เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท

เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้ชม 607

[16.8784698, 98.8779052, เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท]

ประเพณีการเทศน์มหาชาติมีมาก่อนสมัยกรุงสุโขทัย และมีพัฒนาการต่อ ๆ มาควบคู่กับวรรณกรรม เรื่องมหาชาติ หรือมหาเวสสันดรชาดกมาจนถึงปัจจุบัน การเทศน์มหาชาติเป็นประเพณีงานบุญที่พุทธศาสนิกชนชาวไทยทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีความศรัทธาและเชื่อในคตินิยมว่า การฟังเทศน์มหาชาติให้จบภายในวันเดียว จะได้รับอานิสงส์แรง ซึ่งส่งผลให้ไปเกิดในศาสนาพระศรีอริยเมตไตรย ทั้งจะเป็นผู้มีลาภยศ และได้บรรลุมรรคผล นิพพาน จึงทำให้คนไทยส่วนใหญ่นิยมยินดีฟังเทศน์มหาชาติกันตลอดมา ทุกวันนี้ประเพณีการเทศน์มหาชาติมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ทั้งด้านเนื้อหามีการปรับเปลี่ยนเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่ายขึ้น ส่วนด้านรูปแบบมีการประยุกต์ เช่น มีการเทศน์แบบปุจฉา-วิสัชนาบ้าง มีการแหล่ประกอบการเทศน์บ้าง ไปจนถึงมีการแสดงลิเกสลับการเทศน์ของพระก็พบในบางแห่ง ส่วนเครื่องประกอบพิธีเทศน์มหาชาติ เช่น การบรรเลงปี่พาทย์ในพิธีเทศน์มหาชาตินั้น มีการประยุกต์โดยใช้แผ่นซีดี แทนปี่พาทย์ก็มี ซึ่งอาจเพราะต้องการความประหยัดก็เป็นได้ อย่างไรก็ดีประเพณีการเทศน์มหาชาติยังคงดำรงอยู่ ทั้งนี้เพราะคุณค่าในเนื้อหาของมหาชาติ เป็นการปลูกฝังคุณธรรมความดีงาม อันมีกระแสแห่งความเมตตา ความเสียสละ ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และความไม่เห็นแก่ตัว รวมทั้งอรรถรสด้านถ้อยคำสำนวน ภาษา โดยผ่านท่วงทำนองการเทศน์ของพระธรรมกถึกยัง เป็นเสน่ห์ตรึงศรัทธาของชาวไทยพุทธได้มั่นอยู่ แม้จะมีอิทธิพลของกระแสวัฒนธรรมต่างชาติที่เข้ามาปะปนในวัฒนธรรมของไทยทำให้เบี่ยงเบนความสนใจของคนไทยบางกลุ่มไปบ้าง แต่ประเพณีการเทศน์มหาชาติของไทยยังคงดำรงอยู่ในปัจจุบัน ส่วนอนาคตจะเป็นอย่างไร ประเพณีการเทศน์มหาชาติจะยังคงอยู่ หรือจะแปรเปลี่ยนไปอย่างไร ก็ขอฝากไว้กับวงการศึกษาและวัฒนธรรม รวมทั้งวงการพระพุทธศาสนาของประเทศไทยและชาวไทยพุทธทุกคนต่อไป

คำสำคัญ : เทศน์มหาชาติ

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/photos/682655478491329

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). เทศน์มหาชาติในเมืองตาก ภาษากลุ่มที่เลือนไปตามบริบท. สืบค้น 29 มีนาคม 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2041&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2041&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

“เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องสูง” บางแห่งเรียกว่า “เครื่องเทียมยศ” มีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ “พิธีสมโภชพระเจ้า หรือ, อบรมสมโภชพระเจ้า, บวชพระเจ้า” หมายถึง การสมโภชองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์การยกย่องพระพุทธรูปให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้พุทธบริษัทกราบไหว้บูชาในพระวิหาร อุโบสถ สถานที่สำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมนี้จะนิยมทำในประเพณีปอยหลวง หรือการฉลองเสนาสนะ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฎิสงฆ์ เป็นต้น “เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” ต้องอยู่คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า จะนิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 597

ประเพณีปอยส่างลอง

ประเพณีปอยส่างลอง

"ปอยส่างลอง" เป็นงานประเพณีบวชลูกแก้วของไทยใหญ่ เป็นการบรรพชาสามเณรให้สืบทอดพระพุทธศาสนา และเพื่อเรียนรู้พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า โดยมีความเชื่อว่า ถ้าได้บวชให้ลูกของตนเป็นสามเณรจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ บวชลูกคนอื่นเป็นสามเณรได้อานิสงฆ์ 4 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกของตนเป็นพระภิกษุสงฆ์ จะได้อานิสงฆ์ 12 กัลป์ หากได้อุปสมบทลูกคนอื่นจะได้อานิสงฆ์ 8 กัลป์ และเพื่อเป็นการสืบทอดประเพณีที่มีมาดั้งเดิม

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 8,356

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำหม้อ คือ ที่สำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวย ตัวฮ้านมีลักษณะเป็นชั้นวางมีหลังคาทรงจั่วด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้มีแสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำเป็นหม้อดินเผาสีอิฐแดงระบายความร้อนได้ดีส่วนใหญ่จะมีตะไคร่สีเขียวเกาะบริเวณรอบ ๆ ตัวหม้อ ทำให้น้ำในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา ด้านข้างมีที่แขวนกระบวยน้ำที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ฮ้านน้ำหม้อส่วนใหญ่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน เพื่อไว้บริการผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาเมื่อหิวน้ำก็จะแวะพักดื่มน้ำตามฮ้านน้ำหม้อที่ชาวบ้านแถวนั้นได้จัดตั้งไว้ และด้วยความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการทำบุญด้วยน้ำเป็นอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ชีวิตคล่อง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่าง ๆ

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,514

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 737

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

การเข้ามาของจีนใหม่ในเมืองตาก กับการรักษาประเพณีไหว้พระจันทร์

ตากตั้งอยู่จุดกึ่งกลางเส้นทางในลำน้ำปิงที่ใช้ขึ้นลงระหว่างกรุงเทพ และหัวเมืองทางเหนือจึงมีการขยายตัวนับเนื่องมาตั้งแต่รัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา ส่งผลให้เกิดชุมชนชาวจีนริมฝั่งแม่น้ำปิงตั้งรกรากเป็นตลาดบกการค้าริมแม่น้ำปิง จนกระทั่งการคมนาทางถนนและทางรถไฟเกิดการขยายตัวได้รับความนิยมในการขนส่งสินค้าและผู้คนอย่างมาก ลำน้ำปิงจึงลดบทบาทลงไปพร้อม ๆ กับความคึกคักของตลาดการค้าริมทางน้ำสู่การตั้งร้านค้าและเกิดเป็นชุมชนการค้าแห่งใหม่ทางด้านเหนือของตลาดการค้าเดิม (ตรอกบ้านจีน) ต่อมาเรียกพื้นที่ตลาดการค้าใหม่นี้ว่าตลาดใน ตลาดในจึงกลายเป็นชุมชนจีนใหม่ที่คึกคักมาตั้งแต่รัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา การเข้าของจีนใหม่นำไปสู่การพยายามรักษาจารีตแบบจีนโบราณไว้ด้วย 

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 393

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก   

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,112

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มปล่อย เครื่องสระเกล้าดำหัว อัตลักษณ์เมืองตาก

น้ำมะกรูด-ส้มป่อย ถือได้ว่าเป็นเครื่องหอมพิเศษของเมืองตาก สันนิษฐานว่าน่าจะแพร่หลายเข้ามาจากวัฒนธรรมของชาวล้านนาซึ่งมีความใกล้ชิดด้านที่ตั้งและผู้คน โดยชาวบ้านจะนำฝักส้มป่อยและผลมะกรูดไปปิ้งไฟให้เกิดกลิ่นหอม และนำฝักส้มป่อยมาหักเป็นท่อนๆใส่รวมลงไปในน้ำที่ผสมด้วยน้ำอบไทย ซึ่งจะต่างจากหัวเมืองทางเหนือที่นิยมใช้น้ำขมิ้นส้มปล่อย ลอยด้วยดอกสารภี ไม่มีวัฒนธรรมการเผาผลมะกรูดเป็นเครื่องหอมในวัฒนธรรมจากข้อสันนิษฐานนี้จึงแสดงให้เห็นถึงรูปแบบพิเศษของเมืองตากอีกข้อหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 932

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,764

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

เดือนสี่ จี่ข้าวหลาม

ในช่วงวันเดือน 4 เหนือ ขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาวหลังจากที่มีการเก็บเกี่ยวพืชผลทางการเกษตรเรียบร้อยแล้วชาวบ้านมักจะนำข้าวใหม่ที่ได้จากการเก็บเกี่ยวมาทำบุญที่วัด เรียกประเพณี “ตานข้าวใหม่ หิงไฟพระเจ้า” ในเมืองตากมีการสืบทอดประเพณีการถวายข้าวใหม่เช่นเดียวกับวัฒนธรรมภาคเหนือเช่นกัน แต่มีข้อแตกต่างกัน คือชาวเมืองตากนิยมนำข้าวเหนียวใหม่มาเผาเป็นข้าวหลาม เพื่อใช้ในการถวายพระก่อนงานเทศกาล 1 วัน อดีตชาวบ้านเกือบทุกหลังจะนิยมเผาข้าวหลามเพื่อนำไปถวายพระ เป็นกิจกรรมสร้างความรักสามัคคีในครอบครัว

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 937

ผามพิธี

ผามพิธี

หากเอ๋ยถึงผี คนทั่วไปมักนึกถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาสัมผัส และแทนในรูปความน่ากลัว ความเชื่อในเรื่องผีเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดในสังคมอาคเนย์ แม้ในระยะหลังเรานับถือพุทธมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ยุคแรกสมัยประวัติศาสตร์) แต่เราก็ยังคงมีความเชื่อในเรื่องผีที่ฝั่งลึกในจิตวิญญาณของเราอยู่ สะท้อนผ่านในรูปพิธีกรรม ความเชื่อ ผีจึงถูกผูกร้อยกับเราอย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนเหนือ ที่นับถือผีข้างมารดา ถือว่าเป็นเก๊า (หลัก) ของสายตระกูล คนเหนือนับถือผีบรรพบุรุษ สร้างหิ้งบูชาผีไว้ที่ด้านเหนือของเรือนเป็นหิ้งผีไว้สักการะยามทำงานบุญงานทาน ก่อนเข้าพรรษา หรือปีใหม่ไทย ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูด้วยการจัดเครื่องไหว้ผี ตามจารีตของคนในท้องถิ่น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 660