ลายน้ําเต้า
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 940
[16.121008, 99.3294759, ลายน้ําเต้า ]
ความหมายในภาษาไทย หมายถึง น้ําเต้า เป็นชื่อเรียกลวดลายปักที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่สมัยโบราณนับหลายร้อยปีของชาวมูเซอ เหลือง ลักษณะของการเรียกชื่อลวดลายเป็นไปตามรูปร่างของลวดลายที่เป็นลายสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน นํามา เรียงต่อกันเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายของสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนด้านบนสุดมียอดแหลม เมื่อดูลักษณะลวดลาย โดยรวมที่มีความเว้าด้านบนจึงดูคล้ายความโค้งมนของผลน้ําเต้า โดยที่มาของลวดลายนี้บรรพบุรุษชาวมูเซอ ได้จินตนาการมาจากรูปร่างของลูกน้ําเต้า ที่เป็นไม้เถาขนาดใหญ่มีผลที่มีลักษณะโค้งมน ตรงส่วนบนจะมีขนาด เล็ก ส่วนล่างจะมีขนาดใหญ่ มนกลมในสมัยโบราณนิยมนํามาใส่น้ํา ลูกน้ําเต้าที่มีความแห้งแล้วมีคุณสมบัติ พิเศษคือลอยน้ําได้โดยชนเผ่ามูเซอเหลืองที่นับถือศาสนาคริสต์มีความเชื่อที่เล่าขานสืบต่อกันมาจากบรรพ บุรุษซึ่งเชื่อว่าในครั้งที่น้ําท่วมโลก น้ําเต้าก็เปรียบได้เสมือนกับเรือโนอาห์ที่หญิงชายชาวมูเซอคู่แรกที่พระเจ้า สร้าง ได้เข้าไปหลบภัยในน้ําเต้ายักษ์จนรอดชีวิตมาได้และก่อกําเนิดเป็นชนเผ่ามูเซอเหลืองสืบต่อมา ลายอ่าพู้ หรือลายน้ําเต้าจึงเป็นหนึ่งในลวดลายเอกลักษณ์โบราณดั้งเดิมที่มีความชัดเจนที่บรรพบุรุษชนเผ่ามูเซอได้ ถ่ายทอดสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
ภาพโดย : http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf
คำสำคัญ : ลายปัก ลายชุดชนเผ่า
ที่มา : http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายน้ําเต้า . สืบค้น 14 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=464&code_db=610007&code_type=02
Google search
อ๊ะหน่ายือ เป็นภาษาชนเผ่าลีซอ มีความหมายในภาษาไทยหมายถึง ฟันหมา (สุนัข) เป็นลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่บรรพบุรุษชาวลีซอเลียนแบบรูปร่างของฟันสุนัข ลักษณะของลวดลายมีลักษณะเป็นสามเหลี่ยมเล็กๆ เย็บ เรียงต่อกันเป็นแถวยาว การสร้างลวดลายทําได้โดยการการนําผ้าที่ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ พับเป็นสามเหลี่ยม นํามาเย็บ ติดกันต่อเนื่องกันเป็นสามเหลี่ยมซิกแซกดูคล้ายฟันของสุนัข
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,154
ตะโก๊ะเหล่ เป็นลวดลายกะเหรี่ยงที่ใช้กันทั้งกะเหรี่ยงโปและสะกอ ซึ่งสามารถพัฒนาลวดลายต่างๆได้ เช่น ลายตา ลายโค้ง กรรไกร ฯลฯ
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,572
ฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิเป็นภาษาชนเผ่าลีซอ ในภาษาไทยอาจหมายถึง หน้าท้องงูเขียว เป็นชื่อเรียกลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่มีการสืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รูปร่างของลวดลายหน้าท้องงูเขียวนี้มีลักษณะดูคล้ายรูปสี่เหลี่ยม เย็บปะติดซ้อนต่อกันสองชั้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 975
เป็นการทอแบบธรรมดา คือใช้ด้ายยืนและด้ายขวางจำนวนเท่าปกติ แต่แทรกด้ายสีต่าง ๆ สลับเข้าไป ขณะเรียงด้ายยืนหรือเมื่อสอดด้ายขวาง เช่น การทอผ้าห่ม ย่าม และผ้าถุงของหญิงที่แต่งงานแล้ว (ลวดลายผ้าถุงในบางท้องถิ่นจะมีลักษณะพิเศษกว่าการทอลายสลับสีธรรมดา คือจะใช้ด้ายย้อมมัดหมี่ หรือย้อมแบบลายนํ้าไหลเป็นด้ายยืน ลวดลายที่ปรากฏบนเนื้อผ้ามีลักษณะงดงามมากซึ่งจะกล่าวในรายละเอียดต่อไป) บางครั้งกะเหรี่ยงจะทอลวดลาย สลับสีเป็นลายนูนในเนื้อผ้า เช่น บริเวณเหนืออกของชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 800
ขมุ แปลว่า “ คน” เป็นคำที่ชาวขมุใช้เรียกตัวเอง ในประเทศลาวเป็นแหล่งใหญ่ที่มีชาวขมุ จะเรียกชาวขมุว่า “ ลาวเทิง” หรือลาวบนที่สูง ในประเทศไทย ชาวขมุเข้ามานานพอสมควร อาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน และบริเวณชายแดนจังหวัดเชียงราย และกระจัดกระจายอยู่ในจังหวัดภาคกลาง เช่น สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และอุทัยธานี เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 4,115
ในการแต่งกายของชนเผ่ากระเหรี่ยง จะมีทั้งเสื้อกระเหรี่ยงชาย สำหรับผู้ชาย เสื้อกระเหรี่ยงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจะเป็นชุดสุ้มหล้อง หรือชุดยาวเป็นเสื้อกระโปรงในตัวเดียวกัน ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะใส่เสื้อผ้าทอที่มีการปักมะเดือยให้มีลวดลายสวยงาม โดยจะใส่คู่กับผ้าถุงที่เย็บจากผ้าทอในลวดลายและรูปแบบของชนเผ่า กระเหรี่ยงที่เรียกว่า ผ้าซิ่นกระเหรี่ยงแต่เดิม เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายของชนเผ่า จะเป็นแบบดั้งเดิม ไม่มีลวดลาย สีสัน เช่น เสื้อเม็ดมะเดือย, ผ้าถุง จะมีลายเดิมที่คิดค้นเอง คือลายดอก,ลายตะเคียน,ลายโซ่, เสื้อกระเหรี่ยงชาย ลวดลายจะมีสีขาว- แดงเท่านั้น และไม่มีชายเสื้อชุดสุ้มหล้อง จะไม่มีลวดลาย สีขาวล้วนธรรมชาติ กางเกงผู้ชาย จะไม่มีลวดลายสีขาวธรรมชาติ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 828
ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาว ปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หน้าอกตามแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้ตะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเลื่อม ไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่นติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ 1 ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บ้านไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปิดอกเห็นถัน
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 4,329
ลวดลายบนผืนผ้าแต่ละผืนจะมีความแตกต่างกันไปตามแต่ความชํานาญของผู้วาด ลวดลายมีทั้งลาย ดั้งเดิมที่สืบทอดต่อๆ กันมา และลวดลายทเกี่ ิดจากจิตนาการ การสร้างสรรค์ใหม่ๆ แต่กระนั้นก็ยังมีลักษณะ ลวดลายที่สะทอนความเป ้ ็นชนเผ่าม้งให้ปรากฎอยู่บนผืนผ้าแต่ละผืน เชน่ ลายกากบาท ลายก้นหอย
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,111
ชาวกะเหรี่ยงขาวมีความเชื่อแต่โบราณว่าลายของผ้าทอกะเหรี่ยงนั้น ได้มาจากลายหนังงูใหญ่ซึ่งเป็นคู่รักในอดีตของหญิงสาวชาวกะเหรี่ยงโดยที่งูตัวนั้นจะเปลี่ยนลายทุกวัน และหญิงสาวก็ทอผ้าตามลายที่ปรากฏจนครบ 7 วัน ทอได้ 7 ลาย คือ ลายโยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อล่อ ที่ข่า เกอแนเดอ เซอกอพอ และแชะฉ่าแอะ แต่ลายที่นิยมนำมาทอและปัก มี 4 ลายคือ โยห่อกือ เกอเปเผลอ ฉุ่ยข่อลอ และลายทีข่า ปัจจุบันยังมีการคิดค้นลายใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,388
ผู้หญิงที่เป็นชนเผ่ากระเหรี่ยงส่วนใหญ่จะมีทักษะ ฝีมือในการทอผ้า และปักเม็ดมะเดือย เพราะว่ามีการสืบทอดมาสู่คนรุ่นหลัง โดยมีการรวมกลุ่มทำอาชีพเสริมทอผ้า ปักผ้า ฝีมือ แรงงานในการผลิตเป็นคนในชุมชน นอกจากนั้นยังได้มีการถ่ายทอดความรู้ ทักษะในการทอผ้า ปักผ้าด้วยมะเดือย ตลอดจนวิธีการปลูกมะเดือยจากคนรุ่นเก่าไปยังเด็กๆในโรงเรียน เยาวชนคนรุ่นใหม่ด้วย
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 962