กระปุกลายคราม
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 3,236
[16.4880015, 99.520214, กระปุกลายคราม]
ชื่อโบราณวัตถุ : กระปุกลายคราม
แบบศิลปะ : ศิลปะจีน
ชนิด : สำริด
ขนาด : -
อายุสมัย : ราวต้น(พุทธศตวรรษที่ ๒๒)
ลักษณะ : เครื่องภาชนะกระเบื้อง หรือเครื่องถ้วยของจีน ชนิดที่เขียนลายเป็นสีคราม
ประวัติ : กระปุกลายหรือเครื่องลายครามเป็นเครื่องภาชนะกระเบื้อง หรือเครื่องถ้วยของจีน ชนิดที่เขียนลายเป็นสีคราม เฉพาะที่นิยมกันว่า เป็นของดีมีราคา เครื่องถ้วยจีน คงจะมีเข้ามาขายในประเทศไทย พร้อมๆ กับที่จีนส่งสินค้าเข้ามาขายในประเทศไทย ประเทศไทยได้จัดทำเครื่องถ้วยขึ้นใช้เอง จนถึงเป็นสินค้าจำหน่ายไปยังประเทศใกล้เคียง ตั้งแต่ปี พ.ศ.1837 ในสมัยอยุธยา เครื่องถ้วยที่ไทยสั่งออกไปทำในเมืองจีน เท่าที่พบมีเพียงสามอย่างคือ ชาม จานเชิง และโถ สีก็มีก็มีสามอย่างคือ ลายครามอย่างหนึ่ง ลายสีเขียนบนพื้นถ้วยขาวอย่างหนึ่ง และเบญจรงค์ ลายไทยที่ทำให้ตัวอย่างไปเขียนเครื่องถว้วย มีลายก้านขด และลายก้านแย่ง เป็นต้น บางทีก็มีภาพปลายกระหนก ภาพเทพพนม และภาพเทพพนมนรสิงห์
สถานที่พบ : พบที่บริเวณเมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ภาพโดย : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet/index.php/th/
คำสำคัญ : กระปุกลายคราม
ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet/index.php/th/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). กระปุกลายคราม. สืบค้น 24 มิถุนายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=324&code_db=610012&code_type=01
Google search
เสมาหินชนวนสลักลายพันธุ์พฤกษาและเทพพนม ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่21-22) พบที่วัดพระนอน จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 1,400
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางประทานอภัย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่22-23) พระครูวิธานวชิรศาสน์ เจ้าอาวาสวัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 4,023
ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 1,119
ใบเสมาหินชนวน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21 - 22) มีขนาด สูง 245 เซนติเมตร กว้าง 74 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 1,730
คนที ศิลปะสุโทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) พบที่วัดพระธาตุ อำเภอเมือง จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,956
พระมาลัย ศิลปะรัตนโกสินทร์ (พุทธศตวรรษที่ 25) มีขนาดสูงพร้อมฐาน 15.7 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 3,902
หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน องค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์สาม สร้างราวพุทธศักราช 1700-1800 มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชร มิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือ เมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คน มาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช 1600 อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป)
เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 2,654
ปืนใหญ่หล่อด้วยสำริด ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรตที่ 21-22)
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,495
ตลับรูปนกพร้อมฝา ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,211
พระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะล้านนา ศิลปะสมัย (พุทธศตวรรษที่ 21) มีขนาดสูงพร้อมฐาน 15.7 เซนติเมตร หน้าตักกว้าง 7 เซนติเมตร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 2,138