ประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2018 ผู้ชม 735

[16.4264988, 99.215725, ประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์]

นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เป็นบุตรของนายสีและนางอินทร์ ศรีสุวพันธุ์ มีกำเนิดเมื่อวันอังคาร ที่ 31 พฤษภาคม พุทธศักราช 2470 ณ บ้านเลขที่ 5 ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันคือตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร  เมื่อเจริญวัยขึ้นมีโอกาสได้ใกล้ชิดกับวัดเนื่องจากน้าชายอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดท่าหมัน จึงเข้าไปรับใช้เป็นลูกศิษย์ของหลวงหน้าเป็นพระภิกษุที่เข้มงวด เป็นผู้อบรมสั่งสอนหนังสือ นับได้ว่าเป็นการศึกษาก่อนถึงวัยเกณฑ์การศึกษาจริง ขณะที่ศึกษาระดับประถมศึกษมาที่โรงเรียนวัดท่าหมัน ก็ยัคงเป็นลูกศิษย์วัดอยู่ด้วย เมื่อจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก็ได้ศึกษาต่อในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 (ม.1) ที่โรงเรียนวัชรราชฏร์วิทยาลัย ซึ่งเป็นโรงเรียนประจำจังหวัด และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) หลังจากจบการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ก็ได้ศึกษาต่อและได้สมัครรับราชการครู ได้ดำรงตำแหน่ง ครูประชาบาลโรงเรียนบ้านหนองปลิงในปีพุทธศักราช 2493 ด้วยความเป็นผู้ใฝ่ศึกษา นายประเสริฐก็ได้สมัครสอบชุดครูมล และสามารถสอบได้ 3 ชุดในคราวเดียวกัน เป็นที่สนใจและยอมรับของวงการครู ตำแหน่งที่สูงขึ้น คือเป็นผู้บริหารโรงเรียนบ้านทุ่งสวน และก็ทำหน้าที่ครูผู้สอนไปด้วย หลังจากนั้นผู้บังคับบัญชาได้ขอให้โอน ไปช่วยปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งเสมียนแผนกศึกษาธิการจังหวัดในปีพุทธศักราช 2497 นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ได้สมรสกับนางสาวประเทือง ชาญเชี่ยว ซึ่งมีอาชีพเป็นข้าราชการครูเช่นเดียวกัน และมีบุตรด้วยกัน 5 คน หลังจากนั้นได้ดำรงตำแหน่งครูโรงเรียนวัดราษฏร์เจริญพร และดำรงตำแหน่งครูใหญ่โรงเรียนสหวิทยาคมและต่อมาได้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ จังหวัดกำแพงเพชร 
นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ได้ใช้ช่วงเวลาของชีวิตในวัยทำงานเดินทางสำรวจค้นคว้าทำความเข้าใจเรื่องราวของเมืองกำแพงเพชร และเมืองนครชุม ซึ่งเป็นบ้านเกิดอย่างต่อเนื่อง จนเป็นผู้ที่มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องราวของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรอย่างแตกฉาน ในขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยต่อการศึกษาในระบบ โดยสมัครเข้า ศึกษาต่อและสำเร็จการศึกษาปริญญาบัณฑิต (ศึกษาศาสตร์ : ศศ.บ.) จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2515 ดังนั้นนายประเสริฐจึงเป็นบุคคลในกลุ่มแรก ๆ ที่ทำการศึกษาค้นคว้าและเผยแพร่เรื่องราวของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรและเมืองนครชุมอย่างเป็นระบบ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องราวประวัติศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม โบราณคดี โดยเฉพาะเรื่องราวของพระเครื่องเมืองกำแพงเพชรและวัดต่างๆ ในประวัติศาสตร์ 
นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ เกษียณอายุราชการในตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อปีพุทธศักราช 2530 

งาน ภูมิปัญญา ความสำเร็จ 
           นับตั้งแต่นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ได้เริ่มทำงานโดยรับราชการเป็นข้าราชการครู เมื่อปีพุทธศักราช 2493 นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ได้ใช้ความพยายาม อุตสาหะ สร้างและสะสมความรู้ และภูมิปัญญา สร้างสรรค์ผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อความมั่นคงทางวัฒนธรรมท้องถิ่นมากมาย โดยจำแนกเป็นงานแต่ละประเภท ดังต่อไปนี้ 
           1. งานราชการประจำ นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ได้รับตำแหน่งและเจริญก้าวหน้าในอาชีพราชการ ซึ่งมีส่วนส่งเสริมการสร้างสะสมความรู้และภูมิปัญญาของ นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ 
           2. งานเผยแพร่วัฒนธรรมท้องถิ่น นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ได้ใช้ความรู้ความสามารถสร้างผลงานเพื่อเผยแพร่เรื่องราวของวัฒนธรรมท้องถิ่น
           3. งานเกี่ยวกับสังคมและสาธารณประโยชน์ นายประเสริฐ ศรีสุวพันธ์ ได้อุทิศเวลาและความรู้ความสามารถร่วมมือกับสังคมทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชน เพื่อสร้างประโยชน์ในด้านความเข้มแข็งและมั่งคงในทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น 

กิตติกรรมประกาศ
           นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ได้รับการยอมรับและประกาศเกียรติคุณ แสดงเกียรติภูมิแก่ตนและครอบครัว ดังต่อไปนี้ 
           1. กระทรวงศึกษาธิการมอบเกียรติบัตรในฐานนะข้าราชการปฏิบัติงานด้วยความอุตสาหะ มิได้ ลาป่วย ลากิจและมาสายติดต่อกันเป็นเวลา 4 ปี (พ.ศ. 2526-2529) 
           2. กระทรวงศึกษาธิการ มอบประกาศเกียรติคุณ ในฐานะเป็นผู้บริจาคพระพุทธรูปบูชา จำนวน 18 องค์ มูลค่า 36,000 บาท ให้เป็นสมบัติของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานประถมศึกษาจังหวัด ปี พ.ศ 2529 
           3. จตุรเสนาสมาคม มอบประกาศเกียรติคุณ ในฐานะที่นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์และนางประเทือง ศรีสุวพันธุ์ เป็นผู้ให้การอุปการะส่งเสริมทุนการกุศลของสมาคม ปี พ.ศ. 2531 
           4. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) มอบประกาศเกี่ยรติคุณแก่ นายประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์ ในฐานะเป็นผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม สาขามนุษยศาสตร์ (การส่งเสริมการพัฒนา) ของจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี พ.ศ. 2532 

 

คำสำคัญ : ประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์

ที่มา : http://province.m-culture.go.th/kamphangphet/page/parsert_per.htm

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). ประเสริฐ ศรีสุวพันธุ์. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=627&code_db=610003&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=627&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม) เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2399 วันอังคารขึ้น หกค่ำ เดือนแปด ปีมะโรง ณ จวนเก่า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม นุชนิยม) สืบสกุลโดยตรงมาจากพระยาเกียรติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพระเจ้านันทบุเรง(พระเจ้าหงสาวดี) ได้สามิภักดิ์ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับพระยารามและพระมหาเถรคันฉ่อง ในคราวประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกลง ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลล่วงมาจนถึงปู่ทวด คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภียพิริยะพาหะ(นุช)

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 22

มาณพ  ศิริไพบูลย์

มาณพ ศิริไพบูลย์

นายมาณพ  ศิริไพบูลย์  เกิดวันที่ 18 กันยายน 2487 บุตรนายมานิตย์  ศิริไพบูลย์ และนางวิมล  ศิริไพบูลย์ สถานที่เกิด ณ บ้านเลขที่ 080 หมู่ที่ 5 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร การศึกษา จบชั้นประถมปีที่ 4 ที่โรงเรียนบ้านนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร  เมื่อ พ.ศ.  2498  จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 (ม.6) ที่โรงเรียนกำแพงเพชร “วัชรราษฎรวิทยาลัย” ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร  จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ. 2504

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,681

 พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 1,652

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ ตำบลจุ่งแห้ว ประเทศจีน เป็นบุตรของนายอึ้งอยู่จ้อง และนางซ้อย ได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี เข้าทำงานอยู่กับนายล่ำซำ (ต้นตระกูลล่ำซำ) ผู้เป็นอาว์ และได้ถูกส่งมาเป็นผู้ควบคุมในการทำป่าไม้ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด ได้สัมปทานป่าไม้สัก ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุม ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นระยะเวลา 10 ปีเศษ ได้ลาออกมาจากบริษัทไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยการตั้งโรงสีไฟที่อำเภอคลองขลุงอยู่หลายปี จึงได้กลับเป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุมอีกครั้งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2020 ผู้เช้าชม 1,688

พระครูวชิรปัญญกร

พระครูวชิรปัญญกร

พระครูวชิรปัญญกร นามเดิม นายอำนวย กรรณิกา เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2494 ที่บ้านเลขที่ 132 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรองนายทำ-นางน้อย กรรณิกา อาชีพรับจ้าง ด้านการศึกษา สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดพระบรมธาตุ อำเภอเมืองกำแพงเพชร และสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนวัดหลักสี่ กรุงเทพมหานคร เข้าทำงานครั้งแรกที่การไฟฟ้าพระราม 6 แล้วลาออกมาทำงานบริษัท Universal Engineering Consuians, Co.Ltd. หลังจากนั้นได้เข้ารับการอุปสมบท เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2520 ณ พัทธสีมาวัดคูยาง ปัจจุบันเป็นเจ้าอาวาสวัดบ่อสามแสน รองเจ้าคณะอำเภอเมืองกำแพงเพชร (ฝ่ายการศึกษา)

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 667

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท

พระวิเชียรธรรมนาท เจ้าอาวาสวัดหนองปลิง ท่านมีจิตตั้งมั่น ต้องต่อสู้กับนานาอุปสรรคกว่าที่จะประสบความสำเร็จในการสร้างวัดหนองปลิงให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม ตั้งแต่ถูกหลอกขายที่ดินสร้างวัด ๒๑ ไร่ด้วยโฉนดปลอม จนต้องขอให้จังหวัดช่วยจึงออกโฉนดได้ ท่านยังถูกลอบยิง ๒ ครั้งและเป็นคดีความบ่อยๆ แต่ที่สุดทุกอย่างก็ผ่านไปได้

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 1,119

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนครก่อสร้าง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จบจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 8 ตุลาคม 2542 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองกำแพงเพชร วุฒิการศึกษาสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรรุ่นแรก สาขาพัฒนาชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 897

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2449 บ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดามารดาคือ นายสอนและนางระเบียบ ชูพินิจ ตระกูลชูพินิจ มีบรรพบุรุษสืบต่อมาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งนิยมรับราชการสืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงชั้นปู่ของมาลัย ชูพินิจ ซึ่งได้ย้ายไปรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรในรัชกาลที่ 5 แต่บิดามารดาของมาลัย ชูพินิจ มิได้รับราชการตามบรรพบุรุษ หากหันมาค้าไม้สักและไม้กระยาเลย อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของจังหวัดนั้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,569

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นนทโน)

พระครูอรรถกิจนันทคุณ (นพดล นันทโน) เจ้าคณะตำบลคลองแม่ลาย (ธรรมยุติ) และเจ้าอาวาสวัดป่าดอยลับงา ต.ท่าขุนราม อ.เมือง จ.กำแพงเพชร จบการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขารัฐศาสตร์ และระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาบัณฑิตอาสาจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และได้รับปริญญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์ส่ิ่งแวดล้อม จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 3,949

ขุนอินทรเสนา

ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,071