การสืบชะตาป่า

การสืบชะตาป่า

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้ชม 2,843

[16.3349545, 99.3442154, การสืบชะตาป่า]

       แนวคิดเรื่อง การสืบชะตาป่า” มีฐานคิดมาจากความต้องการอนุรักษ์ป่าชุมชนของคนในชุมชนร่วมกับเครือข่ายป่าชุมชนรอบผืนป่าตะวันตก 6 จังหวัดประกอบด้วย จังหวัดนครสวรรค์ ตาก กำแพงเพชร อุทัยธานี สุพรรณบุรี และกาญจนบุรี และสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.และโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาแห่งประเทศเดนมาร์ก (DANIDA) ด้วยความเชื่อว่าการคงอยู่ของ ป่าชุมชน จะเป็นการสร้างความมั่นคงของแหล่งอาหารที่สำคัญให้แก่คนในชุมชน โดยกิจกรรมได้เริ่มจัดขึ้นโดยเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ ก่อนแนวคิดดังกล่าวถูกขยายมายังพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชร ภายใต้ความร่วมมือของคนในชุมชน ผู้แทนจากมูลนิธิสืบนาคะเสถียรพื้นที่นครสวรรค์-กำแพงเพชร และหน่วยงานภาครัฐ กิจกรรมสำคัญประกอบด้วยพิธีบวชป่า การกล่าวแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การผลักดันให้เกิด คณะกรรมการป่าชุมชน การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนที่ไม่ทำลายป่าหรือสภาพแวดล้อม และการอนุรักษ์ป่าชุมชน โดยในเบื้องต้นเป้าหมายของการสืบชะตาป่า ของเครือข่ายป่าชุมชนจังหวัดกำแพงเพชรอยู่ที่พื้นที่อนุรักษ์ โดยมีสมาชิกเครือข่าย ๒๑ กลุ่มป่าชุมชน ซึ่งอยู่นอกพื้นที่โครงการวิจัย แต่ต่อมาเมื่อผู้นำชุมชนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และรับรู้ถึงประโยชน์ของกิจกรรมดังกล่าว ได้มีโอกาสพูดคุยกัน กลุ่มผู้นำชุมชนและคนในชุมชน จึงนำแนวคิดดังกล่าวมาขยายเครือข่าย เพื่อดำเนินกิจกรรมด้านการอนุรักษ์ โดยเน้นการดูแลรักษาสภาพแวดล้อมและป่าชุมชนของตนเอง 

ภาพโดย : https://new.forest.go.th/nakhonsawan/

คำสำคัญ : การสืบชะตาป่า

ที่มา : https://sites.google.com/site/kamphaengphetheritage/mrdk-thang-wathnthrrm/chumchn-bx-sam-saen

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). การสืบชะตาป่า. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=636&code_db=610004&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=636&code_db=610004&code_type=01

Google search

Mic

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีทอดผ้าป่าแถว จังหวัดกำแพงเพชร

ประเพณีการทอดผ้าป่าแถวของจังหวัดกำแพงเพชร มีประวัติย้อนไปถึงสมัยพุทธกาล เมื่อครั้งที่พระพุทธองค์ยังไม่ได้มีพุทธานุญาตให้ภิกษุรับจีวรจากชาวบ้านได้ ภิกษุทั้งหลาย จึงต้องเที่ยวไปเก็บผ้าที่เจ้าของเขาทิ้งแล้ว เช่น ผ้าเปรอะเปื้อน ผ้าบังสุกุล (ผ้าเปื้อนฝุ่น) หรือผ้าห่อศพ ตามป่าช้า หรือตามป่า ทั่วไป แล้วนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยเหล่านั้น มาซักเย็บปะติดปะต่อกัน แล้วย้อมเป็นสบงจีวรสังฆาฏิตามต้องการ ด้วยเหตุนี้การทำจีวรของพระภิกษุในครั้งนั้น จึงต้องช่วยกันทำหลายรูป และการที่มีพุทธานุญาตให้คนตัดเย็บจีวรเป็นขันธ์ อย่างกระทงนาของชาวมคธ ก็เพื่ออำนวยความสะดวกในการนำผ้าชิ้นเล็กชิ้นน้อยมาปะติดปะต่อกันนั่นเอง เวลาต่อมาชาวบ้านเห็นความยากลำบากของพระสงฆ์

เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้เช้าชม 3,595

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ประเพณีกินแกงขี้เหล็กในวันเพ็ญเดือน 12

ขี้เหล็กเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง คนโบราณเอาใบอ่อนและดอกมาปรุงเป็นของกิน ในวันเพ็ญ เดือน 12 ทำแกงขี้เหล็กกันทุกครัวเรือน คนนครชุมโบราณถือว่า วันเพ็ญเดือน 12 ยอดขี้เหล็กจะเป็นยารักษาสารพัดโรค แต่ต้องเก็บตอนเช้ามืด โดยมีความเชื่อที่ว่า การปรุงแกงขี้เหล็กเพื่อเป็นยาอายุวัฒนะ ก่อนหน้าการลอยกระทงเพียง 12 ชั่วโมง ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น จะมีพิธีพลียาจากต้นขี้เหล็ก เพราะมีความเชื่อว่าต้นขี้เหล็กจะมีเทพเทวดาคอยรักษา จึงต้องทำพิธีนี้ขึ้นเพื่อขออนุญาตนำดอกขี้เหล็กและใบอ่อนไปปรุงเป็นอาหารและต้องแกงขี้เหล็กให้เสร็จภายในวันนั้น จะเก็บล่วงหน้าไม่ได้ มิฉะนั้นสรรพคุณจะไม่ขลัง 

เผยแพร่เมื่อ 04-08-2022 ผู้เช้าชม 2,941

ประเพณีงานบวช

ประเพณีงานบวช

งานบวช เป็นประเพณีไทยสืบเนื่องมาแต่โบราณกาล ชายไทยเมื่ออายุครบบวช จะต้องบวชให้ได้สักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อการศึกษาพระธรรมคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและสืบทอดอายุพระพุทธสาสนาสร้างกุศลอันยิ่งใหญ่ให้ตนเองและบิดามารดารวมทั้งหมู่ญาติการมีโอกาสได้เป็นนักบวช ดำรงเพศสมณะผุ้ตั้งใจฝึกฝนอบรมตนเองเพียงช่วงระยะเวลาสั้นๆ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 26,662

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

การแต่งกายของชาวกำแพงเพชร

จุดกำเนิดของการแต่งกายต่าง ๆ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จากการพบชุมชนโบราณที่เขากะล่อน พบเครื่องประดับประเภททำด้วยหิน เช่น กำไล หินขัด ชุมชนโบราณบ้านหนองกอง ตำบลนาบ่อคำ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดทำจากแร่อะเกตตา เนียล และชุมชนโบราณเมืองไตรตรึงษ์ พบลูกปัดแก้ว ลูกปัดหินทำเป็นสร้อยคอและสร้อยข้อมือ เป็นจุดกำเนิดของการแต่งกายของชาวกำแพงเพชรสมัยก่อนประวัติศาสตร์เท่าที่สืบค้นได้ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 21-02-2017 ผู้เช้าชม 5,480

ลิเกป่า

ลิเกป่า

เล่นในงานลงแขกเกี่ยวข้าว หรือในงานประเพณีบวชพระที่บ้านเจ้าภาพ เพื่อความสนุกสนาน ผู้สืบค้น แม่แฉล้ม บุญสุข แม่สุวรรณ สังข์สุวรรณ แม่พวงเพ็ญ จิ๋วปัญญา แสดงโดยแม่บ้านหมู่ 4 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร วิธีการเล่น ชายหญิง ร้องโต้ตอบเกี้ยวพาราสี ไม่มีเครื่องดนตรี มีลูกคู่ร้องรับและปรบมือเข้าจังหวะ จำวนผู้แสดงไม่จำกัด

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,102

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

ประเพณีนบพระ-เล่นเพลง

“นบพระ เล่นเพลงในแผ่นดินพระเจ้าลิไท ริ้วขบวนยาตราสู่วัดพระบรมธาตุ นครชุม น้อมสักการะพระบรมสารีริกธาตุ สืบทอดประเพณีเก่าแก่นับแต่ครั้งสมัยสุโขทัย งานมหรสพ การละเล่นโลดแล่นอยู่ท่ามกลางร่องรอยแห่งความเจริญรุ่งเรืองของอารยธรรมครั้งอดีตที่ชวนหลงใหล”

เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 4,808

ประเพณีการเกิด

ประเพณีการเกิด

ระยะตั้งท้องผู้เป็นแม่ต้องระมัดระวังตัวเป็นพิเศษ ทำให้เกิดความเชื่อถือหลายอย่าง เช่น ให้นำดอกบัวที่บูชาพระมาต้มกินจะทำให้เด็กในท้องแข็งแรง เวลามีสุริยคราสหรือจันทรคราสให้เอาเข็มมากลัดที่ชายผ้า จะทำให้เด็กเกิดมาอาการครบ 32 และให้นั่งถัดบันไดจะทำให้คลอดง่าย

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 6,731

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

สาวปากคลองที่ยังไม่ได้แต่งงานต้องสวมกำไลข้อเท้า

“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 1,946

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

ประเพณีกินสี่ถ้วย (ประเพณีการแต่งงานของชาวปากคลอง)

เมื่อชาวปากคลองแต่งงาน จะมีประเพณีหนึ่งที่รับมาจากภาคกลาง หรือภาคกลางรับไปจากปากคลองไม่เป็นที่ยืนยัน ชาวบ้านจะเรียกว่า ไปกินสี่ถ้วย แปลว่าไปงานแต่งงาน ชาวปากคลองจะถามกันว่า วันนี้จะไปกินสี่ถ้วยหรือเปล่า หมายถึงว่าจะไปงานมงคลสมรสหรือเปล่าเพราะ มีอาหารที่รับรองแขก หมายถึงการเลี้ยงขนมสี่อย่าง โดยขนมทั้งสี่อย่างเป็นขนมโบราณแต่ดั้งเดิมของไทย ได้แก่ เม็ดแมงลักน้ำกะทิ หรือ "ไข่กบ" ลอดช่องน้ำกะทิ หรือ "นกปล่อย" ข้าวตอกน้ำกะทิ หรือ "นางลอย" และข้าวเหนียวน้ำกะทิ หรือ "อ้ายตื้อ" ซึ่งทั้งหมดล้วนมีความหมายในทางมงคล 

เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 5,706

ตลาดชาวบ้าน

ตลาดชาวบ้าน

ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น

เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,083