หูเสือ

หูเสือ

เผยแพร่เมื่อ 17-02-2017 ผู้ชม 1,369

[16.4534229, 99.4908215, หูเสือ]

ลักษณะสมุนไพร :
         หูเสือเป็นไม้ล้มลุก ความสูงของลำต้นประมาณ 0.3-1 เมตร ลำต้นมีลักษณะอวบน้ำ หักได้ง่าย กิ่งและลำต้นค่อนข้างกลม ต้นอ่อนจะมีขนขึ้นอย่างหนาแน่น ใบเป็นใบเดี่ยวออกตรงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กว้างค่อนข้างกลมหรือเป็นรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ปลายใบกลมมน โคนใบกลมหรือตัด ส่วนขอบใบจักเป็นคลื่นมนๆ รอบๆ ใบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-8 เซนติเมตร ใบเป็นสีเขียวอ่อน แผ่นใบหนาและอวบน้ำ ผิวใบมีขนอ่อนนุ่มขึ้นปกคลุมอยู่ทั่วทั้งใบ แผ่นใบนูน เส้นใบลึก ก้านใบมีความยาวประมาณ 2-4.5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อยาวประมาณ 10-20 เซนติเมตร โดยจะออกตามปลายกิ่งหรือยอด ในช่อหนึ่งจะมีดอกย่อยประมาณ 6-8 ดอก ดอกย่อยติดกันหนาแน่นเป็นวงรอบแกนผลเป็นระยะๆ และมีขน ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ กลีบดอกเป็นสีม่วงขาว ลักษณะเป็นรูปเรือ โคนกลีบเชื่อมติดกันเป็นหลอดยาวประมาณ 3-4 มิลลิเมตร ส่วนปลายแยกเป็นกลีบ 2 กลีบ กลีบบนสั้น ตั้งตรง และมีขน ส่วนกลีบล่างมีลักษณะยาวและเว้า ใบประดับมีลักษณะเป็นรูปไข่กว้าง ยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร ปลายแหลม ก้านสั้น ผลมีขนาดเล็ก ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแป้นสรน้ำตาลอ่อน เปลือกผลแข็ง ผลมีขนาดกว้างประมาณ 0.5 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 0.7 มิลลิเมตร 

สรรพคุณทางยา :
ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์ : ราก, ต้น และ ใบ  
     
ราก ช่วยรักษาเลือดลมให้เป็นปกติ ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ
     
    ต้น
ช่วยทำให้เจริญอาหาร ช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก และแก้พิษฝีในหู ลดไข้ตัวร้อน แก้ไข้หวัดในเด็กได้ ช่วยแก้โรคหืดหอบ ช่วยแก้ไอ แก้หวัด แก้อาการท้องอืด
     
    ใบ
ช่วยทำให้เจริญอาหาร บำรุงร่างกาย ช่วยแก้ฝีในหู แก้ปวดหู หูน้ำหนวก และแก้พิษฝีในหู ช่วยดับกลิ่นปาก แก้ปวดฟัน ป้องกันฟันผุ แก้อาการปวด ลดไข้ แก้อาการหวัด คัดจมูก แก้อาการไอ ไอเรื้อรัง แก้เจ็บคอ คออักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้โรคหืดหอบ แก้ไอ แก้หวัดได้อีกด้วย แก้อาการท้องอืด ช่วยขับลม แก้อาการปวดท้อง อาหารไม่ย่อย แก้ทางเดินปัสสาวะอักเสบ ช่วยขับน้ำคาวปลา รักษาแผลเรื้อรัง แผลที่มีน้ำเหลือง น้ำหนอง หรือเป็นตุ่มพุพอง รักษาหิด แก้แมงป่องต่อย ตะขาบกัด รักษาอาการบวม แก้ปวดข้อ แก้ลมชัก บำรุงน้ำนมหลังคลอดของสตรี

 ภาพโดย : http://www.google.com

คำสำคัญ : สมุนไพร

ที่มา : กมลทิพย์ ประเทศ และคนอื่นๆ. (2543). การสำรวจพรรณไม้ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). หูเสือ. สืบค้น 13 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=22&code_db=610010&code_type=01

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=22&code_db=610010&code_type=01

Google search

Mic

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา

บุกอีรอกเขา จัดเป็นไม้ล้มลุกข้ามปี มีเหง้าอยู่ใต้ดิน เจริญเติบโตได้ในดินร่วนที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ระบายน้ำดี พบได้ทั่วไป ชอบขึ้นตามริมแม่น้ำ ในพื้นที่โล่ง ทุ่งหญ้า พื้นที่ที่มีความชื้นสม่ำเสมอและฝนตกชุก ใบบุกอีรอกเขา ใบเป็นใบเดี่ยว ก้านใบยาวมีลักษณะกลมและอวบน้ำ ไม่มีแกน ยาวประมาณ 50-120 เซนติเมตร ใบมีลายสีเขียว เทา น้ำตาล และดำเป็นจุดพื้นจุดด่าง มีก้านใบย่อยแตกออกจากปลายก้านใบ 2-3 ก้าน และมีใบประดับ 10-120 ใบ ออกเป็นคู่ ลักษณะเป็นรูปคล้ายหอก ขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 10-50 เซนติเมตร และยาวประมาณ 15-25 เซนติเมตร ผิวใบเป็นคลื่น หูใบติดกับก้านใบย่อย

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 15,988

คำแสด

คำแสด

คำแสดเป็นไม้ต้น พุ่มขนาดเล็ก มีลำต้นสูงประมาณ 3-8 เมตร บริเวณยอดเป็นพุ่มกลม หนาทึบ แตกกิ่งก้านสาขามากมาย เป็นใบเดี่ยว ออกแบบเรียงเวียนรอบๆ ต้น รูปทรงไข่ ตรงโคนมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ บาง เกลี้ยง และนุ่ม สีเขียวเหลือบแดง ออกเป็นช่อตรงบริเวณปลายกิ่ง ช่อหนึ่งจะมีดอกอยู่ประมาณ 5-10 ดอก ส่วนกลีบดอกเป็นรูปไข่ สีชมพูอ่อน กลีบดอกมีทั้งหมด 5 กลีบ ส่วนผลเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมปลายแหลม มีขนสีแดงคล้ายผลเงาะ เมื่อผลแก่จะแตกออก 2 ซีก ภายในมีเมล็ดเล็กๆ สีน้ำตาลอมแดงจำนวนมากหลายเมล็ด

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 4,274

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม

บวบเหลี่ยม เชื่อว่ามีถิ่นกำเนิดในประเทศอินเดีย เนื่องจากพบต้นที่มีลักษณะเป็นพืชป่าในบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และมีเขตการกระจายพันธุ์และนิยมบริโภคกันมากในประเทศเขตร้อน เช่น ไทย จีน ฮ่องกง และอินเดีย โดยจัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกมีอายุเพียงปีเดียว ชอบเลื้อยพาดพันไปตามต้นไม้อื่นหรือทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ยอดอ่อนนุ่ม เถาหรือลำต้นเป็นเหลี่ยม ตามข้อเถามีมือสำหรับใช้ยึดเกาะเป็นเส้นยาว บางทีแยกเป็นหลายแขนง ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการเพาะเมล็ด ทนแล้ง ทนฝนได้ดี โรคและเมล็ดไม่มารบกวน พรรณไม้ชนิดนี้มักขึ้นตามที่รกร้าง ตามริมห้วย หนอง คลอง และตามบึงทั่วไป

เผยแพร่เมื่อ 02-06-2020 ผู้เช้าชม 11,635

กระดังงา

กระดังงา

กระดังงานั้นเป็นไม้เลื้อยทรงพุ่มโปร่ง มีดอกออกตลอดทั้งปี เป็นดอกแบบช่อกระจุกตามซอกใบหรือปลายกิ่งประมาณ 4-6 ดอก แบ่งออกเป็น 2 ชั้น กลีบดอกสีเหลืองหรือเหลืองอมเขียว มีกลิ่นหอมมาก และมีบางชนิดที่เป็นเถาเลื้อย ลำต้นสูงประมาณ 15-25 เมตร บริเวณโคนต้นมีปุ่มอยู่เล็กน้อยแต่สามารถแตกกิ่งก้านได้มาก ส่วนเปลือกของต้นกระดังงามีสีเทาหรือน้ำตาลเป็นต้นเกลี้ยง โดยเปลือกจะมีการหนาตัวขึ้นตามอายุของต้น เป็นใบเดี่ยวเรียงสลับคล้ายรูปวงรี ตรงปลายแหลม โคนมนสอบแหลม และขอบใบนั้นจะเรียบเป็นคลื่นสีขาวๆ

เผยแพร่เมื่อ 29-04-2020 ผู้เช้าชม 2,645

ผักปลาบใบกว้าง

ผักปลาบใบกว้าง

ลักษณะทั่วไป  ต้นเป็นพรรณไม้ล้มลุก ซึ่งลำต้นนั้นจะเลื้อย แต่ชูขึ้น แตกกิ่งก้านสาขามาก ตามกิ่งก้านจะมีขนอ่อน ๆ ปกคลุม  เลื้อยชูได้สูงประมาณ 4-12 นิ้วมีสีเขียว  ใบออกใบเดี่ยว เรียงสลับกันไปตามข้อต้น ลักษณะของใบเป็นรูปไข่มันปลายแหลมหรือมน  โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบมีขนปกคลุมทั่วทั้งใบ ขนาดใบกว้างประมาณ 0.5-1.5 นิ้ว ยาว1.5-3 นิ้ว สีเขียวก้านใบจะเป็นกาบมีขนยาว ดอกเป็นช่อ อยู่ตรงส่วนปลายของต้น ดอกนี้จะอยู่ภายในกาบรองดอกสีฟ้าอ่อน มีอยู่ 3 กลีบ แต่กลีบดอกนี้จะไม่เท่ากันกลับกลางจะใหญ่กว่ากลีบด้านข้าง  กลีบรองกลีบดอกมี 3 กลีบสีเขยว

เผยแพร่เมื่อ 13-02-2018 ผู้เช้าชม 2,317

กากหมากตาฤาษี

กากหมากตาฤาษี

ต้นกากหมากตาฤาษี จัดเป็นพืชเบียน เกาะอาศัยแย่งอาหารจากรากพืชชนิดอื่น มีความสูงได้ประมาณ 10-25 เซนติเมตร ลำต้นอยู่รวมกันเป็นก้อนขนาดใหญ่อยู่ใต้ดิน โดยลำต้นจะมีอยู่หลายสี เช่น สีน้ำตาล สีแดง สีแดงปนน้ำตาล สีเหลือง หรือสีเหลืองปนส้ม มีเขตการกระจายพันธุ์ในอินเดีย จีนตอนใต้ พม่า ภูมิภาคอินโดจีน มาเลเซีย และทวีปออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยพบได้ทั่วทุกภาคของประเทศ โดยพบขึ้นในป่าดิบชื้นทั่วไป บนเขาสูง ที่ความสูง 500-2,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล 

เผยแพร่เมื่อ 18-05-2020 ผู้เช้าชม 2,896

มะคังแดง

มะคังแดง

มะคังแดง จัดเป็นไม้พุ่มกึ่งไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความของต้นได้ประมาณ 6-12 เมตร ใบดกหนาทึบ เปลือกลำต้นและกิ่งก้านเป็นสีน้ำตาลแดงเข้ม มีขนนุ่มคล้ายกำมะหยี่สีน้ำตาลแดงขึ้นปกคลุมทั่วไป ตามโคนต้น ลำต้น และกิ่งมีหนามขนาดใหญ่โดยรอบ พุ่งตรงออกเป็นระยะ ตามกิ่งก้านอ่อนมีสีน้ำตาลอมแดง ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด พบได้ตั้งแต่อินเดีย อินโดจีน พม่า และไทย มักขึ้นตามป่าดิบแล้ง ป่าดิบชื้น ป่าเต็งรัง และตามป่าเบญจพรรณ

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 2,533

จิงจูฉ่าย

จิงจูฉ่าย

“จิงจูฉ่าย” หรือ “โกศจุฬาลัมพา” หรือที่ชาวต่างชาตินิยมเรียกว่า “เซเลอรี” (Celery) อยู่ในวงศ์ Asteraceae เป็นพืชล้มลุกไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 0.5 – 1 ฟุต ใบเป็นรูปรีขอบเป็นแฉกๆ 5 แฉกสีเขียว เนื้อใบหนา คล้ายต้นขึ้นฉ่าย รากหรือเหง้าใหญ่จะกระจายเป็นวงกว้าง แตกกิ่งก้านหนาแน่นเป็นกอคล้ายๆ ใบบัวบก จะมีกลิ่นหอม รสชาติขมเล็กน้อย สามารถขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดได้ เจริญงอกงามได้ดีในที่แสงแดดรำไร ปลูกได้ดีในอากาศเย็นมากกว่าอากาศร้อน โดยทางการแพทย์เชื่อว่าจิงจูฉ่ายนั้นเป็นยาเย็น ชาวจีนจึงนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานในหน้าหนาวเพื่อปรับสมดุลภายในร่างกายนั่นเอง

เผยแพร่เมื่อ 08-05-2020 ผู้เช้าชม 6,289

กกดอกขาว

กกดอกขาว

ลักษณะทั่วไป  เป็นกกที่มีอายุยืนหลายปี ลำต้นอยู่ใต้ดิน เลื้อยทอดขนานไปกับพื้นผิวดิน ชูส่วนยอด และช่อดอกสูง 15-20 ซม   ลำต้น  มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.5-2 มม. มีกาบหุ้มลำต้น มีระบบรากเป็นระบบรากฝอยออก ตามข้อ ของลำต้นใต้ดิน  ใบ  เป็นใบเดี่ยวออกจากส่วนโคนของลำต้น ใบมีรูปร่างเรียวยาว ประมาณ  5-15 ซม. ขอบใบเรียว ปลายใบแหลม ฐานใบแผ่เป็นกาบหุ้มลำต้นฐานใบมีสีน้ำตาลแดง

เผยแพร่เมื่อ 12-02-2018 ผู้เช้าชม 3,519

มะขวิด

มะขวิด

ต้นมะขวิด มีแหล่งกำเนิดในประเทศอินเดีย พม่า ศรีลังกา และอินโดจีน ปลูกทั่วไปในบริเวณหมู่บ้านและสวน แล้วแพร่กระจายไปตามธรรมชาติ ในประเทศมาเลเซียและเกาะชวากับเกาะบาลี อินโดนีเซีย และมีการนำไปปลูกในแคลิฟอร์เนียและฟลอริดาเพื่อใช้ในการศึกษา โดยจัดเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ มีความสูงของต้นประมาณ 15-25 เซนติเมตร เป็นไม้ผลัดใบแต่ผลิใบไว รูปทรงของต้นสวยงาม ลักษณะเป็นทรงเรือนยอดพุ่มกลม เปลือกลำต้นภายนอกมีสีเทา ส่วนภายในมีสีขาว เป็นต้นไม้ที่มีความทนต่อสภาพดินและภูมิอากาศต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ชอบขึ้นในเขตมรสุมหรือในเขตร้อนที่มีอากาศแห้งแล้งเป็นบางช่วง

เผยแพร่เมื่อ 10-07-2020 ผู้เช้าชม 8,691