ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้ชม 925

[16.121008, 99.3294759, ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)]

การทอผ้าของกะเหรี่ยง มี 2 ชนิด
        1. การทอธรรมดาหรือทอลายขัด
คือการสอดด้ายขวางเข้าไประหว่างด้ายยืน ซึ่งแยกสลับกันขึ้น 1 ลง 1 หรือขึ้น 2 ลง 2 ตามจำนวนเส้นด้ายที่เรียงเมื่อขึ้นเครื่องทอ ผ้าที่ได้เนื้อผ้าจะเรียบ สมํ่าเสมอ และเป็นสีเดียวกันตลอดผืน ใช้สำหรับเย็บชุดเด็กหญิงกะเหรี่ยงสะกอ และเย็บกางเกงผู้ชายเท่านั้น โดยปกติด้ายยืน และด้ายขวางที่ใช้ในการทอแบบธรรมดาจะมีจำนวนเท่ากัน ยกเว้นกรณีที่ใช้ด้ายต่างชนิดกัน เช่น ด้ายยืนเป็นด้ายสำเร็จรูปซึ่งเส้นเล็ก และด้ายขวางพื้นเมือง มีขนาดเส้นใหญ่ ต้องใช้ด้านยืนจำนวนมากกว่าด้ายขวาง
        2. การทอเป็นลวดลาย
ผ้า ที่กะเหรี่ยงทอใช้ส่วนใหญ่จะมีลวดลายประกอบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการใช้ ประโยชน์และความนิยม เช่น ชุดหญิงสาวสะกอจะมีลายขวางบริเวณเหนืออก ผ้าถุงของหญิงแต่งงานแล้วจะทอลวดลายบริเวณไหล่อย่างสวยงาม เป็นต้น การทอเป็นลวดลายจะเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้หญิงโปมากกว่าผู้หญิงสะกอ

การกรอด้ายขวาง
        ด้ายขวาง คือ ด้ายที่สอดเข้าไประหว่างด้ายยืนปกติแล้ว การทอผ้าของคนพื้นราบจะกรอใส่หลอดด้าย และติดกระสวย นำสอดผ่านเข้าไประหว่างด้ายยืน แต่การทอของกะเหรี่ยงไม่มีกระสวย จึงต้องใช้ด้ายพันไม้ขนาดยาวประมาณ 1 ฟุต เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1 เซนติเมตร โดยมือซ้ายจับปลายไม้ด้านหนึ่งวางทาบกับหน้าขาขวา ใช้มือขวาปั่นฝ้ายเข้าหาตัวโดยให้ด้ายผ่านเข้ามาระหว่างนิ้วชี้กับนิ้วกลาง ของมือซ้าย ทำเช่นนี้จนด้ายในไม้มีมากพอควรแล้ว จึงกรอใส่ไม้อันใหม่ วิธีกรอด้ายแบบนี้กะเหรี่ยงเรียกว่า " ทูลื่อ"

คำสำคัญ : ผ้าปัก การทอผ้า

ที่มา : http://www.otoptoday.com/wisdom/กลุ่มทอผ้ากะเหรี่ยงบ้านแม่ออกผารู

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า). สืบค้น 12 ธันวาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=495&code_db=610007&code_type=05

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=495&code_db=610007&code_type=05

Google search

Mic

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

การแต่งกายของชนเผ่ามละ

มาลาบรี (มละ) หรือ ผีตองเหลือง ชนกลุ่มนี้เรียก ตัวเองว่า “คนป่า” หรือ “มลาบรี” ไม่ชอบถูกเรียกว่า “ผีตองเหลือง” แต่ที่ผู้คนในที่ราบ คุ้นเคยกับคำว่า “ผีตองเหลือง” อาจเนื่องมาจากคนป่ากลุ่มนี้ มักชอบหายตัวไปอย่างว่องไว เมื่อเผชิญกับคนแปลกหน้าจะทิ้งไว้เพียงเพิงพัก ซึ่งมุงด้วยใบตองกล้วยป่าที่ผ่านการใช้งานมาหลายวัน จนใบตองเปลี่ยนจากสีเขียว จนเป็นสีเหลือง มลาบรีเป็นกลุ่มชาติพันธุ์มองโกลอยด์ดั้งเดิม 

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 2,022

การบูรฟักทอง

การบูรฟักทอง

เริ่มมาจากมีการก่อตั้งกลุ่มรวมใจเพชรน้ำหนึ่ง ที่เกิดจากการที่ป้าบังอรได้ไปสอนให้กับนักศึกษาการศึกษานอกระบบ เพื่อฝึกให้เป็นอาชีพเสริม

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,016

ถุงย้ามลายกาบาท

ถุงย้ามลายกาบาท

ชาวกะเหรี่ยง เรียกตนเองว่า “ปกาเกอะญอ” ซึ่งแปลว่า “คน” เป็นชนเผ่าที่มีจำนวนมากที่สุด ในประเทศไทย แบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ สะกอ หรือยางขาว หรือ ปากฺกะญอ เป็นกลุ่มที่มีประชากรมากที่สุด โป หรือ โพล่ อยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ และลำพูน ปะโอ หรือ ตองสู และบะเว หรือ คะยา ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน ถิ่นฐานเดิมของกะเหรี่ยงอยู่บริเวณมองโกเลีย เมื่อกว่า 2,000 ปี มาแล้ว 

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 884

กลุ่มเครื่องเงินชาวเขา

กลุ่มเครื่องเงินชาวเขา

ศูนย์หัตถกรรมชาวเขาคลองลานตั้งอยู่หมู่บ้านบ้านคลองลาน ตำบลคลองลานพัฒนา บริเวณปากทางเข้าอุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองลานห่างจากตัวจังหวัดกำแพงเพชร 55 กิโลเมตร ศูนย์นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ชาวเขาเผ่าต่างๆ อันได้แก่เผ่าม้ง เย้า ลีซอ มูเซอและกะเหรี่ยง ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตอำเภอคลองลานและอำเภอคลองขลุง มีรายได้และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตลอดจนเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่แหล่งท่องเที่ยวในเขตอำเภอคลองลาน โดยนำสินค้าของที่ระลึกและผลิตภัณฑ์ของแต่ละเผ่ามาจำหน่ายเช่น เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของชาวเขา เครื่องประดับประเภทต่างๆ ที่ทำจากเงิน มีการสาธิตการทำเครื่องประดับจากเงินให้นักท่องเที่ยวได้ชมด้วยศูนย์นี้อยู่ภายใต้การดูแลของศูนย์พัฒนาและสงเคราะห์ชาวเขาจังหวัดกำแพงเพชร

เผยแพร่เมื่อ 16-08-2020 ผู้เช้าชม 1,043

เครื่องเงินชาวเขา

เครื่องเงินชาวเขา

จุดเด่นอำเภอคลองลานอยู่ที่ชาวเขาหลายเผ่าพันธุ์โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเครื่องเงิน ซึ่งชาวไทยภูเขา มีความสามารถพิเศษในการทำเครื่องเงิน อำเภอคลองลาน หมู่บ้านชาวเขาในเขตอำเภอคลองลาน เป็นแหล่งผลิตเครื่องเงินที่มีชื่อเสียงมากทั้งด้าน คุณภาพและฝีมือที่ประณีตสวยงาม มีคุณค่าทางศิลปะวิธีทำเครื่องเงิน ชาวเขาจะผลิตในสถานที่จำหน่าย ให้ผู้ซื้อได้เห็นวิธีการผลิตอย่างชัดเจน โดยผลิตเครื่องใช้และเครื่องประดับที่ทำจากเงินทุกชนิด มีรูปแบบและลวดลายต่างๆ เช่น กระเป๋า เข็มขัด สร้อยคอ สร้อยข้อมือ กำไล ต่างหู เครื่องเงิน พวกเครื่องประดับเงิน บางคนมีเก็บสะสมมากก็นำมาแต่งกันเต็มที่ บ่งบอกถึงฐานะ และความมั่งคั่งของเขา

เผยแพร่เมื่อ 27-04-2020 ผู้เช้าชม 2,930

สร้อยคอชาวม้ง เย้า

สร้อยคอชาวม้ง เย้า

ศูนย์นี้จะจำหน่ายเครื่องเงินฝีมือชาวเขาเผ่าเย้า เช่น สร้อยคอ ต่างหู สร้อยข้อมือ กำไล แหวน หากสนใจจะชมวิธีการทำและซื้อเป็นของฝาก เป็นแหล่งศูนย์กลางข้อมูลการท่องเที่ยวชาวเขา และรวบรวมวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวเขา จำนวน 6 เผ่า คือ ม้ง เย้า มูเซอ ลีซอ กะเหรี่ยง และลัวะ และมีบ้านพักไว้บริการให้กับนักท่องเที่ยว โดยได้จำลองบ้านของชาวเขาเข้าอยู่ในศูนย์วัฒนธรรมชาวเขาหมู่บ้าน ตลอดทั้งมีพื้นที่กางเต็นท์และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ จัดให้มีการแสดงของเยาวชนเผ่าม้ง เย้า และลีซอ ไว้ให้กับนักท่องเที่ยว ชมวิถีชีวิตของชาวเขาเผ่าต่างๆ และมีสินค้าหัตถกรรมผ้าปักเครื่องเงิน ของชาวเขาจำหน่าย เป็นของที่ระลึกให้กับนักท่องเที่ยว

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 3,468

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ทีลูคะ (ลายบอกนํ้าเต้า)

ลักษณะการวางลายเสื้อผู้หญิง สะกอจะปักตกแต่งบริเวณชายเสื้อ ด้านล่างการผสมผสานลาย มักใช้ลายลูกเดือยเป็นแนวกำหนดก่อน เพื่อให้ได้ช่องว่างที่จะเป็นแนวปักลวดลายชัดขึ้นจากนั้นจึงปักลงไป

เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 925

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

ในครั้งนี้ กองศิลปาชีพ สำนักราชเลขาธิการ ในพระองค์สมเด็จพระบรมราชินีนาถ ได้นำส่งเงินค่าผลิตภัณฑ์ผ้าปักชาวเขาแก่สมาชิกศิลปาชีพ จำนวน 356 คน รวมเป็นเงิน 1,828,550.-บาท (หนึ่งล้านแปดแสนสองหมื่นแปดพันห้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน) ซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวสมาชิกได้ในระดับหนึ่ง ตามพระราชเสาวนีย์ของสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,170

ลายดอกไม้

ลายดอกไม้

เครื่องเงิน จัดเป็นของฝากที่ขึ้นชื่อ  โดยฝีมือชาวเขาเผ่าเมี่ยน (เย้า) และม้ง(แม้ว) ส่วนมากทำเป็นเครื่องประดับ เช่น กำไล สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ตุ้มหู แหวน ฯลฯ ซึ่งได้ริเริ่มทำเป็นอาชีพเงิน เป็นเครื่องประดับอีกประเภทหนึ่งที่ก้าวผ่านยุคสมัยและมีการถ่ายทอด ภูมิปัญญาการทำเครื่องเงิน จากรุ่นสู่รุ่น ลวดลายเก่าแก่โบราณยังคงถูกรักษาไว้ได้อย่างดีจากงาน หัตกรรมที่ต้องใช้ความ อดทนและฝีมือควบคู่กัน ในเมืองไทยความพิเศษที่ทำให้เครื่องเงินเมืองน่านไม่เหมือนที่อื่น คือ เครื่องเงินของเมืองน่าน จะ “ผสมเม็ดเงินมากเป็นพิเศษ” เมื่อเสร็จออกมาจะเป็นเครื่องประดับที่ไม่แข็งเกินไป

เผยแพร่เมื่อ 25-02-2017 ผู้เช้าชม 1,146

ลายลงยา

ลายลงยา

แร่เงินเป็นแร่ยุคโบราณอยู่ควบคู่กับมนุษย์มาหลายยุคหลายสมัย ในอดีตแร่ที่มีความสำคัญเป็นอันดับหนึ่งคือ แร่ทอง เพราะเป็นเครื่องหมายของความสมบูรณ์ ร่ำรวย ทำให้สัญลักษณ์ของทองคือรูปวงกลม เพราะวงกลมจะไม่มีรอยต่อเป็นเส้นเดียวไม่มีเริ่มต้น ไม่มีสิ้นสุดจึงหมายถึงความสมบูรณ์ ส่วนแร่เงินถึงแม้จะเป็นรองแร่ทองแต่ในยุคก่อนประวัติศาสตร์ก็ได้ให้ความสำคัญกับแร่เงินพอๆ กัน โดยมีสัญลักษณ์คือรูปครึ่งวงกลมหรือรูปพระจันทร์เสี้ยว มนุษย์ได้ใช้แร่เงินเป็นเครื่องประดับตกแต่งและเป็นเครื่องใช้ต่างๆมานานแล้ว แร่เงินจึงถือว่าเป็นโลหะที่มีค่าเป็นอันดับสองรองจากทองคำ

เผยแพร่เมื่อ 19-02-2017 ผู้เช้าชม 742