่ได้รับความนิยม บริโภคได้ตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ สามารถเลือกใช้ของดีมีประโยชน์ทั้งเครื่องเคียงรูปแบบหลากหลาย อาทิ ผัก เครื่องเทศ สมุนไพร เนื้อสัตว์ จะมาในรูปแบบต้ม ตุ๋น หรือของสดๆ ลวกให้สุกพอดี ก็ได้รับความอร่อยแตกต่างกันไปตามความชอบ ได้คุณค่าทางสารอาหารครบทั้ง 5 หมู่ แถมด้วยน้ำซุปร้อน ๆ เคี่ยวด้วยน้ำต้มกระดูกกับสมุนไพรหลากหลายชนิด จนได้รสที่หอมหวานกลมกล่อม ซดคล่องคอ จากนั้นก็เลือกปรุงรสได้ตามใจ จะให้รสจัดหรือสําหรับผู้ที่รักสุขภาพ เลือกปรุงรสชาติอ่อน ๆ รับประทานแล้วสบายท้อง ดีต่อสุขภาพไม่น้อย ก๋วยเตี๋ยวจึงเป็นเมนูที่เหมาะสําหรับคนทุกเพศทุกวัยเป็นอย่างดี
         ก๋วยเตี๋ยวมากับคนจีนที่อพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย แต่จะเริ่มมีครั้งแรกสมัยไหนนั้น เป็นเรื่องยากที่จะบอกชัด คนจีนเริ่มอพยพเข้ามาจริงจังตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนกลางถึงสมัย กรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น แต่จํานวนผู้อพยพจะมากเป็นพิเศษในช่วงสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ซึ่ง สัมพันธ์กับการเติบโตของย่านคนจีนที่สําเพ็ง และเยาวราชในสมัยนี้ก็มีรายงานว่ามีเรือเจ็กขาย ก๋วยเตี๋ยวให้เห็นแล้วแม้ก๋วยเตี๋ยวจะมากับคนจีน แต่เมื่อกาลเวลาหมุนผ่านไปคนไทยได้หันมา รับประทานก๋วยเตี๋ยวและทําก๋วยเตี๋ยวขายมากขึ้นเรื่อย ๆ ก๋วยเตี๋ยวรสชาติไทยจึงพัฒนาขึ้น ประจักษ์พยานที่ดีที่สุด คือ ผัดไทย ซึ่งถือเป็นก๋วยเตี๋ยวผัดแบบไทย (ศิริลักษณ์ รอตยันต์, 2550, หน้า 91)
         สมัยสุโขทัย มีหลักฐานว่ามีการค้าขายกับประเทศจีน การเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างพระเจ้าหงวนสีโจ๊วฮ่องเต้ กับพ่อขุนรามคำแหง อิทธิพลของจีนเข้าสู่ทุกประเทศในแหลมทอง ก๋วยเตี๋ยวอาจเข้ามาในสมัยนั้น แต่ไม่มีหลักฐานที่จะสืบคนได้ และอาหารหลักของไทยคือ ข้าว ดังนั้นก๋วยเตี๋ยวน่าจะเป็นอาหารยุคหลังสมัยรัตนโกสินทร์ ซึ่งคนจีนที่เข้ามาทำมาหากินในไทย ได้ทำก๋วยเตี๋ยวขายด้วยการหาบ หรือพายเรือขายก่อนจะมาตั้งร้าน (มาลี เพชรพิพัฒน์, 2552)
         บะหมี่เซี้ยงชากังราวจังหวัดกำแพงเพชรได้พัฒนามาจากสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เพราะว่ามีการสนับสนุนให้คนไทยกินก๋วยเตี๋ยวโดยร้านที่มีชื่อเสียงในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มีร้านที่มีชื่อเสียง คือ ร้านเจ็กเท่ง ร้านเจ็กฮ้อ ร้านเจ็กเซี้ยง จากคำบอกเล่าของ อาจารย์สุมาลี หรั่งประเสริฐ บุตรนายตั้งหยงเซี้ยง (ร้านเจ๊กเซี้ยง) มาจากเมืองซัวเถาตั้งแต่ปี 2475 ได้ยึดอาชีพขายก๋วยเตี๋ยวมาตลอด สมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 กิจการขายก๋วยเตี๋ยวร่ำรวยมากเพราะขายให้ทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาในกำแพงเพชร ต่อมาบรรดาลูก ๆ ได้สืบทอดขายก๋วยเตี๋ยวบะหมี่ถึง 4 ร้านคือ ร้านบะหมี่ชากังราว, ร้านบะหมี่เซี้ยง, ร้านเซี้ยงบะหมี่, ร้านอู๊ด รสเด็ด ซึ่งทั้ง 4 ร้านได้ทำกิจการขายก๋วยเตี๋ยวสืบกันมานับ 70 ปี (มาลี เพชรพิพัฒน์, 2552)
         จากบทสัมภาษณ์ มติชนออนไลน์ เรื่องถวิลหา ‘บะหมี่ชากังราว’ บะหมี่ชั้นหนึ่งคู่เมืองกำแพง ได้กล่าวไว้ว่า ร้านบะหมี่เซี้ยงชากังราวมีการบริหารกิจการร่วมกันระหว่าง มณฑา รักษ์ชน และ อำนาจ รักษ์ชน ซึ่งเป็นต้นตำรับบะหมี่ชากังราวมาจาก นายเซี๊ยง ที่อพยพมาจากเมืองจีน ทำบะหมี่เข็นรถขาย ถือเป็นเจ้าแรก ๆ ในจังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาพ่อของสามี คือ นายคิดคะเน รักษ์ชน ซึ่งเป็นลูกชายคนโตของนายเซี๊ยงได้แตกออก มาเปิดร้านของตัวเอง ตั้งชื่อว่าบะหมี่ชากังราวที่ลานโพธิ์ตั้งแต่ปี 2503 ขายตั้งแต่ชามละ 2 บาท จนถึงปัจจุบันชามละ 30 บาท ด้วยความอร่อยและพิถีพิถัน ทำให้ลูกค้าพูดกันปากต่อปากจนเป็นที่รู้จักโด่งดัง
         สูตรลับการทำบะหมี่ที่ตกทอดกันมาถึง 3 ชั่วอายุคน ไม่ทำให้รสชาติความอร่อยตกหล่นไปกับกาลเวลาแม้แต่น้อย ด้วยฝีมือการทำบะหมี่ไข่เส้นสด และการปรุงรสชาติที่คงเส้นคงวา ทำให้ร้าน “บะหมี่ชากังราว” (เจ้าเก่า) ที่ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับความนิยมจากคนเมืองกำแพงไม่เสื่อมคลาย
         บะหมี่ชากังราว เดิมเรียกว่าบะหมี่เซี้ยง เล่ากันว่านายเซี้ยง รักชนม์ (แซ่แต้) เป็นผู้ริเริ่มปรุงสูตรขึ้น นายเซี้ยงเป็นชาวจีนที่อพยพมาอาศัยอยู่ในกำแพงเพชรโดยยึดอาชีพทำก๋วยเตี๋ยวขาย ด้วยการปรุงน้ำก๋วยเตี๋ยวได้อร่อยเข้มข้น ทั้งเส้นบะหมี่ก็ทำเอง ต่อมาจึงแพร่หลายกลายเป็นที่นิยมของชาวกำแพงเพชร เส้นบะหมี่นั้น  ใช้แป้งสาลีนวดกับไข่แดง น้ำเปล่า และเชื้อทำบะหมี่ จนเหนียวนุ่มเข้ากันดี หลังจากนั้นก็นำแป้งมาคลี่เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วหั่นเป็นเส้น ร้านไหนที่อร่อย ๆ จะทำเส้นเองวันต่อวัน เส้นจะสดใหม่ เอกลักษณ์ของเส้นทำเองแบบนี้คือค่อนข้างแข็งกว่าเส้นโรงงาน จึงเคี้ยวเพลินกว่า ยิ่งสั่งแบบแห้งมายิ่งอร่อย ส่วนน้ำก๋วยเตี๋ยวเป็นน้ำต้มกระดูกหมูที่เคี่ยวจนได้รสหวาน แล้วปรุงรสด้วยน้ำตาลปี๊บ ส่วนเครื่องที่ใส่ในก๋วยเตี๋ยวมีหลายอย่างได้แก่ หมูสับ หมูแดง หนังหมู ตับหมูต้ม หอมเจียว กระเทียมเจียว พริกป่น ถั่วงอก และถั่วฝักยาว ที่ต่างกับก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ชัด ๆ คงจะเป็นการไม่ใส่ถั่วลิสงคั่ว ทั้ง 4 ร้านเป็นสูตรเดียวกันหมด เพราะทุกร้านเป็นพี่น้องกัน ต่างกันแค่ร้านนึงมีหมูสะเต๊ะ แต่อีกร้านนึงไม่มีแต่มีติ่มซำ (อำนาจ รักษ์ชน, การสัมภาษณ์, 15 ตุลาคม 2564) ผู้เขียนได้มีการสำรวจพื้นที่ ร้านบะหมี่เซี้ยงชากังราว และได้สัมภาษณ์ เมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2564 แล้วสรุปเมนูและภาพร้านของบะหมี่เซี้ยงชากังราว
         จากการสัมภาษณ์อำนาจ รักศ์ชน เจ้าของร้าน เครื่องปรุงของทางร้านจะมีเยอะแยะมากมายแต่บางอย่างไม่สามารถบอกได้ เครื่องปรุงหลัก ๆ คือดังนี้

เครื่องปรุง

         บะหมี่ เกี๊ยว หมูสับ หมูแดง ตั้งฉ่าย ผักชีฝรั่งหั่นฝอย แผ่นเกี๊ยว เนื้อหมูสับบด (ปรุงรสด้วยสามเกลอ พริกไทยป่น และซอสปรุงรส) ผักกวางตุ้งกระเทียมเจียว ตั้งฉ่าย ถั่วฝักยาวลวก
         1. เส้นบะหมี่เซี้ยง
         2. หมูสับ
         3. หมูแดง 
         4. ผักชีฝรั่ง
         5. ถั่วฝักยาวลวก
         6. ตั้งฉ่าย 
         จากการสัมภาษณ์อำนาจ รักษ์ชน ถึงขึ้นตอนการปรุงหรือวิธีการทำของบะหมี่เซี้ยงชากังราว ขั้นตอนตอนปรุงไม่ได้ซับซ้อนมากแต่จะมีสูตรของทางร้านที่สืบทอดกันมารุ่นสู่รุ่น มีดังนี้

ขั้นตอนการปรุง
         1. หมักหมูแดง: นำสันนอกหมูมาทำการหมักด้วยเกลือ พริกไทย น้ำตาลทราย ซอสหอยนางรม ซอสพริก และสีผสมอาหารเล็กน้อยค่ะ คลุกเคล้าให้เข้ากัน หมักทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง ทำน้ำซุปบะหมี่เกี๊ยว
         2. ตั้งน้ำให้เดือด: จากนั้นใส่รากผักชีและกระดูกเล้งลงไป ตามด้วยกระเทียม หอมใหญ่ แล้วต้มจนเดือด เคี่ยวไฟอ่อน ๆ ไปเรื่อย ๆ
         3. ห่อเกี๊ยว นำแผ่นเกี๊ยวมาห่อหมูบดปรุงรสที่เตรียมไว้
         4. ต้มและอบ หมูแดง นำหมูที่หมักได้ที่แล้ว ต้มลงในน้ำเดือดใส่น้ำให้ท่วมชิ้นหมูนะคะ ปิดฝาทิ้งไว้ จนหมูสุกดี หลังจากนั้นนำขึ้น แล้วไปอบต่อด้วยอุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที เมื่อได้หมูแดงแล้วนำมาหั่นเฉียง ๆ ให้ได้ชิ้นที่พอคำ
         5. ลวกส่วนผสม ตั้งน้ำโดยใช้ไฟกลาง นำผักกวางตุ้ง เกี๊ยว เส้นบะหมี่ ลงลวกได้เลยค่ะ ใช้เวลาประมาณ 10-30 วินาที

จัดเสิร์ฟ
         นำผักกวางตุ้ง เกี๊ยว และเส้นบะหมี่จัดใส่ชาม วางด้วยหมูแดงหั่นชิ้น โรยต้นหอมผักชี กระเทียมเจียว แล้วเติมน้ำซุป นำบะหมี่เกี๊ยวที่ได้ตกแต่งด้วยผักชี และกระเทียมเจียว ปรุงรสชาติตามชอบ ก็จัดขึ้นเสิร์ฟได้

บทสรุป
         จากการศึกษาบะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร วัตถุประสงค์ที่ 1) ประวัติความเป็นมาบะหมี่เซี้ยงชากังราว พบว่า มีมาตั้งแต่สมัยสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และคนที่คิดค้นและปรุงสูตรคือ นายเซี้ยง รักษ์ชน (แซ่แต้) เป็นผู้เริ่มปรุงสูตร นายเซี้ยงเป็นคนจีนที่เข้ามาอยู่ในจังหวัดกำแพงเพชร และได้ยึดอาชีพทำก๋วยเตี๋ยวมาหลายปี และกิจการก๋วยเตี๋ยวก็ร่ำรวยมากขึ้นเพราะขายให้กับทหารญี่ปุ่นที่เข้ามาในกำแพงเพชรต่อมาก็ได้สืบทอดกันมากหลายต่อหลายรุ่น จึงทำให้คนสมัยก่อนและสมัยนี่รู้จักและเรียกติดปากกันว่า บะหมี่เซี้ยงวัตถุประสงค์ที่ 2) ขั้นตอนการปรุงและการจัดเสิร์ฟ พบว่า เป็นขั้นตอนที่สำคัญมีความพิถีพิถันกันออกไปกัน แต่ละร้าน ดูภายนอกอาจจะเหมือนธรรมดาแต่ถ้าเรามาศึกษาลงไปในแต่ละขั้นตอนทางร้านจะใส่ใจทุกรายละเอียด เพราะทำทุกอย่างตามสูตรที่สืบทอดกันมาหลายต่อหลายรุ่นเพื่อจะให้รสชาติคงเดิม การใช้เครื่องปรุงมีมากมายหลายชนิดเช่น บะหมี่ เกี๊ยว หมูสับ และยังมีผักกวางตุ้งกระเทียมเจียว ตั้งฉ่าย ถั่วฝักยาวลวก และยังมีอีกหลายขั้นตอน คือ ขั้นตอนการปรุงมีดังนี้ การหมักหมูแดง นำสันนอกหมูเอาไปหมักพอหมักเสร็จแล้วทิ้งไว้ 1-2 ชั่วโมง หลังจากนั้น นำไปต้มในน้ำที่เดือดและต่อไปให้นำไปอบด้วยอุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 10 นาที เมื่อเสร็จแล้วนำหมูแดงมาหั่นเป็นชิ้นเฉียง ๆ การทำน้ำซุปต้องใช้เวลาหน่อยถ้าไฟแรงมากรสชาติน้ำซุปก็จะเปลี่ยนต้องไม่รีบ ขั้นตอนการทำน้ำซุป ตั้งน้ำให้เดือด หลังจากนั้นใส่รากผักชีและกระดูกเล้งลงไปในหม้อ ตามด้วยกระเทียม หอมใหญ่ แล้วต้มจนเดือด เคี่ยวไฟอ่อน ๆ ขั้นตอนห่อเกี๊ยว นำแผ่นเกี๊ยวออกมาแล้วนำมาห่อหมูบดที่ปรุงรสจากทางร้าน การลวกส่วนผสม โดยต้องตั้งน้ำให้ใช้ไฟกลาง นำผักกวางตุ้ง เกี๊ยว เส้นบะหมี่เอาลงเข้าไปลวกพร้อมกัน ใช้เวลาประมาณ 10-30 วินาที หลังจากนั้นนำของที่ลวกเสร็จแล้ว ลงใส่ในชาม และตกแต่งด้วยหมูแดงที่หั่นเป็นชิ้นและโรยด้วยต้นหอมผักชีและกระเทียมเจียมแล้วเติบน้ำซุปลงในชาม หลังจากนั้นก็นำไปเสิร์ฟและปรุงรสได้ตามชอบรับรองอร่อย

คำสำคัญ : บะหมี่เซี้ยงชากังราว บะหมี่กำแพงเพชร

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). บะหมี่เซี้ยงชากังราวกำแพงเพชร. สืบค้น 6 พฤศจิกายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2110&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2110&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยอบน้ำผึ้ง

กล้วยเป็นผลไม้ที่มีประโยชน์ หาง่าย และมีอยู่มากมายในประเทศไทย ทุกภาคและทุกจังหวัดล้วนมีกล้วยอยู่แทบทั้งสิ้น เป็นที่รู้กันว่ากล้วยสามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วนตั้งแต่ ใบ ลำต้น และผล นอกจากนี้กล้วยมักจะเหลือจากที่รับประทานกันมาก ก็เลยมีการแปรรูปกล้วยหลายอย่าง เช่น กล้วยอบน้ำผึ้ง กล้วยกวน กล้วยฉาบ กล้วยแขกทอด เป็นต้น

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 9,907

กล้วยบวชชี

กล้วยบวชชี

กล้วยบวชชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้ การทำกล้วยบวชชีในตำรับนี้ผู้เขียนจะใช้กะทิธัญพืชเป็นส่วนประกอบแทนกะทิทั่วไป เพื่อให้เป็นตำรับสุขภาพที่ทุกคนกินได้

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 4,786

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องแก่จัด ไม่ช้ำ แผงตากกล้วย น้ำผึ้งแท้ ตู้อบ วิธีปรุง เริ่มจากการนำกล้วยที่แก่จัดมาตัดออกจากเครือ แบ่งออกเป็นหวีๆ เพื่อนำไปบ่ม โดยใช้กระสอบป่านรองพื้น เรียงกล้วยทับกันสูงประมาณ 3-5 ชั้น คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ประมาณ 24-48 ชั่วโมง (1 วัน 1 คืน) เปิดผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ 4-5 วัน ปอกเปลือกกล้วย แล้วล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด ใช้มีดผ่าซีกครึ่งกดกล้วยด้วยเครื่องทับกล้วย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 13 เซ็นติเมตร เพื่อให้กล้วยแบน แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง 1 แดด นำกล้วยไปอบในตู้อบด้วยลมร้อน เพื่อฆ่าเชื้อและถนอนอาหารให้อยู่นาน ด้วยอุณหภูมิประมาณ 120 องศา นาน 30 นาที นำกล้วยที่อบได้ไปบ่มให้น้ำหวานออก 1 คืน แล้วนำกล้วยออกจากตู้ไปอบน้ำผึ้ง แล้วจึงม้วนใส่กล่องเก็บไว้รับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,000

กระยาสารท

กระยาสารท

ขนมกระยาสารท ในสมัยก่อนเป็นขนมทีทำขึ้นในช่วงทำบุญวันสารทไท ช่วงเดือนตุลาคม เป็นการทำบุญอุทิศส่วนบุญให้แก่ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว และจะมีการตักบาตรด้วยกระยาสาทร มีความเชื่อว่า หากไม่ใส่บาตรด้วยกระยาสาทรผู้ที่ล่วงลับไปแล้วก็จะไม่ได้รับส่วนบุญ กุศลที่ทำในวันนี้ เมื่อทำบุญกันเสร็จแล้วก็จะมีการแบ่งกระยามสาทรที่ทำ เป็นการแลกเปลี่ยนกันเหมือนกับอวดฝีมือขแงกระยาสาทรแต่ละบ้าน กระยาสาทรจะกินคู่กับกล้วยไข่ เหตุผลก็เพราะว่าช่วงนั้นเป็นช่วงทึ่กล้วยไข่ออกผลนั้นเอง และรสชาติของกล้วยไข่จะช่วยท่อนรสหวานของกระยาสาทรได้ดี เสริมให้กินอร่อยหวานมันกำลังดี

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 2,829

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง

ขนมหม้อแกง หรือ ขนมกุมภมาศ คือขนมที่ใช้ไข่ แป้ง และกะทิเป็นส่วนประกอบสำคัญ นำผสมกันในถาดตามสัดส่วน แล้วจึงนำไปอบจนหน้าของขนมหม้อแกงมีสีน้ำตาลทอง น่ารับประทาน ปัจจุบันมีการทำเผือก เม็ดบัว ถั่ว และหอมเจียว มาผสม และแต่งหน้าขนมหม้อแกง ทำให้ขนมหม้อแกงมีรสชาติที่กลมกล่อมมากขึ้น

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 7,061

ข้าวต้มลูกโยน

ข้าวต้มลูกโยน

"ข้าวต้มลูกโยน” หรือ "ข้าวต้มหาง” เป็นเป็นอีกหนึ่งรูปแบบการห่อข้าวต้มที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ทำมาจากข้าวเหนียวผัดกับกะทิ ถั่วดำ ผสมน้ำตาลทรายและเกลือ แล้วนำมาห่อด้วยใบเตย หรือใบมะพร้าวอ่อน (คล้ายกับข้ามต้มมัด) โดยจะทำเป็นกรวยห่อหุ้มข้าวเหนียว และเหลือใบไว้เป็นหางยาว ทั้งนี้ก็เพื่อความสะดวกในการใส่บาตร

เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 9,579

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตได้รับการผสมผสานจากทั้งภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคกลาง (อยุธยาและสุโขทัย) ซึ่งแสดงออกในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหาร อย่างเมี่ยงคำหรือเมี่ยงลาว เป็นต้น เมี่ยงเป็นอาหารที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน แต่เมื่อย้ายถิ่นมาอยู่กำแพงเพชรเป็นเวลานานก็เริ่มผสมผสานความเป็นภาคกลางเข้าไปในอาหารหรือแม้แต่วิธีการกิน รวมถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการทำเมี่ยง นอกจากเมี่ยงแล้วเมื่อมาจังหวัดกำแพงเพชร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกล้วยไข่กำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีลักษณะเด่นที่ลูกเล็กกำลังดี มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน แขกบ้านแขกเมืองจึงนิยมนำกล้วยไข่ไปเป็นของฝาก สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกล้วยสุกเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะนำกล้วยมาทำเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวไม่เกิดความเบื่อหน่ายจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ ก่อเกิดเป็นแกงหยวกกล้วยไข่ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 07-06-2022 ผู้เช้าชม 1,003

ข้าวเหนียวสังขยา

ข้าวเหนียวสังขยา

ข้าวเหนียวสังขยา เมนูขนมไทยแสนอร่อย ที่หลายท่านรู้จักเป็นอย่างดี เป็นที่ชื่นชอบของหลายท่านด้วย เมนูนี้ได้นำเอาเมนูสองเมนูมาเสิร์ฟ รับประทานด้วยกันคือ ข้าวเหนียวมูนกับสังขยาไข่ ซึ่งเมื่อนำมารับประทานคู่กันแล้ว ยิ่งเพิ่มรสชาติความหอมหวาน มันอร่อยยิ่งๆ ขึ้นไปอีก ข้าวเหนียวมูนสามารถเสิร์ฟ รับประทานกับขนมไทยและผลไม้ต่างๆ หลากหลายชนิด และอร่อยเข้ากันได้เป็นอย่างดี

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 2,699

ปลาเห็ด

ปลาเห็ด

ปลาเห็ดหรือทอดมัน เป็นอาหารพื้นบ้าน คำว่า ปลาเห็ด” เป็นคำที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก ภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า ปฺรหิต” เวลาอ่านออกเสียงว่า ปฺรอเฮด” ในพจนานุกรมภาษาเขมรอธิบายไว้ว่า เป็นเครื่องประสมหลายอย่าง เป็นเครื่องช่วยทำให้อาหารมีรสอร่อย เป็นเครื่องช่วยกับข้าว ทำด้วยปลาหรือเนื้อสับให้ละเอียดแล้วคลุกให้ เข้ากันกับเครื่องผสมหลายอย่าง เช่น แป้งข้าวเจ้า แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วทอดน้ำมัน หรือเอาไปแกง” เครื่องปรุง ประกอบด้วย ปลาทั้งเนื้อทั้งกระดูก กุ้งฝอย สับให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปรุงรสด้วยพริกแกงเผ็ด ปรุงรสเค็มนิดๆ เวลาจะทอด ให้ปั้นเป็นชิ้นแบนๆ ขนาดประมาณสามนิ้วมือเรียงชิดกัน ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ จนเหลืองกรอบนอก ด้านในเหนียวนุ่ม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,372

ขนมตาล

ขนมตาล

ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาลในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อย

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 6,360