ภาชนะสำริด

ภาชนะสำริด

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้ชม 6,001

[16.4870941, 99.52206, ภาชนะสำริด]

ชื่อโบราณวัตถุ :  ภาชนะสำริด
          แบบศิลปะ :  ศิลปะอยุธยา
          ชนิด : สำริด
           ลักษณะ :  ศิลปวัตถุที่เด่นที่สุดคือ เครื่องสำริด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะสำริดซึ่งมีทรวดทรงสวยงาม ใหญ่โต แข็งแรง หล่อด้วยฝีมือที่ยอดเยี่ยม อันแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคนิคในการหล่อสำริดที่เจริญกว่าเทคนิคการหล่อสำริดในเมโสโปเตเมีย ทั้งๆทีรู้จักวิธีหล่อสำริดก่อนจีนเกือบพันปี เครื่องสำริดของจีนทำขึ้นโดยการหลอมโลหะที่มีส่วนผสมของทองแดง ดีบุก และตะกั่ว ใช้ทำเป็นภาชนะใส่อาหาร เหล้า และน้ำ ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เสียม ขวาน มีด เป็นต้น ลวดลายที่ปรากฏบนสำริดเหล่านี้จะมีความวิจิตรสวยงามมาก มีทั้งลายนูน และลายฝังลึกในเนื้อสำริด เช่น ลายเรขาคณิต ลายสายฟ้า ลายก้อนเมฆ และลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของสัตว์ต่างๆ 
          ประวัติ :   ภาชนะสำริด สมัยราชวงศ์ชาง ( Shang Dynasty ) ศิลปวัตถุที่เด่นที่สุดคือ เครื่องสำริด โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาชนะสำริดซึ่งมีทรวดทรงสวยงาม ใหญ่โต แข็งแรง หล่อด้วยฝีมือที่ยอดเยี่ยม อันแสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าทางเทคนิคในการหล่อสำริดที่เจริญกว่าเทคนิคการหล่อสำริดในเมโสโปเตเมีย ทั้งๆทีรู้จักวิธีหล่อสำริดก่อนจีนเกือบพันปี เครื่องสำริดของจีนทำขึ้นโดยการหลอมโลหะที่มีส่วนผสมของทองแดง ดีบุก และตะกั่ว ใช้ทำเป็นภาชนะใส่อาหาร เหล้า และน้ำ ใช้ทำเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เสียม ขวาน มีด เป็นต้น ลวดลายที่ปรากฏบนสำริดเหล่านี้จะมีความวิจิตรสวยงามมาก มีทั้งลายนูน และลายฝังลึกในเนื้อสำริด เช่น ลายเรขาคณิต ลายสายฟ้า ลายก้อนเมฆ และลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของสัตว์ต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายหน้ากากรูปสัตว์ที่เรียกว่า “ เถาเทียะ ” เห็นจมูก เขา และตาถลนอย่างชัดเจน ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่พบเห็นในศิลปะจีนในสมัยต่อๆ มาอยู่เสมอนอกจากสำริดแล้ว เครื่องหยกประเภทต่างๆ ก็แสดงเห็นฝีมือทางศิลปะอันสูงส่งของสมัยราชวงศ์ชาง หยกเป็นวัตถุที่นิยมนำมาแกะสลักเป็นรูปต่างๆ มากที่สุด โดยช่างในสมัยราชวงศ์ชางมีเทคนิคในการเจียระไนและแกะสลักหยกให้เป็นรูปและลวดลายต่างๆ กัน เช่น เป็นใบมีด เป็นแท่ง เป็นแผ่นแบนๆ หัวลูกศร จี้ หรือรูปสัตว์ต่างๆ สัญลักษณ์ที่นิยมกันมากคือ สัญลักษณ์ของสวรรค์ โลกและทิศสี่ทิศ นอกจากเครื่องหยกแล้วยังพบผลงานแกะสลักอื่นๆอีก เช่น งาช้าง เครื่องปั้นดินเผา หินอ่อน โดยแกะสลักเป็นรูปหัววัว เสือ ควาย นก และเต่า เป็นต้น
          สถานที่พบบ :  พบในบริเวณบ้านศรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายนิเวศน์ มูลโมกข์ มอบให้
          สถานที่จัดแสดง :   พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร

ภาพโดย:  http://kanchanapisek.or.th

 

  

 

 

คำสำคัญ : ภาชนะสำริด

ที่มา : http://kanchanapisek.or.th

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ภาชนะสำริด. สืบค้น 27 กันยายน 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=320&code_db=610012&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=320&code_db=610012&code_type=01

Google search

Mic

กระปุกดินเผา

กระปุกดินเผา

กระปุกดินเผา  ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๓) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 2,387

บาลีดินเผา

บาลีดินเผา

บาลีดินเผา ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 792

แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน

แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน

แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน  ศิลปะอยุธยา  (พุทธศตวรรษที่ 21)  พบที่วัดช้างล้อม  จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,487

ขันสำริด

ขันสำริด

     ขันสำริด ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) พบที่วัดคงหวาย จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 2,574

ตลับรูปนกพร้อมฝา

ตลับรูปนกพร้อมฝา

ตลับรูปนกพร้อมฝา ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดเจดีย์เจ็ดยอด เมืองไตรตรึงษ์ จังหวัดกำเเพงเพชร 

เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 731

ไหดินเผาเคลือบสีน้ำตาล

ไหดินเผาเคลือบสีน้ำตาล

ไหดินเผาเคลือบสีน้ำตาล  ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-22)  พบที่วัดอาวาสใหญ่ จังหวัดกำเเพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 11-03-2017 ผู้เช้าชม 1,410

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์ วัดสว่างอารมณ์

หลวงพ่ออุโมงค์ พระพุทธรูปสมัยเชียงแสน องค์มหึมา พบที่วัดสว่างอารมณ์ กำแพงเพชร หลวงพ่ออุโมงค์ เป็นพระพุทธรูปสำคัญที่สุดองค์หนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ศิลปะเชียงแสน สิงห์สาม สร้างราวพุทธศักราช ๑๗๐๐ - ๑๘๐๐ มีข้อสันนิษฐานมากมาย ว่าท่านเสด็จมาอยู่ในกำแพงเพชรได้อย่างไร เพราะกำแพงเพชร มิได้อยู่ในสมัยเชียงแสน ข้อสันนิษฐานที่พิสดาร คือ เมื่อคราวพระเจ้าชัยศิริ โอรสของพระเจ้าพรหมมหาราช อพยพผู้คน มาตั้งเมืองแปบ เขตเมืองกำแพงเพชร ในราวพุทธศักราช ๑๖๐๐ อาจจะนำหลวงพ่ออุโมงค์มาเป็นมิ่งขวัญด้วย แต่พุทธลักษณะน่าจะเป็นเชียงแสนสิงห์หนึ่ง (อาจจะบูรณปฏิสังขรณ์ภายหลัง ทำให้พุทธลักษณะเปลี่ยนไป)

 

เผยแพร่เมื่อ 20-04-2020 ผู้เช้าชม 1,875

หลวงพ่อเพชร

หลวงพ่อเพชร

ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทองจ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราชยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด

เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 614

ภาชนะสำริด

ภาชนะสำริด

ภาชนะสำริด ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ ๒o-๒๑) พบในบริเวณบ้านศรีบุญส่ง อำเภอไทรงาม จังหวัดกำเเพงเพชร นายนิเวศน์ มูลโมกข์ มอบให้

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 6,001

พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

พระพิมพ์ชินปางสมาธิ

พระพิมพ์ชินปางสมาธิ  ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒o)  พบจากกรุวัดอาวาสน้อย จังหวัดกำเเพงเพชร นายพจนารถ พจนพาที มอบให้เมื่อวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๕

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,186