กล้วยกวนลานดอกไม้
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้ชม 1,479
[16.6272885, 99.3609305, กล้วยกวนลานดอกไม้]
บทนำ
กล้วยกวนเป็นผลไม้แปรรูปชนิดหนึ่งที่นำกล้วยมาแปรรูปเพื่อคงสภาพกล้วยไม่ให้เกิดเน่าเสียและสามารถเก็บไว้ได้นาน กล้วยกวนลานดอกไม้เป็นกล้วยกวนแปรรูปของกำแพงเพชร โดยเริ่มจากนางสาวรุ่งนภา ไหววิจิตร ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ที่ได้อบรมกับสมาชิกและองค์การบริหารส่วนตำบล เพื่อคิดค้นทำผลิตภัณฑ์กล้วยกวน จนได้รับเป็นสินค้า OTOP 5 ดาว ของกำแพงเพชร บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา 1) ประวัติความเป็นมาของกล้วย 2) ลักษณะและรสชาติของกล้วยกวน 3) วัสดุผลิตภัณฑ์ 4) กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน 5) รางวัลและเกียรติบัตรที่ได้รับ
ประวัติความเป็นมาของกล้วย
กล้วยเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีผู้คนนิยมปลูกตามบ้านและบริโภคมากที่สุด มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบมากที่สุดในประเทศอินเดีย มีหมอของกรุงโรมมีนามว่า แอนโตนิอุส มูซา ได้นำหน่อกล้วยจากประเทศอินเดียมาปลูกในอียิปต์เมื่อประมาณ 2,000 ปี จนมีการแพร่ขยายพันธุ์ไปในดินแดนแอฟริกาและชาวอาหรับ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 พ่อค้าชาวโปรตุเกสได้เดินเรือไปยังทวีปแอฟริกาและได้นำกล้วยไปขายตามหมู่เกาะคะแนรี ซึ่งตั้งอยู่นอกชายฝั่งตะวันตกเฉียงเหนือของทวีป หลังจากนั้น ชาวสเปนจึงได้นำกล้วยจากหมู่เกาะคะแนรีเข้าไปปลูกในหมู่เกาะอินดีสตะวันตกในอเมริกากลาง ส่งผลให้ดินแดนในอเมริกากลางมีการปลูกกล้วยเป็นพืชเศรษฐกิจกันอย่างแพร่หลาย และนับตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา ได้กลายเป็นแหล่งปลูกกล้วยส่งเป็นสินค้าออกมากที่สุดของโลก (มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ, ม.ป.ป.) แสดงให้เห็นว่ากล้วยมีต้นกำเนิดจากประเทศอินเดีย และได้มีพ่อค้าได้นำกล้วยไปเร่ขายตามพื้นที่ต่างๆจนเกิดได้รับความนิยมของชาวอาหรับ มีการนำกล้วยไปประกอบอาหารจนเป็นที่เลื่องชื่อ ต่อมามีการขยายแพร่พันธุ์กล้วยจากอินเดียไปยังพื้นที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้รวมทั้งพื้นที่ในประเทศไทยด้วย
พันธุ์กล้วยที่ปลูกในประเทศไทยมาตั้งแต่สมัยโบราณนั้น มีทั้งพันธุ์พื้นเมืองดั้งเดิม และนำเข้ามาจากประเทศใกล้เคียง โดยสายพันธุ์กล้วยยอดนิยมที่พบเห็นได้บ่อยในเมืองไทย ดังเช่น กล้วยไข่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยเล็บมือนาง และกล้วยน้ำว้าเป็นกล้วยที่คนไทยส่วนใหญ่นิยมรับประทาน เนื่องจากกล้วยน้ำว้าสามารถนำส่วนต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์ทั้งผล ใบตอง และหยวก ออกผลผลิตได้ง่าย สามารถนำมาประกอบอาหารได้หลากหลาย เช่น กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยเชื่อม กล้วยกวน เป็นต้น และกล้วยน้ำว้ายังเป็นกล้วยที่ทนต่อสภาพอากาศของประเทศไทยอย่างยิ่งโดยเฉพาะฤดูร้อนที่กล้วยน้ำว้านั้นทนต่อสภาพอากาศได้ดีที่สุดกล้วยน้ำว้าในประเทศไทยเป็นกล้วยที่เกิดจากการผสมข้ามพันธุ์ของกล้วยป่า 2 ชนิด ได้แก่ Musa acuminate และ Musa balbisaina มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในประเทศไทยมีการปลูกกล้วยน้ำว้าแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้ขาว กลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง และกลุ่มกล้วยน้ำว้าไส้แดง โดยกล้วยน้ำว้าในแต่ละกลุ่มก็มีลักษณะการใช้งานที่เหมาะสมที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ เช่น กล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่รู้จักกันดีคือ “กล้วยน้ำว้ามะลิอ่อง” เป็นกล้วยน้ำว้าไส้ขาว เมื่อนำไปทำ “กล้วยตาก” จะได้กล้วยตากที่มีสีเหลืองสวย ไม่ดำคล้ำ หรือเอาไปทำกล้วยแผ่นอบก็จะมีสีเหลืองสวยพอดี ไม่เหลืองมากเหมือนกลุ่มกล้วยน้ำว้าเหลือง ส่วนกล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้เหลืองเหมาะสำหรับการกินผลสด ทำกล้วยเชื่อม กล้วยทอด กล้วยบวชชี เป็นกล้วยที่เหมาะสำหรับการแปรรูปทำขนมใช้งานได้หลากหลายที่สุด สุดท้ายคือ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดง เป็นกล้วยที่ติดผลค่อนข้างดก ไส้กลางค่อนข้างแข็ง มีความฝาด จะเหมาะนำไปทำกล้วยเชื่อมหรือทำไส้ข้าวต้มมัด เพราะไส้ของกล้วยมีความแข็งไม่เละ กล้วยน้ำว้ากลุ่มไส้แดงนั้น ไม่เหมาะที่จะนำไปทำกล้วยตาก เพราะกล้วยตากที่มีสีคล้ำดำ สีไม่สวย ดูเหมือนกล้วยตากเก่า (กองบรรณาธิการเทคโนโลยีชาวบ้าน, 2563) แสดงให้เห็นว่ากล้วยน้ำว้าในไทยมี 3 ชนิดคือ กล้วยน้ำว้าขาว กล้วยน้ำว้าเหลือง และกล้วยน้ำว้าแดง โดยกล้วยทั้ง 3 ชนิดนี้ กล้วยที่เหมาะแก่การนำไปประกอบอาหาร การแปรรูปมากที่สุดคือกล้วยน้ำว้าเหลือง เพราะกล้วยน้ำว้าขาวจะมีรสชาติที่หวานจัด จึงอาจไม่เหมาะนำไปทำอาหารหรือแปรรูปในเรื่องของรสชาติที่หวานจัด ส่วนกล้วยน้ำว้าแดงจะค่อนข้างแข็ง มีรสฝาด ไม่เหมาะต่อการทำอาหารหรือทำผลิตภัณฑ์กล้วยแปรรูป ดังนั้นกล้วยน้ำว้าเหลืองจึงนิยมในการทำอาหารและทำผลิตภัณฑ์แปรรูปกล้วยน้ำว้ามากที่สุดนั่นเอง
กล้วยน้ำว้าสามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น กล้วยตาก กล้วยเชื่อม กล้วยฉาบเคลือบคาราเมล เป็นต้น สำหรับในพื้นที่ชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ได้นำกล้วยน้ำว้า มาแปรรูปทำเป็นกล้วยกวนและต่อยอดมาเป็นผลิตภัณฑ์ประจำอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยน้ำว้ามีผลผลิตเป็นจำนวนมาก ปลูกง่าย ทนต่อสภาพอากาศในประเทศไทย ดังนั้นวิธีการแก้ไขของชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีที่ดีที่สุดคือการนำกล้วยมาแปรรูปเป็นกล้วยกวนเพื่อขายและเก็บรักษาให้ได้นานยิ่งขึ้น
จากการสำรวจพฤติกรรมการบริโภคกล้วยกวนของผู้บริโภค กลุ่มเป้าหมายซึ่งเป็นกลุ่มนักท่องเที่ยว พบว่า ผู้บริโภคต้องการให้กล้วยกวนมีรสชาติ ไม่หวานมากนัก เนื้อสัมผัสไม่เหนียวเกินไป สีของกล้วยกวนไม่ดำ และให้มีกลิ่นรสของกล้วยมากขึ้น ในการศึกษาเปรียบเทียบองค์ประกอบทางเคมีของกล้วยน้ำว้า 3 ชนิดคือ กล้วยน้ำว้าไส้ขาว กล้วยน้ำว้าไส้เหลือง และกล้วยน้ำว้าไส้แดง พบว่าปริมาณความชื้น (74.88-75.21), โปรตีน (2.24-2.40), ไขมัน (0.12-0.13), คาร์โบไฮเดรท (19.56-19.86), เถ้า (2.11-2.68) และเยื่อใย (74.88-75.00) ค่าความเป็นกรด ด่าง (4.55-4.61) และปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ (22.81-23.03) ไม่แตกต่างกันทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 เมื่อนำกล้วยทั้ง 3 ชนิด มาทดลองทำกล้วยกวน พบว่า กล้วยกวนที่ทำจากกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองได้คะแนนความชอบทางด้านสี เนื้อสัมผัสและความชอบโดยรวมเฉลี่ยสูงสุด (สุพร ชุ่มจิตต์, 2544) แสดงให้เห็นว่า ในการสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคกล้วยกวนของผู้บริโภคนั้น ส่วนใหญ่ผู้บริโภคชอบ กล้วยกวนที่ทำมาจากกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองมากที่สุด เนื่องจากสีสวย รสชาติหวานพอดี ส่วนกล้วยน้ำว้าไส้ขาว ที่ทำกล้วยกวนจะมีรสชาติที่หวานที่สุด ซึ่งแตกต่างจากจากกล้วยน้ำว้าไส้แดงมีรสฝาดและมีสีดำเข้มดูไม่น่าทาน ดังนั้นกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองจึงเป็นที่นิยมในการทำกล้วยกวนและตอบโจทย์แก่ผู้บริโภคมากที่สุด
กล้วยกวนลานดอกไม้ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ซึ่งจัดตั้งกลุ่มขึ้น เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2543 นางสาวรุ่งนภา ไหววิจิตร ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ได้มีการอบรมกันในจำนวนสมาชิก 25 คน โดยการอบรมขององค์การบริหารส่วนตำบลทั้งตำบล เพื่อคิดค้นทำผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปจนเป็นของขึ้นชื่อของอำเภอลานดอกไม้ ที่ได้รับรางวัลมากมาย ซึ่งกล้วยกวนลานดอกไม้เป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปมาจากกล้วยน้ำว้าเนื่องจากกล้วยน้ำว้ามีต้นทุนต่ำ ปลูกง่าย ทนต่อสภาพอากาศในประเทศไทย ซึ่งแตกต่างจากกล้วยไข่ที่มีต้นทุนสูงและปริมาณน้อย จนได้เป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ระดับห้าดาว
จากการสัมภาษณ์ รุ่งนภา ไหววิจิตร (สัมภาษณ์, 14 ตุลาคม 2564) ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี พบว่า รุ่งนภา ไหววิจิตร ได้ทำส้มโอกวนมาก่อน หลังจากนั้นได้นัดอบรมกันในสมาชิก 25 คน กับทางองค์การบริหารส่วนตำบลว่าจะทำผลิตภัณฑ์ผลไม้แปรรูปเพิ่มเติม จึงได้คิดค้นในการทำผลิตภัณฑ์กล้วยกวนและจัดออกจำหน่ายตามตลาดมอกล้วยไข่ แต่แรกกล้วยกวนนั้นได้ห่อกล้วยกวนด้วยกระดาษแก้วแต่ไม่เป็นจุดที่สนใจของลูกค้า จนได้เห็นแม่ค้าขายสับปะรดที่ห่อสับปะรดรูปแบบคล้ายข้าวต้มมัด จึงได้ฉุดคิดไอเดียในการห่อกล้วยกวนในรูปแบบของข้าวต้มมัด และได้มีการนำผลิตภัณฑ์กล้วยกวนลานดอกไม้บรรจุในชะลอมเป็นทรงช่อ ทำให้เป็นที่จุดสนใจของลูกค้าที่ตลาดมอกล้วยไข่เป็นอย่างมาก จนมีผู้ติดตามและสนใจในการทำกล้วยกวนที่มากขึ้นจนมีสมาชิกที่ทำกล้วยกวนปัจจุบันทั้งหมด 30 คน
ลักษณะและรสชาติของกล้วยกวน
จากการสัมภาษณ์ รุ่งนภา ไหววิจิตร (สัมภาษณ์, 14 ตุลาคม 2564) ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี มีที่อยู่จัดตั้งที่บ้านเลขที่ 3 หมู่ที่ 11 ถนน - ตำบลลานดอกไม้ อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร พบว่า กล้วยกวนลานดอกไม้มีรสชาติ หวาน มัน อร่อยถูกสุขลักษณะ มีคุณค่าทางโภชนาการ บ่มโดยธรรมชาติไม่ใช้แก๊สและไม่ใช้วัตถุกันเสีย ลักษณะของกล้วยกวนเป็นชิ้นเล็กสีดำพอดีคำ บรรจุภัณฑ์ห่อด้วยกระดาษแก้วสามารถมองเห็นผลิตภัณฑ์ได้ง่ายสะดุดตา มีการห่อเป็นมัดเหมือนข้าวต้ม โดยใช้ใบตองห่อและมัดรวมเป็นช่อสวยงาม เป็นบรรจุภัณฑ์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม
วัสดุผลิตภัณฑ์
จากการสัมภาษณ์ รุ่งนภา ไหววิจิตร (สัมภาษณ์, 14 ตุลาคม 2564) ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ในเรื่องของส่วนผสมที่ผลิตกล้วยกวนลานดอกไม้นั้นไม่มีส่วนผสมที่ใช้วัตถุกันเสีย กล้วยที่นำมาใช้นั้นมาจากสวนที่ปลูกเองทั้งหมด ส่วนผสมในการทำกล้วยกวนลานดอกไม้มี 1.กล้วยน้ำว้าสุก 2.กะทิ 3.น้ำตาลทราย 4.แบะแซ 5.เกลือ และ 6.นมข้นหวาน
1. กล้วยน้ำว้าสุก 10 กิโลกรัม
2. กะทิ 2 กิโลกรัม
3. น้ำตาลทราย 500 กรัม
4. แบะแซ 1 กิโลกรัม
5. เกลือ 2 ช้อนชา
6. นมข้นหวาน 1 กระป๋อง
ส่วนผสมที่ผลิตกล้วยกวนลานดอกไม้ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีจะไม่มีส่วนผสมในเรื่องของสารกันเสีย ปราศจากสารพิษ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค สามารถทานได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่
กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน
จากการสัมภาษณ์ รุ่งนภา ไหววิจิตร (การสัมภาษณ์, 14 ตุลาคม 2564) ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีในเรื่องของกระบวนการผลิตกล้วยกวนลานดอกไม้ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนได้ใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย ถูกสุขอนามัย ไม่ใส่สารกันเสีย มีพนักงานสวมเครื่องแต่งกายและถุงมือก่อนเริ่มการผลิตกล้วยกวน ขั้นตอนการทำกล้วยกวนของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีมีดังนี้
- นำกล้วยน้ำว้าที่สุกแล้วไปบดให้ละเอียด
- นำกล้วยที่บดละเอียดแล้วไปกวนกับกะทิจนสุก
- เมื่อกวนกล้วยจนสุกแล้วจึงใส่ น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย แบะแซและเกลือแล้วกวนต่อไปเรื่อยจนเหนียวและกะทิแตกมัน (จะสังเกตได้จากกระทะจะเลื่อมกล้วยเริ่มจะไม่ติดกระทะ)
- เมื่อกวนจนเหนียวแล้วและกะทิแตกมันแล้วจึงใส่นมข้นหวานเป็นลำดับสุดท้ายและกวนต่อไปเรื่อย ๆ โดยใช้ไฟอ่อน ๆ โดยกวนต่อไปประมาณ 8 ชั่วโมงจึงใช้ได้
- เมื่อกวนเสร็จแล้วจึงตักออกใส่ถุงประมาณ 3 กิโลครึ่ง ใส่แบบรีดให้เรียบเป็นแผ่น พักทิ้งไว้ให้เย็น 1 คืน
- ตัดเป็นชิ้นเล็กตามขนาดที่ต้องการแล้วนำไปห่อด้วยกระดาษแก้วหรือใบตองแห้งแล้วจึงบรรจุใส่ถุงหรือกล่อง
แสดงให้เห็นว่ากระบวนการผลิตกล้วยกวนลานดอกไม้ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้ใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย ถูกสุขอนามัย พนักงานสวมเครื่องแต่งกายและถุงมือก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ซึ่งได้มาตรฐานตามเกณฑ์ที่กำหนด และมีใบรับรองยืนยัน
รางวัลและเกียรติบัตรที่ได้รับ
จากการสัมภาษณ์ รุ่งนภา ไหววิจิตร ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ได้ทำกล้วยกวนลานดอกไม้จนประสบความสำเร็จ มีการประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีดีเด่นในระดับภาคและระดับเขตลำดับที่ 1 เป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ระดับห้าดาวมา 4 ปีซ้อน และได้ลำดับที่ 4 ในรอบประเทศ รางวัลและเกียรติบัตรที่ได้รับของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีมี 28 รายการดังนี้
- ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลชนะเลิศ การประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร ระดับจังหวัด ประจำปี 2546
- ได้รับการคัดสรรค์เป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสามดาว ประจำปี 2547 (กล้วยกวน)
- ได้รับเกียรติบัตรแห่งภูมิปัญญาเกษตรไทย เพื่อแสดงว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนเป็นผู้อนุรักษ์และส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านแปรรูป ดีเด่น รางวัลที่ 2 จังหวัดกำแพงเพชร (22 ก.ย. 2547)
- ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนได้รับรางวัลที่ 1 การประกวดแข่งขันการห่อกล้วยไข่กวน (14 ต.ค. 2547)
- ได้รับใบอนุญาตการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรชุมชนแปรรูป (กล้วยกวน เลขที่รหัส กษ 04389900-0004-052) (16 ก.พ. 2548)
- ได้รับใบอนุญาตการใช้เครื่องหมายรับรองมาตรฐานระบบการผลิตสินค้าเกษตรชุมชนแปรรูป (ส้มโอทิพย์ชากังราว เลขที่รหัส กษ 04389900-0004-782) (16 ก.พ. 2548)
- ได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชน (รหัสทะเบียน 6-62-01-07/1-002) (18 พ.ย. 2548)
- ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสามดาว ประจำปี 2549 (กล้วยกวน)
- ได้รับโล่เกียรติบัตร รางวัลที่ 1 ในการประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่นระดับจังหวัด ประจำปี 2549
- ได้รับวุฒิบัตร เพื่อแสดงว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้เข้ารับการอบรมตามโครงการอบรมการจัดทำบัญชีวิเคราะห์ต้นทุน และแผนธุรกิจ ภายใต้โครงการหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์ OTOP ปี 2549 (11 ตุลาคม 2549)
- ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รับการรับรองว่ากล้วยกวน และส้มโอทิพย์ชากังราว มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักเกณฑ์สินค้ามาตรฐานสหกรณ์ (10 เม.ย. 2551)
- ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสองดาว ประจำปี พ.ศ.2552 (กล้วยกวน) (23 ธันวาคม 2551)
- ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลที่ 1 ในการประกวดกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2552 (14 กันยายน 2552)
- ได้รับเกียรติบัตรเพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลชนะเลิศ การประกวดการจัดร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP ประเภทอาหารและเครื่องดื่ม ในงานประเพณี “นบพระ-เล่นเพลง” และงานกาชาดจังหวัดกำแพงเพชร ประจำปี 2553 (8 มีนาคม 2553)
- ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับห้าดาว ประจำปี 2553 (กล้วยกวน) (16 กันยายน 2553)
- ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับห้าดาว ประเภทอาหาร (กล้วยกวน) (1 มีนาคม 2556)
- ได้รับเกียรติบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลชนะเลิศ การประกวดบูธจำหน่ายสินค้า OTOP ในงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2556 (10 ตุลาคม 2556)
- ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลที่ 1 การประกวดกล้วยไข่รังนก ในงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2557 (25 กันยายน 2557)
- ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.35/2546) (4 ธันวาคม 2557)
- ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับห้าดาว ประจำปี 2559 (กล้วยกวน) (15 กรกฎาคม 2559)
- ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้รางวัลที่ 1 การประกวดแข่งขันการทำกล้วยไข่ชุบช็อกโกแลต ในงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2559 (4 ตุลาคม 2559)
- ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสี่ดาว ประเภทอาหาร (มะม่วงกวน) (25 ตุลาคม 2559)
- ได้รับการคัดสรรเป็นผลิตภัณฑ์ ระดับสี่ดาว ประเภทอาหาร (ประเภทอาหาร) (25 ตุลาคม 2559)
- ได้รับเกียรติบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ได้ร่วมกิจกรรมและสนับสนุนทุนการศึกษาเนื่องในวันเด็กแห่งชาติปีงบประมาณ 2560 (14 มกราคม 2560)
- ได้รับประกาศนียบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจน ไดรางวัลที่ 1 การประกวดแข่งขันการทำกล้วยไข่ฉาบสอดไส้ ในงานประเพณี “สารทไทยกล้วยไข่เมืองกำแพง” ประจำปี 2560 (25 กันยายน 2560)
- ได้รับเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ OTOP กรมการพัฒนาชุมชน “Premium” รหัสเครื่องหมาย S/62/0012 (26 กันยายน 2560)
- ได้รับเครื่องหมายผลิตภัณฑ์ OTOP กรมการพัฒนาชุมชน “Standard” รหัสเครื่องหมาย S/62/0100 (26 กันยายน 2560)
- ได้รับเกียรติบัตร เพื่อแสดงว่ากลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคี ได้เข้าร่วมในกิจกรรม “ตลาดนัดการศึกษาและอาชีพ” ปีการศึกษา 2560 (3 ธันวาคม 2560)
- ได้รับอนุญาตให้แสดงเครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.35/2558) (28 มีนาคม 2561)
แสดงให้เห็นว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีได้รับรางวัลทั้งหมด 28 รางวัล โดยรางวัลที่ได้รับนั้นมีทั้งโล่รางวัล เกียรติบัตร และใบอนุญาตทะเบียนเครื่องหมายรองรับมาตรฐานการผลิตสินค้า ซึ่งสามารถการันตีได้ว่าผลิตภัณฑ์กล้วยกวนลานดอกไม้นั้นได้มาตรฐาน มีเครื่องหมายสินค้ารองรับ และรางวัลที่เชื่อถือได้
บทสรุป
จากการศึกษาเรื่อง กล้วยกวนลานดอกไม้มีวัตถุประสงค์ 1) ประวัติความเป็นมาของกล้วย พบว่า กล้วยเป็นผลไม้ที่มีคนนิยมปลูกและบริโภค โดยมีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศอินเดีย มีการขยายแพร่พันธุ์กล้วยตามทวีปต่าง ๆ โดยเฉพาะทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยเป็นอีกประเทศที่ได้รับความนิยมในการปลูกกล้วยเพื่อนำมาบริโภคและประกอบอาหาร กล้วยที่ใช้ส่วนใหญ่จะใช้กล้วยน้ำว้าเนื่องจากกล้วยน้ำว้าสามารถใช้ประโยชน์ได้ทั้งผล ลำต้น ใบ กล้วยน้ำว้าจะแบ่งได้ออกเป็น 3 ชนิดได้แก่ กล้วยน้ำว้าไส้ขาว กล้วยน้ำว้าไส้เหลืองและกล้วยน้ำว้าไส้แดง กล้วยที่สามารถประกอบอาหารและแปรรูปได้ดีที่สุดคือกล้วยน้ำว้าไส้เหลือง เพราะมีรสชาติหวาน กลิ่นหอม จึงได้รับความนิยมนำมาประกอบอาหาร ในจังหวัดกำแพงเพชร อำเภอเมือง มีกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีได้นำกล้วยน้ำว้าไส้เหลืองมาแปรรูปเป็นกล้วยกวนลานดอกไม้ โดยมีแกนนำ นางสาวรุ่งนภา ไหววิจิตร ประธานกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีเป็นคนริเริ่มทำกล้วยกวนลานดอกไม้เพื่อรักษาคงสภาพของกล้วยไม่ให้เกิดการเน่าเสีย เป็นผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ของจังหวัดกำแพงเพชร วัตถุประสงค์ 2) ลักษณะและรสชาติของกล้วยกวน พบว่า กล้วยกวนลานดอกไม้มีลักษณะเป็นช่อคล้ายข้าวต้มมัด บรรจุภัณฑ์ใช้ใบตอง ชิ้นเล็กพอดีคำ เหมาะนำมาเป็นของฝากหรือนำมาบริโภค กล้วยกวนลานดอกไม้มีรสชาติที่หวานมัน มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ใช้วัตถุกันเสีย บ่มโดยใช้แก๊สธรรมชาติ วัตถุประสงค์ 3) วัสดุผลิตภัณฑ์ พบว่า วัสดุในการผลิตกล้วยกวนลานดอกไม้ไม่ใช้วัตถุดิบที่มีส่วนผสมสารกันเสียลงไป สามารถบริโภคได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ วัตถุประสงค์ 4) กระบวนการผลิต/ขั้นตอนการใช้งาน พบว่า มีการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัย สะอาด ถูกหลักอนามัย มีพนักงานสวมใส่ชุดและถุงมือทุกครั้งในการทำงาน วัตถุประสงค์ 5) รางวัลและเกียรติบัตรที่ได้รับ พบว่า กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรเกาะน้ำโจนสามัคคีทำกล้วยกวนลานดอกไม้จนประสบความสำเร็จได้รับรางวัลต่าง ๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็นรางวัลด้านเกษตรกรดีเด่นลำดับที่ 1 ของระดับภาคและเขต รางวัลผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ระดับห้าดาว
คำสำคัญ : กล้วยกวน กำแพงเพชร, กล้วยกวนตองแก้ว, กล้วยกวนลานดอกไม้
ที่มา : https://acc.kpru.ac.th/KPPStudies/index.php?title=กล้วยกวนลานดอกไม้
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). กล้วยกวนลานดอกไม้. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2085&code_db=610008&code_type=01
Google search
แวะมาดื่มกาแฟแก้ง่วงก่อนไปน้ำตก กาแฟรสดีมากหอมไม่แพ้ร้านดังใน กทม เลย ขนมเค้กก็อร่อย เหมือนเจ้าของร้านใส่ใจในรายละเอียด ประทับใจมาก ทั้งคุณภาพ บรรยากาศ และราคา ลืมบอกไป ร้านติดแอร์เย็นดี ลูกค้าเข้าๆออกๆเยอะ ถ้าร้านใหญ่ขึ้นอีกจะดีไม่น้อย
เผยแพร่เมื่อ 26-02-2017 ผู้เช้าชม 749
กล้วยฉาบ เป็นขนมประเภทของว่าง รับประทานเล่นในชุมชนมานานแล้ว เนื่องจากกล้วยเป็นต้นไม้ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน โดยเฉพาะกล้วยไข่ เป็นต้นไม้ที่พบมากในพื้นที่ของเมืองกำแพงเพชร ผู้อาวุโสของชุมชนหนองรี สันนิษฐานว่าน่าจะมีมาตั้งแต่ตั้งแต่สมัยอยุธยาแล้ว กล้วยฉาบ เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ต้องการนำผลไม้ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก มาแปรรูปเพื่อจะได้เก็บไว้รับประทานได้นานๆ และไว้รับรองญาติมิตรหรือผู้มาเยี่ยมเยียน
เผยแพร่เมื่อ 13-03-2018 ผู้เช้าชม 13,555
ขนมทองเอกเป็นขนมที่มีใช้ในงานบุญพิธีบวงสรวงและงานมงคลต่างๆ เพราะชื่อของขนมปะเภทนี้นั้นมีความหมายที่ดี เช่น ทองเอก และ เสน่ห์จันทร์ ผู้ทำจะต้องมีความชำนาญประณีตละเอียดอ่อนเนื่องด้วยเป็นขนมที่ใช้ออกงานเป็นหลัก ต้องรักษาลักษณะและสีของขนมไว้ตามแบบโบราณ
เผยแพร่เมื่อ 27-02-2017 ผู้เช้าชม 3,565
ขนมฝอยทอง เส้นของขนมฝอยทองที่จัดวางกันเป็นทบเป็นแพ โดยขั้นตอนการทำฝอยทองเพื่องานมงคลนั้นมีความเชื่อว่าห้ามตัดเส้นฝอยทอง ต้องทำเป็นเส้นยาวๆ สื่อความหมายถึงการครองรักครองเรือนที่ยาวนาน มีชีวิตที่ยืนยาวเหมือนเส้นของฝอยทอง คนไทยนำมาเป็นอาหารหวาน นิยมใช้เป็นขนมเลี้ยงพระในงานมงคลต่างๆ เนื่องจากชื่อขนมมีคำว่า " ทอง " จึงถือเป็นมงคล ขนมฝอยทองในงานเหล่านี้ต้องเป็นเส้นที่ยาวมาก เพราะถือเป็นเคล็ดตามชื่อและลักษณะของฝอยทองว่าทำให้อายุยืนยาว
เผยแพร่เมื่อ 01-03-2017 ผู้เช้าชม 9,428
กระยาสารท เป็นขนมที่พบได้โดยทั่วไป ถือเป็นภูมิปัญญาไทยในการถนอมอาหาร และที่กำแพงเพชรได้มีการกวนกระยาสารทกันมาอย่างยาวนาน ในอดีตมีการกวนกันเกือบทุกบ้าน จะไม่มีจำหน่าย แต่จะแจกกันเมื่อกวนแล้ว ส่วนสำคัญจะนำไปถวายพระเนื่องในวันสำคัญต่างๆ ปัจจุบันนิยมทำกินกันในช่วงเทศกาลสารทไทยระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคมของทุกปีที่กำแพงเพชร กำแพงเพชรเป็นเมืองกล้วยไข่จึงมีกล้วยไข่เป็นเครื่องเคียงที่อร่อยมาก ที่ชุมชนอนันตสิงห์ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรชุมชนอนันต์สิงห์ได้รวมตัวกันกวนกระยาสารทเพื่อจัดจำหน่ายวันละหลายกระทะ มีรสชาติอร่อยหวานมัน หาที่เปรียบเทียบได้ยาก และได้มีการสาธิตการกวนกระยาสารทด้วยอัธยาศัยไมตรีอันดียิ่ง เพราะมีความภูมิใจในอาชีพนี้เป็นอย่างยิ่ง นับว่าน่ายกย่องแม่บ้านกลุ่มนี้ที่สุดบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ประวัติความเป็นมา 2) เครื่องปรุง และ 3) ขั้นตอนการทำ
เผยแพร่เมื่อ 02-06-2022 ผู้เช้าชม 2,110
กะหรี่ปั๊บ เป็นอาหารแบบตะวันตกผสมกับอินเดีย ได้รับความนิยมจากชาวมุสลิมในประเทศไทย คาดว่าท้าวทองกีบม้าคิดค้นขึ้น ตอนแรกใช้ชื่อว่า curry puff (พัฟฟ์ผงกะหรี่) ต่อมาได้เพี้ยนมาเป็น กะหรี่พัฟฟ์ และเพี้ยนเป็นกะหรี่ปั๊บในที่สุด กะหรี่ปั๊ปไส้ไก่เป็นที่นิยมมาก
เผยแพร่เมื่อ 14-03-2017 ผู้เช้าชม 3,529
จังหวัดกำแพงเพชรเป็นจังหวัดที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลางตอนบนทำให้ศิลปวัฒนธรรม วิถีชีวิตได้รับการผสมผสานจากทั้งภาคเหนือ (ล้านนา) และภาคกลาง (อยุธยาและสุโขทัย) ซึ่งแสดงออกในหลาย ๆ อย่าง อาทิ ประเพณี วัฒนธรรม โดยเฉพาะอาหาร อย่างเมี่ยงคำหรือเมี่ยงลาว เป็นต้น เมี่ยงเป็นอาหารที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษโดยการย้ายถิ่นฐานของผู้คนที่มาจากภาคเหนือและภาคอีสาน แต่เมื่อย้ายถิ่นมาอยู่กำแพงเพชรเป็นเวลานานก็เริ่มผสมผสานความเป็นภาคกลางเข้าไปในอาหารหรือแม้แต่วิธีการกิน รวมถึงส่วนประกอบที่นำมาใช้ในการทำเมี่ยง นอกจากเมี่ยงแล้วเมื่อมาจังหวัดกำแพงเพชร คนส่วนใหญ่จะนึกถึงกล้วยไข่กำแพงเพชร เนื่องจากกล้วยไข่ของจังหวัดกำแพงเพชรนั้น มีลักษณะเด่นที่ลูกเล็กกำลังดี มีกลิ่นหอมและรสชาติหวาน แขกบ้านแขกเมืองจึงนิยมนำกล้วยไข่ไปเป็นของฝาก สืบเนื่องมาจากในสมัยก่อนพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีการปลูกกล้วยไข่อยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อมีกล้วยสุกเป็นจำนวนมากชาวบ้านจึงคิดหาวิธีที่จะนำกล้วยมาทำเป็นอาหารประเภทต่าง ๆ เพื่อให้คนในครอบครัวไม่เกิดความเบื่อหน่ายจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมซ้ำ ๆ ก่อเกิดเป็นแกงหยวกกล้วยไข่ในปัจจุบัน
เผยแพร่เมื่อ 07-06-2022 ผู้เช้าชม 513
ข้าวหลาม เป็นขนมชนิดหนึ่งนิยมทำรับประทานกันในฤดูหนาว หรือเมื่อได้ข้าวใหม่ ใช้ไผ่ข้าวหลาม หรือไม้ป้างเป็นกระบอกใส่ข้าวหลาม ข้าวหลามแบบชาวบ้าน ใช้ข้าวสารเหนียวกับน้ำเปล่า และเกลือเท่านั้น สำหรับข้าวหลามที่ทำขายกันโดยทั่วไป จะใส่น้ำกะทิ และเติมถั่วดำ หรืองาขี้ม้อน การทำข้าวหลามตามประเพณีนิยมของชาวล้านนาจะเพื่อถวายพระในวันเพ็ญเดือนสี่ หรือประมาณเดือนมกราคม ซึ่งเป็นการทานร่วมกับการทานข้าวจี่ และข้าวล้นบาตร
เผยแพร่เมื่อ 09-02-2017 ผู้เช้าชม 4,258
เมื่อครั้งยังเป็นเด็กอายุเจ็ดแปดขวบ จำได้ว่าอาหารการกินในครัว สิ่งที่ขาดไม่ได้ในตู้กับข้าวเป็นน้ำพริกชนิดหนึ่ง ตอนนั้นยังไม่รู้ประสา จึงไม่รู้ว่าน้ำพริกชนิดนั้นเรียกว่าอะไร ได้ยินแต่ผู้ใหญ่เขาเรียกกันว่า “น้ำพริกขี้กา” ยังสงสัยว่ามีขี้อีกาจริงๆ หรือครั้นพอโตขึ้นมาหน่อยความสงสัยจะสืบสาวราวเรื่องดูเลือนๆ ไปบ้าง เพราะมีสิ่งอื่นให้สนใจมากกว่า กระทั่งมาถึงตอนเป็นผู้ใหญ่ ได้ยินหลายคนพูดถึง “น้ำพริกขี้กา” ขึ้นมาอีก ทำให้ต้องหันกลับมาดูว่าน้ำพริกอีกาคืออะไร จากที่สังเกตเห็นได้ว่าน้ำพริกขี้กาของแต่ละคนนั้น ไม่เหมือนกันเลยจริงๆ น้ำพริกขี้กาสูตรในครัวเรือนที่บ้านกินกันมาตั้งแต่เด็ก เป็นรสมือแม่ เห็นจะไม่มีเครื่องปรุงแต่งอะไรมาก เป็นเพียงการนำพริกขี้หนู หอมแดง และกระเทียม ไปเผาไฟให้สุกๆไหม้ๆ จากนั้นนำมาปอกและลอกส่วนที่ไหม้ออก
เผยแพร่เมื่อ 10-04-2020 ผู้เช้าชม 6,045
ขนมครก เป็นขนมไทยโบราณชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งน้ำตาลและกะทิ แล้วเทลงบนเตาหลุม เวลาจะรับประทานต้องแคะออกมา เป็นแผ่นวงกลม แล้วมักวางประกบกันตอนรับประทาน เป็นขนมของไทยที่มีมาตั้งแต่โบราณมีหลักฐานว่าขนมครกเป็นที่นิยมแพร่หลายมาตั้งแต่สมัยอยุธยา มีการทำเตาขนมครกขายตั้งแต่ยุคนั้น ขนมครกแต่เดิมใช้ข้าวเจ้าแช่น้ำ โม่รวมกับหางกะทิ ข้าวสวย และมะพร้าวทึนทึกขูดฝอย ผสมเกลือเล็กน้อยใช้เป็นตัวขนม ส่วนหน้าของขนมครกเป็นหัวกะทิ ขนมครกชาววังจะมีการดัดแปลงหน้าขนมครกให้แปลกไปอีก เช่น หน้าเผือก หน้าข้าวโพด หน้าต้นหอม
เผยแพร่เมื่อ 12-03-2017 ผู้เช้าชม 4,796