พระซุ้มชินราช
เผยแพร่เมื่อ 23-02-2017 ผู้ชม 8,015
[16.4746251, 99.5079925, พระซุ้มชินราช]
พระซุ้มชินราช กำเนิดที่วัดร้าง คือวัดหัวมีนาและวัดโพธิ์ ตำบลท่าเรือ จังหวัดนครศรีธรรมราช วัดสองวัดนี้ปัจจุบันไม่มีแล้วเพราะสถานที่ทั้งสองกลายเป็นโรงเรียนนาฏศิลป์ไปแล้ว พระถูกค้นพบเมื่อประมาณพ.ศ. ๒๔๙๖ นอกจากจะพบพระซุ้มชินราชแล้งยังพบพระพิมพ์อื่นปนออกมาหลายพิมพ์ เช่นพิมพ์วงเขน พิมพ์ตรีกรายฯ ส่วนใหญ่จะเป็นเนื้อดิน ส่วนเนื้อชินมีน้อย ศิลปะของพระกรุนี้จะเป็นยุคอยุธยาตอนต้น
พระซุ้มชินราช ที่แตกกรุออกมาส่วนใหญ่เป็นเนื้อดิน มีทั้งเนื้อละเอียด และหยาบ มีแร่กรวดทรายผสมอยู่ค่อนข้างมาก พุทธศิลป์เป็นพระปางสมาธิ ประทับอยู่ในซุ้มเรือนแก้วแบบซุ้มชินราช มีโพธิ์ปรกคลุมอยู่บนซุ้มตัดกรอบเป็นสี่เหลี่ยม ประทับอยู่บนฐานบัวสองชั้น จัดเป็นพระอันดับหนึ่งไม่แพ้พระกรุวัดพะนังตรา ราคาเช่าหาสูง ถือเป็นพระคู่บานของชาวใต้เลยทีเดียว เคยมีผู้พบพระพิมพ์นี้ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่เป็นพระเนื้อชิน ความนิยมสู้ของกรุท่าเรือไม่ได้ พระพิมพ์นี้มีน้อยผู้ที่เป็นเจ้าของหวงแหนมาก ด้านพุทธคุณสูงไปด้วย เมตตา มหานิยมและแคล้วคลาด
ภาพโดย : https://arit.kpru.ac.th/ap/local/?nu=pages&page_id=167&code_db=DB0003&code_type=P004
คำสำคัญ : พระเครื่อง
ที่มา : สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร. (2549). พระกรุเมืองกำแพง มรดกประวัติศาสตร์กำแพงเพชร. กำแพงเพชร: สมาคมกีฬาจังหวัดกำแพงเพชร.
รวบรวมและจัดทำข้อมูล : กาญจนา จันทร์สิงห์
สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มาหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. (2560). พระซุ้มชินราช. สืบค้น 3 ธันวาคม 2566, จาก https://arit.kpru.ac.th/ap2/local/?nu=pages&page_id=203&code_db=610005&code_type=01
Google search
พระร่วงเปิดโลก เม็ดทองหลาง ยืนตอ สีดำ กรุพิกุล ลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชรวันนี้ผมอยากจะพูดถึง พระร่วงเปิดโลก จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพระที่สร้างและเปิดกรุได้จากกรุต่าง ๆ ในลานทุ่งเศรษฐี จังหวัดกำแพงเพชร ควบคู่กับพระซุ้มกอและพระลีลาเม็ดขนุน ซึ่งทั้งสององคืนั้นถือเป็นหนึ่งในชุดเบญจภาคียอดนิยม พระร่วงเปิดโลกมีพุทธลักษณะทั่วไปมี 3 แบบคือ แบบฐานยื่นหรือที่เรียกว่า “พระร่วงยืนตอ” แบบประดิษฐานรอยพระบาท คือยืนที่ปลายเท้าหรือที่เรียกว่า “พระร่วงทิ้งดิ่ง” หรือแบบท่ายืนแบบทหาร เรียกว่า “พระร่วงยืนตรง” มีทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล้ก หรือขนาดพิมพ์จิ๋ว มีปรากฎอยู่เกือบทุกกรุในกำแพงเพชร พุทธคุณดีทางอำนาจบารมี เมตตามหานิยม และโภคทรัพย์สมบูรณ์พูนสุข
เผยแพร่เมื่อ 22-02-2017 ผู้เช้าชม 18,018
ที่ตั้งกรุพระวัดช้าง อยู่ทิศตะวันออกของศาลหลักเมือง จากศาลหลักเมืองไป ถนนกำแพงพรานกระต่าย 150 เมตร เลี้ยวขวาเข้าไปประมาณ 200 เมตร วัดช้างกรุเก่า ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงลีลา พระกลีบบัวนาคปรก พระนางพญากำแพง พระซุ้มยอ พระกำแพงห้าร้อย พระกลีบบัว พระอู่ทองกำแพง พระซุ้มกระรอกกระแต และพิมพ์อื่นๆ ส่วนกรุใหม่ ประเภพพระที่พบ ได้แก่ พระซุ้มกอหน้ายักษ์มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอหน้าหนุ่มมีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอแดง-ดำพิมพ์กลาง พระซุ้มกอหน้าแก่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มกอดำ-แดงไม่มีกนกพิมพ์ใหญ่ พระเม็ดขนุนแดง
เผยแพร่เมื่อ 23-08-2019 ผู้เช้าชม 3,743
พระกำแพงกลีบจำปาเนื้อชินที่พบเป็นพระชินเงิน พิมพ์ทรงเหมือนกับเนื้อดินทุกประการ เนื่องจากพระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระที่สัณฐานบางมาก พระส่วนมากจะผุพังและชำรุดหาที่สมบูรณ์ยาก พระกำแพงกลีบจำปาเป็นพระชินเงินที่มีตะกั่วผสม เนื้อของพระมักจะมีไขขึ้นเป็นบางจุด เนื้อหาจะระเบิดผุเป็นส่วนใหญ่ ส่วนด้านหลังจะเป็นแอ่งและมีลักษณะเป็นลายผ้าทุกองค์ ลักษณะการผุระเบิดเช่นนี้เป็นลักษระของพระ กรุเก่า ซึ่งหมายถึงพระที่ขึ้นมาจากกรุวัดพระบรมธาตุและบริเวณฝั่งทุ่งเศรษฐีในยุคก่อนมี ๒๔๙๐
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 6,053
ที่ตั้งกรุพระวังพระธาตุ จาก 4 แยกนครชุมกำแพงเพชรไปทิศใต้ตามถนนเอเซีย ประมาณ 14 กิโลเมตร เลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร อยู่ริมน้ำปิง ประเภทพระที่พบ ได้แก่
พระซุ้มกอพิมพ์ใหญ๋ พระลีลากำแพง พระซุ้มยอ พระนางพญากำแพง พระเชตุพน พระกลีบจำปาพิมพ์ใหญ๋ พระท่ามะปราง พระอู่ทองกำแพง พระนางพญาตราตาราง และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 2,407
พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ลายกนก กรุวัดพิกุล อมตะทั้งพุทธศิลป์ เปี่ยมล้นด้วยพุทธคุณ “มีกูแล้วไม่จน” โดย ไตรเทพ ไกรงูพระเครื่องสกุลกำแพงเพชร ปรากฏหลักฐานชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง เสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนเมื่อ พ.ศ.2447 ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ประมาณ พ.ศ.1279
เผยแพร่เมื่อ 03-02-2017 ผู้เช้าชม 20,574
ยอดพระกรุแห่งลานทุ่งเศรษฐีพระกำแพงเม็ดมะลื่นนี้ ได้มีการสร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยของเจ้าพระยาลิไทพระบรมกษัตริย์ในลำดับที่5แห่งราชวงศ์พระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ซึ่งในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงเลื่อมใสในบวรพระพุทธศาสนามาก พระองค์จึงได้ทรงทำนุบำรุงและทรงสร้างพระพุทธรูป พระเครื่องมากแบบมากพิมพ์ เพื่อให้เป็นอนุสรณ์ให้ชนชั้นรุ่นลูกรุ่นหลานได้ศึกษาหาความรู้ว่า ครั้งหนึ่งในสมัยของพระองค์นั้นพระพุทธศาสนาได้เจริญรุ่งเรืองมากดังปรากฏ เป็นอนุสรณ์ ณ ที่จังหวัดสุโขทัยและกำแพงเพชร และที่อื่นๆ อีกมากมาย
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 3,826
เมื่อ พ.ศ.2392 เจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตแห่งวัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงได้ดำหริให้เจ้าเมืองออกสำรวจแล้วก็พบเจดีย์ อยู่ 3 องค์ อยู่ใกล้ๆกัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนให้เจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดีย์เก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน แต่เมื่อรื้อถอนแล้วจึงได้พบพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ยังอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์และแตกหักตามสภาพกาลเวลา ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพุฒาจารย์โตท่านเห็นว่าเศษพระที่แตกหักนั้นยังมีพุทธคุณอยู่ท่า นจึงได้นำกลับมายังวัดระฆังจำนวนหนึ่งพร้อมกับเศษอิฐและเศษหิน และบันทึกใบลานเก่าแก่ที่ได้บันทึกเกี่ยวกับวิธีการสร้างพระสกุลกำแพงเพชร
เผยแพร่เมื่อ 15-08-2019 ผู้เช้าชม 5,351
เมื่อได้พูดถึงพระกำแพงซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ ว่า ได้มีการพบหลายกรุ แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ว่ามิได้มีการจำแนกกรุอย่างชัดเจนสำหรับการศึกษาในยุคหลังๆ เพราะพระเครื่องในสมัยนั้นเป็นการลักลอบขุดเสียเป็นส่วนมาก ส่วนที่ฟังจากนักขายพระในยุคนี้ก็เป็นการพูดเพื่อสร้างราคาค่านิยมเสียมากกว่า ผมเคยพยายามศึกษาจากผู้ที่ ( อ้างว่า ) รู้ หลายคน ครั้นสืบสาวซักไซ้เข้าจริงก็เป็นประเภทเขาบอกมาว่า ทั้งนั้น ไม่มีใครรู้แน่ คนรุ่นเก่าที่พอจะรู้เรื่องเหล่านี้ก็หมดไป พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่องค์นี้ เจ้าของเดิมยืนยันว่า เป็นกรุฤาษี ซึ่งเป็นบริเวณวัดโบราณที่เรียกกันต่อๆมา ว่าวัดฤาษี อยู่ใกล้กับสถานีขนส่ง ปัจจุบันนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นวัดโบราณอีกต่อไป การขุดพระจากกรุวัดฤาษีนี้เริ่มมีการลักลอบขุดมาเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ( ข้อมูลจาก พระเครื่องเรื่องของขลัง โดย ประชุม กาญจนวัฒน์ พ.ศ. ๒๕๐๙ ) พระซุ้มกอกรุฤาษี เป็นที่นิยมมากตั้งแต่มีการพบ เพราะมีความลึก ชัด และมีลายละเอียดสวยงามมากกว่ากรุอื่นๆที่พบก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นที่กรุฤาษีนี้ยังพบพิมพ์ที่มีกำไลเท้าสามปล้อง มีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย ( ข้อมูล อ้างแล้ว ) พระซุ้มกอกรุฤาษีพิมพ์กำไลเท้าสามปล้องนี้เนื่องจากมีจำนวนน้อยมากปัจจุบันจึงไม่ได้พบเห็นเลย
เผยแพร่เมื่อ 16-08-2019 ผู้เช้าชม 29,609
พระปิดตาสี่ทิศ กรุวัดคูยาง จังหวัดกำแพงเพชร สร้างเมื่อปี พ.ศ.2445-2448 โดยพระครูธรรมาธิมุติมุนี (สมภารกลึง) เจ้าอาวาสวัดคูยาง สร้างแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนหนึ่งถวาย รัชกาลที่ 5 ครั้งเมื่อเสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร และอีกส่วนหนึ่งบรรจุพระเจดีย์ยอดปรางค์ เป็นเนื้อดินละเอียดมีคราบรารัก มีว่านดอกมะขามใกล้เคียงพระกรุทุ่งเศรษฐี รูปทรงกลม หลังอูม มีรูปพระปิดตาสี่องค์ (ประจำสี่ทิศ) พระที่ขึ้นกรุนี้มีมากกว่า 30 พิมพ์ ส่วนใหญ่ใช้พระกรุเก่าทุ่งเศรษฐีกดพิมพ์ เช่น พิมพ์ซุ้มกอ นางแขนอ่อน ลีลาเขย่ง ซุ้มยอ เปิดโลกฯลฯ
เผยแพร่เมื่อ 17-01-2020 ผู้เช้าชม 9,355
ที่ตั้งกรุพระวัดเชิงหวาย อยู่ถนนกำแพงพรานกระต่ายเข้าทางกรุวัดดงหวาย เรียบถนนริมคลองประมาณ 700 เมตร ประเภทพระที่พบ ได้แก่ พระกำแพงขาว พระท่ามะปราง พระร่วงประทานพร พระยอดขุนพลพิมพ์ใหญ่ พระซุ้มยอพิมพ์เล็ก พระซุ้มจิก พระนางพญากำแพงพิมพ์ใหญ่ พระนางพญากำแพงพิมพ์เล็ก พระโพธิบัลลังก์ พระลีลากำแพง พระกำแพงห้าร้อย พระร่วงนั่งทรงสมาธิ พระซุ้มยอพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์ใหญ่ พระอู่ทองกำแพงพิมพ์กลาง พระอู่ทองกำแพงพิมพ์เล็ก พระกำแพงคืบ และพิมพ์อื่นๆ
เผยแพร่เมื่อ 20-08-2019 ผู้เช้าชม 2,566