ขนมสอดไส้

ขนมสอดไส้

เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้ชม 6,384

[16.4705612, 99.5283865, ขนมสอดไส้]

         ขนมใส่ไส้ หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า "ขนมสอดไส้" เป็นขนมไทยที่ใช้ในพิธีขันหมากในสมัยโบราณ ขนมใส่ไส้นี้ห่อด้วยใบตองแล้วมีเตี่ยวคาด (เตี่ยวก็คือทางมะพร้าว) ห่อเป็นทรงสูง ขนมใส่ไส้มีกลิ่นหอมและหวานจากตัวไส้ รสเค็มมันด้วยหน้ากะทิที่สดใหม่ หน้าข้นพอดี ไม่เละ เป็นขนมไทยโบราณพื้นบ้านชนิดหนึ่งหารับประทานได้ง่ายราคาถูกมีรสหวานหอม รับประทานได้ทุกเพศทุกวัยทำจากแป้งกะทิและน้ำตาลส่วนประกอบของขนมมีสามส่วนคือไส้กระฉีก แป้งสำหรับห่อไส้ และหน้าขนม

ส่วนผสม ขนมใส่ไส้
         1. มะพร้าวขูดขาว 2 1/2 ถ้วย
         2. น้ำตาลมะพร้าว 1 1/2 ถ้วย
         3. น้ำต้มสุก
         4. เทียนอบ (สำหรับอบควันเทียน) ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ตามความสะดวก
         5. แป้งข้าวเหนียว 2 ถ้วย
         6. น้ำเย็น 1/3 ถ้วย (หรือน้ำใบเตย, น้ำอัญชันแช่เย็น หากต้องการเพิ่มสีสัน)
         7. แป้งข้าวเจ้า 1/3 ถ้วย
         8. เกลือป่น 2 ช้อนชา
         9. หัวกะทิ 3 1/3 ถ้วย
         เตรียมใบตองตัดเป็น 2 ขนาด แผ่นใหญ่ขนาดประมาณ 5X9 เซนติเมตร และแผ่นเล็กขนาดประมาณ 4X6 เซนติเมตร แล้วตัดหัว-ท้ายเป็นสามเหลี่ยม เช็ดให้สะอาดทั้ง 2 ด้าน นำไปตากแดดทิ้งไว้สักครู่ (เพื่อไม่ให้ใบตองแตกขณะห่อขนม)

วิธีทำหน้ากระฉีก (ส่วนผสมไส้)
         1. กวนมะพร้าวขูดกับน้ำตาลมะพร้าว และน้ำต้มสุกในกระทะด้วยไฟอ่อน ๆ จนส่วนผสมเหนียวและแห้ง ยกลงจากเตา พักทิ้งไว้จนเย็นสนิท
         2. พอส่วนผสมเย็นสนิทแล้วปั้นเป็นก้อนกลม ๆ ประมาณ 1 นิ้วใส่ในภาชนะที่มีฝาปิด
         3. นำส่วนผสมไส้ไปอบด้วยควันเทียน เตรียมไว้

วิธีทำแป้ง
         นวดแป้งข้าวเหนียวกับน้ำเย็นจนพอปั้นได้ จากนั้นปั้นเป็นก้อนกลมขนาดเดียวกับหน้ากระฉีก เตรียมไว้

วิธีทำส่วนผสมหน้าขนม

        ผสมแป้งข้าวเจ้า เกลือป่น และกะทิคนให้ละลายเข้าด้วยกัน เทใส่ในกระทะทองเหลือง (หรือกระทะเทฟลอน) ใช้ไฟปานกลางกวนจนข้นและเดือดทั่ว ยกลงจากเตา เตรียมไว้

วิธีทำขนมใส่ไส้แบบห่อใบตอง
        1. แผ่แป้งข้าวเหนียวที่ปั้นไว้เป็นแผ่นบาง ๆ (กะให้พอหุ้มไส้ได้มิด) จากนั้นหยิบไส้กระฉีกวางลงไปตรงกลางแล้วหุ้มแป้งให้มิด วางขนมลงบนใบตองที่ซ้อนกัน
        2. หงายใบตองแผ่นใหญ่ขึ้น (ด้านนวล) แล้ววางทับด้วยใบตองแผ่นเล็ก วางไส้ขนมลงไป จากนั้นตักหน้าขนมประมาณ 1/2 ช้อนชา ใส่ด้านบนไส้
        3. ห่อใบตองเป็นทรงสูง ใช้ใบมะพร้าวที่เตรียมไว้คาดและกลัดด้วยไม้กลัดให้เรียบร้อย ตัดปลายเตี่ยวให้เฉียงและยาวพองาม วางเรียงห่อขนมลงในชุดนึ่ง
        4. นำขนมไปนึ่งในชุดนึ่งที่มีน้ำเดือดพล่านประมาณ 10 นาที ยกลงจากเตา

วิธีทำขนมใส่ไส้สูตรประยุกต์

        1. ตักส่วนผสมหน้ากะทิใส่ลงในถ้วยขนาดเล็ก (หรือพิมพ์พลาสติก) ประมาณ 1/2 ของพิมพ์ เตรียมไว้
        2. แผ่แป้งข้าวเหนียวที่ปั้นไว้เป็นแผ่นบาง ๆ (กะให้พอหุ้มไส้ได้มิด) จากนั้นหยิบไส้กระฉีกวางลงไปตรงกลางแล้วหุ้มแป้งให้มิด จากนั้นนำไปต้มในน้ำเดือดจนลอยขึ้นมา ตักขึ้นใส่จาน เตรียมไว้
        3. ค่อย ๆ นำส่วนผสมไส้วางลงในพิมพ์อย่างเบามือให้สวยงาม พร้อมเสิร์ฟ

ภาพโดย : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_sod_sai_th.html

คำสำคัญ : ขนมสอดไส้

ที่มา : http://www.ezythaicooking.com/free_dessert_recipes/Thai_dessert_kanom_sod_sai_th.html

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ขนมสอดไส้. สืบค้น 27 กรกฎาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=596&code_db=610008&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=596&code_db=610008&code_type=01

Google search

Mic

กลีบลำดวน

กลีบลำดวน

กลีบลำดวน หรือ ดอกลำดวนเป็นขนมไทยชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งสาลีนวดเคล้ากับน้ำตาลและน้ำมัน ปั้นเป็นดอก 3 กลีบ มีเกสรกลมตรงกลาง (อย่างดอกลำดวน) แล้วอบหรือผิง เป็นขนมมงคลที่ใช้ในงานแต่งงาน ขนมกลีบลำดวนเป็นขนมไทยอีกหนึ่งอย่างที่หาทานยากมาก

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 4,194

กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

กระยาสารทมอกล้วยไข่กำแพงเพชร

กระยาสารท เป็นขนมที่พบได้โดยทั่วไป ถือเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร และที่กำแพงเพชรได้มีการกวนกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว ส่วนสำคัญจะนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ปัจจุบันนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทยระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปีที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงที่อร่อยมาก ที่ชุมชนอนันตสิงห์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนอนันต์สิงห์ได้รวมตัวกันกวนกระยาสารทเพื่อจัดจำหน่ายวันละหลายกระทะ มีรสชาติอร่อยหวานมัน หาที่เปรียบเทียบได้ยาก และได้มีการสาธิตการกวนกระยาสารทด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง เพราะมีความภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง 

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 3,348

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

แกงหยวกกล้วยไข่กับเมี่ยงนครชุม

จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตได้รับการผสมผสานจากทั้งภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคกลาง (อยุธยาและสุโขทัย) ซึ่งแสดงออกในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหาร อย่างเมี่ยงคำหรือเมี่ยงลาว เป็นต้น เมี่ยงเป็นอาหารที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน แต่เมื่อย้ายถิ่นมาอยู่กำแพงเพชรเป็นเวลานานก็เริ่มผสมผสานความเป็นภาคกลางเข้าไปในอาหารหรือแม้แต่วิธีการกิน รวมถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการทำเมี่ยง นอกจากเมี่ยงแล้วเมื่อมาจังหวัดกำแพงเพชร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกล้วยไข่กำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีลักษณะเด่นที่ลูกเล็กกำลังดี มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน แขกบ้านแขกเมืองจึงนิยมนำกล้วยไข่ไปเป็นของฝาก สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกล้วยสุกเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะนำกล้วยมาทำเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวไม่เกิดความเบื่อหน่ายจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ ก่อเกิดเป็นแกงหยวกกล้วยไข่ในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 07-06-2022 ผู้เช้าชม 865

ขนมจีบแป้งสด

ขนมจีบแป้งสด

ขนมจีบแป้งสด ขนมพื้นบ้านของคนจังหวัดกำแพงเพชร โดยนำแป้งข้าวเจ้ากวนกับน้ำให้สุก และนำลงมานวดพร้อมแป้งมันสำปะหลัง ขั้นตอนการทำไส้ขนมจีบ นำหน่อไม้ หมูสับ กุ้งแห้ง พริกไทยป่น ต้นหอม ผักชีสับผสมให้เข้ากัน นำแป้งนวดแยกเป็นก้อนขนาดเท่าหัว รีดแป้งให้บาง นำแป้งที่รีดแผ่นห่อกับไส้ที่ได้ และนำไปนึ่งประมาณ 15 นาที ขนมจีบสุขดีแล้ว นำลงมาคลุกกับน้ำมัน และคุกกับน้ำมัน โรยกระเทียมเจียว เสิร์ฟพร้อมเครื่องเคียง แตงกวา ผักชีใบยาว พริกขี้หนู

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 6,211

ขนมถ้วย

ขนมถ้วย

ขนมถ้วยตะไล คนสมัยนี้ส่วนใหญ่จะเรียกว่า “ขนมถ้วย”เฉย ๆ ขนมถ้วยตะไล นี้เป็นขนมไทยโบราณอีกชนิดหนึ่งที่หารับประทานได้ไม่ยากนัก เพราะมีวิธีการทำที่ไม่ยุ่งยาก วัตถุดิบก็หาได้ง่าย คือ แป้งข้าวจ้าว น้ำตาลมะพร้าว หรือน้ำตาลโตนด กะทิ เกลือโดยมีวิธีการขั้นตอน 2 ข้อนตอน คือขั้นตอนแรกการทำตัวขนม โดยใช้แป้งข้าวจ้าว ผสมน้ำตาลมะพร้าวหรือน้ำตาลโตนด ใส่ถ้วยตะไล ประมาณครึ่งถ้วยนำไปนึ่งให้สุก ยกลงพักไว้ขั้นตอนที่สองขั้นตอนการทำหน้าขนมถ้วย ใช้แป้งข้าวจ้าวผสมกะทิ และเกลือ ชิมรสมันเค็มนำไปหยอดหน้าขนมถ้วยที่นึ่งส่วนตัวไว้แล้ว นำไปนึ่งให้สุก

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 14,437

ขนมตาล

ขนมตาล

ขนมตาล เป็นขนมไทยดั้งเดิม เนื้อขนมมีลักษณะเป็นแป้งสีเหลืองเข้ม นุ่ม ฟู มีกลิ่นตาลหอมหวาน ขนมตาลทำจากเนื้อตาลจากผลตาลที่สุกงอม แป้งข้าวเจ้า กะทิ และน้ำตาล ผสมกันตามกรรมวิธี ใส่กระทงใบตอง โรยมะพร้าวขูด และนำไปนึ่งจนสุก เนื้อลูกตาลยีที่เป็นส่วนผสมในการทำขนมตาล ได้จากการนำผลตาลที่สุกจนเหลืองดำ เนื้อข้างในมีสีเหลือง มีกลิ่นแรง ซึ่งส่วนมากจะหล่นจากต้นเอง มาปอกเปลือกออก นำมายีกับน้ำสะอาดให้หมดสีเหลือง นำน้ำที่ยีแล้วใส่ถุงผ้า ผูกไว้ให้น้ำตกเหลือแต่เนื้อลูกตาลในปัจจุบัน หาทานขนมตาลรสชาติดีได้ยาก เนื่องจากปริมาณการปลูกต้นตาลที่ลดลง ขนมตาลที่ขายตามท้องตลาดส่วนใหญ่ ผู้ประกอบการมักใส่เนื้อตาลน้อย เพิ่มแป้งและเจือสีเหลืองแทน ซึ่งทำให้ขนมตาลมีเนื้อกระด้าง ไม่หอมหวาน และไม่อร่อย

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 5,955

ลอดช่อง

ลอดช่อง

ลอดช่อง เป็นขนมไทยแท้โบราณชนิดดั้งเดิม โดยที่ใครๆพากันคิดว่ามันคือขนม ที่มาจากเกาะสิงคโปร์นู้นแต่แท้จริงแล้วต้นกำเนิดไม่ได้มาจากประเทศสิงคโปร์ แต่เกิดจากภูมิปัญญาของคนไทยเรานี่เอง ที่ได้นำแป้งมันสำปะหลังมาปั้น และนวดให้เหนียว รับประทานกับกะทิสด และน้ำเชื่อม น้ำแข็งป่น ก็เพิ่มความสดชื่นให้กับผู้บริโภคได้แล้ว

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 5,377

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเสวย

มะพร้าวเป็นของคู่กับวัฒนธรรมท้องถิ่นแห่งนี้มาช้านาน หลังจากได้ใช้ประโยชน์จากน้ำมะพร้าวในการดื่มกินเป็นน้ำผลไม้เรียบร้อยแล้ว เนื้อของมะพร้าวจะเสียง่าย เพียงแค่เก็บไว้ไม่นานช่วงข้ามคืนก็จะเสียไม่สามารถรับประทานได้อีก อีกทั้งภูมิประเทศและอากาศที่ร้อนจึงทำให้เนื้อมะพร้าวนั้นเสียง่าย ภูมิปัญญาท้องถิ่นแห่งนี้จึงคิดวิธีการนำเนื้อมาพร้าวนี้มาสู่กระบวนการแปรรูป เพื่อเป็นการยืดอายุของอาหาร พร้อมทั้งรสชาติที่แปลกใหม่น่ารับประทาน โดยการนำมากวนเป็นมะพร้าวกวนหรือเรียกอีกอย่างว่า “มะพร้าวเสวย"

 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,662

ขนมเรไร

ขนมเรไร

เป็นขนมหวานพื้นบ้าน ที่รู้จักกันดี เครื่องปรุงสำคัญประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า 1 ถ้วยตวง แป้งท้าวยายม่อม 2 ช้อนโต๊ะ น้ำดอกไม้ 3/4 ถ้วยตวง หัวกะทิกรองแล้ว 1/2 ถ้วยตวง มะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นละเอียด 1/3 ถ้วยตวง รากถั่วบุบพอแตก 1/4 ถ้วยตวง น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วยตวง เกลือป่น 1/2 ช้อนชา สีธรรมชาติ เช่น สีฟ้าคั้นจากน้ำผสมดอกอัญชัน สีเหลืองคั้นจากน้ำต้มกลีบดอกคำฝอย และสีม่วงคั้นจากลูกผักปรังสุก พิมพ์ขนมเรไร

เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,555

ขนมดอกดิน

ขนมดอกดิน

ขนมดอกดิน ขนมพื้นบ้านของคนนครชุม จังหวัดกำแพงเพชร วิธีทำล้างดอกดินให้สะอาด และปั่นกับกะทิเล็กน้อยจะละเอียด ผสมกะทิ น้ำตาลปีบ เกลือ แป้งข้าวเหนียว ละลายให้เข้ากัน และใส่ดอกดิน คนให้เข้ากัน ตั้งลังถึงบนไฟแรงวางกระทงลงในลังถึง รอน้ำเดือด หยดส่วนผสมลงในกระทงจนเกือบเต็ม ใช้เวลาการนึ่ง 15 นาที หยอดกะทินึ่งต่ออีก 5 นาที จนสุก พร้อมเสิร์ฟ

เผยแพร่เมื่อ 02-04-2019 ผู้เช้าชม 9,651