ตะเกียงดินเผา
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 3,351
[16.4880015, 99.520214, ตะเกียงดินเผา ]
ชื่อโบราณวัตถุ : ตะเกียงดินเผา
แบบศิลปะ : สมัยทวารวดี
ชนิด : ดินเผา
ขนาด : มีขนาด ยาว 10.5 เซนติเมตร
อายุสมัย : ราวพุทธศตวรรษที่ 12-16
ลักษณะ : ตะเกียงดินเผาพบจากการขุดค้นทางโบราณคดีที่เมืองโบราณไตรตรึงษ์เมื่อ พ.ศ.2527 เนื้อภาชนะค่อนข้างหยาบ ขึ้นรูปด้วยมือ รูปทรงตะเกียงนี้ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนลำตัวซึ่งมีลักษณะกลมคล้ายถ้วย ส่วนนี้เป็นส่วนที่ถูกซ่อมต่อเติมขึ้นมาใหม่ เนื่องจากของเดิมแตกหายไป และอีกส่วนหนึ่งเป็นส่วนพวยของตะเกียง ส่วนปลายของพวยทำเป็นรูปทรงคล้ายถ้วยขนาดเล็ก ประโยชน์ใช้สอยของตะเกียงไว้สำหรับใส่น้ำมันตามไฟเพื่อให้แสงสว่าง ตะเกียงดินเผาลักษณะนี้ได้พบอยู่ทั่วไปตามชุมชนโบราณสมัยทวารวดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น เมืองพระประโทน จังหวัดนครปฐม เมืองคูบัว จังหวัดราชบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านท่าแค จังหวัดลพบุรี เมืองโบราณบ้านคูเมือง อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี เมืองบน (โคกไม้เดน) อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นต้น โดยสันนิษฐานว่าน่าจะได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์มาจากรูปแบบตะเกียงโรมันสำริดที่พบจากแหล่งโบราณคดีพงตึก อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี นอกจากนี้บริเวณทางภาคใต้ของประเทศอินเดียในแคว้นอานธระ ยังพบตะเกียงดินเผาในลักษณะเช่นเดียวกันนี้ ตะเกียงดินเผาที่ค้นพบจากแหล่งโบราณคดีในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาดังที่กล่าวไปแล้วข้างต้น อาจเป็นของที่พ่อค้าอินเดียเคยนำเข้ามาใช้ เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อระหว่างกลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่เคยเป็นเมืองท่าสมัยทวารวดีกับชาวอินเดียซึ่งเป็นกลุ่มคนที่มาจากดินแดนโพ้นทะเล อย่างไรก็ตาม ตะเกียงดินเผาที่ค้นพบจากเมืองโบราณไตรตรึงษ์คงมิได้เป็นหลักฐานที่แสดงถึงการติดต่อกับชาวอินเดียโดยตรง แต่น่าจะเป็นการติดต่อผ่านชุมชนในลุ่มน้ำเจ้าพระยาอีกทอดหนึ่ง โดยสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำปิงตอนล่างในการเป็นชุมชนที่ตั้งอยู่บนเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ และเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญมาตั้งแต่ก่อนสมัยสุโขทัย
ประวัติ : พบที่เมืองโบราณไตรตรึงษ์ บ้านวังพระธาตุ ตำบลไตรตรึงษ์ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร
สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กำแพงเพชร
ภาพโดย : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
คำสำคัญ : ตะเกียงดินเผา
ที่มา : http://www.virtualmuseum.finearts.go.th/kamphaengphet
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ตะเกียงดินเผา . สืบค้น 15 มกราคม 2568, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=315&code_db=610012&code_type=01
Google search
ตามประวัติเดิมหลวงพ่อเพชรประดิษฐานอยู่ที่วัดจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เมื่อครั้งสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ยกทัพไปปราบหัวเมืองเหนือ ขณะเสด็จกลับผ่านเมืองพิจิตร พระพิจิตรเจ้าเมืองได้กราบบังคมทูลว่าตนต้องการพระพุทธรูปประจำเมือง เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเสด็จพระราชดำเนินกลับมาจากเชียงใหม่จึงทรงอัญเชิญหลวงพ่อเพชร ล่องแพมาทางลำน้ำปิง แล้วอัญเชิญหลวงพ่อเพชรประดิษฐานที่เมืองกำแพงเพชรก่อน และทรงแจ้งให้เจ้าเมืองพิจิตรทราบ พระพิจิตรได้รับทราบจึงนำชาวบ้านจำนวนมากไปเมืองกำแพงเพชร เพื่อทำการสักการะแล้วอัญเชิญ หลวงพ่อเพชรแห่แหน มาประดิษฐานไว้ที่พระอุโบสถวัดนครชุม เมืองพิจิตร(เก่า) ส่วนหลวงพ่อเพชรที่อยู่วัดปราสาทเป็นพระเนื้อสำริด
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 1,029
ไหดินเผาเคลือบสีน้ำตาล ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-22) พบที่วัดอาวาสใหญ่ จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 11-03-2017 ผู้เช้าชม 2,100
เเผ่นลวดลายปูนปั้นรูปเทพพนมประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดพระเเก้ว จังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,787
เศียรพระพรหมปูนปั้น ศิลปะสมัยอยุธยา (พุทธศตวรรษที่21) พบที่วัดพระเเก้ว จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 09-03-2017 ผู้เช้าชม 1,200
เศียรครุฑปูนปั้น ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบในจังหวัดกำเเพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 1,216
หม้อตาล ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 20-23)
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 4,825
โถเคลือบเขียว ศิลปะสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่19-20) พระครูวิธารวชิรศาสตร์ เจ้าอาวาสวัดเสด็จ จังหวัดกำแพงเพชร มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 1,305
ครกพร้อมสาก สมัยสุโขทัย (พุทธศตวรรษที่ 20) พระครุวิเชียรธรรมดชติ เจ้าอาวาสวัดบาง อำเภอเมือง มอบให้
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 2,777
พระพุทธรูปปางลีลา ขนาด สูงฐาน 1.55 เซนติเมตร อายุสมัย ศิลปะสุโขทัย พุทธศตวรรษที่ 20 วัสดุที่ทำ สำริด ประวัติ องค์พระพุทธรูปอยู่ในอิริยาบทที่เคลื่อนไหว หรือเดินบนแท่นบัวหงายที่มีลักษณะรองรับด้วยฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยมอีกชั้นหนึ่ง ก้าวพระบาทซ้ายไปข้างหน้า ยกสันพระบาทขวาขึ้นเล็กน้อย พระหัตถ์ซ้ายยกขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออกไปข้างหน้า ส่วนพระหัตถ์ขวาปล่อยลงขนานไปกับพระวรกายพุทธศิลป์ของพระพุทธรูปองค์นี้ จัดเป็นศิลปะสุโขทัย
เผยแพร่เมื่อ 03-04-2019 ผู้เช้าชม 18,128
แผ่นลวดลายกลีบบัวดินเผาประดับโบราณสถาน ศิลปะอยุธยา (พุทธศตวรรษที่ 21) พบที่วัดช้างล้อม จังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 18-03-2017 ผู้เช้าชม 2,205