เมี่ยงเต้าเจี้ยว จังหวัดตาก

เมี่ยงเต้าเจี้ยว จังหวัดตาก

เผยแพร่เมื่อ 17-08-2018 ผู้ชม 3,365

[-, -, เมี่ยงเต้าเจี้ยว จังหวัดตาก]

วัตถุดิบเครื่องเมี่ยงเต้าเจี้ยวกับข้าวเกรียบงาดำ
1.เครื่องเมี่ยง ประกอบด้วย
                -ข้าวพอง เอาข้าวเหนียวตากแห้ง แล้วมาทอดกับน้ำมัน หรือจะใช้ข้าวแตนแทน
                -ถั่วลิสงคั่ว                                             -กุ้งแห้ง
                -ขิงสดหั่นเป็นสี่เหลี่ยม                         -มะนาวหั่นเป็นสี่เหลี่ยม
                -มะพร้าวเอามาขูดให้เป็นเส้นๆ            -กระเทียมปลอกเปลือก
                -ตะไคร้ซอยบางๆ

2.เครื่องห่อ ประกอบด้วย
                -ข้าวเกรียบงาดำ   ชุบน้ำให้นิ่ม
3.เครื่องเคียง ประกอบด้วย
                -พริกขี้หนู
                -มะเขือพวง
                -มะแว้ง

4.เต้าเจี้ยวสำหรับราดเมี่ยง ใช้เต้าเจี้ยวที่ดองเอง จะมีรสเปรี้ยว ควรเติมน้ำสุกพอประมาณ และเติมน้ำตาลให้ออกรสหวาน
วิธีรับประทานกับข้าวเกรียบงาดำ
                1.นำข้าวเกรียบงาดำมาชุบน้ำ
                2.จัดเครื่องเมี่ยงวางบนข้าวเกรียบงาดำ
                3.โรยข้าวตากทอด และมะพร้าว

                4.ราดด้วยเต้าเจี้ยว
                5.ทำเป็นคำพอประมาณ พร้อมเสิร์ฟ

วิธีการทำน้ำเต้าเจี้ยว  ข้อมูลจากสำนักวัฒนธรรมจังหวัดตาก

นางคำ ทิมแพร ภูมิปัญญาท้องถิ่น ผู้มีความรู้ความสามารถ และความชำนาญในการทำเต้าเจี้ยว ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้านของชาวไม้งาม ใช้เวลาในการทำตั้งแต่เริ่มแรกโดยประมาณ 4 วัน จึงได้เต้าเจี้ยวพร้อมที่จะประกอบอาหาร

 เต้าเจี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์อาหารหมักชนิดหนึ่งที่ได้จากการหมักถั่วเหลือง ซึ่งมีโปรตีนสูง ในประเทศไทยนิยมนำเต้าเจี้ยวมาใช้เป็นอาหารชนิดต่าง ๆ โดยทำเป็นเครื่องจิ้ม เรียกว่า หลน หรือนำมาทำเป็นเครื่องปรุงรสในการประกอบอาหารตามตำรับจีน เช่น ทำแป๊ะซะ ผัดราดหน้า ตลอดจนผัดผักชนิดต่าง ๆ ซึ่งนอกเหนือจากจะได้รสชาติดีแล้ว ยังเป็นการเพิ่มโปรตีนในอาหารอีกด้วย เมื่อความนิยมในการบริโภคเต้าเจี้ยวมีมากขึ้น     จึงก่อให้เกิดการพัฒนา กรรมวิธีการผลิต โดยนำเอาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ การผลิต ในโรงงานผลิตเต้าเจี้ยว

ในปัจจุบันใช้วิธีการกึ่งวิทยาศาสตร์และกึ่งพื้นบ้านคือ อาศัยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ในการเพาะเลี้ยงเชื้อราที่บริสุทธิ์เพื่อใช้เป็นหัวเชื้อ ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อราอื่น ๆ และลดระยะเวลาในการผลิต ส่วนวิธีการกึ่งพื้นบ้านจะใช้ในขั้นตอนการหมักกับเกลือ คือหลังจากได้ถั่วเหลืองที่มีเชื้อราเจริญเต็มที่แล้ว จะนำไปหมักในน้ำเกลือในภาชนะเปิด ปล่อยทิ้งไว้จนได้ที่ ในขั้นตอนนี้จะมีการปนเปื้อนของเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ ซึ่งสามารถเจริญได้ดีในสภาพที่มีปริมาณเกลือสูง ทำให้คุณภาพ ความสะอาดและความปลอดภัยในการบริโภคลดลง

 จึงมีแนวโน้มว่าต่อไปจะมีการนำวิธีวิทยาศาสตร์มาใช้ในการผลิตทั้งหมด เช่น การใช้เชื้อบริสุทธิ์ในการหมักและหมักในภาชนะปิด ซึ่งจะช่วยให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพสูง ถูกสุขลักษณะ สะอาดและปลอดภัยต่อผู้บริโภคมากยิ่งขึ้น

  1. คุณค่าทางโภชนาการ เต้าเจี้ยวเป็นสารชูรสอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีรสชาติคล้ายสารสกัดจาก เนื้อสัตว์ จึงใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะในการปรุงอาหาร ที่ปราศจากเนื้อสัตว์ เต้าเจี้ยวยังอุดมด้วยกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการถึง 17 ชนิด สารชูรสและกลิ่นหอมของเต้าเจี้ยวเป็นสารที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในระหว่างการหมัก มีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ก่อให้เกิดอันตรายแต่อย่างใด เต้าเจี้ยวมีโปรตีน เนื่องจากในถั่วเหลืองมีโปรตีนมากที่สุด แต่เป็นโปรตีนที่ไม่สมบูรณ์เนื่องจากขาดกรดอะมิโนที่จำเป็นบางตัว คือเมทไทออนีนและซีสตีนสูง แต่ไลซีนต่ำ ถ้าคิดเทียบน้ำหนักกับอาหารประเภทอื่น ๆ จะพบว่ามีปริมาณโปรตีนสูง เช่น สูงกว่าเนื้อสัตว์ 2 เท่า สูงกว่าไข่ไก่และข้าวสาลี 4เท่า สูงกว่าขนมปัง 5-6 เท่า และสูงกว่านมวัว 12 เท่า สารอาหารพวกคาร์โบไฮเดรตในถั่วเหลืองไม่มีแป้ง จึงทำให้ถั่วเหลืองเป็นอาหาร ที่เหมาะสมสำหรับคนที่เป็นโรคเบาหวาน ถั่วเหลืองอุดมไปด้วยเกลือแร่ เหล็ก และโพแทสเซียม ซึ่งช่วยในการเจริญเติบโตของกระดูก และที่สำคัญคือ ธาตุเหล็กช่วยในการบำรุงโลหิต ถั่วเหลืองยังอุดมไปด้วยวิตามินเอ บี 1 บี 2 ดี อี เค และไนอะซีน จะพบวิตามินบี 2 มากกว่าพืชอื่น ๆ นอกจากนี้ยังพบว่าถั่วเหลือง ประกอบด้วยไบโอติน โคลิน และอิโนซิทอล ที่ทำหน้าที่คล้ายวิตามินด้วย
  2. ประโยชน์ของเต้าเจี้ยว เต้าเจี้ยวเป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองหมักด้วยเชื้อรา เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ให้อยู่ในรูปที่ย่อยสลายเพื่อนำไปใช้ในร่างกายได้ง่าย เต้าเจี้ยวจึงมีประโยชน์ทั้งต่อผู้บริโภคและผู้ผลิตได้ใน2 ลักษณะคือ

                                2.1 ประโยชน์ในด้านการบริโภค นอกจากจะมีคุณค่าทางโภชนาการดังกล่าวแล้ว เรายังสามารถดัดแปลงเต้าเจี้ยวให้เป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น หลนเต้าเจี้ยว น้ำจิ้มข้าวมันไก่ ผัดผักต่าง ๆ เป็นต้น ทำให้มีอาหารบริโภคได้ หลายชนิด

                               2.2 ประโยชน์ในด้านการจำหน่าย ในปัจจุบันนี้มีอาหารหลายชนิดที่มีส่วนผสมของเต้าเจี้ยว เพื่อช่วยเสริมรสชาติและกลิ่นที่ดี ผู้ ประกอบอาหารส่วนใหญ่ไม่ได้ทำการผลิตไว้บริโภคในครัวเรือน เนื่องจากมีขั้นตอนในการผลิตที่มาก ใช้เวลานาน ไม่คุ้มกับการลงทุนเมื่อทำปริมาณน้อย ผู้ประกอบอาหารจึงต้องหาซื้อเต้าเจี้ยวมาใช้เป็นครั้ง ๆ ไป เต้าเจี้ยวที่มีจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไปจะบรรจุในภาชนะต่าง ๆ ซึ่งสามารถเก็บไว้ได้นาน อาชีพการผลิตเต้าเจี้ยวจำหน่ายมีความมั่นคงมากทีเดียว วัตถุดิบสำหรับทำเต้าเจี้ยว วัตถุดิบสำหรับทำเต้าเจี้ยวให้ได้จำนวนเต้าเจี้ยวประมาณ 55 กิโลกรัม มีดังนี้ ถั่วเหลือง (คัดแล้ว) 15 กิโลกรัม แป้งสาลีหรือแป้งข้าวเจ้า 8 กิโลกรัม เกลือเม็ด 10 กิโลกรัม น้ำสะอาด 40 กิโลกรัม เชื้อราทำหัวเชื้อ 2-3 ขวดแบน

วิธีการทำเต้าเจี้ยว

 1) นำถั่วเหลืองไปแช่น้ำเป็นเวลา 10-15 ชั่วโมง หรือแช่น้ำร้อน 2-3 ชั่วโมง ควรใช้น้ำปริมาณมาก และควรเปลี่ยนน้ำ 1-2 ครั้งระหว่างการแช่ โดยเฉพาะเมื่ออากาศร้อนจัด เพราะอาจเกิดการหมักขณะแช่ถั่วเหลืองทำให้มีรสเปรี้ยว และมีกลิ่นเหม็น ควรแช่จนถั่วเหลืองพองตัวเต็มที่

2) นึ่งถั่วเหลืองโดยใช้หม้อนึ่งความดัน 15 ปอนด์/ตารางนิ้ว เป็นเวลา 20-25 นาที หรือต้มถั่วทั้งเมล็ด จะใช้เวลาต้ม 3-4 ชั่วโมง ส่วนถั่วที่โม่ผ่าซีกแล้ว ใช้เวลาต้มเพียง 1-2 ชั่วโมงก็เพียงพอ ถั่วที่สุกนิ่มได้ที่ ทดสอบได้โดยการใช้หัวแม่มือและนิ้วชี้บี้ ถ้าเนื้อถั่วเหลืองถูกบี้แบนโดยง่ายแต่เปลือกยังดีอยู่ แสดงว่าใช้ได้ แต่ถ้าบี้แล้วเนื้อถั่วแตกและออกมา แสดงนึ่งไม่พอ และอย่าต้มหรือนึ่งถั่วจนเละ วัตถุประสงค์ในการนึ่งก็เพื่อทำให้ถั่วเหลืองนิ่ม ทำให้คุณสมบัติเปลี่ยนแปลงไปจนเหมาะกับการเจริญของเชื้อรา เพื่อผลิตเอนไซม์ต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

3) นำถั่วเหลืองที่นึ่งแล้วมาสะเด็ดน้ำ และผึ่งให้เย็น

 4) นำแป้งสาลีไปคั่วด้วยไฟอ่อน ๆ จนเป็นสีน้ำตาลอ่อน การคั่วแป้งสาลีจะช่วยปรับความชื้นในถั่วเหลืองไม่ให้สูงมากเกินไป ซึ่งจะทำให้ไม่มีเชื้อจุลินทรีย์อื่นปนเปื้อนในช่วงการหมักโคจิ ช่วยทำลายจุลินทรีย์ที่ติดอยู่ที่แป้งสาลี และยังทำให้เต้าเจี้ยวมีกลิ่นหอมและมีสีที่เหมาะ แล้วนำเอาเชื้อราคลุกกับแป้งสาลีให้เข้ากัน เอาไปคลุกคล้ากับถั่วเหลืองให้ทั่วกันดี จนแป้งสาลีทั้งหมดเกาะกับเมล็ดถั่วเหลืองแล้วจึงนำไปใส่ในกระด้ง เกลี่ยให้กระจายทั่วกระด้ง หนาประมาณ 1 นิ้ว แล้วคลุมด้วยผ้าขาวบางอีกทีหนึ่ง ข้อควรระวัง อย่าคลุกเชื้อรากับแป้งสาลีขณะที่แป้งสาลียังร้อยอยู่

5) บ่มไว้ที่อุณหภูมิห้อง 25-30 องศาเซลเซียส ประมาณ 3-4 วัน ในระยะแรกเชื้อราจะสร้างเส้นใยสีขาวยัดเมล็ดถั่วเหลืองติดกัน และเริ่มมีสปอร์สีเหลืองอ่อนจนถึงสีเขียวอ่อน ๆ เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ไม่ควรบ่มทิ้งไว้จนสปอร์เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม ระหว่างการบ่มจะมีความร้อนเกิดขึ้นมาก จึงควรกลับถั่วในวันที่ 2เพื่อช่วยระบายความร้อน มิฉะนั้นการเจริญของราอาจหยุดลง และเกิดการเน่าเสียจากเชื้อแบคทีเรียได้ ขั้นตอนนี้ของกรรมวิธีการผลิตเต้าเจี้ยวก็มีชื่อเรียกว่า ขั้นโมจิ

6) นำโมจิที่ได้ใส่ลงในขวด ไห โอ่ง หรือบ่อหมัก โดยต้มน้ำละลายเกลือความเข้มข้น 16-22 % และทิ้งไว้ให้เย็น ใส่น้ำเกลือพอท่วมโคจิในอัตราส่วนน้ำเกลือ 2 ส่วน ต่อโคจิ 1 ส่วน การหมักนาน 3-4 เดือน ส่วนผสมระหว่างโคจิและน้ำเกลือ เรียกว่า โมโรมิ สิ่งสำคัญที่ต้องไม่ลืมปฏิบัติในระหว่างเดือนแรกของการหมัก คือ ต้องทำการคนส่วนผสมวันละครั้งทุกวัน การกวนหรือการคนจะมีผลต่อการหมัก คือ ถ้าหากกวนไม่ตรงเวลา ปล่อยทิ้งไว้หลาย ๆ สัปดาห์ จะทำให้ผิวหน้าเป็นฝ้าสีขาว ซึ่งจะทำให้เกิดกลิ่นที่ผิดปกติกลิ่นหอมของเต้าเจี้ยวจะหายไป แต่ถ้าหากกวนมากเกินไปจะทำให้เกิดลักษณะเหนียวหนืดซึ่งเป็นผลเ

วัตถุดิบเมี่ยงเต้าเจียวกับใบชะพลู

              -ตะไคร้หั่น                              -ถั่วลิสงคั่ว

              -กระเทียม                              -พริกขี้หนู 

              -มะพร้าวขูดเป็นเส้น            -ข้าวพอง

             -เต้าเจี้ยว                                   -ใบชะพลู

วิธีรับประทาน
                จัดเครื่องเมี่ยงวางบนใบชะพลู โรยข้าวตากทอด  มะพร้าว และราดด้วยเต้าเจี้ยวทำเป็นคำพอประมาณ พร้อมเสิร์ฟ

 

คำสำคัญ : อาหารพื้นบ้าน

ที่มา : http://sojial.blogspot.com

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2561). เมี่ยงเต้าเจี้ยว จังหวัดตาก. สืบค้น 1 ตุลาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=822&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=822&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว

ขนมฝักบัว ขนมพื้นบ้านนครชุม หลากหลายวัฒนธรรม สืบทอดผ่านวิถีแห่งการกิน โดยการนำส่วนผสมทั้ง 5 อย่างรวมกันแล้วนวดแป้งให้เข้ากันเติมน้ำให้แป้งละลาย พอได้ที่ นำกระทะตั้งไฟใส่น้ำมัน พอร้อนนำแป้งที่เตรียมไว้หยอดลงในกระทะแล้วใช้ช้อนตักน้ำมันลาดตรงแป้งที่กำลังทอด แป้งก็จะฟูตรงกลาง ทำให้เหมือน ฝักบัว (แต่จะทอดได้ครั้งละ 1 ชิ้น เท่านั้น )

 

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,330

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน

กล้วยม้วน ส่วนประกอบที่สำคัญได้แก่ กล้วยน้ำว้ามะลิอ่องแก่จัด ไม่ช้ำ แผงตากกล้วย น้ำผึ้งแท้ ตู้อบ วิธีปรุง เริ่มจากการนำกล้วยที่แก่จัดมาตัดออกจากเครือ แบ่งออกเป็นหวีๆ เพื่อนำไปบ่ม โดยใช้กระสอบป่านรองพื้น เรียงกล้วยทับกันสูงประมาณ ๓๕ ชั้น คลุมด้วยพลาสติกให้มิดชิด ทิ้งไว้ประมาณ ๒๔๔๘ ชั่วโมง (๑ วัน ๑ คืน) เปิดผ้าพลาสติกออกทิ้งไว้ ๔๕ วัน ปอกเปลือกกล้วย แล้วล้างด้วยน้ำเกลือให้สะอาด ใช้มีดผ่าซีกครึ่งกดกล้วยด้วยเครื่องทับกล้วย เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๑๓ เซ็นติเมตร เพื่อให้กล้วยแบน แล้วจึงนำไปตากแดดให้แห้ง ๑ แดด นำกล้วยไปอบในตู้อบด้วยลมร้อน เพื่อฆ่าเชื้อและถนอนอาหารให้อยู่นาน ด้วยอุณหภูมิประมาณ ๑๒๐ องศา นาน ๓๐ นาที นำกล้วยที่อบได้ไปบ่มให้น้ำหวานออก ๑ คืน แล้วนำกล้วยออกจากตู้ไปอบน้ำผึ้ง แล้วจึงม้วนใส่กล่องเก็บไว้รับประทาน

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,563

ข้าวแต๋น นางเล็ด

ข้าวแต๋น นางเล็ด

ข้าวแต๋น นางเล็ด เป็นขนมโบราณ หลายคนอาจจะสับสนระหว่างข้าวแต๋นและนางเล็ด วิธีสังเกตง่ายมาก ข้าวแต๋นที่มีน้ำตาลราดบนหน้า เรียกว่า “นางเล็ด” การทำให้ข้าวแต๋นมีรสชาติ ถ้าเป็นสูตรดั้งเดิมจะผสมน้ำแตงโมลงไปด้วย เรียกข้าวแต๋นน้ำแตงโม ข้าวแต๋นทำจากข้าวเหนียวนึ่ง เอามากดใส่พิมพ์แล้วเอาไปตากแดดให้แห้ง แล้วเอามาทอด 

เผยแพร่เมื่อ 24-04-2020 ผู้เช้าชม 7,419

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง

แกงเห็ดเผาะปลาย่าง เป็นอาหารพืื้นถิ่นของคนนครชุม ที่สืบทอดวิถีแห่งการกินมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเครื่องปรุงส่วนผสมหาได้ตามท้องถิ่น ทำง่ายนำโดยนำหัวกะทิตั้งไฟ เคี่ยวจนแตกมันเผ็ดผัดในน้ำกะทิผัดต่อจนมีกลิ่นหอม ใส่หมูสามชั้นลงในกระทะที่ผัดพริกแกง ผัดให้สุก ใส่น้ำปลา น้ำตาลปิ๊บ เติมหางกะทิลงในกระทะ เคี่ยวต่อจนเดือด ใส่เห็ดเผาะ เคี่ยวต่อประมาณ 5 นาที ใส่ปลาย่าง ชะอม รอจนดือดและชะอมสุก พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 1,792

ลอดช่อง

ลอดช่อง

ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,577

ขนมขี้หนู

ขนมขี้หนู

ขนมขี้หนู เป็นขนมไทยโบราณ บ้างเรียกขนมทราย ทำจากแป้งข้าวเจ้า น้ำเชื่อม โรยหน้าด้วยมะพร้าว การรับประทาน ตักใส่ภาชนะ (จานแบน ๆ) โรยด้วยมะพร้าวแก่ขูดฝอยตามชอบ (ไม่ใช่มะพร้าวซึก) ขนมที่ดีจะต้องเป็นเหมือนเม็ดทรายละเอียด ร่วนซุย ไม่จับเป็นก้อน หวานเล็กน้อย หอมชื่นใจเมื่อทาน

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,166

กล้วยกวนลานดอกไม้

กล้วยกวนลานดอกไม้

กล้วยกวนเป็นผลไม้แปรรูปชนิดหนึ่งที่นำกล้วยมาแปรรูปเพื่อคงสภาพกล้วยไม่ให้เกิดเน่าเสียและสามารถเก็บไว้ได้นาน กล้วยกวนลานดอกไม้เป็นกล้วยกวนแปรรูปของกำแพงเพชร โดยเริ่มจากนางสาวรุ่งนภา ไหววิจิตร ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ที่ได้อบรมกับสมาชิกและองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อคิดค้นทำผลิตภัณฑ์กล้วยกวน จนได้รับเป็นสินค้า OTOP 5 ดาว ของกำแพงเพชร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของกล้วย 2) ลักษณะและรสชาติของกล้วยกวน 3) วัสดุผลิตภัณฑ์ 4) กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน 5) รางวัลและเกียรติบัตรที่ได้รับ

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 1,370

ขนมแตงไทย

ขนมแตงไทย

ขนมแตงไทย หรือเข้าหนมบ่าแตงหรือขนมแตงลาย (แตงลาย คือแตงไทย)มีวิธีการทำคล้ายขนมกล้วย และขนมตาล เพียงแต่เปลี่ยนจากกล้วยน้ำว้าสุกงอม น้ำคั้นจากเนื้อผลตาลสุก เป็นแตงไทย

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 3,938

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง

ขนมฝอยทอง เส้นของขนมฝอยทองที่จัดวางกันเป็นทบเป็นแพ โดยขั้นตอนการทำฝอยทองเพื่องานมงคลนั้นมีความเชื่อว่าห้ามตัดเส้นฝอยทอง ต้องทำเป็นเส้นยาวๆ สื่อความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง คนไทยนำมาเป็นอาหารหวาน นิยมใช้เป็นขนมเลี้ยงพระในงานมงคลต่างๆ เนื่องจากชื่อขนมมีคำว่า " ทอง " จึงถือเป็นมงคล ขนมฝอยทองในงานเหล่านี้ต้องเป็นเส้นที่ยาวมาก เพราะถือเป็นเคล็ดตามชื่อและลักษณะของฝอยทองว่าทำให้อายุยืนยาว

เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 9,099

ขนมตาล

ขนมตาล

ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาลในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อย

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,035