ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2020 ผู้ชม 2,227

[16.4264988, 99.2157188, ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)]

          ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ ตำบลจุ่งแห้ว ประเทศจีน เป็นบุตรนายอึ้งอยู่จ้อง นางซ้อย ได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี เข้าทำงานอยู่กับนายล่ำซำ (ต้นตระกูลล่ำซำ) ผู้เป็นอาว์ และได้ถูกส่งมาเป็นผู้ควบคุมในการทำป่าไม้ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด ได้สัมปทานป่าไม้สัก ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุม ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นระยะเวลา 10 ปีเศษ ได้ลาออกมาจากบริษัทไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยการตั้งโรงสีไฟที่อำเภอคลองขลุงอยู่หลายปี จึงได้กลับเป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุมอีกครั้งหนึ่ง และได้ลาออกจากบริษัทเมื่อ พ.ศ. 2487 ได้ไปทำป่าไม้ส่วนตัวที่อำเภอคลองขลุง และอำเภอขาณุวรลักษบุรี จังหวัดกำแพงเพชร โดยเข้าหุ้นกับนายวูตุงปั๊ก ล่ำซำ ผู้เป็นน้องในนามบริษัทตุงหน่ำ จำกัด เพื่อการทำไม้สัก ป่าคอปล้อง มาภายหลังได้เข้าหุ้นกับบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด อีก 3 ปี จึงได้เลิกกิจการค้าเพื่อพักผ่อน รวมเวลาที่ขุนทวีจีนบำรุง ได้มาประกอบอาชีพในการทำป่าไม้รวมเป็นเวลาประมาณ 50 ปีเศษ
          ขุนทวีจีนบำรุง ได้ตั้งหลักฐานอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร ท่านมีความโอบอ้อมอาชีพต่อบุคคลทั่วไป เป็นที่เคารพนับถือของบรรดาข้าราชการ พ่อค้า คหบดี และมิตรสหายทั้งหลาย ท่านมีจิตศรัทธาอันแรงกล้าในการบำรุงการศึกษา การกุศลและช่วยเหลือทางราชการเสมอ เช่น
          บำรุงการศึกษา ได้ร่วมในการสร้างโรงเรียนประจำ จังหวัดกำแพงเพชร (วัชรราษฏร์วิทยาลัย) และได้ยกที่ดิน 1 แปลง มีพื้นที่ประมาณ 12 ไร่ ให้ทางราชการ เพื่อจัดสร้างโรงเรียนประชาบาล (พิบูลย์วิทยาคาร) อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร
          บริจาคทรัพย์ร่วมในการสร้างโบสถ์ ศาลา และโรงเรียนพระปริยัติธรรม และการก่อสร้างอื่นๆ ทางศาสนาตลอดมา
          การสาธารณกุศล ได้บริจาคทรัพย์สร้างถนน บำรุงโรงพยาบาลกำแพงเพชร โรงพยาบาลจีนและมูลนิธิ โรงพยาบาลเทียนฟ้ามูลนิธิ และมูลนิธิฮั่วเคี้ยวป่อเต็กเซี่ยงติ้ง          เมื่อปี พ.ศ.2474 ได้รับพระราชทานนาม เป็นขุนทวีจีนบำรุง ขุนทวีจีนบำรุงได้สมรถกับนางลี่สี มีบุตร ธิดา รวม 13 คน ได้แก่
          1. นายซัง ล่ำซำ (ถึงแก่กรรมแล้ว)
          2. นายฟุก ล่ำซำ
          3. นายบุญรอด ล่ำซำ
          4. นางบุญเรือง ธรรมบุตร
          5. นายมนู ล่ำซำ
          6. นางบุญรัตน์ ปุรณะพรรณ์
          7. นายประสาท ล่ำซำ
          8. นางสาวนอมนิจ ล่ำซำ
          9. นายนิมิตร ล่ำซำ
          10. นางสาวนงนวล ล่ำซำ
          11. นางสาวจิตนา ล่ำซำ
          12. ด.ญ.เพ็ญศิริ ล่ำซำ
          13. ด.ช.ประเสริฐสุข ล่ำซำ
          ขุนทวีจีนบำรุง เริ่มป่วยเป็นโรคกล้ามเนื้ออักเสบ และเยื่อหุ้มปอดอักเสบ เมื่อต้นเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2505 ได้เชิญนายแพทย์มาทำการรักษาอยู่ที่บ้านประมาณ 10 วันเศษ อาการไม่ดีขึ้น จึงนำไปรักษาที่โรงพยาบาลจังหวัดกำแพงเพชร ตามคำแนะนำของนายแพทย์ผู้อำนวยการโรงพยาบาล รักษาอยู่ได้ 10 วัน ก็ถึงแก่กรรมโดยสงบด้วยโรคหัวใจวาย ในท่ามกลางการเฝ้ารักษาพยาบาลของภรรยา บุตรธิดา และญาติ คำนวณอายุได้ 78 ปี
          มรณกรรมของขุนทวีจีนบำรุง เป็นที่เศร้าสลดแก่ครอบครัวเป็นอย่างยิ่ง ได้มีบรรดาข้าราชการ พ่อค้า คหบดี ตลอดจนญาติมิตรได้แสดงความเสียใจอาลัยมายังครอบครัวของขุนทวีจีนบำรุง ทั้งทางโทรเลขและจดหมาย ภรรยาและบุตรธิดาของขุนทวีจีนบำรุง รู้สึกซาบซึ้งในความเมตตาของท่านที่เคารพนับถือ ตลอดจนญาติมิตรสมาคมที่กรุณาช่วยเหลือในการบำเพ็ญกุศล แต่วันแรกที่ขุนทวีบำรุงถึงแก่กรรมตลอดมา จนกระทั่งได้พร้อมกันประชุมเพลิงในการฌาปนกิจ จึงขอถือโอกาสขอบคุณอย่างสูงไว้ในที่นี้ด้วย
          ด้วยกุศลผลบุญที่ได้บำเพ็ญในครั้งนี้ ขออานิสงส์ผลนั้นจงเป็นวิบากสมบัติขจัดทุกข์ และเป็นพลวปัจจัยอำนวยประโยชน์สุขโสตถิผลแด่ท่านขุนทวีจีนบำรุง ให้ได้บังเกิดในสุคติภพ สมดังมโนปณิธานของภรรยา บุตร ธิดา ด้วยเทอญ

บ้านขุนทวีจีนบำรุง (เรือนโบราณกำแพงเพชร 2)
         ทางฝั่งกำแพงเพชร บ้านขุนทวีจีนบำรุง เป็นบ้านที่มีลักษณะงดงามที่สุดอีกหลังหนึ่ง มีอายุ เกือบ 80 ปี ตั้งอยู่เลขที่ 53 ถนนเทศา 1 ตำบลในเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร อยู่ระหว่างวัดเสด็จกับโรงพยาบาลแพทย์บัณฑิต จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2480 สร้างด้วยไม้สักเป็นส่วนใหญ่
          บ้านหลังนี้ ชาวบ้านเรียกกันว่านายนายห้าง สร้างโดยช่างไม้ชาวกำแพงเพชร ท่านเป็นคนละเอียดมากจึงต้องเปลี่ยน ช่างหลายชุด ตัวบ้านไม้พื้นชั้นล่างเป็นไม้สัก ไม้พื้นชั้นบนเป็นไม้มะม่วง ไม้ที่เป็นตงและรอด มีความหนาถึง ๓นิ้ว ไม้ฝาหนาถึงสามกระเบียด พื้นบ้านหนานิ้วครึ่ง บานประตูและหน้าต่างจะมีช่องลม ให้ลมผ่าน แต่เดิมบ้านหลังนี้ใช้สลักไม้แทนตะปู

           ลักษณะสถาปัตยกรรม
           เป็นเรือนไม้สักพักอาศัย 2 ชั้น ทรงมนิลาประยุกต์หลังคาปั้นหยามีมุขยื่นด้านหน้าประดับไม้ฉลุแบบเรือนขนมปังขิง (เรือนขนมปังขิง เป็นชื่อเรียกอาคารประเภทหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลจากสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก ซึ่งแพร่เข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ 4 มีการประดับตกแต่ลวดลายฉลุที่วิจิตรพิสดาร หรูหรา สวยงามเหมือนขนมปังขิง) หลังคามุงกระเบื้องดินเผาทางเข้าหน้าบ้านและหน้าเรือนที่เฉลียงมีซุ้มประตู ตัวเรือนยกพื้นสูงเกือบ 2 เมตร แต่เดิมสามารถเข้าไปวิ่งเล่นใต้ถุนบ้านได้อย่างสบาย พื้นที่ชั้นล่างมีห้องรับแขกและรับประทานอาหาร 2 ห้องนอน ห้องเก็บของและห้องน้ำ-ส้วม ชั้นบนมี 4 ห้องนอน ห้องโถงและระเบียงประตูภายในชั้นล่างเป็นบานเฟี้ยมลูกฟัก ด้านบนโปร่งด้วยลูกกรงเหล็กกลม ส่วนหน้าต่างเป็นบานลูกฟัก ผสมบานเกล็ดกระทุ้งเปิดได้ ช่องลมประตู หน้าต่างประดับไม้ฉลุลาย ฝาไม้กระดานตีแนวนอน ปัจจุบันเป็นกรรมสิทธิ์ของนางเพ็ญศิริ เจียมพานทอง ลูกสาวคนเล็กของขุนทวี ที่น่าสังเกตคือห้องนอนของขุนทวีชั้นบน มีขนาดเล็ก มาก ขนาดประมาณ กว้าง ๓ เมตร ยาว 4 เมตร แสดงถึงความเป็นคนเรียบง่ายและสมถะของท่าน
            เมื่อซ่อมบ้านครั้งใหญ่เมื่อ ๓ปีที่ผ่าน มา มีการเปลี่ยนวัสดุมุงหลังคาจากกระเบื้องดินเผาเป็นกระเบื้องซีเมนต์สีส้มเปลี่ยนเฉลียงไม้หน้าบ้านเรือนเป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก เปลี่ยนราวบันไดลูกกรงที่ผุและทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ทั้งหลัง เมื่อสร้างบ้านใหม่ๆ บ้านนายห้าง มีอาณาเขตกว้างขวาง มากใต้ถุนสูง มีบ่อน้ำอยู่หน้าบ้าน เมื่อสมัยน้ำท่วมกำแพงเพชรใหญ่ ปีพ.ศ. 2504 น้ำท่วมในตัวเมืองกำแพงเพชร ขุนทวีได้ให้ชาวบ้านที่เดือดร้อน เข้ามาอยู่อาศัยในบ้านด้วย
            ปัจจุบันลูกๆ ได้แบ่งที่ดินกันไป จึงทำให้เหลือที่ดิน เฉพาะที่ตั้งเรือนบ้านหลังนี้จึง เป็นบ้านที่น่าสนใจมากอีกหลังหนึ่ง ที่คนกำแพงเพชรภูมิใจ

 

คำสำคัญ : ขุนทวีจีนบำรุง ทวี ล่ำซำ

ที่มา : https://sunti-apairach.com/book/book1pdf/booksec1_088.pdf

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ). สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1315&code_db=610003&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1315&code_db=610003&code_type=01

Google search

Mic

เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

เสริมวุฒิ สุวรรณโรจน์

"ดอกผลของธุรกิจช่วยพัฒนาสังคม" อดีตรับข้าราชการตำแหน่งพนักงานขับรถของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียน อำเภอเมืองกำแพงเพชร ปัจจุบันประกอบอาชีพธุรกิจเฉาก๊วยชากังราว เป็นสินค้าผ่านการคัดสรรค์ OTOP กำแพงเพชร เป็นคนคิดดี พูดดี ทำดี ซื่อสัตย์ในอาชีพ ยึดหลักของเศรษฐกิจพอเพียง เรียบง่าย ช่วยเหลือผู้ยากไร้ สร้างวัด ด้วยเงินกว่า 30 ล้านบาท ล่าสุดบริจาคเงินซื้อเครื่องส่องสว่างในการผ่าตัด เครื่องช่วยหายใจ บริจาคเงินสร้างวัดไทยในประเทศเยอรมัน

เผยแพร่เมื่อ 09-03-2018 ผู้เช้าชม 3,214

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

เรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์

นายเรืองศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เกิดเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2490 อายุ 57 ปี ที่อยุู่ปัจจุบัน เลขที่ 444 หจก. นครชุมบริการ หจก.ก๊อดการสุรา หจก. ชุมนครก่อสร้าง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร จบจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน หลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียน พุทธศักราช 2530 ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย วันที่ 8 ตุลาคม 2542 จากศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเมืองกำแพงเพชร วุฒิการศึกษาสูงสุด สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชรรุ่นแรก สาขาพัฒนาชุมชน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 1,128

เชิด นุ่มพรม

เชิด นุ่มพรม

นายเชิด นุ่มพรม บุคคลสำคัญทางด้านประเพณี วัฒนธรรม และการแสดงพื้นบ้านของตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เกิดเมื่อวันที่ 2 กันยายน 2476 อยู่บ้านเลขที่ 148 หมู่ 2 ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย เรียนจบชั้น ป.4 ที่โรงเรียนบ้านเมืองเก่า สมัยเมื่อยังเรียนหนังสืออยู่ ครูมักจะให้ร้องเพลงตามบทดอกสร้อย เพราะในนั้นหมู่บ้านที่อยู่มีหนุ่มสาวมาก ใครจะมาเล่นร้องรำทำเพลง ต้องตามหาตัวนายเชิดก่อน เพราะนายเชิดมีพี่สาวน้าสาวหลายคน นายเชิดเมื่อเด็กมักจะพาไปหาหมู่น้าๆ อาๆ เพื่อให้เขาได้รู้จักกัน

เผยแพร่เมื่อ 09-09-2019 ผู้เช้าชม 612

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ)

ขุนทวีจีนบำรุง (ทวี ล่ำซำ) เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ณ ตำบลจุ่งแห้ว ประเทศจีน เป็นบุตรของนายอึ้งอยู่จ้อง และนางซ้อย ได้เดินทางมาอยู่ประเทศไทยเมื่ออายุ 18 ปี เข้าทำงานอยู่กับนายล่ำซำ (ต้นตระกูลล่ำซำ) ผู้เป็นอาว์ และได้ถูกส่งมาเป็นผู้ควบคุมในการทำป่าไม้ อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด ได้สัมปทานป่าไม้สัก ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุม ตำบลนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร เป็นระยะเวลา 10 ปีเศษ ได้ลาออกมาจากบริษัทไปประกอบอาชีพส่วนตัว โดยการตั้งโรงสีไฟที่อำเภอคลองขลุงอยู่หลายปี จึงได้กลับเป็นผู้จัดการบริษัทป่าไม้ล่ำซำ จำกัด สาขานครชุมอีกครั้งหนึ่ง

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2020 ผู้เช้าชม 2,227

ขุนอินทรเสนา

ขุนอินทรเสนา เป็นข้าราชการชั้นกรมการเมือง เป็นขุนนางฝ่ายทหารของเมือง กำแพงเพชร ขุนอินทรเสนาเป็นข้าราชการของพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือ รัชกาลของพระมหาจักรพรรดิ ครั้นต่อมาพระมหาธรรมราชาที่ 2 และสมเด็จพระมหินทราธิราชผิดใจกัน เมื่อสมเด็จพระมหาจักรพรรดิและสมเด็จพระมหินทราธิราชไปรับพระวิสุทธิกษัตริย์และพระเอกาทศรถที่เมืองพิษณุโลกไปไว้ที่กรุงศรีอยุธยา ตอนนั้นพระมหาธรรมราชาที่ 2 ไปกรุงหงสาวดี ขากลับจากเมืองพิษณุโลกสมเด็จพระมหินทราธิราชได้ทูลสมเด็จพระมหาจักรพรรดิว่า เมืองกำแพงเพชรเป็นทางศึกและจะเป็นกำลังแก่ข้าศึกยึดได้ จึงขอทำลายเมืองกำแพงเพชร เพื่อกวาดต้อนครอบครัวและอพยพผู้คนมายังเมืองหลวง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 1,413

บุญมี บานเย็น

บุญมี บานเย็น

สมุนไพรเป็นพืชสำคัญของชาวไทยอยู่คู่กับชาวไทยมานานหลายร้อยปี แต่ในปัจจุบันคนไทยกลับลืมเลือนไปสิ้น เราหาคนไทยที่เข้าใจเรื่องสมุนไพรไทยยากยิ่งนัก แต่ไม่น่าเชื่อมีคนไทยในกำแพงเพชรศึกษาสมุนไพรอย่างจริงจังอยู่ท่านหนึ่ง ท่านนั้นคือนายบุญมี บานเย็น (นายโบ๊ะ) เจ้าพ่อสมุนไพรกำแพงเพชร ที่รายการโทรทัศน์วัฒนธรรมยกย่อง
สวนสมุนไพรจังหวัดกำแพงเพชรตั้งอยู่ บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 1 บ้านวังยาง ตำบลนครชุม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อเข้าไปชมแล้วชื่นชมนายโบ๊ะ หรือลุงโบ๊ะอย่างยิ่งที่รวบรวมสมุนไพรไทยไว้หลายร้อยชนิด จัดเป็นระบบ มีป้ายบอกชื่อสมุนไพรแต่ละชนิดอย่างชัดเจน

เผยแพร่เมื่อ 19-04-2019 ผู้เช้าชม 1,149

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม)

พระกำแหงสงคราม(ฤกษ์ นุชนิยม) เกิดเมื่อวันที่ 8 กรกฏาคม พ.ศ. 2399 วันอังคารขึ้น หกค่ำ เดือนแปด ปีมะโรง ณ จวนเก่า จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบุตรของพระกำแหงสงคราม(เหลี่ยม นุชนิยม) สืบสกุลโดยตรงมาจากพระยาเกียรติ ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของพระเจ้านันทบุเรง(พระเจ้าหงสาวดี) ได้สามิภักดิ์ติดตามสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พร้อมกับพระยารามและพระมหาเถรคันฉ่อง ในคราวประกาศอิสระภาพ ณ เมืองแกลง ได้พึ่งพระบรมโพธิสมภารอยู่ด้วยความร่มเย็นเป็นสุขตลอดมา กาลล่วงมาจนถึงปู่ทวด คือพระยารามรณรงค์สงครามรามภักดีอภียพิริยะพาหะ(นุช)

เผยแพร่เมื่อ 14-11-2023 ผู้เช้าชม 351

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

สันติ อภัยราช : ปราชญ์ท้องถิ่น แผ่นดินเมืองกำแพงเพชร

นายสันติ อภัยราช เป็นผู้ที่มีองค์ความรู้ในด้านของประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณี ภูมิปัญญา วรรณกรรมท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับเมืองกำแพงเพชร ด้วยกระบวนการศึกษาค้นคว้าที่เป็นระบบ จัดทำเป็นข้อมูลองค์ความรู้ จึงทำให้เป็นผู้ที่ได้รับเชิญให้มีบทบาทในเรื่องดังกล่าวของทางจังหวัด อีกทั้งยังมีปณิธานในการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและยังมีความสามารถในการถ่ายทอดองค์ความรู้เหล่านั้นให้เป็นองค์ความรู้ที่สำคัญเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ผ่านทางการเป็นวิทยากรบรรยาย ทั้งยังเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางสื่อออนไลน์ เพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสในการเข้าศึกษาอย่างทั่วถึง

เผยแพร่เมื่อ 14-02-2018 ผู้เช้าชม 2,082

 พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการ

พระยาวิเชียรปราการเดิมชื่อ (ฉาย อัมพเศวต) เจ้าเมืองกำแพงเพชรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447-2454 เดิมเป็นหลวงสรรค์บุรารักษ์ นายอำเภอสรรค์บุรี เมืองชัยนาทต่อมาได้เลื่อนเป็นพระวิเชียรปราการ ผู้ช่วยราชการเมืองกำแพงเพชร ต่อมาได้เป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชร และได้เลื่อนเป็นพระยาวิเชียรปราการ พระยาวิเชียรปราการเป็นเจ้าเมืองกำแพงเพชรอยู่ 7 ปีได้ทำประโยชน์แก่เมืองกำแพงเพชรมาก ความดีของพระยาวิเชียรปราการ เด่นชัดตอนรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จเมืองกำแพงเพชร ในปีพ.ศ. 2449 ตามที่ปรากฏในหนังสือเสด็จประพาสต้นของรัชกาลที่ 5 ได้นำเสด็จฯ ชมโบราณสถานด้วยความสันทัดจัดเจน 

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,146

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ : บุคคลสำคัญของจังหวัดกำแพงเพชร

มาลัย ชูพินิจ เป็นชาวกำแพงเพชรโดยกำเนิด เกิดเมื่อวันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ.2449 บ้านอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ตำบลคลองสวนหมาก อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร บิดามารดาคือ นายสอนและนางระเบียบ ชูพินิจ ตระกูลชูพินิจ มีบรรพบุรุษสืบต่อมาจากตระกูล ณ บางช้าง ซึ่งนิยมรับราชการสืบต่อกันมา จนกระทั่งถึงชั้นปู่ของมาลัย ชูพินิจ ซึ่งได้ย้ายไปรับราชการประจำอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชรในรัชกาลที่ 5 แต่บิดามารดาของมาลัย ชูพินิจ มิได้รับราชการตามบรรพบุรุษ หากหันมาค้าไม้สักและไม้กระยาเลย อันเป็นทรัพยากรธรรมชาติสำคัญของจังหวัดนั้น

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 3,271