สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้ชม 1,934

[16.4336195, 99.4094765, สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร]

บทนำ
         บทความมีวัตถุประสงค์กล่าวถึงเรื่องราวของ นายสันติ อภัยราช การทำงานครูภูมิปัญญาไทย เป็นงานที่มีเกียรติยิ่งนัก เพราะวัฒนธรรมประเพณีและภูมิปัญญานับวันที่จะไม่มีผู้ดูแล อนุรักษ์ ฟื้นฟู เหตุผลที่สำคัญคือ คนในชาติขาดจิตสำนึก ในความเป็นไทย ยกย่องเชิดชูต่างชาติ มากกว่าชาติของตนเอง รากเหง้าความรู้และภูมิปัญญานับวันจะหายไปจากสังคมไทย ภูมิปัญญาที่อยู่ทั่วแผนดินต่างอ่อนล้า ขาดคนสนับสนุนเป็นสิ่งที่ถูกต้องอย่างที่สุดที่ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ตระหนักในความสำคัญในข้อนี้ จึงได้ ยกย่องเชิดชูเกียรติครูภูมิปัญญาไทย ในด้านต่างๆ ขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม และยังมอบทุนในการดำเนินการทำงานวิจัยครูภูมิปัญญา จึงทำให้ครูภูมิปัญญามีกำลังใจในการดำเนินงานมากขึ้น กว่าที่เคยปฏิบัติ ครูสันติ อภัยราช เป็นครูภูมิปัญญาไทย รุ่นที่ 6 ด้านภาษาและวรรณกรรม ทำหน้าที่สืบสานสร้างสรรค์ทำหน้าที่ถ่ายทอดภูมิปัญญาไทย ในการจัดการศึกษาอันเป็นเกียรติภูมิของแผ่นดินมาโดยตลอดกว่า 40 ปี
         การรวบรวมผลงานทั้งหมดของครูสันติ อภัยราช อันมีตำรา ภาษาและวรรณกรรมกว่า 100 เรื่อง ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ นำเสนอในระบบวีดีทัศน์ ทางอินเทอร์เน็ต อีกกว่า 600 เรื่อง รวมทั้งบทความและการออกอากาศ ทางวิทยุ อีกกว่า 10 สถานี และการออกบรรยาย สอนสาธิต และอภิปราย อีกนับร้อยครั้งต่อปี เป็นการถ่ายทอดภูมิปัญญาอย่างสมเหตุผล

ข้อมูลทั่วไป
         ชื่อ นายสันติ  อภัยราช 
         ตำแหน่ง ข้าราชการบำนาญ อดีต ครู วิทยฐานะเชี่ยวชาญ
         เกิดวันที่ 4 เดือน ตุลาคม  พ.ศ. 2490  ภูมิลำเนา ตำบลในเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
         ที่อยู่ บ้านเลขที่  202 /14 หมู่ที่ 3 ซอยอภัยราช  ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร

ชีวประวัติ
         ชีวิตวัยเด็ก นายสันติ อภัยราช เป็นบุตรของนายเสรี อภัยราช และนางเสงี่ยม อภัยราช ในวัยเด็กมีความสนใจและชอบศึกษา ด้านภาษาและวรรณกรรม จากการอ่านวรรณคดี และวรรณกรรมตั้งแต่เริ่มอ่านหนังสือออก และเรียนรู้จากการฟังการเล่าเรื่องราวต่างๆ ประเภทมุขปาฐะ จากปราชญ์ท้องถิ่น ผู้ใหญ่ พระภิกษุ และชอบท่องเที่ยวในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ร่วมศึกษาจารึกที่พบในจังหวัดกำแพงเพชร ภาษาถิ่นของทุกอำเภอในเมืองกำแพงเพชร ขณะเรียนชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร มีนายอั๋น  ทิมาสาร เป็นครูใหญ่ ซึ่งมีศักดิ์เป็นลุง ท่านมอบหมายให้ทำงานในโรงเรียนดูแลเอกสารหนังสือ จัดห้อง จัดหนังสือ แจกหนังสือ ดูแลกระดานชนวน ที่เด็กๆ ส่งมาตรวจสอบและเป็นผู้ตรวจสอบว่ามีใครส่งบ้าง ใครเขียนถูกเขียนผิดอย่างไร เมื่อพุทธศักราช 2496 บิดาได้ย้ายมาเป็นปลัดอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร ขณะนั้นกำแพงเพชรมี 4 อำเภอ คืออำเภอเมืองกำแพงเพชร อำเภอคลองขลุง อำเภอพรานกระต่าย อำเภอขาณุวรลักษบุรี มารดาเป็นแม่ค้าขายขนมหวาน ในตลาดคลองขลุง ตอนเช้าต้องตื่นตั้งแต่ตีสี่ทุกวัน เพื่อช่วยทำขนมหวาน เช่น วุ้น ตะโก้ ขนมฟักทอง ถั่วแปบ เป็นต้น ออกไปขายด้วยตนเองตั้งแต่อายุได้ 7 ขวบ เมื่อได้เวลาแปดนาฬิกา จะต้องเดินไปโรงเรียน ซึ่งอยู่ห่างจากบ้านประมาณ 2 กิโลเมตร เป็นผู้ตั้งใจเรียนรู้ ได้รับความเมตตาจากครูทุกคนให้เป็นหัวหน้าห้องมาโดยตลอด ในเวลาเย็นเมื่อกลับจากโรงเรียนก็จะมาขายขนมที่มารดาทำในตอนกลางวันไปขายในตลาดและตามบ้านผู้คน ในตอนค่ำคุณย่าซึ่งในอดีตเป็นนางเอกละครของพระยาสุจริตรักษา เจ้าเมืองตาก มีความสนใจในวรรณคดีไทย แต่ท่านอ่านหนังสือไม่ออก ท่านจึงจ้างให้อ่านให้ฟังทุกวัน จึงส่งผลให้นายสันติ อภัยราช สามารถจำวรรณคดีไทยได้หลายๆ เรื่อง และก่อให้เกิดความสนใจวรรณคดีไทยและวรรณกรรมไทยทุกเรื่องตั้งแต่สมัยเด็กๆ
         เมื่อปีพุทธศักราช 2500 คุณพ่อได้ย้ายมาเป็นปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร ทั้งครอบครัวได้ย้ายตามมาอยู่เมืองกำแพงเพชร คุณพ่อได้มอบหมายให้มีหน้าที่ซ่อมสามล้อรับจ้าง ซึ่งพ่อมีให้เช่าจำนวนหลายสิบคัน ปฏิบัติเช่นนี้ทุกวัน เป็นเวลา 6 ปี ทำให้ชำนาญ คนปั่นสามล้อนั้นมีหลายคนที่มีความรู้มาก มีทั้งนักขุดพระ นักเลงเก่า นักมวย ทำให้ได้พบผู้คนอย่างหลากหลาย และด้วยมีบ้านติดกับ ลุงหอม รามสูต ลูกชายหลวงพิพิธอภัย (หวน) หลวงพิพิธอภัยเป็นบุตรพระยากำแพง(อ้น) เจ้าเมืองกำแพงเพชร ท่านให้ความเมตตามากพาไปเที่ยวชมไร่ในเมืองเก่าด้วย ทุกวันเสาร์ อาทิตย์ เล่าเรื่องในอดีตให้ฟังตลอดการเดินทาง ทำให้มีโอกาสทราบเรื่องเมืองกำแพงเพชรในอดีตอย่างละเอียด

ด้านการศึกษา
         ระดับประถมศึกษา เริ่มเรียนก่อนประถมศึกษาที่โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร และระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงประถมศึกษาปีที่ 4
         ระดับมัธยมศึกษา โรงเรียนวัชรราษฎร์วิทยาลัย อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
         อนุปริญญา วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก
         ระดับปริญญาตรี การศึกษาบัณฑิต (ภาษาและวรรณคดีไทย) วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตรถนนสุขุมวิท กรุงเทพมหานคร
         ระดับปริญญาตรี นิติศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช นนทบุรี

ด้านชีวิตครอบครัว
         สมรสกับนางจันทินี อภัยราช (จารุวัฒน์) อดีตอาจารย์ 3 ระดับ 8 โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม มีบุตร 1 คน ชื่อนายอรรถ อภัยราช อดีตพนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จังหวัดกำแพงเพชร 

ด้านการทำงาน
         เริ่มรับราชการในตำแหน่ง ครูตรี โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย จังหวัดกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2518 และดำรงตำแหน่งวิทยฐานะที่สำคัญดังนี้
         1 พฤศจิกายน 2520      อาจารย์ 1 โรงเรียนรัตนาธิเบศร์ นนทบุรี
         1 กุมภาพันธ์ 2535        อาจารย์ 2 โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
         24 กันยายน 2543        อาจารย์ 3 โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร
         1 เมษายน 2548          ครูเชี่ยวชาญ (คศ.4) โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร

การดำเนินชีวิต
         นายสันติ อภัยราช เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดที่บ้านพักปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2490 ปัจจุบันอายุ 60 ปี เนื่องจากบิดา นายเสรี อภัยราช มาดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร มารดาชื่อนางเสงี่ยม อภัยราช ทำหน้าที่แม่บ้าน เมื่ออายุได้ขวบเศษ บิดาได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งปลัดอำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร จึงได้ไปเติบโตที่อำเภอคลองขลุง โดยเข้าเรียนระดับประถมศึกษาที่โรงเรียนพิบูลวิทยาคาร ตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง ในระดับประถมปีที่ 1-4 เมื่อวัยเยาว์ได้ศึกษาวรรณคดี วรรณกรรมภาษา จากพ่อและแม่ ซึ่งเป็นผู้ทรงความรู้ทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นอย่างดียิ่ง ศึกษาจากตำราที่หาได้จากอำเภอคลองขลุงทุกเล่ม จนมีความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น เมื่อว่างจากการเรียนรู้ ได้ขายขนมในตลาดสดคลองขลุงทุกวันโดยตื่นตั้งแต่ตี 4 ทุกวันช่วยมารดาทำขนมหวานทุกชนิด เมื่อเสร็จราว 6 โมงเช้า ได้นำไปขายด้วยตนเอง ตั้งแต่อายุ 7 ขวบ ถึง 12 ขวบ ทุกวัน เมื่อมีรายได้จากการแบ่งให้ของมารดานำไปซื้อหนังสือนิทาน ของเสรี เปรมฤทัย มาอ่านทุกเรื่อง นอกจากอ่านหนังสือ ได้ตามผู้ใหญ่ในละแวกบ้านไปท่องเที่ยวทุกตำบล หมู่บ้าน ในวันหยุดทุกสัปดาห์ ในวันพระทุกวันพระ ได้ตามยายและแม่ไปวัดทุกวันพระ จนเข้าใจในเรื่องของพระพุทธศาสนาเป็นอย่างดี ตามประสาเด็กๆ
         เมื่อเรียนจบชั้นประถมปีที่ 4 บิดาได้ย้ายกลับมาเป็นปลัดอำเภอเมืองกำแพงเพชร อีกครั้ง ได้กลับมาเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่โรงเรียนวัชราษฎร์วิทยาลัย โรงเรียนชายประจำจังหวัดกำแพงเพชร ในขณะนั้นเมื่อมาอยู่กำแพงเพชร เนื่องจากกำแพงเพชรเป็นเมืองเก่า ในวันหยุดทุกสัปดาห์ได้ตามผู้ใหญ่ไปศึกษาเมืองโบราณอย่างเข้าใจ โดยละเอียด ได้ศึกษาคัมภีร์ต่าง ๆ จากเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร ในขณะนั้นเนื่องจากไปเป็นลูกศิษย์ของท่านอย่างละเอียด ทุกเรื่องจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในระหว่างเรียนเนื่องจากเป็นคนพูดน้อย แต่ชอบเล่านิทาน ในระหว่างพักเที่ยงจึงมีเพื่อนมานั่งล้อมวงฟังนิทานกันทุกวัน จนครูประจำชั้นให้ทำหน้าที่สอนแทน เมื่อครูติดธุระเป็นเหตุให้ได้รับเลือกตั้งให้เป็นหัวหน้าชั้นทุกปี
         เมื่ออายุได้ราว 14-15 ปี ได้ศึกษาดนตรีสากล ดนตรีไทย และมวยไทย อย่างละเอียด จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จัดว่าเป็นคนเรียนหนังสือเก่งมากคนหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร เมื่อจบการศึกษาโรงเรียนและจังหวัดกำแพงเพชร ได้คัดเลือกคนที่เหมาะสมที่จะเป็นครู และเรียนเก่งที่สุด ไปเรียนครูที่วิทยาลัยครูพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก เรียนอยู่ 4 ปี โดยเลือกวิชาภาษาและวรรณคดีไทย เป็นวิชาเอก ระยะเรียนได้ออกค่ายชนบทบ่อยมาก ไปฝึกสอนโรงเรียนที่ไกลที่สุด เป็นหัวหน้าหน่วยฝึกสอน ทั้งประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาและประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ผลการเรียนอยู่ระดับค่อนข้างดี
         เมื่อจบระดับประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูงจากวิทยาลัยครูพิบูลสงครามแล้ว บิดาซึ่งปลัดอำเภอเสียชีวิต จึงไปหางานทำในกรุงเทพตามแบบฉบับของเด็กบ้านนอก และไปสอบเข้าเรียนต่อวิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตร ในภาคค่ำ ในสาขาวิชาภาษาและวรรณคดีไทยเหมือนเดิม ตอนเช้าไปสอนหนังสือโรงเรียนเอกชนที่โรงเรียนศึกษาวิทยา สีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ตอนเย็นไปเรียนที่ประสานมิตร ที่นี้ให้อะไรมากมายทั้งด้านความรู้และประสบการณ์ เปลี่ยนโรงเรียนมาสอนที่โรงเรียนเกษมพิทยา คลองตัน กรุงเทพมหานคร ให้ใกล้วิทยาลัยวิชาการศึกษาประสานมิตรมากขึ้น เพื่อสะดวกในการเดินทาง โดยเดินทางโดยเรือในคลองแสนแสบ เมื่อจบการศึกษาได้ปริญญาการศึกษาบัณฑิต สาขาภาษาและวรรณคดีไทย
         ไปสอนที่โรงเรียนพณิชยการมักกะสัน ดินแดง กรุงเทพ 3 ปี ไปสอนโรงเรียนช่างกลสยาม ท่าพระ กรุงเทพ อีก 3 ปี จึงสอบบรรจุเข้ารับราชการในปีการศึกษา 2518 ที่โรงเรียนสันติราษฎร์วิทยาลัย กรุงเทพ ได้ปีเศษ เกิดเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 ถูกย้ายมาอยู่ชานเมืองนนทบุรี โรงเรียนเล็กๆ ในขณะนั้น คือโรงเรียนรัตนาธิเบศร์ นนทบุรี ทำการสอนอยู่ที่โรงเรียนรัตนาธิเบศร์จนกระทั่งพุทธศักราช 2535 ขณะทำงานได้ศึกษาด้วยตนเองที่หอสมุดแห่งชาติ และหอจดหมายเหตุเกือบทุกวัน ในระหว่างนั้นได้ศึกษาคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช เป็นรุ่นแรก 3 ปีจบ ได้รับปริญญานิติศาสตรบัณฑิต อย่างภาคภูมิใจ
         ได้ตั้งใจไว้ว่าเมื่อมีประสบการณ์ พอสมควรแล้วจะกลับมาพัฒนาบ้านเมืองของตนเอง เมื่อถึงเวลาจึงขอย้ายมาดำรงตำแหน่งอาจารย์ 2 ระดับ 6 ที่โรงเรียนวชิรปราการวิทยาคม จังหวัดกำแพงเพชร ได้ลงพื้นที่ ทำงานด้านภาษาและวัฒนธรรมอย่างจริงจังและเต็มความสามารถ จนกระทั่งเป็นสัญลักษณ์ของผู้รู้ในเมืองกำแพงเพชร
         ในปีพุทธศักราช 2539 ทำงานได้รับผลดีมากมาย จึงได้รับคัดเลือก จากกรมสามัญศึกษา ให้ไปศึกษาดูงานด้านการศึกษาและวัฒนธรรม ณ ประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
         ได้เลื่อนระดับเป็นอาจารย์ 3 ระดับ 8 ในปีการศึกษา 2539 และได้เลื่อนเป็นอาจารย์ 3 ระดับ 9 ในวิชาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น ในปีการศึกษา 2542 และได้รับเกียรติคุณอย่างมากมายในที่สุดหลังจากการทำงานอย่างหนัก

ความชำนาญ
         ด้านการวิจัยส่งเสริมวรรณกรรม มีการสำรวจศึกษา สังเคราะห์  วิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา ถ่ายทอด ส่งเสริม เอตทัคคะ แลกเปลี่ยน ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชรและรวบรวมสร้างเป็นองค์ความรู้ ตีพิมพ์เพื่อให้ผู้อื่นได้ศึกษา 
         การอนุรักษ์วรรณกรรม มีการนำวรรณกรรมมาศึกษาไว้ในระบบออนไลน์ ให้คนมีความรัก ความหวงแหน และความเข้าใจ และภูมิใจในความเป็นคนไทย มีกิจกรรมศึกษาอย่างมีหลักการทำให้เกิดการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
         ด้านงานฟื้นฟูวรรณกรรม มีการเลือกสรรวรรณกรรมที่สูญหาย หรือกำลังเสื่อมสลาย ให้ความหมายและให้ความสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของผู้เกี่ยวข้อง โดยมีกิจกรรมที่ชัดเจนและเกิดประโยชน์ต่อสังคม
         นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย  ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง 

ช่องทางการเผยแพร่ผลงานในปัจจุบัน
        1. ได้จัดรายการในเฟสบุ๊คไลฟ์ให้ความรู้ด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และความรู้ทั่วไป ด้วยการคำนึงถึงช่องทางสื่อออนไลน์ที่สำคัญในปัจจุบัน
        2. การจัดกายการวิทยุ เพื่อนำเสนอองค์ความรู้และข้อมูล ดังนี้
             2.1 รายการรักไทย รักถิ่น รักแผ่นดินกำแพงเพชร ทุกวันอังคาร ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยจังหวัดกำแพงเพชร เวลา 10.00 น. ถึง 11.00 น.
             2.2 รายการสนทนา ประสาคนกำแพงเพชร  ทุกวันพุธ เวลา 15.00 – 17.00 น. ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงเครือข่ายประชาชนกำแพงเพชร
             2.3 รายการลั่นเมือง ทุกวันเสาร์ เวลา 11.00 – 12.00 น. ทางสถานีวิทยุ อสมท.กำแพงเพชร
        3. เรือนจันทน์ แหล่งเรียนรู้ เป็นการเปิดใช้บ้านให้เป็นแหล่งเรียนรู้ทางวัฒนธรรมให้แก่ผู้สนใจ มีนักเรียน นิสิต นักศึกษา ประชาชน ครู อาจารย์ สื่อมวลชนจากสำนักต่าง ๆ เข้ามาขอความรู้อย่างหลากหลายเกือบทุกวัน

ผลงานสำคัญ/ที่สร้างชื่อเสียง
         นายสันติ อภัยราช ได้ศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา ของท้องถิ่นเมืองกำแพงเพชร และจัดสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม หรือผลงานที่มีคุณภาพ สามารถนำไปเผยแพร่ในระดับประเทศหรือระดับนานาชาติ
         นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ที่ตกผลึกจากการศึกษาค้นคว้าพัฒนาตนเองและลงมือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนทำให้เกิดชิ้นงานนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นอย่างมีคุณภาพ ตอบโจทย์และตอบสนองความต้องการของชุมชน และสังคม โดยมีการเผยแพร่ให้รับรู้รับทราบได้ในหลายช่องทางทั้งด้วยตนเอง เว็บไซต์ และสื่อสังคมออนไลน์ สามารถเปิดอ่านเพื่อการเรียนรู้ได้ทั่วโลก ผลงานสำคัญมีดังนี้
         1) การวิจัยและพัฒนา ตีพิมพ์เผยแพร่ การบรรยายในด้านภาษาและวรรณกรรม กว่า 30 เรื่อง
         2) จัดการแสดง แสง สี เสียง ในงานประเพณีนบพระเล่นเพลง และงานประเพณีลอยกระทง นำวรรณกรรมท้องถิ่นมาเสนอในรูปแบบการแสดง แสง สี เสียง มากกว่า 10 ปี ในตำแหน่งผู้เขียนบท และผู้กำกับการแสดงทุกปี
         3) การเป็นวิทยากร นำเสนอเรื่องของภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นในทุกระดับการศึกษาต่อเนื่องยาวนานกว่า 30 ปี
         4) การดำเนินรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางเคเบิลท้องถิ่น ต่อเนื่องมากว่า 6 ปี จำนวนหลายร้อยเรื่อง
         5) การดำเนินการจัดทำเว็บไซต์ ทางอินเตอร์เน็ต ทั้งระบบ เรื่อง ภาพ และวิดีโอ เพื่อเผยแพร่ภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นหลายร้อยเรื่อง
         6) การสร้างเครือข่ายสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
         7) การสร้างเครือข่ายสภาวัฒนธรรมอำเภอ 11 อำเภอ
         8) การสร้างเครือข่ายสภาวัฒนธรรมตำบล 28 ตำบล
         9) การสร้างเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ภาษาไทย จังหวัดกำแพงเพชร
         10) การสร้างเครือข่ายสโมสรฝึกการพูดกำแพงเพชร
         11) การสร้างเครือข่ายชมรมนักกลอนนครชากังราว
         12) การสร้างเครือข่ายองค์การอาสาประชาธิปไตยกำแพงเพชร
         13) แผนการสอนและเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาการพูด ผลงานทางวิชาการระดับ 8
         14) แผนการสอนและเอกสารประกอบการสอนในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น ผลงานทางวิชาการระดับ 9
         15) เอกสารและตำราทางวิชาการ จำนวน 107 เล่ม ซึ่งทุกเล่มสามารถเปิดอ่านได้จากเว็บไซต์
         16) จดหมายเหตุทางวัฒนธรรมกำแพงเพชร ซึ่งรวบรวมเรื่องราวของจังหวัดกำแพงเพชรและเรื่องทั่วไปที่มีประโยชน์ต่อสังคม
         17) โทรทัศน์วัฒนธรรม เป็นการบันทึกวีดีทัศน์เรื่องราวสำคัญต่างๆ จำนวน 708 เรื่อง ตัวอย่างเช่น พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร วัฒนธรรมประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร พระเครื่องเมืองกำแพงเพชร บุคคลดีเด่นเมืองกำแพงเพชร การแสดงแสงสีเสียง การแสดงของนักเรียน เพลงกับเมืองกำแพงเพชร มหกรรมวัฒนธรรมภาคเหนือ เป็นต้น

ผลงาน/เกียรติคุณ/รางวัล อื่นๆ
         ผลงาน (ความเชี่ยวชาญภูมิปัญญาด้านภาษา วรรณกรรม และ วัฒนธรรม ประเพณี) เป็นประโยชน์ ในการแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม
         - ผลงานเรื่อง งานวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณกำแพงเพชร โดยรับทุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พิมพ์เผยแพร่ 2 ครั้ง จำนวน 351 หน้า ได้ใช้เป็นแบบเรียน และแนวทางการวิจัยทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นจากหลายสถาบัน
         - ผลงานเรื่อง งานวิจัยและถ่ายถอด เอกสารจดหมายเหตุเรื่องเมืองกำแพงเพชร ใบบอกในสมัยรัชกาลที่ 5 จากหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร เล่มที่ 1 จำนวน 85 หน้า พิมพ์ 1,000 เล่ม เล่มที่ 2 จำนวน 68 หน้า พิมพ์ 1,000 เล่ม
         - ผลงานเรื่อง วัฒนธรรม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาจังหวัดกำแพงเพชร (ทำหน้าที่บรรณาธิการ) จำนวน 307 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาวิจัย เรื่อง ประวัติความเป็นมาของศาลากลางจังหวัดกำแพงเพชร ถวายสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในการเสด็จวางศิลาฤกษ์ศูนย์ราชการจังหวัดกำแพงเพชร วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤษภาคม พุทธศักราช 2540 จำนวน 57 หน้า พิมพ์จำนวน 3,000 เล่ม
         - ผลงานศึกษา วิเคราะห์วิจัย ถ่ายทอด จารึกที่พบในเมืองกำแพงเพชร ปีพุทธศักราช 2545 จำนวน 104 หน้า จำนวนพิมพ์ 500 เล่ม จำหน่ายจ่ายแจกไปทั่วประเทศ
         - ผลงานศึกษาวิจัย เรื่องเดินเท้าสำรวจถนนพระร่วง ด้วยระบบ GPS. สำรวจด้วยดาวเทียม จำนวน 133 หน้า จำนวนพิมพ์ 1,000 เล่ม เผยแพร่ ไปทุกชุมชนในจังหวัดกำแพงเพชร และผู้สนใจทั่วไป
         - ผลงานประมวลภาพ ฝีพระหัตถ์ เสด็จประพาสต้นกำแพงเพชร เมื่อครบร้อยปี พระพุทธเจ้าหลวงเสด็จเมืองกำแพงเพชร 120 หน้า พิมพ์จำนวน 500 ฉบับ เผยแพร่ไปทั่วประเทศ
         - ผลงานวิจัย ตามรอยเสด็จประพาสต้น พระพุทธเจ้าหลวง ณ เมืองกำแพงเพชร จำนวน 149 หน้า พิมพ์จำนวน 1,000 เล่ม เป็นแบบเรียนรายวิชาภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่น
         - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องหนองปลิง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลหนองปลิง จำนวน 97 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องคณฑี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลคณฑี จำนวน 85 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องนครชุม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลนครชุม จำนวน 85 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องอำเภอไทรงาม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทรงาม จำนวน 103 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องอำเภอคลองขลุง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอคลองขลุง จำนวน 120 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องอำเภอพรานกระต่าย พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอพรานกระต่าย จำนวน 140 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องอำเภอลานกระบือ พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอลานกระบือ จำนวน 170 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
         - ผลงานโทรทัศน์วัฒนธรรมทำหน้าที่ เขียนบท กำกับบท และวิทยากรบรรยาย เผยแพร่ทาง เคเบิลท้องถิ่นทั่วประเทศและทั่วโลก ความยาวประมาณ 15-30 นาที ในเรื่องของ
             - พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร จำนวน 11 ตอน
             - แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร จำนวน 41 ตอน
             - วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 52 ตอน
             - คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 41 ตอน
             - การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 ตอน
             - วัฒนธรรม ประเพณี ในจังหวัดกำแพงเพชร 22 ตอน
         - ผลงานนำเสนอรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางอินเตอร์เนต วิดีโอ กูเกิล รวมงานภาษาและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวนหลายร้อยเรื่อง
         - ผลงานที่ริเริ่มสร้างสรรค์ นำภาษาและวัฒนธรรม ตลอดจนภูมิปัญญาท้องถิ่น นำเสนอทางรูปแบบ วิดีโอ และ อินเตอร์เนต ทำให้ผู้สนใจทั่วโลกได้ชมเรื่องราวของความเป็นไทย 

ผลงานซึ่งเป็นที่ยอมรับในสังคม (ระดับชุมชน/ท้องถิ่น/อำเภอ/ประเทศ)
         ระดับชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ
          - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องหนองปลิง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลหนองปลิง จำนวน 97 หน้า จำนวน 1.000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
          - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องคณฑี พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลคณฑี จำนวน 85 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
          - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องนครชุม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาตำบลนครชุม จำนวน 85 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
          - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องอำเภอไทรงาม พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทรงาม จำนวน 103 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป
          - ผลงานศึกษาค้นคว้าวิจัย เรื่องอำเภอคลองขลุง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ เอกลักษณ์และภูมิปัญญาอำเภอคลองขลุง จำนวน 120 หน้า จำนวน 1,000 เล่ม เป็นเอกสารแบบเรียนและอ้างอิงโดยทั่วไป

         ระดับประเทศ
         - ผลงานเรื่อง งานวิจัยวรรณกรรมท้องถิ่นเรื่อง การแสดงพื้นบ้านของชุมชนโบราณกำแพงเพชร โดยรับทุนการวิจัยจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) พิมพ์เผยแพร่ 2 ครั้ง จำนวน 351 หน้า ได้ใช้เป็นแบบเรียน และแนวทางการวิจัย ทางภาษาและวรรณกรรมท้องถิ่นจากหลายสถาบัน
         - ผลงานโทรทัศน์วัฒนธรรมทำหน้าที่เขียนบท กำกับบท และวิทยากรบรรยาย เผยแพร่ทาง เคเบิลท้องถิ่น ทั่วประเทศ และทั่วโลก ความยาวประมาณ 15 – 30 นาที ในเรื่องของ
             - พระมหากษัตริย์กับเมืองกำแพงเพชร จำนวน 11 ตอน
             - แหล่งท่องเที่ยวและภูมิปัญญากำแพงเพชร จำนวน 41 ตอน
             - วัดโบราณในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 52 ตอน
             - คหกรรมศิลป์ในจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 41 ตอน
             - การแสดงพื้นบ้านจังหวัดกำแพงเพชร จำนวน 12 ตอน
             - วัฒนธรรม ประเพณีในจังหวัดกำแพงเพชร 22 ตอน
         - ผลงานนำเสนอรายการโทรทัศน์วัฒนธรรม ทางอินเตอร์เนต วิดีโอ กูเกิล รวมงานภาษาและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวน หลายร้อยเรื่อง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์/ เกียรติคุณ / รางวัลที่เคยได้รับ
         เครื่องราชอิสริยาภรณ์ ที่ได้รับ
             - ป.ม. ประถมาภรณ์มงกุฎไทย
             - ป.ช. ประถมาภรณ์ช้างเผือก

         เกียรติคุณ ที่ได้รับ
             - อาจารย์ 3 ระดับ 9 กรมสามัญศึกษา (สพท.กำแพงเพชร)
             - ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของสภาวิจัยแห่งชาติ
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของจังหวัดกำแพงเพชร
             - ผู้ทรงคุณวุฒิสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานการศึกษากำแพงเพชร เขต 1
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของคณะกรรมการตำรวจภูธรจังหวัดกำแพงเพชร
             - ผู้ทรงคุณวุฒิของสำนักงานที่ดินจังหวัดกำแพงเพชร
             - รองประธานสภาวัฒนธรรมภาคเหนือ
             - ครูต้นแบบ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ

         รางวัลที่เคยได้รับ ที่ได้รับ
             - ผู้มีผลงานดีเด่นด้านวัฒนธรรมจังหวัดกำแพงเพชร
             - ครูแม่แบบภาษาไทยดีเด่นระดับประเทศ
             - คนดีศรีกำแพงเพชร
             - ผู้ทำคุณประโยชน์ให้กับสังคมกำแพงเพชร
             - ผู้ทำคุณประโยชน์ต่อกระทรวงวัฒนธรรม
             - บุคลดีเด่นด้านวัฒนธรรม
             - บุคคลดีเด่นแห่งปี 2543 จากหนังสือพิมพ์ไท สยาม
             - บุคคลเกียรติยศ จากหนังสือพิมพ์ประชาไทย
             - ได้รับพระราชทานปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ (วัฒนธรรมศึกษา) จากมหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร
             - ได้รับรางวัลไปศึกษาดูงานด้านวัฒนธรรม ประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์

คำสำคัญ : อาจารย์สันติ,ปราชญ์ท้องถิ่น

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=สันติ_อภัยราช_:_ปราชญ์ท้องถิ่น_แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร. สืบค้น 28 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=131&code_db=610003&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=131&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

รุ่งธรรม ศรีวรรธนศิลป์

 นายรุ่งธรรม ธรรมปิยานันท์  เป็นอาจารย์วิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร มีผลงานทางด้านศิลปะประดิษฐ์มากมาย เป็นผู้นิยมความเป็นไทย และรักษาศิลปวัฒนธรรมประเพณีของไทยตลอดมา ผู้ริเร่ิมก่อตั้งศูนย์บริรักษ์ไทยวิทยาลัยเทคนิคกำแพงเพชร รวบรวมผลงานศิลปะประดิษฐ์ที่นักศึกษาจัดทำขึ้นไว้เป็นสื่อการเรียนการสอนสำหรับนักศึกษา เยาวชน และผู้ที่สนใจทั่วไปได้ศึกษา เป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์บ่มเพาะงานศิลปะประดิษฐ์ ประณีตศิลป์ มีผลงานดีเด่นด้านศิลปะหัตถศิลป์มากกว่าหนึ่งพันชิ้น ศูนย์บริรักษ์ไทยจัดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาจนถึงปัจจุบัน และจะยังดำเนินการเรียนการสอนต่อไปในอนาคต

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,712

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม) เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2399 วันอังคารขึ้น หกค่ำ เดือนแปด ปีมะโรง ณ จวนเก่า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม นุชนิยม) สืบสกุลโดยตรงมาจากพระยาเกียรติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพระเจ้านันทบุเรง(พระเจ้าหงสาวดี) ได้สามิภักดิ์ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับพระยารามและพระมหาเถรคันฉ่อง ในคราวประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกลง ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลล่วงมาจนถึงปู่ทวด คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภียพิริยะพาหะ(นุช)

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 196

เชิด นุ่มพรม

เชิด นุ่มพรม

นายเชิด นุ่มพรม บุคคลสำคัญทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงพื้นบ้านของตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2476 อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เรียนจบชั้น ป.4 ที่โรงเรียนบ้านเมืองเก่า สมัยเมื่อยังเรียนหนังสืออยู่ ครูมักจะให้ร้องเพลงตามบทดอกสร้อย เพราะในนั้นหมู่บ้านที่อยู่มีหนุ่มสาวมาก ใครจะมาเล่นร้องรำทำเพลง ต้องตามหาตัวนายเชิดก่อน เพราะนายเชิดมีพี่สาวน้าสาวหลายคน นายเชิดเมื่อเด็กมักจะพาไปหาหมู่น้าๆ อาๆ เพื่อให้เขาได้รู้จักกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 519

พระวิเชียรโมลี

พระวิเชียรโมลี

"พระวิเชียรโมลี" อดีตเจ้าคณะจังหวัดกำแพงเพชร และอดีตเจ้าอาวาสวัดพระบรมธาตุ ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร พระภิกษุผู้ทรงวิทยาคุณ ที่ชาวเมืองกำแพงเพชร ให้ความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง เป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณ ได้รับอาราธนาเข้าร่วมในพิธีปลุกเสก พระกริ่งชนะสงคราม ที่รัฐบาลในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 จัดสร้างขึ้นเพื่อเป็นมิ่งขวัญกำลังใจแก่ทหารหาญ นับว่าเป็นเถระผู้ทรงวิทยาคุณที่มีชื่อเสียงมากรูปหนึ่งในสมัยนั้น สมัยสงครามอินโดจีน ท่านยังได้ทำเสื้อยันต์แดง แจกทหารผู้ไปราชการสงคราม ทำให้มีผู้เลื่อมใสในตัวท่านเป็นอันมาก เนื่องจากประจักษ์ในวิทยาคม จนได้รับอาราธนาให้นั่งเครื่องบินเพื่อหว่านทรายเสกให้ประชาชนและทหารรอดพ้นจากอันตรายจากภัยสงคราม     

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 9,603

กชกร ด้วงเงิน

กชกร ด้วงเงิน

ข้าราชการบำนาญ (ครู) สอนวิชาจริยศึกษา และวิชาพระพุทธศาสนา จนเกษียณ สอนเด็กนั่งพับเพียบ สวดมนต์ไหว้พระ กราบคุณครูก่อนเร่ิมการเรียนการสอน ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและการดูแลรักษามรดกทางศิลปวัฒนธรรมให้นักเรียน รู้จักกตัญญูต่อบิดามารดา รู้จักนำหลักคำสอนทางศาสนาไปใช้ในชีวิตประจำวัน สอนให้เด็กศึกษาคุณค่าศิลปวัฒนธรรมอนุรักษ์มรดกโลก

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 1,060

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ ตำบลจุ่งแห้ว ประเทศจีน เป็นบุตรของนายอึ้งอยู่จ้อง และนางซ้อย ได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี เข้าทำงานอยู่กับนายล่ำซำ (ต้นตระกูลล่ำซำ) ผู้เป็นอาว์ และได้ถูกส่งมาเป็นผู้ควบคุมในการทำป่าไม้ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด ได้สัมปทานป่าไม้สัก ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุม ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นระยะเวลา 10 ปีเศษ ได้ลาออกมาจากบริษัทไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยการตั้งโรงสีไฟที่อำเภอคลองขลุงอยู่หลายปี จึงได้กลับเป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุมอีกครั้งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2020 ผู้เช้าชม 1,936

พระศรีวชิราภรณ์ (วีระ วรปญโญ)

พระศรีวชิราภรณ์ (วีระ วรปญโญ)

สถานะเดิม ชื่อ วีระ นามสกุล ภูมิเมือง เกิด ๒ ฯ๑ ๘ ปีกุน วันที่ ๖ เดือน กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๒ นามบิดา นายทวี ภูมิเมือง นามมารดา นางบาง ภูมิเมือง บ้านเลขที่ ๖๐ หมู่ที่ ๕ ตำบลวังควง อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร อุปสมบท วัน ๗ ฯ ๕ ปีกุน วันที่ ๒๒ เดือน มีนาคม พ.ศ.๒๕๒๒ ณ พัทธสีมา วัดสุวรรณาราม ตำบลวังควง อำเภอพราน กระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร  นามพระอุปัชฌาย์ เจ้าอธิการประสิทธิ์ เตชวโร (ปัจจุบัน พระครูวชิรวราภรณ์ เจ้าคณะอำเภอ ลานกระบือ) วัดราษฎร์บูรณะ ตำบลวังตะแบก อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 02-03-2018 ผู้เช้าชม 1,700

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2449 บ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดามารดาคือ นายสอนและนางระเบียบ ชูพินิจ ตระกูลชูพินิจ มีบรรพบุรุษสืบต่อมาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งนิยมรับราชการสืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงชั้นปู่ของมาลัย ชูพินิจ ซึ่งได้ย้ายไปรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรในรัชกาลที่ 5 แต่บิดามารดาของมาลัย ชูพินิจ มิได้รับราชการตามบรรพบุรุษ หากหันมาค้าไม้สักและไม้กระยาเลย อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของจังหวัดนั้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,777

ขุนอินทรเสนา

ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,242

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนครก่อสร้าง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จบจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 8 ตุลาคม 2542 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองกำแพงเพชร วุฒิการศึกษาสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรรุ่นแรก สาขาพัฒนาชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 1,009