ลีโอฟาร์มวัว
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้ชม 1,854
[16.2122587, 99.2805708, ลีโอฟาร์มวัว]
ชื่อเรื่อง : ลีโอฟาร์มวัว
วันที่จัดทำ : วันที่ 24 มีนาคม 2563
ประวัติ
เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่ปี พ.ศ.2559 โดยมีเพื่อนของลูกสาวที่อยู่ พงษ์พัฒน์ฟาร์ม เป็นคนแนะนำเพราะเศรษฐกิจไม่ดีจึงหันมาเริ่มเลี้ยงวัวขุนเริ่มแรกเลี้ยง 11 ตัว ปัจจุบันมีประมาณ 100 กว่าตัวปัจจุบันมีหลายครัวเรือนที่เลี้ยงวัวครัวเรือนจะเลี้ยงตามทุ่งแต่ผู้ที่ทำการบุกเบิกในการเลี้ยงวัวคือคุณลุงเจ้าของฟาร์ม ลีโอฟาร์มวัว
ข้อมูลทั่วไป
จุดเด่น : พันธุ์วัวที่เลี้ยงเป็นพันธุ์บรามันห์และวัวพม่า เป็นฟาร์มวัวที่ใหญ่ที่สุดในคลองน้ำไหล
รายละเอียด : ฟาร์มวัวลีโอปัจจุบันมีโรงเรือนเลี้ยงวัว 3 โรงเรือนโดยเลี้ยงแต่วัวตัวผู้เพื่อชั่งกิโลขายตอนที่ขายจะขายยกคอก เวลาซื้อวัวมาเลี้ยงจะเป็นวัวหนุ่ม ราคาวัวที่ซื้อมา ราคาจะอยู่ที่ประมาณ 28,000 บาทต่อตัวใช้ระยะเวลาในการเลี้ยง 4-5 เดือนเมื่อต้องขายจะติดต่อกับนายหน้าจะพาผู้รับซื้อมาดูเพื่อส่งออกขายต่อประเทศจีนเวียดนามโดยหลักๆจะคิดราคาขายต่อตัวจักประมาณตัวละ 40,000 บาท อาหารที่ใช้เลี้ยงจะเป็นอาหารวัวหาซื้อตามร้านอาหารสัตว์ทั่วไปนำมาผสมกับข้าวโพดมื้อเช้าจะให้เวลา 7:00 น ตอนเย็นเวลา 16:00 น
ผลผลิตภัณฑ์และการแปรรูป : ขายขี้วัว 1 กระสอบ 10 กิโลกรัมกระสอบละ 30 บาทแต่หากนำกระสอบมาเองหรือซื้อไปแล้วคืนกระสอบราคากระสอบละ 25 บาท
ผู้ให้ข้อมูล : นายปัญญา เมืองงาม (ลุงยืน)
ที่อยู่ : 178 หมู่ 16 บ้านสามัคคีธรรม ตำบลคลองน้ำไหล อำเภอคลองลานพัฒนา จังหวัดกำแพงเพชร
เบอร์ติดต่อ : 093-178-6952
Facebook : ลีโอฟาร์ม
ตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ : Latitude 16.2122587 Longitude 99.2805708
ปัญหา
เกิดโรคระบาดต่างๆจะยกเลิกการซื้อขายวัวทั้งในประเทศและต่างประเทศทำให้ต้องเลื่อนเวลาในการขายออกไป
คำสำคัญ : ฟาร์มวัว
ที่มา : นายปัญญา เมืองงาม (ลุงยืน)
รวบรวมและจัดทำข้อมูล :
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2563). ลีโอฟาร์มวัว. สืบค้น 9 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1807&code_db=610007&code_type=05
Google search
จุดเด่นอำเภอคลองลานอยู่ที่ชาวเขาหลายเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องเงิน ซึ่งชาวไทยภูเขา มีความสามารถพิเศษในการทำเครื่องเงิน อำเภอคลองลาน หมู่บ้านชาวเขาในเขตอำเภอคลองลาน เป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงมากทั้งด้าน คุณภาพและฝีมือที่ประณีตสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะวิธีทำเครื่องเงิน ชาวเขาจะผลิตในสถานที่จำหน่าย ให้ผู้ซื้อได้เห็นวิธีการผลิตอย่างชัดเจน โดยผลิตเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำจากเงินทุกชนิด มีรูปแบบและลวดลายต่างๆ เช่น กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู เครื่องเงิน พวกเครื่องประดับเงิน บางคนมีเก็บสะสมมากก็นำมาแต่งกันเต็มที่ บ่งบอกถึงฐานะ และความมั่งคั่งของเขา
เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 2,411
ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 4,558
เริ่มเลี้ยงวัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2559 โดยมีเพื่อนของลูกสาวที่อยู่ พงษ์พัฒน์ฟาร์ม เป็นคนแนะนำเพราะเศรษฐกิจไม่ดีจึงหันมาเริ่มเลี้ยงวัวขุนเริ่มแรกเลี้ยง 11 ตัวปัจจุบันมีประมาณ 100 กว่าตัวปัจจุบันมีหลายครัวเรือนที่เลี้ยงวัวครัวเรือนจะเลี้ยงตามทุ่งแต่ผู้ที่ทำการบุกเบิกในการเลี้ยงวัวคือคุณลุงเจ้าของฟาร์ม ลีโอฟาร์มวัว
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2020 ผู้เช้าชม 1,854
เครื่องเงิน จัดเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อ โดยฝีมือชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และม้ง(แม้ว) ส่วนมากทำเป็นเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน ฯลฯ ซึ่งได้ริเริ่มทำเป็นอาชีพเงิน เป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอด ภูมิปัญญาการทำเครื่องเงิน จากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงาน หัตกรรมที่ต้องใช้ความ อดทนและฝีมือควบคู่กัน ในเมืองไทยความพิเศษที่ทำให้เครื่องเงินเมืองน่านไม่เหมือนที่อื่น คือ เครื่องเงินของเมืองน่าน จะ “ผสมเม็ดเงินมากเป็นพิเศษ” เมื่อเสร็จออกมาจะเป็นเครื่องประดับที่ไม่แข็งเกินไป
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 913
ชาวเมี่ยนมีศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าที่เลืองลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม คือ การปักลวดลาย งานปักที่ปรากฏบนผืนผ้าของชาวเมี่ยน แม้ปัจจุบันก็ยังคงพบได้บนผืนผ้าแทบทุกผืนเป็นลวดลายโบราณเอกลักษณ์คงเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษสมัยโบราณกาล ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับตำนานปรัมปรา รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกจากประเพณีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าผสมกลมกลืนกับลวดลายที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน สัตว์ป่าน้อยใหญ่ รวมถึงพืชพรรณต่างๆ ด้วยความประณีตและเป็นเลิศในฝีมือ
เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้เช้าชม 958
มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มของพลังงานกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกอยู่ประมาณ 20-30 คนแต่จะแบ่งแยกการศึกษาตามฐานเรียนรู้หลายฐานโดยจะมีฐานผลิตน้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 836
เริ่มมาจากมีการก่อตั้งกลุ่มรวมใจเพชรน้ำหนึ่ง ที่เกิดจากการที่ป้าบังอรได้ไปสอนให้กับ นักศึกษาการศึกษานอกระบบ เพื่อฝึกให้เป็นอาชีพเสริม
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 742
ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลียเมื่อกว่า2,000ปีมาแล้ว
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 708
ศูนย์หัตถกรรมชาวเขาคลองลานตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา บริเวณปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลานห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร 55 กิโลเมตร ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ อันได้แก่เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอและกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลานและอำเภอคลองขลุง มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน โดยนำสินค้าของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่ายเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขา เครื่องประดับประเภทต่างๆ ที่ทำจากเงิน มีการสาธิตการทำเครื่องประดับจากเงินให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วยศูนย์นี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 768
หัตกรรมเครื่องเงิน อันประกอบด้วย ชุมชนบ้านคลองเตย ปัจจุบันมีชุมชนบ้านคลองเตยเป็นศูนย์กลางชุมชน เทคนิค เคล็ดลับในการผลิตชิ้นงานขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือ เทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญของช่างภูมิปัญญาชาวบ้านของแต่ละคน ในการสร้างสรรค์งานแต่ละชิ้น อย่างมีความประณีต ทรงคุณค่า แตกต่างกันออกไป งานแต่ละชิ้นจะไม่เหมือนกัน แม้แต่ช่างคนเดียวกัน สืบทอดมรดกภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินจากบรรพบุรุษมากกว่า 200 ปี ดังเป็นที่ประจักษ์ของคนในชุมชนท้องถิ่น เป็นงานฝีมือละเอียด ประณีต รวดลายแบบโบราณดั้งเดิม เลียนแบบจากธรรมชาติสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวัน และเนื้อเงินแท้ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์
เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 571