พระพุทธรูปปางลีลา
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้ชม 18,421
[16.3627671, 99.6500943, พระพุทธรูปปางลีลา]
ชื่อ :
พระพุทธรูปปางลีลา
ประวัติความเป็นมา :
พระพุทธรูปปางลีลา ขนาด สูงฐาน 1.55 เซนติเมตร อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ สำริดประวัติ องค์พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบทที่เคลื่อนไหว หรือเดินบนแท่นบัวหงายที่มีลักษณะรองรับด้วยฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ก้าวพระบาทซ้ายไปข้างหน้า ยกสันพระบาทขวาขึ้นเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า ส่วนพระหัตถ์ขวาปล่อยลงขนานไปกับพระวรกายพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จัดเป็นศิลปะสุโขทัย หมวดใหญ่ ซึ่งมีอยู่ทั่วไป ซึ่งเป็นลักษณะของสุโขทัยโดยเฉพาะ คือมีพระรัศมีเป็นเปลวเพลิง ขมวดพระเกศาเล็กไรเกศา 9 เส้น (นับจากพระนลาฎถึงเกตุบัวตูม) พระพักตร์รูปไข่ พระขนงโก่ง พระนาสิกโด่งงุ้ม พระโอษฐ์อมยิ้มเล็กน้อย พระอังสาใหญ่ บั้นพระองค์เล็ก ครองจีวรห่มเฉียง ชายจีวรยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายเป็นลายเขี้ยวตะขาบ พระพุทธรูปลีลาลอยตัวองค์นี้ จัดเป็นประติมากรรมสำริดที่งดงามที่สุดชิ้นหนึ่ง ที่แสดงถึงฝีมือชั้นสูงของช่างสมัยสุโขทัย การทำพระพุทธรูปลีลาลอยตัวในสมัยสุโขทัย อาจเปรียบเทียบกับภาพปูนปั้นบนผนังอาคาร วัดตระพังทองหลางนอกเมืองสุโขทัย ด้านทิศตะวันออก ซึ่งมีองค์ประกอบเล่าเรื่องพุทธประวัติ ตอนพระพุทธองค์เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ภายหลังทรงเทศนาโปรดพุทธมารดาพระพุทธรูปปางลีลานี้ อยู่ในพระอิริยาบถยืนยกส้นพระบาทขวาสูงขึ้นจากพื้น ปลายพระบาทยังจดอยู่กับพื้น ในท่าจะก้าว เพื่อทรงพระดำเนิน พระหัตถ์ขวาห้อยอยู่ในท่าไกว พระหัตถ์ซ้ายยกเสมอ พระอุระ ตั้งฝ่าพระหัตถ์ป้องไปเบื้องหน้าเป็นกิริยาเดิน มูลเหตุของพระพุทธรูปปางนี้มีที่มาจากครั้งที่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงจากดาวดึงส์ เทวโลกในวันออกพรรษา ท่ามกลางหมู่เทวดา และพรหมแวดล้อม ครั้งนั้นพระสารีบุตรได้กล่าวชื่นชมในพระอิริยาบถย่างก้าวของพระพุทธองค์ว่าช่างงดงาม ทำให้ผู้ได้พบเห็นเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเป็นยิ่งนัก ปางลีลาเป็นปางที่แสดงให้ทราบถึงพระกรุณาคุณของพระผู้มีพระภาค ที่ได้ทรงเสด็จจาริกไปเผยแพร่พระธรรม แก่ผู้คนในแว่นแคว้น สมัยสุโขทัยนิยมสร้างพระพุทธรูปสี่อิริยาบถ คือ นั่ง นอน ยืน และเดิน โดยเฉพาะพระพุทธรูปปางลีลานั้นนับได้ว่ามีความสวยงาม มีเอกลักษณ์ และเป็นลักษณะทางพุทธประติมานที่ปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในศิลปะสุโขทัย พระพุทธรูปปางลีลาสมัยสุโขทัยที่ถือว่ามีความงดงามมากที่สุดองค์หนึ่ง คือพระพุทธรูปปางลีลา ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในวัดปราสาท ตำบลคณฑี อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
คำสำคัญ : พระพุทธรูป
ที่มา : http://khontee.go.th/index.php?options=travel&mode=detail&id=129
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2562). พระพุทธรูปปางลีลา. สืบค้น 20 เมษายน 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=1122&code_db=610012&code_type=01
Google search
กระปุกดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21-23) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,330
มกรสังคโลก ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20-22) ที่วัดอาวาสใหญ่ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 08-03-2017 ผู้เช้าชม 3,803
เเผ่นปูนปั้นประดับโบราณ ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดพระเเก้ว จังหวัดเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,142
บาลีดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,331
แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดช้างล้อม จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 2,280
พระพิมพ์ชินปางสมาธิ
ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 19-20) พบจากกรุวัดอาวาสน้อย จังหวัดกำเเพงเพชร นายพจนารถ พจนพาที มอบให้เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,835
พระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย
ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 22) พบในบริเวณอุทยานประวัติศาสตร์กำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,140
หงส์ดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบจากการขุดเเต่งที่วัดช้างรอบ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 2,875
พระพุทธรูปทรงเครื่องปางประทานอภัย ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่22-23) พระครูวิธานวชิรศาสน์ เจ้าอาวาสวัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 3,920
พระพุทธรูปปางลีลา ขนาด สูงฐาน 1.55 เซนติเมตร อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ สำริด ประวัติ องค์พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบทที่เคลื่อนไหว หรือเดินบนแท่นบัวหงายที่มีลักษณะรองรับด้วยฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ก้าวพระบาทซ้ายไปข้างหน้า ยกสันพระบาทขวาขึ้นเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า ส่วนพระหัตถ์ขวาปล่อยลงขนานไปกับพระวรกายพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จัดเป็นศิลปะสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 18,421