มะปรางลอยแก้ว
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้ชม 3,289
[16.4715218, 99.5280957, มะปรางลอยแก้ว]
มะปรางลอยแก้ว เป็นขนมหวาน ที่รับประทานยามว่าง หรือปรุงเพื่อนำไปถวายพระในเทศกาลสำคัญ เนื่องจากปรุงง่าย และวัสดุก็หาได้ง่ายในท้องถิ่น เริ่มจากการเตรียมเก็บมะปราง เลือกมะปรางลูกโตๆ เนื้อหนาๆ หรือหากชอบรสเปรี้ยวอมหวาน อาจใช้มะยงชิดก็ได้ ฝานมะปรางเป็นแผ่นบางๆ หรือบางบ้านคว้านเอาเมล็ดข้างในออก แล้วเก็บเข้าตู้เย็นไว้ ตั้งน้ำสะอาดจนเดือด ใช้ไฟแรง พอเดือดใส่น้ำตาลทรายต้มจนเป็นน้ำเชื่อม พอเดือดใส่ใบเตยหอมที่หั่นไว้เป็นท่อนๆ เพื่อแต่งกลิ่น สำหรับรสให้แต่งได้ตามที่ต้องการ โดยใส่น้ำตาลทรายและกลิ่นป่น ปล่อยน้ำเชื่อมทิ้งไว้ให้เย็น เวลาจะรับประทานจึงตักน้ำเชื่อมใส่ แล้วโรยด้วยน้ำแข็งทุบละเอียด
ส่วนประกอบ
1. มะปราง
2. ใบเตย
3. น้ำตาลทราย
4. เกลือป่น
5. น้ำเปล่า
วิธีทำ
1. ล้างมะปรางให้สะอาด ปลอกเปลือกออก
2. จากนั้นฝานเป็นแผ่นบางๆ ตามรูป เสร็จแล้วเก็บไว้ในตู้เย็นได้เลย เวลาตักมากินจะได้เย็นๆ
3. ทำน้ำเชื่อมกันต่อเลย ตั้งน้ำให้เดือด
4. พอเดือดใส่ใบเตยหั่นท่อน ลงไป ต้มสักพักให้หอมกลิ่นใบเตย
5. จากนั้นใส่น้ำตาลทรายเลยค่ะ ต้มต่อใช้ไฟแรง
6. ชิมดูเอาให้หวานกว่าเวลาที่เราเคยกินขนมหวานนิดหน่อย เพราะเวลาทานจริงต้องใส่น้ำแข็งเพิ่มอีกจะได้ไม่จืด
7. น้ำเชื่อมที่เสร็จแล้ว ต้องปล่อยให้เย็นก่อนนะค่ะ
8. ตักเสิร์ฟใส่น้ำแข็งใส่มะปราง โรยเกลือป่นเล็กน้อยที่มะปราง จากนั้น ราดน้ำเชื่อมได้เลย
ภาพโดย : http://www.ohomylife.com/health/food-14.php
คำสำคัญ : มะปรางลอยแก้ว
ที่มา : http://www.ohomylife.com/health/food-14.php
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). มะปรางลอยแก้ว. สืบค้น 16 ตุลาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=593&code_db=610008&code_type=01
Google search
เริ่มต้นจากสมัยกรุงศรีอยุธยา ได้มีการเจริญสัมพันธไมตรีกับชาวต่างชาติ อย่างกลุ่มทวีปทางตะวันออกและตะวันตก ทำให้ประเทศไทยได้รับวัฒนธรรมในด้านต่างๆ เข้ามา สิ่งหนึ่งที่ได้รับมานั่นคือ ขนมและของหวาน รวมทั้ง “ทองม้วน” เมื่อรับเอามาแล้วจึงนำมาดัดแปลง เพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนธรรม การดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ วัตถุดิบ ข้าวของเครื่องใช้ เอกลักษณ์ รสนิยม และอุปนิสัยในการบริโภคอาหารของประเทศไทยเราเอง และคนสมัยก่อนส่วนใหญ่จะทำขนมชนิดนี้ใส่โหลแก้วหรือปี๊บเก็บไว้ในบ้านสำหรับต้อนรับลูกหลาน ญาติรวมทั้งผู้ที่ไปมาหาสู่ การก่อตั้งกลุ่มรวมกลุ่มแม่บ้านที่ว่างงาน รวมกลุ่มกันทำขนมทองม้วน ได้จัดตั้งชื่อกลุ่มว่ากลุ่มอาชีพแม่บ้านโนนใน ภายใต้ผลิตภัณฑ์ที่ชื่อว่าเอื้องนาค
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้เช้าชม 9,383
แกงหน่อไม้บางคนก็เรียก “แกงลาว” หรือ “แกงเปรอะ” มีใบย่างนางเป็นส่วนประกอบหลัก ใบย่านางจะช่วยเรื่องแก้ความขื่นและขมของหน่อไม้ได้เป็นอย่างดีนับว่าเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่เอาทั้ง 2 อย่างมารวมกัน ใบย่านางเป็นพืชหาง่าย คุณสมบัติเป็นสมุนไพร นิยมคั้นเอาน้ำจากใบมาทำเป็นอาหาร มากกว่ารับประทานใบสด จังหวัดกำแพงเพชรมีประชาชนย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสานเป็นจำนวนมาก และได้นำเอาอาหารท้องถิ่นอย่างแกงหน่อหรือแกงลาว มายังพื้นที่กำแพงเพชรด้วย นอกจากนั้นแล้วแกงหน่อไม้เป็นที่นิยมของชุมชนบ้านหนองกองพัฒนา ตำบลนาบ่อคำ อำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากหมู่บ้าน มีการปลูกหน่อไม้เลี้ยงค่อนข้างมากแกงหน่อไม้จึงเป็นที่นิยมเพราะหากินได้ง่ายมาก
เผยแพร่เมื่อ 06-06-2022 ผู้เช้าชม 2,440
เป็นขนมพื้นบ้านชนิดหนึ่งพบทำขายในตลาดสดและเพิงอาหารริมทาง ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า แป้งมัน แป้งสาลี ไข่ไก่ งาดำ งาขาว น้ำตาลทราย เกลือป่น น้ำมันพืช น้ำปูนใส เริ่มจากผสมแป้งทั้งหมดเข้าด้วยกัน ตั้งไฟให้ร้อน ใช้ไฟปานกลาง ยกพิมพ์ขึ้นซับกับกระดาษซับน้ำมัน แล้วจุ่มลงในแป้งที่เตรียมไว้ ให้แป้งติดพิมพ์ แล้วนำลงไปจุ่มในน้ำมันทอด พอแป้งอยู่ตัวแล้วสะบัดให้แป้งหลุดจากพิมพ์ หากแป้งไม่หลุดให้หาไม้หรือมีดปลายแหลมค่อยๆ เขี่ยออก อย่าให้แป้งแตกออกจะไม่สวย ทอดจนเหลือง แล้วจึงตักขึ้นให้สะเด็ดน้ำมัน ปล่อยทิ้งไว้ให้เย็น แล้วจึงเก็บขนมใส่ภาชนะที่มีฝาปิดสนิท
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 5,004
ความพิเศษไม่เหมือนใครของเฉาก๊วยชากังราวคือเนื้อเฉาก๊วยที่นุ่มหนึบ ไม่ได้เหนียวจนเกินไป แต่ก็ไม่ได้ขาดง่าย ชนิดที่หาจากเฉาก๊วยเจ้าอื่นไม่ได้ เฉาก๊วยชากังราวเลือกใช้ต้นเฉาก๊วย 3 สายพันธุ์จาก 3 ประเทศมารวมกัน แม้ในวันนี้จะมีการปลูกต้นเฉาก๊วยอย่างแพร่หลายในประเทศไทย แต่สูตรลับความนุ่มหนึบของเฉาก๊วยชากังราวนั้นเป็นการรวมกันของต้นเฉาก๊วยจากเวียดนามที่โดดเด่นในเรื่องของความหวาน ต้นเฉาก๊วยอินโดนีเซียที่มีความนุ่มหนึบ และต้นเฉาก๊วยจีนที่มีรสชาติหวานหอมกลมกล่อม โดยต้นเฉาก๊วยจาก 3 ประเทศนี้จะปลูกในที่สูงและอากาศเย็น ทำให้เป็นต้นเฉาก๊วยที่มีคุณภาพดีกว่าต้นเฉาก๊วยที่ปลูกในประเทศไทย
เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 3,541
กล้วยน้ำว้าของเมืองกำแพงเพชร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกกล้วย โดยเฉพาะกล้วยน้ำว้ามีจำนวนมากมายสามารถที่จะให้ผลผลิตได้ตลอดทั้งปี ด้วยเหตุนี้เอง ก่อให้เกิดแนวคิดสร้างผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำว้าแปรรูปเพื่อนำออกขาย เช่น กล้วยอบ กล้วยอบกรอบ กล้วยม้วนนิ่ม นอกเหนือจากขายกล้วยสด หรือกล้วยตากเท่านั้นหนึ่งในสินค้า กล้วยน้ำว้า แปรรูปที่ว่านั้นก็ได้แก่กล้วยกวน ซึ่งกรรมวิธีค่อนข้างจะง่าย แต่ก็ต้องใช้เวลาและพละกำลังกันพอสมควร กล่าวคือเมื่อได้เนื้อกล้วยที่จำเป็นจะต้องสุกงอม เพื่อความสะดวกในการกวนแล้ว จะต้องนำมาบดอัดก่อนใส่กระทะกวนด้วยไฟร้อนๆ
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 4,203
ข้าวหลาม เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร
เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 5,026
ขนมเปี๊ยะเป็นขนมที่มักใช้ประกอบในเทศกาลขนมไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ซึ่งความหมายของขนมเปี๊ยะในเทศกาลนี้คือ เป็นขนมแห่งความศิริมงคล สื่อถึงความปรารถนาดีระหว่างผู้รับกับผู้ให้ พร้อมทั้งยังเป็นขนมที่แสดงถึงความสามัคคีกัน เพราะเทศกาลไหว้พระจันทร์ ชาวจีนส่วนใหญ่มักอยู่พร้อมหน้ากันทั้งครอบครัว เพื่อชมพระจันทร์พร้อมทั้งกินขนมเปี๊ยะไปด้วย ปัจจุบันขนมเปี๊ยะในประเทศไทยนั้นมีหลากหลายขนาดละหลากหลายรสชาติตามแต่สูตรเฉพาะของแต่ละพื้นที่บ้างก็เป็นขนมเปี๊ยะแบบดั้งเดิมที่มีขนาดใหญ่ไส้ถั่ว ไส้เค็มและไส้ฟักหวาน แต่ก็มีขนมเปี๊ยะอีกชนิดหนึ่งนั้นคือขนมเปี๊ยะลูกเล็กที่ได้รับความนิยิมไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเนื่องจากมีขนาดที่เหมาะพอดีคำและยังสามารถบริโภคได้หลากหลายไส้ในครั้งเดียว
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้เช้าชม 3,062
ขนมตะโก้มีแบบหลากหลายไส้ให้เลือกกิน ทั้งตะโก้เผือก ตะโก้แห้ว ตะโก้ข้าวโพด หรือจะเป็นตะโก้สาคู ถ้วยเล็ก ๆ หยิบจับใส่ปากคำเดียว แต่คนสมัยใหม่ไม่ค่อยนิยมรับประทานกันจึงทำให้หาทานอยากคนส่วนใหญ่มักจะนิยมซื้อมาใส่บาตรทำบุญกัน
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 6,214
ห่อหมกหัวปลี ส่วนผสมประกอบด้วย แป้งข้าวเจ้า หัวกะทิ น้ำปลาดีเพื่อปรุงรส พริกแกงเผ็ด ไข่ไก่ เนื้อปลาช่อนหรือเนื้อกบ ใบมะกรูดซอยฝอย ใบยอ และหัวปลี โดยหัวปลีควรล้างน้ำเกลือสัก 2-3 น้ำเพื่อให้รสขื่นๆ หายไป สำหรับวิธีทำเริ่มจาก การคลุกส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากัน สำหรับการห่อ ใช้ใบตองสด การห่อเหมือนกับการห่อหมกทั่วไป รองด้วยผัก อาทิ ใบยอ ผักกาดขาว ใบโหระพา ตามด้วยส่วนผสมที่เตรียมไว้ เสร็จแล้วนำไปนึ่งในน้ำเดือด นานประมาณ 5-10 นาที
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 1,632
ขนมกล้วยเป็นขนมไทยห่อใบตองอีกชนิดที่คนไทยนิยมกิน พบเจอและหาซื้อง่าย ความอร่อยไม่เป็นสองรองข้าวต้มมัด และมักจะวางขายอยู่คู่กับขนมฟักทอง วิธีทำขนมกล้วยให้อร่อยจะต้องเนื้อเหนียว รสชาติหวานกำลังดี และหอมกลิ่นกล้วย
เผยแพร่เมื่อ 17-03-2017 ผู้เช้าชม 6,161