ลายดอกพริก

ลายดอกพริก

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 1,040

[16.121008, 99.3294759, ลายดอกพริก]

ลวดลายเอกลักษณ์โบราณดั้งเดิมที่ปรากฎบนผืนผ้าชาวเขาเผ่ามูเซอที่มีการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่ สมัยบรรพบุรษจากนับร้อยปีจนถึงปัจจุบัน เช่น ลายง้าแป่ (ตาข่าย) ถือเป็นลายพื้นฐานที่หญิงสาวชาวมูเซอ ต้องฝึกหัดทําเป็นลายแรกในชีวิต และในการปักผ้าทุกผืนจะต้องปักลายง้าแป่เป็นลายแรก ใช้เทคนิคการปัก ด้วยด้ายสีสันสดใสไขว้สลับตัดกัน คล้ายลักษณะของตาข่ายที่ใช้ในการดักสัตว์ หรือลายอ๊าเผ่เว้มีความหมาใน ภาษาไทยหมายถึง ดอกพริก เป็นลายที่สืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาล สําหรับชาวมูเซอที่นับถือผีนนั้ จะมี ความเชื่อว่าพริกเป็นสิ่งที่ดีช่วยปกป้องคุ้มครอง กําจัดโชคร้ายไม่ให้เข้ามาแผ้วพานกับมนุษย์ได้ ในอดีตบ้าน มูเซอแทบทุกหลังจะแขวนพวงพริกไว้เหนือเตา เพราะเชื่อว่าจะช่วยขจัดสิ่งชั่วร้าย ไล่สิ่งอัปมงคลไม่ให้เข้ามาใน บ้าน นอกจากนี้ผู้หญิงชาวมูเซอที่เพิ่งคลอดลูก ก็จะวางพริกไว้ข้างที่นอนในตอนที่ต้องอยู่ไฟ ทั้งนี้เพื่อเป็นการ ป้องกันผีร้ายไม่ให้เข้ามากินเลือด แม้แต่เมอชาวมเซอเสียชีวิต ลูกหลานก็จะมีการนําพริกบดมาราดบนโลงจน ทั่ว เชื่อว่าเป็นการป้องกันผีร้ายตนอื่นไม่ให้มาขโมยเอาศพไปนั่นเอง บรรพบุรุษจึงนําดอกพริกมาสร้างสรรค์ เป็นลวดลายบนผืนผ้า และคงสืบทอดต่อกันมาจนถึงปัจจุบันที่ยังคงพบเห็นลายอ๊าเผ่เว้หรือลายดอกพริก ใน ผ้าปักของชนเผ่ามูเซอได้โดยทั่วไป

แหล่งที่มา http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

คำสำคัญ : ลายปัก ลายชุดชนเผ่า

ที่มา : http://www.sacict.net/ckfinder/userfiles/files/n12.pdf

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ลายดอกพริก. สืบค้น 24 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=463&code_db=610007&code_type=02

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=463&code_db=610007&code_type=02

Google search

Mic

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ลัวะ

ชาวลัวะ มีขนบธรรมเนียมเครื่องแต่งกายต่างกับชาวเหนือ ผู้ชายนุ่งผ้าพื้นโจงกระเบนหรือโสร่ง ผู้หญิงสวมเสื้อสีดำผ่าอกแขนยาว ปักเป็นแผ่นใหญ่ที่หน้าอกตามแถวกระดุม และแถวรังดุมรอบคอ ปักที่ชายแขนเสื้อตรงข้อมือทั้งสองข้างและที่ใต้ตะโพกรอบเอวด้วยดิ้นเลื่อม ไหมเงินคล้ายเสื้อขุนนางไทยโบราณ ผ้าซิ่นติดผ้าขาวสลับดำเล็ก ๆ ตอนกลางเป็นริ้วลาย ชายซิ่นติดผ้าสีดำกว้างประมาณ 1 ศอก ตามปกติผู้หญิงอยู่บ้านไม่ค่อยสวมเสื้อชอบเปิดอกเห็นถัน

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 3,603

อีก้อ

อีก้อ

อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า "อาข่า" คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า "อีก้อ" หรือ "ข่าก้อ" ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือเรียกอีก้อว่า "โก๊ะ" คนจีนเรียกว่า "โวนี" หรือ "ฮานี" ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษาโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย อีก้อเป็นชาวเขาเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยเรียกตนเองว่า อาข่า คนไทยและคนเมียนมาร์ เรียกว่า อีก้อ หรือ ข่าก้อ ลาวและชนชาติอินโดจีนตอนเหนือ เรียกอีก้อว่า โก๊ะ คนจีนเรี่ยกว่า โวนี หรือฮานี ซึ่งหมายรวมถึงชนเผ่าที่พูดภาษโลโลในมณฑลยูนนานทางตอนใต้ด้วย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,151

ลาย 7 สี

ลาย 7 สี

ชาวเขาเผ่าเมี่ยน หรือเย้า กับศิลปะการปักผ้านั้น มีความผูกพันเชื่อมโยงกับตำนานกำเนิดของชาวเมี่ยน ที่บรรพบุรุษได้เล่าสืบทอดต่อเนื่องมาถึงลูกหลานในปัจจุบันตำนานกำเนิดชาวเมี่ยนได้กล่าวไว้ว่า เมื่อหลายพันปีก่อนมีเทวดามาจุติในโลกมนุษย์เป็นสุนัขมังกรชื่อว่า ผันตาหู ในเวลานั้นบ้านเมืองเกิดกบฏ พระราชาจึงประกาศว่าหากใครสามารถปราบกบฏได้ จะให้แต่งงานกับลูกสาวของตน ผันตาหูได้ยินดังนั้นจึงเข้าอาสาช่วยปราบกบฏให้พระราชาจนสำเร็จ 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,345

ลายเรียบ

ลายเรียบ

ในการแต่งกายของชนเผ่ากระเหรี่ยง จะมีทั้งเสื้อกระเหรี่ยงชาย สำหรับผู้ชาย เสื้อกระเหรี่ยงหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงานจะเป็นชุดสุ้มหล้อง หรือชุดยาวเป็นเสื้อกระโปรงในตัวเดียวกัน ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะใส่เสื้อผ้าทอที่มีการปักมะเดือยให้มีลวดลายสวยงาม โดยจะใส่คู่กับผ้าถุงที่เย็บจากผ้าทอในลวดลายและรูปแบบของชนเผ่า กระเหรี่ยงที่เรียกว่า ผ้าซิ่นกระเหรี่ยงแต่เดิม เครื่องนุ่งห่ม เครื่องแต่งกายของชนเผ่า จะเป็นแบบดั้งเดิม ไม่มีลวดลาย สีสัน เช่น เสื้อเม็ดมะเดือย, ผ้าถุง จะมีลายเดิมที่คิดค้นเอง คือลายดอก,ลายตะเคียน,ลายโซ่, เสื้อกระเหรี่ยงชาย ลวดลายจะมีสีขาว- แดงเท่านั้น และไม่มีชายเสื้อชุดสุ้มหล้อง จะไม่มีลวดลาย สีขาวล้วนธรรมชาติ กางเกงผู้ชาย จะไม่มีลวดลายสีขาวธรรมชาติ

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 653

เผ่าถิ่น

เผ่าถิ่น

ถิ่นจัดอยู่ในสาขามอญ-เขมร ซึ่งอยู่ในกลุ่มภาษาออสโตรเอเชียติค มี 2 กลุ่มย่อยคือ ถิ่น คมาลหรือมาล และถิ่นคลำไปร๊ต์หรือไปร๊ต์ ถิ่นทั้ง 2 กลุ่มนี้ มีความแตกต่างกันในภาษาพูดและขนบธรรมเนียมประเพณีส่วนการตั้งถิ่นฐานและการแต่งกายเหมือนๆ กัน ถิ่นอพยพเข้ามาในประเทศไทยเมื่อ 60-80 ปีมานี้ โดยอพยพมาจากแขวงไชยบุรี ประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทยทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดน่าน ถิ่นในประเทศไทยอาศัยอยู่ในจังหวัดน่าน เพชรบูรณ์ และเลย

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 1,376

ลายก๊ากื้อ

ลายก๊ากื้อ

หญิงชาวเผ่าม้ง ต่างมีทักษะความเชี่ยวชาญในด้านการปักผ้า ไม่แพ้หญิงชนเผ่าอื่นๆ ศิลปะการปักผ้า ของหญิงสาวชาวเผ่าม้งแบบหนึ่งที่แสดงถึงทักษะฝีมือของผู้ปักคือการปักแบบเย็บปะ หรือที่ชาวม้งเรียกเทคนิค การปักแบบนี้ว่า เจี๋ย ซึ่งถือว่าเป็นเทคนิคที่ค่อนข้างยากกว่าเทคนิคอื่นๆ ของชาวม้ง เจี๋ย หมายถึง เทคนิคการ ตัดผ้าเป็นลวดลายที่กําหนด แล้วนํามาเย็บติดซ้อนกับผ้าพื้นอีกชั้นหนึ่ง ความยากของเทคนิคนี้อยู่ที่ความ ละเอียด ลวดลลายที่แสดงเอกลักษณ์ของเทคนิค เจี๋ย ที่นิยมของชาวม้ง คือ การปักลายก๊ากื้อ หรือลายก้น หอย ผู้ปักตองใช ้ ้ทั้งฝีมือ ต้องมีทักษะความเชี่ยวชาญ ใช้ความละเอียดและความอดทนมากเป็นพิเศษจึงจะปักลวดลายนี้ได้สําเร็จ ประณีตและออกมาสวยงาม

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,495

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : มูเซอ

ลาหู่ หรือ มูเซอ อาศัยอยู่ในประเทศจีน เมื่อถูกรุกรานจึงอพยพมาทางตอนใต้เข้าสู่ประเทศพม่า และทางเหนือของประเทศไทย เมื่อกว่า 13 ปีมาแล้ว โดยเข้ามาทางอำเภอแม่จัน อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ อำเภอเวียงป่าเป้า อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย, อำเภอฝาง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่, และอำเภอบางมะผ้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเพียงส่วนน้อยที่มาจากอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก มูเซอที่รู้จักกันมาก ได้แก่ มูเซอดำ มูเซอแดง มีวัฒนธรรมประเพณีคล้ายคลึงกัน มูเซอ เป็นภาษาพม่า แปลว่า นายพราน เนื่องจากมีความชำนาญในการล่าสัตว์โดยใช้หน้าไม้ ภาษาอังกฤษ เรียกว่า ลาฮู ในกลุ่มมูเซอดำ เรียกว่า ลาฮูนา มูเซอแดง เรียกว่า ลาฮูยี

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,418

ลายตะต่อกิ๊

ลายตะต่อกิ๊

ตะต่อกิ๊ สามารถคั่นลวดลายต่างๆ ได้ทั้งหมด ลายผ้าทอกะเหรี่ยงโบราณมาจากผู้ทำลายชื่อ นางมึเอ โดยนางจะทอผ้าอยู่ในถ้ำ ซึ่งมีอยู่วันหนึ่งมีงูเหลือมเข้าไปในถ้ำนางมึเอเห็นลายงูเหลือมจึงได้นำลายของงูเหลือมมาทอเป็นลายในผืนผ้า และต่อมาก็ได้มีการดัดแปลงจนเกิดเป็นลวดลายต่างในปัจจุบัน

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 721

ลายทูต๊ะ

ลายทูต๊ะ

ในอดีตการปักผ้าม้งบริเวณต่างๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่ผู้หญิงเผ่าม้งจะต้องทำเป็นทุกคน และต้องทำใส่เอง ถ้าใครทำไม่เป็นก็จะไม่มีเสื้อผ้าใส่ ทุกปีผู้หญิงม้งจะปักเสื้อผ้าอย่างน้อย 1 ชุดไว้ใส่ครั้งแรกในงานสำคัญหรือในช่วงปีใหม่ก็จะใส่ชุดใหม่กัน บางปีก็จะได้แค่ชุดเดียว และปักกับสามี ลูกชาย ด้วยเพราะผู้ชายจะไม่ปักผ้า แต่ถ้าเป็นชาวม้งภาคกลางหรือบางกลุ่มจะปักทั้งผู้ชายและผู้หญิง

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 587

ลายฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิ (หน้าท้องงูเขียว)

ลายฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิ (หน้าท้องงูเขียว)

ฟูยิ้งเฉอะอิ้งขิเป็นภาษาชนเผ่าลีซอ ในภาษาไทยอาจหมายถึง หน้าท้องงูเขียว เป็นชื่อเรียกลวดลายโบราณ ดั้งเดิมที่มีการสืบทอดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ รูปร่างของลวดลายหน้าท้องงูเขียวนี้มีลักษณะดูคล้ายรูปสี่เหลี่ยม เย็บปะติดซ้อนต่อกันสองชั้น

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 780