ขนมเปี๊ยะ

ขนมเปี๊ยะ

เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้ชม 2,977

[16.4705612, 99.5283865, ขนมเปี๊ยะ]

        ขนมเปี๊ยะเป็นขนมที่มักใช้ประกอบในเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะในเทศกาลนี้คือ เป็นขนมแห่งความศิริมงคล สื่อถึงความปรารถนาดีระหว่างผู้รับกับผู้ให้ พร้อมทั้งยังเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคีกัน เพราะเทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนส่วนใหญ่มักอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว เพื่อชมพระจันทร์พร้อมทั้งกินขนมเปี๊ยะไปด้วย ปัจจุบันขนมเปี๊ยะในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายขนาดละหลากหลายรสชาติตามแต่สูตรเฉพาะของแต่ละพื้นที่บ้างก็เป็นขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่ไส้ถั่ว ไส้เค็มและไส้ฟักหวาน แต่ก็มีขนมเปี๊ยะอีกชนิดหนึ่งนั้นคือขนมเปี๊ยะลูกเล็กที่ได้รับความนิยิมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะพอดีคำและยังสามารถบริโภคได้หลากหลายไส้ในครั้งเดียว

ส่วนผสม : แป้งชั้นนอก
       1. แป้งสาลีตราบัวแดง  190 กรัม  แป้งสาลีเอนกประสงค์ 95 กรัม
       2. น้ำตาลทราย 60 กรัม
       3. น้ำมันพืช 75 กรัม
       4. น้ำเย็นจัด 110 กรัม
       5. วิปผง  10 กรัม
       6. เกลือ  3 กรัม

ส่วนผสม : แป้งชั้นใน
      1. แป้งสาลีอเนกประสงค์ 150 กรัม
      2. น้ำมันพืช  50 กรัม
      3. เนยขาวรำข้าว 25 กรัม

การตกแต่งหน้าขนม :
      1. ไข่แดง ผสมสีส้ม สำหรับทาหน้าขนมก่อนเข้าอบ
      2. ถ้าใช้ไข่ทั้งฟองทาหน้าขนม….ต้องทาไข่ 2 รอบ คือ อบไปซัก 5 นาที ก็เปิดเตาเอาออกมาทาไข่ซ้ำอีกรอบ
      3. น้ำมันพืช และเนยขาว ควรเลือกชนิดที่ทำมาจาก.. รำข้าว เพื่อให้มีอายุการ เก็บรักษาได้นาน และปลอดภัยต่อสุขภาพ และน้ำมันรำข้าว ไม่มีกลิ่นที่รบกวนกับกลิ่นของการอบควันเทียนด้วย

ส่วนผสมไส้ : ถั่วกวน
       1. ถั่วทองกวน และอบควันเทียนแล้ว
       2. ไข่แดงเค็ม
       (สำหรับไข่แดงเค็ม ควรนำเข้าอบให้สุกก่อน ไฟ 180 องศาเซลเซียส นาน 10 -15 นาที

วิธีการทำแป้งชั้นนอก
:
       ผสมทุกอย่างใส่ในแป้ง นวดให้เนียนเหนียวจนแผ่แป้งเป็นฟิล์มได้ (- หากแป้งแห้งเกินไป เพิ่มน้ำได้ครั้งละ 1 ชต.)  พักแป้งไว้ 10 นาที

วิธีการทำแป้งชั้นใน :
       นวดแป้ง ผสมกับน้ำมันและเนยขาวนวดจนเนียนพักไว้ ในกรณีที่แป้งแฉะเกินไป เราสามารถเพิ่มแป้งได้ แต่ต้องเพิ่มทั้งสูตรแป้งชั้นในและแป้งชั้นนอก

วิธีการทำแป้งให้แยกเป็นชั้น :
       1. แบ่งแป้งชั้นในและแป้งชั้นนอกให้มีจำนวนชิ้นเท่าๆ กัน เช่น ถ้าแบ่งแป้งชั้นนอก 12 ชิ้น ก็ต้องแบ่งแป้งชั้นใน ให้ได้ 12 ชิ้น เป็นจำนวนที่เท่าๆ กัน ในสูตรนี้ แบ่ง: แป้งชั้นนอก 30-35 กรัม และแป้งชั้นใน 10-12 กรัม
       2. เอาแป้งชั้นนอกห่อหุ้มแป้งชั้นในให้มิด
       3. คลึงแป้งให้เป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าบางๆ ขนาดประมาณ 1-2 นิ้ว × 5 นิ้ว แล้วม้วน ทำซ้ำๆแบบเดิมประมาณ 4-5 ครั้ง
       4. ตัดแบ่งแป้ง เป็น 3 ชิ้นต่อแป้ง 1 ก้อน คลึงแป้งให้เป็นแผ่นกลม ขอบบางตรงกลางหนา
       5. นำแป้งมาห่อจับจีบหุ้มไส้ให้มิด วางด้านที่จับจีบลงด้านล่าง บนถาดที่รองแผ่นกระดาษรองอบ ควรอบไส้ถั่วกวน ด้วยควันเทียนก่อน และอบไข่แดงเค็มให้สุกก่อน
       6. ทาไข่แดงที่หน้าขนม แล้วนำเข้าเตาอบ ใช้ไฟบนล่าง 180 องศาเซลเซียส ไม่เปิดพัดลม อบนาน 10-15 นาที ดูว่าแป้งกลายเป็นสีขาวนิ่มก็สุกแล้ว ถ้าอบนานขนมเปี๊ยะจะกรอบแห้ง และเหลืองกว่า ( ขึ้นอยู่กับความชอบ )
บางคนก็อบด้วยไฟ 150-160 องศาเซลเซียส นาน 20 -25 นาที ซึ่งการใช้ไฟในการอบนั้น ขึ้นอยู่กับเตาอบของแต่ละบ้าน มากกว่าการกำหนดตายตัวลงไป
       7. อบขนมเปี๊ยะด้วยควันเทียนอีกครั้งหนึ่ง ก่อนเก็บขนมไว้ในภาชนะที่ปิดสนิท

ใช้น้ำมันมะพร้าวหีบเย็น
      ถั่วทองดิบ 500 กรัม
      น้ำมันมะพร้าวหีบเย็น  110 กรัม
      น้ำตาลทราย 330 กรัม
      เนยสดเค็ม 80  กรัม
      กลิ่นมะลิ  2  ฝา

ภาพโดย : https://tuksirinyapat.wordpress.com

คำสำคัญ : ขนมเปี๊ยะ

ที่มา : ตลาดไนท์พลาซ่า

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมเปี๊ยะ. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=602&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=602&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

เมี่ยงเต้าเจี้ยว

ในอดีตคนในจังหวัดตากมักนำสิ่งใกล้ตัวเพื่อมาใช้ประโยชน์และเพื่อการบริโภค เพราะคนจังหวัดตากอยู่ในชุมชนเรียบง่ายและรักสงบ จึงมีวัฒนธรรมการรับประทานที่เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นทำอาหารคาวหวานและอาหารว่างรับประทานกันในครอบครัว เช่น การทำเต้าเจี้ยว การทำข้าวเกรียบงาดำ และปลูกพืชผักสมุนไพรเช่นตะไคร้ ขิง พริกขี้หนู มะพร้าวเป็นต้น สาเหตุที่คนตากนิยมรับประทานเมี่ยงซึ่งส่วนใหญ่จะมีมะพร้าวเป็นส่วนประกอบหลัก จึงมีกะลามะพร้าวมากมาย ซึ่งจะนำกะลามะพร้าวมาทำกระทงสำหรับลอยในวันลอยกระทงของทุกปี 

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้เช้าชม 4,282

ปลาเห็ด

ปลาเห็ด

ปลาเห็ดหรือทอดมัน เป็นอาหารพื้นบ้าน คำว่า ปลาเห็ด” เป็นคำที่สันนิษฐานว่ามีที่มาจาก ภาษาเขมรซึ่งเขียนว่า ปฺรหิต” เวลาอ่านออกเสียงว่า ปฺรอเฮด” ในพจนานุกรมภาษาเขมรอธิบายไว้ว่า เป็นเครื่องประสมหลายอย่าง เป็นเครื่องช่วยทำให้อาหารมีรสอร่อย เป็นเครื่องช่วยกับข้าว ทำด้วยปลาหรือเนื้อสับให้ละเอียดแล้วคลุกให้ เข้ากันกับเครื่องผสมหลายอย่าง เช่น แป้งข้าวเจ้า แล้วปั้นเป็นก้อนเล็ก ๆ แล้วทอดน้ำมัน หรือเอาไปแกง” เครื่องปรุง ประกอบด้วย ปลาทั้งเนื้อทั้งกระดูก กุ้งฝอย สับให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วจึงปรุงรสด้วยพริกแกงเผ็ด ปรุงรสเค็มนิดๆ เวลาจะทอด ให้ปั้นเป็นชิ้นแบนๆ ขนาดประมาณสามนิ้วมือเรียงชิดกัน ทอดด้วยน้ำมันใหม่ๆ จนเหลืองกรอบนอก ด้านในเหนียวนุ่ม

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 2,232

ขนมไข่

ขนมไข่

ขนมไข่ เป็นอีกหนึ่งอย่างที่ชาวจังหวัดกำแพงเพชรนิยมรับประทานกันมายาวนานแต่เดี่ยวนี้หาร้านอร่อยๆ หาทานอยากและยังมีคุณค่าทางโภชนาการสูงเพราะมีส่วนผสมของแป้งไข่และน้ำตาลเป็นหลักขนมไข่เป็นขนมโบราณอย่างหนึ่งควรอนุรักษ์ไว้เพื่อให้ลูกหลานรุ่นหลังได้รู้จักและเห็นคุณค่าของขนมโบราณ

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,040

เฉาก๊วยชากังราว

เฉาก๊วยชากังราว

ความพิเศษไม่เหมือนใครของเฉาก๊วยชากังราวคือเนื้อเฉาก๊วยที่นุ่มหนึบ ไม่ได้เหนียวจนเกินไป แต่ก็ไม่ได้ขาดง่าย ชนิดที่หาจากเฉาก๊วยเจ้าอื่นไม่ได้ เฉาก๊วยชากังราวเลือกใช้ต้นเฉาก๊วย 3 สายพันธุ์จาก 3 ประเทศมารวมกัน แม้ในวันนี้จะมีการปลูกต้นเฉาก๊วยอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่สูตรลับความนุ่มหนึบของเฉาก๊วยชากังราวนั้นเป็นการรวมกันของต้นเฉาก๊วยจากเวียดนามที่โดดเด่นในเรื่องของความหวาน ต้นเฉาก๊วยอินโดนีเซียที่มีความนุ่มหนึบ และต้นเฉาก๊วยจีนที่มีรสชาติหวานหอมกลมกล่อม โดยต้นเฉาก๊วยจาก 3 ประเทศนี้จะปลูกในที่สูงและอากาศเย็น ทำให้เป็นต้นเฉาก๊วยที่มีคุณภาพดีกว่าต้นเฉาก๊วยที่ปลูกในประเทศไทย

เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 3,417

ขนมเทียนแก้วเอี่ยมจิตร

ขนมเทียนแก้วเอี่ยมจิตร

ขนมเทียนแก้วเอี่ยมจิตร ขนมอร่อยขึ้นชื่อประจำจังหวัดกำแพงเพชร อร่อย ใส เหนียว นุ่ม พอดีคำ ทานเพลิน กินเล่นก็ดี เป็นของฝากก็เลิศ ควรค่าแก่การซื้อมาก แนะนำให้โทรสั่งล่วงหน้าไม่มีหน้าร้านทำตาม order มีจำหน่ายแบบกล่องบรรจุภัณฑ์สวยงามที่ปั๊ม ปตท.นครชุม (สี่แยกกำแพงเพชร ขาขึ้นเหนือ) และปั๊ม ปตท.โค้งวิลัยไทยเสรี (ในร้านเจ้าสัว ขาล่องเจ้า กทม.) ขนนเทียนแก้วเอี่ยมจิตรเป็นขนมที่ให้รสชาติอร่อย หารับประทานได้ยาก มีจำหน่ายเฉพาะบางจุดเท่านั้นได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,852

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ

กล้วยฉาบ เป็นขนมประเภทของว่าง รับประทานเล่นในชุมชนมานานแล้ว เนื่องจากกล้วยเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยเฉพาะกล้วยไข่ เป็นต้นไม้ที่พบมากในพื้นที่ของเมืองกำแพงเพชร ผู้อาวุโสของชุมชนหนองรี สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว กล้วยฉาบ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ต้องการนำผลไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มาแปรรูปเพื่อจะได้เก็บไว้รับประทานได้นานๆ และไว้รับรองญาติมิตรหรือผู้มาเยี่ยมเยียน 

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 16,566

ขนมเข่ง

ขนมเข่ง

ขนมเข่ง (ขนมตรุษจีน) ขนมเข่งเป็นขนมที่จะขาดไม้ได้ในเทศกาลตรุษจีน หรืองานมงคลต่างๆ มีความหมายเหมือนกับขนมเทียนคือ หวานชื่น ราบรื่น และอุดมสมบูรณ์ มีรสชาติหวานหอมเนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม สามารถดัดแปลงได้หลากหลาย อาจเติมเนื้อมะพร้าวอ่อน หรือลูกชิดลงไปได้ สามารถเป็นไว้ได้นานในตู้เย็นมีวิธีการทำที่ง่ายมาก

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 4,061

กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

กระยาสารท เป็นขนมที่พบได้โดยทั่วไป ถือเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร และที่กำแพงเพชรได้มีการกวนกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว ส่วนสำคัญจะนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ปัจจุบันนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทยระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปีที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงที่อร่อยมาก ที่ชุมชนอนันตสิงห์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนอนันต์สิงห์ได้รวมตัวกันกวนกระยาสารทเพื่อจัดจำหน่ายวันละหลายกระทะ มีรสชาติอร่อยหวานมัน หาที่เปรียบเทียบได้ยาก และได้มีการสาธิตการกวนกระยาสารทด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง เพราะมีความภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 3,346

แกงหยวก

แกงหยวก

อาหารพื้นบ้าน "แกงหยวก” มีความสำคัญสำหรับครอบครัวชนบทในพื้นตำบลนครชุมมาก เพราะเป็นวิถีชีวิตที่คนรุ่นบรรพบุรุษในอดีตได้ทำอาหารแกงหยวกรับประทานกับข้าวมาแต่ดั้งเดิมแสดงถึงความรักความสามัคคีการอยู่การกินที่เรียบง่าย ประหยัดเพราะใช้ทุนทางวัฒนธรรมที่มีอยู่ตามธรรมชาติปลูกขึ้นในสวนใกล้บ้าน ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายรับประทานได้ทั้งครอบครัว แสดงถึงคุณค่าทางสังคมที่รักสงบ มีความเป็นอยู่อย่างพอเพียง หยวกหรือต้นกล้วย ส่วนที่นำมาแกง คือใจกลางต้นที่ยังอ่อนอยู่ นิยมแกงใส่ไก่บ้าน และวุ้นเส้น บ้างแกงใส่ปลาแห้ง มีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ อีกแบบหนึ่งมีวิธีการแกงเช่นเดียวกับแกงผักหวาน สูตรที่แกงแบบเดียวกับแกงอ่อมเนื้อต่างๆ นั้น นิยมใช้เลี้ยงแขกในงานบุญต่างๆ หรืองานอื่นๆ เมื่อทำหม้อใหญ่ ไม่นิยมใส่วุ้นเส้น

เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 2,230

กล้วยบวชชี

กล้วยบวชชี

กล้วยบวชชี เป็นขนมหวานชนิดหนึ่งที่คนทั่วไปรู้จักเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นขนมที่ดูเหมือน ธรรมดา แต่มีความเป็นเอกลักษณ์โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้า มะพร้าวหรือน้ำกะทิเป็นวัตถุดิบที่คนไทยนำมาใช้ประกอบอาหาร ตั้งแต่สมัยโบราณจนปัจจุบัน หรือจะใช้กล้วยไข่ก็ได้ การทำกล้วยบวชชีในตำรับนี้ผู้เขียนจะใช้กะทิธัญพืชเป็นส่วนประกอบแทนกะทิทั่วไป เพื่อให้เป็นตำรับสุขภาพที่ทุกคนกินได้

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2017 ผู้เช้าชม 4,439