ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง
เผยแพร่เมื่อ 05-02-2017 ผู้ชม 5,917
[16.4830586, 99.5229604, ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง]
ประวัติความเป็นมา
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่นิยมปลูกกล้วยไข่กันมาก จนกลายเป็นพืชผลเศรษฐกิจทำรายได้เข้าจังหวัดปีหนึ่งๆ ประมาณ 100 ล้านบาท ทำให้ "กล้วยไข่” ที่ชาวสวนทั่วไป มองเป็นผลไม้พื้นๆ กลายเป็นของมีราคาขึ้นมาทันที และทำให้กำแพงเพชรเป็นเมืองที่มีฉายาว่า "เมืองกล้วยไข่” โด่งดังไปทั่วประเทศ แรกเริ่มทีเดียวนั้นเล่ากันว่าเมื่อ 60 ปีมาแล้ว ได้มีการปลูกสวนกล้วยไข่กันก่อนที่บ้านเกาะตาล ตำบลแสนตอง อำเภอขาณุลักษบุรี โดยชาวจีนชื่อนายหะคึ้ง แซ่เล้า นำพันธุ์กล้วยไข่จากนครสวรรค์มาปลูก ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ออกไปตามท้องที่อำเภอต่างๆ ในที่สุด ไปปลูกมากในเขตอำเภอเมือง เนื่องจากมีสภาพดินฟ้าอากาศเอื้ออำนวยในการเพาะปลูกถึงขั้นนี้ จึงได้มีการรวมกลุ่มเพื่อขยายตลาดให้กว้างเพียงพอต่อผลผลิตทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศได้ให้ความสนใจในกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชร วิธีการส่งเสริมทางด้านการตลาดกล้วยไข่ที่หน่วยราชการ และผู้ประกอบการทำสวนกล้วยไข่ช่วยกันจนประสบความสำเร็จมากทางหนึ่ง นั่นคือการจัดกิจกรรมของงานให้เกี่ยวข้องกับกล้วยไข่
ในช่วงวันสารทไทย ประมาณเดือนกันยายนของทุกปี จะมีผลผลิตของกล้วยไข่ออกมามาก ดังนั้นทางจังหวัดกำแพงเพชรจึงจัดงานสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเพชรขึ้น เพื่อเผยแพร่กล้วยไข่ซึ่งเป็นผลไม้พื้นเมืองของจังหวัด และเป็นการส่งเสริมการขายกล้วยไข่ ของดี ของเด่น ประจำจังหวัดกำแพงเพชร ภายในงานมีกิจกรรมให้ร่วมสนุก มากมาย เช่น การประกวดกล้วยไข่ดิบ-สุก ชมขบวนแห่รถที่ประดับตกแต่งด้วยกล้วยไข่อย่างประณีต สวยงาม ชมการแสดงต่างๆ และร่วมพิธีกวนกระยาสารทกระทะหลวง นอกจากนี้ยังจัดให้มีการประกวดและจำหน่ายกล้วยไข่ การแข่งขันกวนกระยาสารท กวนข้าวกระยาทิพย์ งานนิทรรศการทางการเกษตร การออกร้านจำหน่ายสินค้าและการแสดงมหรสพต่างๆ การออกร้านจำหน่วยสินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ ณ บริเวณลานโพธิ์ หน้าที่ว่าการอำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร ในงานนี้ทุกท่านจะได้ชิมกระ ยาสารทแสนอร่อยจากยอดฝีมือที่ชนะเลิศการประกวดจากปีก่อนๆ รวมถึงกิจกรรมผ้าป่าแถว กิจกรรมทางพุทธศาสนา ที่เป็นประเพณีดั้งเดิมตั้งแต่พุทธกาล สารท เป็นคำของอินเดีย หมายถึง ฤดู ตรงกับฤดูในภาษาอังกฤษว่า Autumn แปลว่าฤดูใบไม้ร่วง อยู่ในระหว่างฤดูฝนกับหนาว สำหรับคนไทย สารทเป็นการทำบุญกลางปีซึ่งตรงกับวันสิ้นเดือน 10 หรือวันแรม 15 ค่ำเดือน 10 ในอดีตพิธีนี้เป็นของพราหมณ์มาก่อน กล่าวคือเมื่อถึงเดือน 10 เป็นฤดูที่ข้าวสาลีในนาออกรวงอ่อนเป็นน้ำนม ผู้คนพากันเก็บเกี่ยวรวงข้าวสาลีอันเป็นผลแรกได้มาทำมธุปายาสและยาคูเลี้ยงพราหมณ์ เพื่อให้เป็นสิริมงคลแก่ข้าวในนา อีกประการหนึ่งคือทำเพื่อเซ่นไหว้บุรพชน คือ ปู่ ย่า ตา ยาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ต่อมาผู้ที่เคยนับถือศาสนาพราหมณ์แล้วกลับมานับถือพระพุทธศาสนา เมื่อถึงคราวที่เคยทำบุญตามฤดูกาลให้แก่พราหมณ์ ก็จัดทำถวายพระสงฆ์เหมือนที่เคยทำแก่พราหมณ์ ถือกันว่าการทำบุญด้วยของแรกได้เป็นผลานิสงส์อย่างยิ่ง และเมื่อทำบุญแล้ว มักจะกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว การทำพิธีอุทิศให้แก่ผู้ตายของชาวฮินดูเรียกว่า "ศราทธ์" ออกเสียงเหมือนกับคำว่า "สารท" ในภาษาไทย ซึ่งเป็นชื่อฤดู สำหรับอาหารที่ทำในเทศกาลสารทถวายพระสงฆ์นี้ เรียกว่า "กระยาสารท" แปลว่า "อาหารที่ทำให้ฤดูสารท" โดยส่วนผสมของกระยาสารทไทยนี้จะประกอบไปด้วยข้าวตอก ข้าวเม่า ถั่วลิสง งา นำมาคั่วให้สุกเสียก่อน แล้วจึงนำมากวนกับน้ำอ้อยกวนให้เหนียวกรอบเกาะกันเป็นปึกจะทำกรอบเป็นก้อนหรือตัดเป็นชิ้นๆ ห่อด้วยใบตองแห้งใส่ไว้ในโหลหรือปีบ ซึ่งหลังจากจัดทำถวายพระสงฆ์แล้วมักจะนำไปแจกจ่ายเพื่อนบ้านเพื่อความเป็นสิริมงคล
ประเพณีสารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพงเป็นประเพณีที่จัดขึ้นในช่วงวันสารท เดือน 10 ประมาณปลายเดือนกันยายน หรือ ต้นเดือนตุลาคมของทุกปี ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลิตผลทางการเกษตรที่นำชื่อเสียงและทำรายได้ให้แก่จังหวัดเป็นอย่างมาก คือ กล้วยไข่ ในงานจะมีการประกวดกล้วยไข่ประกวดพืชผลทางเกษตร พิธีกวนข้าวกระยาทิพย์ ซึ่งเป็นพิธีเก่าแก่ตั้งแต่ครั้งพุทธกาล การกวนกระยาสารท การแสดงสินค้าพื้นเมือง ประกวดการตกแต่งรถขบวนแห่อย่างวิจิตรตระการตาด้วยส่วนประกอบต่างๆ ของต้นกล้วยไข่ นับเป็นงานประเพณีสำคัญที่จังหวัดจัดเป็นประจำทุกปี
คำสำคัญ : สารทไทย งานกล้วยไข่
ที่มา : http://www.sawadee.co.th/thai/kamphaengphet/
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ประเพณีสารทไทย กล้วยไข่เมืองกำแพง. สืบค้น 6 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=133&code_db=610004&code_type=01
Google search
ประเพณีการเทศน์มหาชาติ สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยเป็นราชธานีหรืออาจตั้งแต่พระพุทธศาสนาเข้ามาเป็นศาสนาประจำชาติไทย คำว่ามหาชาติ หมายถึงการเกิดที่ยิ่งใหญ่ คือการที่ได้เกิดเป็นพระเวสสันดร ทรงบำเพ็ญ ทานบารมี เป็นพระชาติสุดท้ายของพระโพธิสัตว์ ที่จะได้เกิดเป็นพระพุทธเจ้า
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 5,544
เพลงกล่อมเด็ก เป็นบทเพลงที่จัดอยู่ในเพลงพื้นบ้านโดยมีจุดประสงค์ใช้ร้องกล่อมเด็ก หรือปลอบเด็ก เพื่อให้เด็กนอนหลับ การร้องเพลงกล่อมเด็กมักสืบทอดกันด้วยวิธีการจดจำจากรุ่นสู่รุ่น เป็นส่วนหนึ่งของวรรณกรรมมขุปาฐะ โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดที่สำคัญส่วนเนื้อหาและท่วงทำนองจะแตกต่างกัน ตามลักษณะท้องถิ่นนั่น ๆ เช่น เพลงกล่อมเด็กในภาคเหนือเรียก “เพลงอื่อลูก” ภาคอีสานเรียก “เพลงนอนสาหล่า” “เพลงนอนสาเดอ” ภาคกลางเรียก “เพลงกล่อมเด็ก” “เพลงกล่อมลูก” ภาคใต้ เรียก “เพลงชาน้อง” “เพลงร้องเรือ” เป็นต้น
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 2,011
ระบำชากังราว เป็นการแสดงนาฏศิลป์ชุดหนึ่งที่สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อเป็นการแสดง ที่สื่อความเป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดกำแพงเพชรโดยมีการริเริ่มแนวคิดสร้างชุดระบำชากังราว เมื่อปี พ.ศ. 2535 และพัฒนามาตามลำดับทั้งท่วงทีลีลาท่ารำ เพลง เครื่องแต่งกายให้เป็นเอกลักษณ์เฉพาะการแสดงชุดนี้ เพื่อนำไปแสดงในงานศิลปวัฒนธรรมและแสดงในโอกาสต่างๆ เช่น งานต้อนรับแขกผู้มาเยือนจังหวัดกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 1,758
ในงานเฉลิมฉลองครบรอบร้อยปี การเสด็จประพาสต้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 18-27 สิงหาคม พ.ศ. 2449 จังหวัดกำแพงเพชร ได้รับการสนับสนุน จากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย จัดตลาดชาวบ้านและตลาดชาววังขึ้น ในส่วนของตลาดชาวบ้านนั้น ได้รับความอนุเคราะห์จากเทศบาลตำบลนครชุม ซึ่งชาวบ้านได้รักษาวิถีชีวิตของชุมชนไว้ได้อย่างไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก ในวันที่ 20-21 สิงหาคม 2549 จึงเกิดตลาดชาวบ้านขึ้นผู้แสดงล้วนมาจากตำบลนครชุมทั้งสิ้น
เผยแพร่เมื่อ 20-02-2017 ผู้เช้าชม 2,206
ศาลพระภูมิเจ้าที่เป็นศาสนสถานที่สำคัญของชุมชนอาข่า เป็นที่กราบไหว้บูชาของชุมชนอาข่า ศาลพระภูมิเจ้าที่จะมีการสร้างประมาณเดือนเมษายนของทุกปี หลังจากปลูกสร้างประตูหมู่บ้านแล้ว และจะมีการบูชาทุกปี ปีละครั้ง หรือถ้าปีไหนมีโรคระบาดเยอะ หรือมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันมาเยือนชุมชนบ่อยๆ ก็อาจประกอบพิธี 2 ครั้งใน 1 ปี สร้างไว้ทางทิศเหนือของชุมชน ห่างจากชุมชนประมาณ 500 เมตร ทำเลในการจะสร้างศาลพระภูมิเจ้าที่จะต้องอยู่สูงกว่าระดับ
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,793
“เห้งเจีย (ฉีเทียนต้าเซิ้ง) ลิงในวรรณกรรมที่กลายเป็นเทพเจ้า” เป็นวรรณกรรมจากปลายปากกาของ “จรัสศรี จิรภาส” อาจารย์ประจําสาขาวิชาภาษาจีน มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ ซึ่งได้ค้นคว้าข้อมูล เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับวานรตั้งแต่สมัยโบราณกาล โดยมนุษย์เชื่อว่า ลิงเป็นสัตว์ลี้ลับ สามารถ ปกปักรักษา ป้องภัยให้ และเพื่อสืบทอดความเชื่อเหล่านี้
เผยแพร่เมื่อ 24-09-2024 ผู้เช้าชม 28
“ข้าจะกลับมา ปากคลองจะเป็นเรือนตายของข้าต่อไป เมื่อขายของเก็บเงินที่ติดค้างอยู่เสร็จแล้ว ข้าจะมาสร้างบ้านใหม่ที่นี่เป็นเรือนหอของเรา การถอดกำไลของเอ็งจะไม่ต้องอับอายขายหน้าใคร เราจะอยู่กินด้วยกัน มีลูกเต็มบ้าน หลานเต็มเมือง เราจะทำคลองให้เจริญรุ่งเรืองกว่านี้ และบางทีนานไปวันหนึ่งปากคลองจะเป็นของเรา ปากคลองที่เต็มไปด้วยป่าไม้ ข้าว ไต้ น้ำมันยาง สีเสียด ยาสูบ หนังสัตว์” รื่นหนุ่มวังแขม อายุ 32 ปี บอกแก่สุดใจสาวสวยแห่งคลองสวนหมากวัย 16 ปี ใต้ต้นมะม่วงสายทองริมท่าน้ำคลองสวนหมาก วันสงกรานต์ปี พ.ศ. 2433 จาก ทุ่งมหาราช ของ เรียมเอง (มาลัย ชูพินิจ)
เผยแพร่เมื่อ 17-04-2020 ผู้เช้าชม 2,080
ชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาวมักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และบริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน
เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 7,198
ระบำชาติพันธุ์กำแพงเพชร เป็นการแสดงโดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร ได้สนับสนุนให้สร้างสรรค์ขึ้นให้เป็นการแสดงเพื่อสื่อความหมายของกลุ่มชนชาติพันธุ์ที่ต่างวัฒนธรรมต่างวิถีชีวิต แตกต่างด้วยเครื่องแต่งกายแต่มีเอกลักษณ์เฉพาะของตนของชนเผ่าที่มีความงดงามในการสร้างสรรค์ ชุดการแสดงจึงได้มีแนวคิดการนำวัฒนธรรมด้านการแต่งกายมานำเสนอในด้านการแสดงนาฏศิลป์ เพื่อเผยแพร่มรดกทางภูมิปัญญาของชาติพันธุ์
เผยแพร่เมื่อ 19-07-2022 ผู้เช้าชม 722
ประเพณีตานก๋วยสลาก หรือประเพณีกิ๋นข้าวสลาก เป็นประเพณีทำบุญโดยมิได้เลือกเจาะจงพระภิกษุ สามเณรรูปใดรูปหนึ่งของชาวล้านนา ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับประเพณีถวายสลากภัตของชาวไทยภาคกลาง หากทางล้านนานิยมเป็นการทำบุญจตุปัจจัยถวายแด่พระสงฆ์ โดยมิต้องมีการทำบุญเป็นภัตตาหารต่าง ๆ เช่นเดียวกับภาคกลาง ประเพณีตานก๋วยสลาก “กิ๋นก๋วยสลาก” หรือประเพณีสลากภัต มักจะจัดขึ้นในช่วงเดือนพฤศจิกายนของทุกปี หรือจะจัดขึ้นในเดือน 11 เหนือ (คือเดือน 10 ใต้ เดือนกันยายน) และสิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ (เดือน 11) ตานก๋วยสลากในกำแพงเพชรนั้นจะจัดขึ้น ณ สถานที่วัดน้ำโท้ง ตำบลท่าขุนราม อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งตานก๋วยสลากจะมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ ก๋วยน้อย และ ก๋วยใหญ่
เผยแพร่เมื่อ 20-06-2022 ผู้เช้าชม 27,126