ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร

ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 27-06-2022 ผู้ชม 1,371

[16.2845982, 98.6713147, ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร]

บทนำ
         บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษา ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายทางเชื้อชาติและเผ่าพันธุ์กระจัดกระจายอยู่ในทุกพื้นที่ ทุกจังหวัด ซึ่งจังหวัดกำแพงเพชรเป็นอีกแห่งที่มีชนเผ่ากลุ่มชาติพันธุ์ชาวเมี่ยนอยู่ที่ ตำบลบ้านสักงาม อำเภอคลองลาน นอกจากนี้ชาวเมี่ยนหรือเย้ากระจายอาศัยในจังหวัดเชียงราย พะเยา และน่าน รวมทั้ง จังหวัด เชียงใหม่ ตาก เพชรบูรณ์ ลำปาง และสุโขทัย ชาวเมี่ยนมีลักษณะการแต่งกายการใช้สีสันที่จะแตกต่างกันบ้างแต่ก็เพียงเล็กน้อย ทั้งนี้ ชาวเมี่ยนมีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซีจีน เรียกขานว่า เย้า ส่วน “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่า มนุษย์การอพยพโยกย้ายของเผ่าเมี่ยน 12 สกุล ลงมาทางใต้ประมาณศตวรรษที่ 15-16 เข้าสู่เวียดนามผ่านลาว และเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในราว 100 ปีเศษที่ผ่านมา

ภูมิปัญญาผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร
         กลุ่มชาวเมี่ยนจังหวัดกำแพงเพชร นิยมตั้งบ้านเรือนในบริเวณที่ลาดไหล่เขาใกล้ป่าและแหล่งน้ำ โดยสร้างที่พักอาศัยชั้นเดียวติดพื้นดิน ตรงข้ามประตูใหญ่ด้านหน้าของบ้านมีศาลพระภูมิหรือศาลบรรพบุรุษ ชาวเมี่ยนมีศิลปะการสร้างสรรค์ลวดลายบนผืนผ้าที่เลืองลือเป็นที่รู้จักและยอมรับในความงดงาม คือ การปักลวดลาย งานปักที่ปรากฏบนผืนผ้าของชาวเมี่ยน แม้ปัจจุบันก็ยังคงพบได้บนผืนผ้าแทบทุกผืนเป็นลวดลายโบราณเอกลักษณ์คงเดิมที่สืบทอดต่อมาจากบรรพบุรุษสมัยโบราณกาล ซึ่งมักมีความเกี่ยวข้องและผูกพันกับตำนานปรัมปรา รวมถึงความเชื่อที่สอดแทรกจากประเพณีวัฒนธรรมประจำชนเผ่าผสมกลมกลืนกับลวดลายที่มาจากธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรอบตัว ตลอดจนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ไม่ว่าจะเป็นข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน สัตว์ป่าน้อยใหญ่ รวมถึงพืชพรรณต่างๆ ด้วยความประณีตและเป็นเลิศในฝีมือ นอกจากนี้ชาวเมี่ยนยังมีฝีมือในการทำเครื่องประดับ และเครื่องเงิน ในสมัยแรกชาวเมี่ยนมีการทอผ้าใช้เอง แต่เมื่ออพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทยแล้วได้ค้นพบว่า ผ้าทอมือของไทลื้อที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศพม่าและไทยเหมาะสำหรับการปักลวดลาย จึงได้ซื้อผ้าทอมือของไทลื้อมาย้อมและปักลายจนกลายเป็นความนิยมของชาวเมี่ยนไป (สมาคมศูนย์รวมการศึกษาและวัฒนธรรมของขาวไทยภูเขาในประเทศไทย, 2559)

ลักษณะการแต่งกายของชาวเมี่ยน
         การแต่งกายชาวเมี่ยน มีส่วนประกอบที่เกี่ยวกับงานปักดังนี้ ผ้าโพกศีรษะชั้นใน (ก้องจู๊ด) ผ้าโพกศีรษะชั้นใน รวบผมให้เป็นระเบียบผ้าโพกศีรษะชั้นใน ซึ่งในบางหมู่บ้านอาจจะใช้สีแตกต่างกัน เช่น สีแดง สีดำ ปัจจุบันสตรีเมี่ยนบางคนไม่นิยมใช้ผ้าโพกศีรษะชั้นในแต่ใช้ผ้าโพกศีรษะชั้นนอก (ก้องเป้า) อาจจะแตกต่างกันไปแต่ละมู่บ้าน เช่น บ้านปางค่า หมู่บ้านป่ากลาง นิยมใช้ผ้าทอมือเส้นฝ้ายขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่สีดำทั้งผืนปักลายที่ปลายทั้ง 2 ด้าน และบริเวณชายเสื้อคาดเอวใช้ผ้าทอมือสีดำ ลักษณะเหมือนผ้าโพกศีรษะมีปักลายที่ปลายทั้ง 2 ด้าน การผูกผ้าคาดเอวจะเริ่มจากหน้าหรือหลัง โดยให้ปลายทั้ง 2 ข้างผูกกันไว้ข้างหลัง เพื่อให้เห็นลายปักกางเกง (โฮว) การตัดเย็บกางเกงสตรีเมี่ยนใช้ผ้า 5 ชิ้นด้วยผ้าปักลาย 2 ผืน โดยใช้ผ้าทอมือสีดำปักเกือบเต็มผืนเหลือด้านข้างไว้ เครื่องแต่งกายบุรุษเมี่ยนตามประเพณีจะมี 2 ชิ้น คือ เสื้อที่ใช้ผ้าสีดำมาตัดเป็นตัวเสื้อและมีการปักลายที่ตัวเสื้อรวมถึงที่กระเป๋า ชาวเมี่ยนนั้นเมื่อมีงานประเพณี จะมีการตัดเย็บ ปักลวดลายและการใช้สี ในการปักเครื่องใช้ต่างๆ ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานบวช (กว๋าตัง) และพิธีแต่งงาน เช่น ผ้าต้มผา เป็นผ้าคลุมวางทับโครงสำหรับวางไว้บนศีรษะของเจ้าสาวในพิธีแต่งงานแบบใหญ่ เป็นต้น ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่เกี่ยวข้องกับประเพณีคือ การแต่งงานที่จะต้องแจ้งบรรพบุรุษทั้งสองฝ่ายให้รับรู้ โดยฝ่ายชายจะมอบด้ายและผ้าทอ หรืออุปกรณ์ในการปักชุดแต่งงานไว้ใช้สำหรับงานพิธีแต่งให้กับฝ่ายหญิงเพื่อใช้ปักชุดเจ้าสาว และจะต้องปักชุดแต่งงานให้เสร็จจากอุปกรณ์ที่ฝ่ายชายเตรียมให้นั่นเอง ปัจจุบันการแต่งกายของเมี่ยนในประเทศไทยปัจจุบัน ส่วนมากจะแต่งคล้ายกัน มีแตกต่างไปบ้างเพียงการโพกศีรษะของสตรี ซึ่งการแต่งกายตามวัยตนเอง แต่ยังคงแต่งชุดประจำเผ่า และมีบางส่วนแต่งกายตามแบบคนไทยพื้นราบ

ลายปักและความหมายของลาย
         การปัก เป็นการสร้างลวดลายลงบนผ้า โดยลวดลายเหล่านั้นได้ความคิดมาจากปรัชญาลัทธิเต๋าที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับวิถีชีวิต วัฒนธรรมของชุมชน รวมถึงประวัติศาสตร์ของเผ่าพันธุ์และความสำนึกที่มีอยู่เสมอว่า ตนเองสืบเชื้อสายมาจากพระจักรพรรดิของจีนที่เคยได้รับสิทธิพิเศษในการตั้งหลักแหล่งที่ไหนก็ได้ในประเทศจีน โดยไม่ต้องเสียภาษี จะเห็นได้จากลายปักชื่อเทพสุนัขมังกร ลายองครักษ์ ลายเครื่องประดับยศ เป็นต้น ซึ่งลายเหล่านี้มีความเกี่ยวข้องกับจักรพรรดิและตำนาน ซึ่งถือว่าเป็นลายที่สำคัญและเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นเมี่ยน ผ้าเมี่ยนทุกผืนจะต้องมีลายปักทั้ง 3 ลายที่กล่าวมานี้ ไม่ว่าจะเป็นเมี่ยนในพื้นที่ใด
         การใช้สีสันของลวดลายปัก ด้วยการใช้สีเส้นด้ายไม่น้อยกว่า 7 สี ซึ่ง 7 สีหลักของชาวเมี่ยนได้แก่ สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน สีเขียว สีม่วง สีดำ และสีขาว ผ้าปักของชาวเมี่ยนแต่ละผืน เปรียบเสมือนการทำงานเพื่อแสดงความกตัญญูต่อบรรพบุรุษ และเป็นการอนุรักษ์ภูมิปัญญาอันล้ำค่าของชนเผ่าที่ยึดถือสืบต่อกันมา ผ้าปักชาวเมี่ยนบางผืนอาจมีลวดลายมากกว่า 10 ลาย รวมกันอยู่ในหนึ่งผืน และใช้เวลาในการสร้างสรรค์งานปักแต่ละผืนด้วยระยะเวลาเป็นจำนวนปี กว่าจะแล้วเสร็จ ลักษณะลวดลายสะท้อนถึงความเป็นตัวตนของชนเผ่าเมี่ยนที่ชัดเจน เมื่อพบเห็นจะรู้ได้ว่าเป็นผ้าของชาวเมี่ยน ลวดลายเหล่านี้เป็นลวดลายดั้งเดิมที่ได้รับการสืบทอดจากบรรพบุรุษมาหลายร้อยปี โดยลายบังคับที่ต้องมีทุกผืน นอกจากเอกลักษณ์ของผ้าชาวเมี่ยนจะมาจากคติความเชื่อและความภาคภูมิใจในเผ่าพันธุ์ของตนเองแล้ว สตรีชาวเมี่ยนผู้ที่ปักผ้ายังได้ใส่จิตวิญญาณและศิลปะที่ตนเองสร้างสรรค์ลงไปในขณะที่ปักด้วย กล่าวคือ การปักผ้าเมี่ยนนั้นมีแบบแผนที่ชัดเจน ค่อนข้างตายตัวซึ่งมีองค์ประกอบของลายปักดังนี้ (สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน), 2559)
          1. ลายที่แสดงถึงความเป็นเผ่าพันธุ์เมี่ยน แสดงถึงความเป็นเผ่าพันธุ์เมี่ยน นั้นเป็นกฏเกณฑ์ตายตัวที่ผู้ปักทุกคนหรือผ้าเมี่ยนทุกผืนจะต้องปักลงบนผ้า ได้แก่ ลายองครักษ์ ลายเครื่องประดับยศ และลายเทพสุนัขมังกร หรืออุ้งตีนแมว ซึ่งแสดงถึงความเป็นชาติพันธุ์อันทรงเกียรติที่สืบเชื้อสายมาจากจักรพรรดิ โดยในตำนานที่ปรากฏในสาสน์หรือหนังสือที่ใช้หมึกจีนเขียนลงบนผ้าผืนยาวเล่าถึงลูกสาวของพระจักรพรรดิ คือ พระเจ้าผิงหวางที่ต้องแต่งงานกับสุนัข แล้วต้องออกจากเมืองไปหาที่อยู่ใหม่ ในหนังสือดังกล่าวได้เขียนไว้ด้วยว่า ไม่ว่าผู้ที่ถือหนังสือม้วนนี้ จะไปตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ใดก็ตามในอาณาจักรจีน อนุญาตให้อยู่ได้โดยไม่ต้องเสียภาษี เพราะคนเหล่านี้เป็นคนในตระกูลของพระจักรพรรดิ ซึ่งพระเจ้าผิงหวางได้พระราชทานให้เมี่ยน 12 ตระกูล ที่เข้ามาอยู่ในไทย
          2. ลายที่แสดงถึงความเชื่อและวิถีชีวิต แสดงถึงความเชื่อและวิถีชีวิต นั้นก็เช่นเดียวกันกับองค์ประกอบแรก คือ เป็นลายปักบังคับที่ผ้าปักเมี่ยนทุกผืนจะต้องปักลายเหล่านี้ลงไป เป็นลายที่เกี่ยวข้องกับคน สัตว์ พืช ดอกไม้ อุปกรณ์ในการดำเนินชีวิต เช่น ลายฟันเลื่อย ลายข้าวตอก (popcorn) ลายรอยเท้าเสือ ลายดอกฟักทอง เป็นต้น อย่างไรก็ตามลายฟันเลื่อยผ้าปักชาวเมี่ยนทุกผืนจึงมีลายเหยวหรือลายฟันเลื่อยปรากฏอยู่ ซึ่งชาวเมี่ยวเชื่อว่าเป็นลายที่ช่วยป้องกันและกั้นสิ่งที่เป็นอันตราย หรือป้องกันสิ่งไม่ดีไม่ให้เข้ามากล้ำกรายต่อผู้สวมใส่
          3. ลายที่ออกมาจากการสร้างสรรค์ของผู้ปัก แสดงลายปักที่เกิดจากการสร้างสรรค์ขึ้นมาโดยผู้ปัก ซึ่งการสร้างสรรค์นี้ก็ยังอยู่ในกรอบ กล่าวคือ เป็นการนำเอาลายบังคับที่มีอยู่มาร้อยเรียงในรูปแบบต่างๆ หรืออาจจะสร้างลายขึ้นมาใหม่แต่ก็ต้องอยู่ในเรื่องของวิถีชีวิต หรือสิ่งที่ใกล้ตัว เช่น ลายดอกไม้ที่นอกเหนือจากที่มีอยู่ ทั้งนี้เป็นสิ่งที่ออกมาจากความนึกคิด จินตนาการ และวางแผนการปักของผู้ปัก ความละเอียดประณีต การเลือกผ้าสำหรับปัก ถ้าผ้ามีความละเอียดมากเท่าใด การปักก็จะละเอียดและยากเท่านั้น การปักผ้าในองค์ประกอบนี้แสดงให้เห็นถึงความอดทน ความอุตสาหะและอีกหลายๆอย่างของผู้ปัก การเลือกคู่ครองของชาย เมี่ยนจึงมักจะดูแลและตัดสินที่งานปักบนกางเกงที่สตรีนั้นสวมใส่ เพราะเป็นตัวสะท้อนให้เห็นอุปนิสัยได้ ส่วนนี้เองที่ทำให้ผ้าแต่ละผืนจะประกอบไปด้วยลายปักองค์ประกอบที่ 1 และ 2: 70% และองค์ประกอบที่ 3 : 30%

งานปักชาวเมี่ยน
         การปักผ้าเมี่ยนเป็นการปักผ้าที่ปักจากด้านหลัง (ขณะปักผ้าด้านหลังจะอยู่บน ผ้าด้านหน้าจะอยู่ล่าง) เพื่อให้ได้ลายออกมาด้านหน้า คือ เมื่อปักเสร็จแล้วใช้ลายที่ปรากฏในผ้าด้านหน้าโชว์ ซึ่งมีเทคนิคและวิธีปักอยู่ 4 แบบคือ
         1. การปักแบบหญิ่ว เป็นการปักลายเส้น งานปักเมี่ยนบนผืนผ้าทุกชนิด จะต้องมีการปักลายเส้นในส่วนที่เป็นขอบของงานปักผ้า มีวิธีปักคือ ใช้เข็มแทงลงด้านบนของผ้า ลอดเส้นฝ้ายในผ้าไป 4 เส้น จากนั้นแทงเข็มทะแยงข้ามเส้นฝ้ายขึ้นมาด้านบน แล้วดึงปลายเข็มขึ้น จากนั้นปักถอยหลังไป 2 เส้น แล้วทำเหมือนเดิมคือ แทงเข็มลงด้านบนของผ้า แล้วลอดเส้นฝ้ายในผ้าไป 4 เส้น จากนั้นแทงเข็มทแยงข้ามเส้นฝ้ายขึ้นมาด้านบน แล้วดึงปลายเข็มขึ้น จากนั้นปักถอยหลังไป 2 เส้น ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนได้ความยาวตามที่ต้องการ
         2. การปักแบบเจี่ยม (ลายขัด) เป็นการเดินเส้นขึ้นลงตามลวดลายที่กำหนดไปตามแนวขวาง ลวดลายที่ปรากฏเหมือนลวดลายที่ได้จากเทคนิคการจก ในงานทอผ้าเจี่ยมจะใช้ปักส่วนที่เป็นขากางเกง ซึ่งเป็นส่วนที่เริ่มต้นในการปักผ้าเปรียบเสมือนการหัดก้าวเดิน ก้าวสั้นบ้าง ยาวบ้าง การปักลักษณะนี้เป็นการสอนเรื่องการนับ เพราะการปักเทคนิคนี้จะต้องนับช่อง นับเส้น ซึ่งเป็นการเริ่มต้นเรียนรู้ของสตรี ในเรื่องการปักมีวิธีปักคือ แทงเข็มลงบนผ้าด้านบนแล้วสอดเข็มเข้าในช่องว่างระหว่างเส้นฝ้ายในผืนผ้าเหมือนกับการทอผ้าที่พุ่งเส้นนอนลงบนเส้นยืนซึ่งการสอดเข็มลงใต้เส้นฝ้าย จะสอดกี่เส้นและข้ามกี่เส้นขึ้นอยู่กับลาย ซึ่งจะต้องนับให้ถูกต้อง เมื่อปักเสร็จด้านหน้าและด้านหลังจะได้ลายที่แตกต่างกัน ลายปักที่ใช้เทคนิคนี้ได้แก่ ฉ่งเฉ่ ฉ่งโอ่งก้วงและฉ่งเสด เป็นลายที่ปักปลายขากางเกง โดยทั้งสามลายนี้เป็นลายบังคับที่กางเกงเมี่ยนทุกผืน ไม่ว่าจะเป็นเมี่ยนในพื้นที่ใดก็ตาม
         3. การปักแบบทิ่ว (ลายสอง) เมื่อปักเสร็จแล้วจะได้รูปคล้าย เครื่องหมายบวก (+) แต่เป็นการปักสี่เส้นที่แยกจากกันจากจุดเดียว มีวิธีปักคือ แทงเข็มลงบนผ้าด้านบนแล้วสอดเข็มลอดเส้นฝ้ายบนผืนผ้า 2 เส้น ดึงปลายเข็มขึ้น จากนั้นสอดเข็มลอดเส้นฝ้ายอีก 2 เส้น ทำอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตามแนวนอนขณะที่กำลังปักแนวนอน และแนวตั้ง กล่าวคือการปักลายนี้ต้องปักเดินหน้าไปเรื่อยๆ จนมาบรรจบกันเป็นลาย การปักเทคนิคทิ่วนี้ เป็นการปักที่ยากที่สุดจะต้องใช้สมาธิ และการวางแผนที่ดี จึงจะสำเร็จ ดังนั้นลายที่ใช้เทคนิคนี้ปักจึงมักเป้นลายเดี่ยวและใช้สีเดียว เช่น ลายเทพสุนัขมังกร ลายองครักษ์ ลายเครื่องประดับยศ เป็นต้น การปักเทคนิคนี้ ทั้งด้านหน้าและด้านหลังจะได้ลายออกมาเหมือนกันเนื่องจากเทคนิคนี้ เป็นเทคนิคที่ยาก สตรีเมี่ยนรุ่นใหม่จึงทำไม่ค่อยได้ และหันไปใช้เทคนิคดับญัด คือการปักไขว้ซึ่งง่ายกว่าแทน
         4. การปักแบบดับญัด คือ การปักไขว้ เทคนิคการปักแบบนี้เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไปเพราะมีการนำมาปักในงานต่างๆ มากมาย มีวิธีการปักคือ แทงเข็มลงบนผ้าขึ้นลงโดยข้ามเส้นฝ้ายบนผ้าครั้งละ 2 เส้นจะทำให้เส้นไหมที่ปักลงไปออกมาเป็นรูปกากบาท เมื่อปักเสร็จลายด้านหน้าและหลังจะต่างกัน การปักเทคนิคนี้มักจะใช้ปักทั้งลายเดี่ยว เช่น ลายฟันเลื่อย และลายที่มีการผสมผสาน เช่น ลายดอกฝักทอง ซึ่งมักจะใช้หลายสีในการปักเทคนิคนี้ไม่นิยมปักลงในชุดเจ้าสาว เพราะการปักไขว้ถือว่าเป็นการทับและถมกันจะใช้เทคนิคเจี่ยและทิ่วเท่านั้น อีกทั้งไม่นิยมให้ผู้ที่เริ่มหัดใหม่ปักเพราะง่ายแต่จะให้เริ่มหัดในสิ่งที่ยากก่อนโดยเริ่มจากเจี่ยม ทิ่ว แล้วจึงมาดับญัด

บทสรุป
         ผ้าปักชาวเมี่ยนหรือเย้า มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศจีนแถบแม่น้ำแยงซีจีน เรียกขานว่า เย้า ส่วน “เมี่ยน” เป็นชื่อที่ทางราชการตั้งให้หรือบางครั้งจะเรียกว่า “อิ้วเมี่ยน” แปลว่ามนุษย์การอพยพโยกย้ายของเผ่าเมี่ยน 12 สกุล ลงมาทางใต้ประมาณศตวรรษที่ 15-16 เข้าสู่เวียดนามผ่านลาวและเข้ามาทางตอนเหนือของประเทศไทย จากการอพยพได้นำภูมิปัญญาการปักผ้าเข้ามาแต่เมื่ออพยพเข้ามาอยู่ในประเทศไทย แล้วได้ค้นพบว่า ผ้าทอมือของไทลื้อที่มีถิ่นฐานอยู่ในประเทศพม่าและไทยเหมาะสำหรับการปักลวดลายจึงได้ซื้อผ้าทอมือของไทลื้อมาย้อมและปักลายจนกลายเป็นความนิยมของชาวเมี่ยน องค์ประกอบของการปักผ้าของชาวเมี่ยนนั้นมีแบบแผนที่ชัดเจน ค่อนข้างตายตัว 3 แบบ คือ
         1. ลายที่แสดงถึงความเป็นเผ่าพันธุ์เมี่ยน
         2. ลายที่แสดงถึงความเชื่อและวิถีชีวิต
         3. ลายที่ออกมาจากการสร้างสรรค์ของผู้ปัก ดังนั้น ทำให้ลายผ้ามีเอกลักษณ์เฉพาะ และถูกสืบทอดจากรุ่นสู่รุ่นต่อไปอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ : ผ้าปัก

ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=ผ้าปักชาวเมี่ยน_จังหวัดกำแพงเพชร

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ผ้าปักชาวเมี่ยน จังหวัดกำแพงเพชร. สืบค้น 25 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2121&code_db=610007&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2121&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

ลายดอกกุหลาบ

ลายดอกกุหลาบ

หัตกรรมเครื่องเงิน อันประกอบด้วย ชุมชนบ้านคลองเตย ปัจจุบันมีชุมชนบ้านคลองเตยเป็นศูนย์กลางชุมชน เทคนิค เคล็ดลับในการผลิตชิ้นงานขึ้นอยู่กับทักษะฝีมือ เทคนิคที่ได้รับการถ่ายทอดความคิดสร้างสรรค์ ความชำนาญของช่างภูมิปัญญาชาวบ้านของแต่ละคน ในการสร้างสรรค์งานแต่ละชิ้นอย่างมีความประณีต ทรงคุณค่า แตกต่างกันออกไป งานแต่ละชิ้นจะไม่เหมือนกัน แม้แต่ช่างคนเดียวกัน สืบทอดมรดกภูมิปัญญาชาวบ้านหัตถกรรมเครื่องเงินจากบรรพบุรุษมากกว่า 200 ปี ดังเป็นที่ประจักษ์ของคนในชุมชนท้องถิ่น เป็นงานฝีมือละเอียด ประณีต รวดลายแบบโบราณดั้งเดิม เลียนแบบจากธรรมชาติสิ่งที่อยู่รอบตัว หรือสิ่งของที่ใช้ทำมาหากินในชีวิตประจำวัน และเนื้อเงินแท้ไม่ต่ำกว่า 98 เปอร์เซ็นต์

เผยแพร่เมื่อ 02-02-2017 ผู้เช้าชม 649

ห้อยกระดิ่งเงิน

ห้อยกระดิ่งเงิน

ชาวเขาเผ่าเย้า หรือเมี้ยน ที่เราไปสัมภาษณ์การทำเครื่องเงินเพื่อประดับชุดผู้หญิงของเขาอยู่ที่บ้านเขาน้อย หมู่ที่ 1 ตำบลคลองลานพัฒนา อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งนิยมสร้างบ้านบริเวณที่ลาดชันตามไหล่เขา ผู้หญิงชาวเย้า จะแต่งตัวด้วย เครื่องเงินที่งดงามมาก มีน้ำหนักหลายกิโลกรัม แต่ละชุดจะมีมูลค่าของเครื่องเงินนับแสนบาท จึงทำให้ชายชาวเขา เป็นช่างที่ทำเครื่องเงินได้งดงามมากและหลากหลายรูปแบบมาก 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 837

จักสานยางพารา

จักสานยางพารา

เริ่มต้นจากตอนที่ป้าดำได้ไปช่วยงานพี่สาวที่ทุ่งโพธิ์ทะเล แล้วไปเห็นคนที่นั่น กำลังสานตะกร้ายางพาราอยู่เลยเกิดความสนใจ จึงเรียนรู้ จากการได้ศึกษาจากบ้านทุ่งโพธิ์ทะเลแล้วประมาณ 5-6 วัน ได้ขอซื้อโครงจักสานมา กลับมาลองฝึกเองที่บ้าน พอสานเป็นก็เริ่มหาซื้อโครงมากขึ้น และเริ่มสอนในหมู่บ้านโดยการสอนไม่คิดค่าใช้จ่าย และเมื่อปี พ.ศ.2552 ได้มีองค์การบริหารส่วนตำบลมาลงพื้นที่ จึงได้ให้ป้าดำเป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจักสานยางพาราขึ้นมา เพื่อสอนให้คนในชุมชนมีอาชีพ

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 841

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร

เครื่องเงินชาวเขาในอำเภอคลองลานจังหวัดกำแพงเพชร ปัจจุบันมีผู้ผลิตอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตเครื่องเงินชาวเขานั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ชนเผ่าหลักๆ ได้แก่ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) และกลุ่มชนเผ่าม้ง ซึ่งทั้งสองกลุ่มชนเผ่านี้ มีประวัติความเป็นมาเกี่ยวกับการเริ่มต้นทำเครื่องเงินชาวเขาที่แตกต่างกัน คือ กลุ่มชนเผ่าเมี่ยน (เย้า) เป็นช่างผลิตเครื่องเงินขาวเขากลุ่มแรกที่มีวิธีการผลิตสืบทอดงานฝีมือมาจากบรรพบุรุษ สำหรับกลุ่มชนเผ่าม้งนั้น เริ่มต้นทำเครื่องเงินจากการไปฝึกทักษะวิชาชีพที่จังหวัดสุโขทัย เนื่องจากที่นั่นได้ขึ้นชื่อเรื่องวิธีการผลิตเครื่องเงินชาวเขาเผ่าม้งและเมื่อหลังจากที่ชนเผ่าม้งได้เรียนรู้วิธีการผลิตเครื่องเงินแล้ว ก็ได้นำความรู้นั้นมาใช้เป็นการประกอบอาชีพ ณ ถิ่นฐานบ้านเกิดของตน

เผยแพร่เมื่อ 13-06-2022 ผู้เช้าชม 1,082

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วน

เริ่มต้นจากการต่อตั้งศูนย์วิสาหกิจชุมชน สวนเกษตรพืชผักปลอดภัย หมู่ 28 บ้านคลองด้วนเริ่มจดทะเบียนเป็นวิสาหกิจชุมชน มา 3 ปีแล้ว โดยร่วมกันปลูกผักและสมุนไพรเข้าร่วมโครงการปลูกป่ากับบ้านนาโคก มีการปลูกป่า 10 ไร่ เพื่อทำเป็นแปลงสมุนไพรและผู้นำกลุ่มได้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเรียนแพทย์แผนไทยเอาความรู้ที่ได้มาส่งเสริมกลุ่มสมุนไพร มีแปลงสาธิตสมุนไพร 200 ชนิด

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,286

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ

ทอลวดลายโดยแทรกวัสดุอื่นประกอบ เช่น ลูกเดือยหรือใช้พู่หรือกระจุกด้ายซึ่งเป็นการทอของกะเหรี่ยงโปว์และสะกอในบางหมู่บ้านแถบแม่ฮ่องสอน ใช้ประกอบในชุดของหญิงสาว และชุดเด็กหญิงเท่านั้น

เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 676

น้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู

น้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู

มีการก่อตั้งกลุ่มขึ้นมาเป็นกลุ่มของพลังงานกลุ่มหนึ่งจะมีสมาชิกอยู่ประมาณ 20-30 คนแต่จะแบ่งแยกการศึกษาตามฐานเรียนรู้หลายฐานโดยจะมีฐานผลิตน้ำส้มควันไม้ เตาเผาถ่าน เตาพลังงาน เตาเศรษฐกิจ เตาย่างไร้ควัน น้ำหมักรกหมู

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 962

ถุงย้ามลายกาบาท

ถุงย้ามลายกาบาท

ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 769

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,040

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง

ภูมิปัญญาการแต่งกาย : ม้ง

ม้ง หมายถึง อิสระชน เดิมอาศัยอยู่ในประเทศจีน ต่อมาชาวจีนเข้ามาปราบปราม เป็นเหตุให้อพยพลงมาถึงตอนใต้ของจีน และเขตอินโดจีน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 และตอนเหนือของประเทศไทย ประมาณพ.ศ. 2400 โดยมีสองกลุ่มได้แก่ ม้งน้ำเงินและม้งขาว ไม่ชอบให้เรียกว่าแม้ว โดยถือว่าเป็นการดูถูกเหยียดหยาม ประชากรของม้งในประเทศไทย มีมากเป็นอันดับ 2 รองจากกะเหรี่ยง ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามภูเขาสูง หรือที่ราบเชิงเขาในเขตพื้นที่จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน แพร่ ลำปาง กำแพงเพชร เลย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย และตาก

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 5,272