ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้ชม 793

[16.8784698, 98.8779052, ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก]

        หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่องรองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”
        การเล่าเรื่องผ่านความทรงจำ หากขาดการบันทึกเป็นตัวอักษรองค์ความรู้ดังกล่าวก็คงเป็นมุขปาฐะหรือเรื่องเล่าในความทรงจำเท่านั้น หากขาดการบันทึกกลั่นกรองตามหลักวิชาการในไม่ช้าองค์ความรู้ในตัวคนอาจเลือนหายไปพร้อมกับบุคคลในไม่ช้า เรื่องท้องถิ่นจึงไม่ใช้เรื่องท้องถิ่นอีกต่อไป

ที่มาของเรื่องเล่า : อาจารย์สมพิศ ทิพย์เกสร

คำสำคัญ : สะเดาะเคราะห์

ที่มา : https://www.facebook.com/laoruengmuengtak/

รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์


สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2565). ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก. สืบค้น 26 เมษายน 2567, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2024&code_db=610004&code_type=TK001

Facebook Twitter LINE Linkedin

PDF

https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=2024&code_db=610004&code_type=TK001

Google search

Mic

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

การเชิดหุ่นกระบอกจากคณะสังวาลย์ศิลป์

หุ่นกระบอกอายุร่วมร้อยปี ถูกเก็บไว้อย่างดีในพิพิธภัณฑ์วัดพระบรมธาตุ จังหวัดตาก จากเดิมถูกเก็บไว้อยู่ในบ้านคุณยายเจียมจิตต์ บำรุงศรี ทายาทรุ่นที่ 3 หลังจากที่เจ้าของคณะหุ่นกระบอก ผู้ก่อตั้งคุณแม่สังวาลย์ อิ่มเอิบ ถึงแก่กรรม คุณยายเจียมจิตต์ ได้มามอบให้วัดพระบรมธาตุ เพื่อให้คนรุ่นหลัง ได้เห็นถึงความรุ่งเรืองของหุ่นกระบอกคนเมืองตาก

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 520

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

อาสนาพระเจ้า จารีตโบราณในชุมชนลาวเมืองตากที่เลือนราง

“เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “เครื่องสูง” บางแห่งเรียกว่า “เครื่องเทียมยศ” มีบทบาทในพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ “พิธีสมโภชพระเจ้า หรือ, อบรมสมโภชพระเจ้า, บวชพระเจ้า” หมายถึง การสมโภชองค์พระพุทธรูปที่สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นเครื่องแสดงสัญลักษณ์การยกย่องพระพุทธรูปให้เกิดความศักดิ์สิทธิ์ ให้พุทธบริษัทกราบไหว้บูชาในพระวิหาร อุโบสถ สถานที่สำคัญต่าง ๆ พิธีกรรมนี้จะนิยมทำในประเพณีปอยหลวง หรือการฉลองเสนาสนะ เช่น พระวิหาร อุโบสถ กุฎิสงฆ์ เป็นต้น “เครื่องราชราชกกุธภัณฑ์” ต้องอยู่คู่กับอาสนาหรือราชบรรจถรณ์ ลักษณะคล้ายกับเตียงนอนมีหลังคาแต่หลังเล็กกว่า จะนิยมวางไว้ข้าง ๆ กับฐานพระพุทธรูป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 630

กินฮ้าว

กินฮ้าว

กินฮ้าว หรือเลี้ยงลาดตองประเพณีเลี้ยงผีเก่าแก่ในเมืองตาก ในอดีตชาวบ้านนิยมเลี้ยงควายหรือหมูทั้งตัววางลาดบนใบตอง ชาวบ้านจึงเรียกกันอีกชื่อว่าการเลี้ยงลาดตอง บางชุมชนก็เล่าว่าเป็นการเลี้ยงผีขุนน้ำที่ทอดขวางกันเมืองตากฝั่งตะวันออกและตะวันตก ในอดีตการเลี้ยงฮ้าวมักมีที่นั่ง (ร่างทรง) ในพิธีด้วย ในแถบชุมชนบ้านจีนซึ่งเป็นชุมชนเก่าแก่เป็นย่านเมืองเก่าตากในยุคต้นรัตนโกสินทร์มีการสืบทอดประเพณีอยู่จนถึงปัจจุบัน แต่ลดรูปแบบและของเซ่นไหว เพื่อให้เหมาะกับยุคสมัย

เผยแพร่เมื่อ 26-01-2022 ผู้เช้าชม 612

ผามพิธี

ผามพิธี

หากเอ๋ยถึงผี คนทั่วไปมักนึกถึงสิ่งที่มองไม่เห็นด้วยตาสัมผัส และแทนในรูปความน่ากลัว ความเชื่อในเรื่องผีเป็นความเชื่อที่เก่าแก่มากที่สุดในสังคมอาคเนย์ แม้ในระยะหลังเรานับถือพุทธมาตั้งแต่สมัยทวารวดี (ยุคแรกสมัยประวัติศาสตร์) แต่เราก็ยังคงมีความเชื่อในเรื่องผีที่ฝั่งลึกในจิตวิญญาณของเราอยู่ สะท้อนผ่านในรูปพิธีกรรม ความเชื่อ ผีจึงถูกผูกร้อยกับเราอย่างไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนเหนือ ที่นับถือผีข้างมารดา ถือว่าเป็นเก๊า (หลัก) ของสายตระกูล คนเหนือนับถือผีบรรพบุรุษ สร้างหิ้งบูชาผีไว้ที่ด้านเหนือของเรือนเป็นหิ้งผีไว้สักการะยามทำงานบุญงานทาน ก่อนเข้าพรรษา หรือปีใหม่ไทย ลูกหลานจะแสดงความกตัญญูด้วยการจัดเครื่องไหว้ผี ตามจารีตของคนในท้องถิ่น

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 686

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

ประเพณีการส่งเคราะห์วันปากปี วิถีคนลาว (ยวน) ที่เมืองตาก

หลังสงกรานต์ 16 เม.ย (วันปากปี) คนตากที่มีเชื้อสายชาวล้านนาจะมีการบูชาข้าว + บูชาเคราะห์โดยเตรียมสะตวง ทำจากกาบกล้วย รองด้วยใบตองแบ่งเป็น 9 ช่อง ปักธงสีขาวทุกช่อง แต่ละช่อง รองด้วยใบขนุน ใส่ข้าวสุก กับข้าวชื่อมงคล กล้วยสุก ดอกมะลิสีขาว นำไปวางในวิหาร พร้อมเส้นฝ้ายวา และเสื้อของคนในครอบครัวเมื่อพระสวดมนต์เสร็จแล้ว จะนำเสื้อผ้าที่ผ่านพิธีมาทำการสะบัดเคราะห์หรือสิ่งชั่วร้ายออกไป จะนำสะตวงไปลอยน้ำ และนำฝ้ายวาไปเผา ถือเป็นการล้างสิ่งที่ไม่ดี และรับแต่สิ่งที่ดี ๆ เข้ามาในชีวิต”

เผยแพร่เมื่อ 27-01-2022 ผู้เช้าชม 793

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ แอ๋วสาวนุ่งซิ่นต๋าโยน

ลาวพุงดำ คำว่าลาวในเมืองตาก หมายถึง ชาวยวน หรือคนเมืองในหัวเมืองเหนือของประเทศไทย ในช่วงหนึ่งชายชาวลาวมีค่านิยมสักตั้งแต่ต้นขาไปถึงช่วงแอว จนทำให้ชาวตะวันตกที่เขามาในสยามในช่วงรัชกาลที่ 5 พากันเรียกกลุ่มที่ไม่พูดสยามหรือพูดภาษาต่าง ๆ จากพวกสยามว่าลาว ตามหัวเมืองภาคกลางนิยมเรียกกัน ลาวทางเหนือที่สักด้วยลวดลายสวยงาม เป็นแฟชั่นที่ชายนิยมแสดงถึงรสนิยมชั้นดีของตนเอง แสดงความกล้าหาญ มีพลัง ด้วยแฟชั่นสักร่างกายนี้เอง ชาวตะวันตกจึงพากันเรียกลาวเหนือว่า ลาวพุงดำ จากร้อยสักที่สวยงามที่ปรากฏบนเรือนร่างนั้นเอง ที่เมืองตากพบค่านิยมนี่ด้วยผ่านจากร่องรอยทางจิตรกรรมฝาผนังสมัยรัชกาลที่ 5 ที่วัดโบสถ์มณีศรีบุญเรื่อง

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,004

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก

ประเพณีตานก๋วยสลาก ที่ยึดถือประเพณีนี้ได้แก่อำเภอท่าสองยาง อำเภอแม่ระมาด อำเภอแม่สอด อำเภอพบพระ อำเภออุ้มผาง และอำเภอบ้านตาก อำเภอเมืองตาก   

เผยแพร่เมื่อ 15-08-2018 ผู้เช้าชม 1,137

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำ

ฮ้านน้ำหม้อ คือ ที่สำหรับวางหม้อน้ำดื่ม พร้อมที่แขวนกระบวย ตัวฮ้านมีลักษณะเป็นชั้นวางมีหลังคาทรงจั่วด้านบน เพื่อป้องกันไม่ให้มีแสงแดดส่องลงมาที่หม้อน้ำ หม้อน้ำเป็นหม้อดินเผาสีอิฐแดงระบายความร้อนได้ดีส่วนใหญ่จะมีตะไคร่สีเขียวเกาะบริเวณรอบ ๆ ตัวหม้อ ทำให้น้ำในหม้อมีความเย็นตลอดเวลา ด้านข้างมีที่แขวนกระบวยน้ำที่ทำมาจากกะลามะพร้าว ฮ้านน้ำหม้อส่วนใหญ่จะตั้งอยู่หน้าบ้าน เพื่อไว้บริการผู้คนที่สัญจรผ่านไปมาเมื่อหิวน้ำก็จะแวะพักดื่มน้ำตามฮ้านน้ำหม้อที่ชาวบ้านแถวนั้นได้จัดตั้งไว้ และด้วยความเชื่อของชาวล้านนาที่ว่าการทำบุญด้วยน้ำเป็นอานิสงค์ที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ชีวิตคล่อง ทรัพย์สินเงินทอง ความสุขต่าง ๆ

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,588

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

โฮงดำหัวผะเจ้า (ห้องสรงน้ำพระ)

วัดในเขตอำเภอบ้านตาก อำเภอสามเงา และในอำเภอเมืองตาก จะมีห้องสรงน้ำพระอยู่ในบริเวณวัดแทบทุกวัด ซึ่งมีไว้เพื่อใช้สรงน้ำพระในวันพญาวัน วันเข้าพรรษา และวันออกพรรษา โดยจะสรงน้ำพระในช่วงบ่าย ๆ หรือเย็น ๆ ก่อนสรงน้ำพระก็จะฟังเทศน์อนิสงค์ปีใหม่ และจากนั้นก็จะโอกาดน้ำขมิ้นส้มป่อย เมื่อโอกาดเสร็จก็จะอันเชิญพระพุทธรูป เข้าไปไว้ในห้องสรงน้ำพระเป็นอันดับแรกก่อน จากนั้นผู้คนต่างก็จะนำน้ำขมิ้นส้มป่อยที่เตรียมมานั้น ไปเทที่รางริน ซึ่งรางรินนั้นจะเชื่อมต่อกับห้องสรงน้ำพระ โดยทำเป็นช่องลอดให้พอดีกับรางริน สรงน้ำพระพุทธรูปเสร็จแล้วนั้น ก็จะนิมนต์พระสงฆ์ในวัดทั้งหมดเข้ามาในห้องสรงน้ำพระต่อไป

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 806

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขันแก้วตังสาม จารีตบ่าเก่าที่เรารักษา

ขัน หรือพาน เป็นภาชนะที่ใช้บรรจุเครื่องสักการะต่าง ๆ โดยจะมีทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ทั้งนี้ขึ้นอยู่ตามวัตถุประสงค์ในการใช้ นอกจากในเรื่องของขนาดแล้วขันยังมีความหลากหลายในเรื่องวัสดุในการสร้างด้วย เรียกขันลักษณะนี้ว่า ขันแก้วทั้งสาม (อ่านขั้นแก้วตังสาม) คือพานดอกไม้ที่ไว้บูชาพระรัตนตรัยทั้งสาม คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ลักษณะของขันแก้วทั้งสาม จะเป็นขันที่มีขนาดสูง นิยมทำจากไม้สลัก ประดับกระจกเกรียบ (แก้วจีนหรือแก้วอังวะ) ตัวขันทำเป็นรูปกระบะสามเหลี่ยม มีขา 3 ขา สลักเป็นรูปพญานาค บางแห่งนิยมทำเป็นลักษณะฐานกลม

เผยแพร่เมื่อ 01-02-2022 ผู้เช้าชม 1,808